ผลพวงการเรียนรู้ (นิสิตจิตอาสาสู้ภัยน้ำท่วม)


เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม ผมจะให้ความสำคัญกับเรื่องการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตมากเป็นพิเศษ  โดยตั้งคำถามกับนิสิตว่า “ได้เรียนรู้อะไร-เห็นอะไรบ้าง”  บ่อยครั้งก็พูดคุยกันง่ายๆ  ถามคำ-ตอบคำ ขณะที่บางครั้งอยู่ในรูปเวทีและกึ่งเวที หรือกระทั่งการสะท้อนผ่านบัตรคำ ซึ่งมีทั้งสดๆ เมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง หรือแม้แต่ให้ผ่านไปสักระยะแล้วค่อยประเมินผลการเรียนรู้ที่ว่านี้

ช่วงตุลาคม-ธันวาคม 2565 นับว่าเป็นช่วงที่ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประสบกับอุทกภัยแสนสาหัส  เรียกได้ว่า “ท่วมหนักในรอบ 10 ปี” ก็ว่าได้  ขณะที่ตัวเมืองมหาสารคาม  ก็เจอชะตากรรมเดียวกัน  เป็นการท่วมหนักในรอบ 40 กว่าปีเลยทีเดียว

 

ห้วงวิกฤตดังกล่าว ศูนย์ประสานงานเครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม ผสานกำลังกับองค์กรนิสิตอย่างหลากหลาย เพื่อเดินทางไปช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม  โดยกลุ่มหลักๆ ที่จัดทำโครงการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนก็คือ  คือ กลุ่มนิสิตชาวดิน (พรรคชาวดิน) และนิสิตจิตอาสา Volunteer ส่วนองค์กรอื่นๆ ก็เข้ามาผนึกกำลังต่อเนื่อง รวมถึงเมื่อสบโอกาสก็ลงพื้นที่ร่วมกัน

 

 

ก่อนลงพื้นที่  ผมมักชวนแกนนำนิสิตมาพบปะพูดคุย (เตรียมความพร้อม) เสมอ จนบางคนเคยตั้งคำถามว่า “จำเป็นแค่ไหนถึงต้องมีกระบวนการก่อนออกไปยังพื้นที่”  - 

 

ระยะแรกๆ ผมสร้างกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ด้วยตนเอง แต่ระยะๆ หลังๆ ผมจะยกเวที หรือกระบวนการให้นิสิตขับเคลื่อนกันเอง เพื่อฝึกให้นิสิตได้เรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำบนฐานคิด “จิตอาสา” หรือ “อาสาสมัคร” โดยมีเรื่องภัยพิบัติเป็นโจทย์ของการเรียนรู้ 

ซึ่งผมก็ไม่ได้หนีหายไปไหน  แต่ยังคงอยู่ข้างๆ ในมิติ “พูดให้ฟัง ทำให้ดู อยู่เป็นเพื่อน” 

 

 

ประเด็นที่นำมาโสเหล่เตรียมความพร้อมฯ  ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับน้ำท่วม  ไม่ว่าจะเป็น ภาพรวมภูมิศาสตร์ของน้ำ  สถานการณ์จริงของหมู่บ้าน  ความต้องการขั้นฟื้นฐานของหมู่บ้าน  ระบบการจัดการภัยพิบัติของหมู่บ้าน  การคมนาคมของหมู่บ้านกับสังคมภายนอก  การแบ่งหน้าที่การทำงาน  แนวปฏิบัติ-การวางตัวเมื่อต้องลงชุมชน ฯลฯ 

 

เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม ผมจะให้ความสำคัญกับเรื่องการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตมากเป็นพิเศษ  โดยตั้งคำถามกับนิสิตว่า “ได้เรียนรู้อะไร-เห็นอะไรบ้าง”  บ่อยครั้งก็พูดคุยกันง่ายๆ  ถามคำ-ตอบคำ ขณะที่บางครั้งอยู่ในรูปเวทีและกึ่งเวที หรือกระทั่งการสะท้อนผ่านบัตรคำ ซึ่งมีทั้งสดๆ เมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง หรือแม้แต่ให้ผ่านไปสักระยะแล้วค่อยประเมินผลการเรียนรู้ที่ว่านี้

 

 

 

และจากนี้ไป คือ  ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่นิสิตได้สะท้อนกลับมายังผม  มีทั้งที่เป็นกลุ่มและรายบุคคล   

 

 

ชุมชน

  • สภาพความเดือดร้อน ความยากลำบากเชิงลึกของชาวบ้าน ในทั้งศูนย์พักพิงและหมู่บ้านที่น้ำท่วมขัง
  • ความสามัคคีของชาวบ้านที่ช่วยเหลือกัน
  • การดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์จริงและการอยู่อย่างสมถะ พอเพียง
  • จิตใจอันเข้มแข็งของชาวบ้าน
  • เรียนรู้ระบบการทำงานของผู้นำชุมชน ทั้งในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ  และอื่นๆ
  • ระบบการคมนาคมของชุมชน
  • ความต้องการของชุมชนในเรื่องการฟื้นฟู
  • ความมีน้ำใจของชาวบ้านที่มีต่อแขกผู้ไปเยือน

 

 

ทักษะของนิสิต

  • การสื่อสารสร้างสรรค์ เช่น การโพสเรื่องราวจิตอาสาลงในสื่อโซเชียล  ทักษะการถ่ายภาพ 
  • เรียนรู้บทบาทของพี่เลี้ยงที่ต้องดูแลนิสิตจิตอาสา Volunteer 
  • ทักษะการติดต่อประสานงาน เช่น  เรื่องต้นไม้ การเข้าพื้นที่ นิสิต ชุมชน
  • ทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม  เช่น  บริหารคน บริหารเวลา  มอบหมายงาน ติดตามงาน
  • ทักษะการทำงานร่วมกับองค์กรอื่น
  • ทักษะด้านจิตอาสา
  • ทักษะการสื่อสารกับองค์กรต่างๆ 
  • การคิดวิเคราะห์
  • การทำงานเป็นทีม
  • การทำงานแข่งกับเวลา
  • การวางแผนงาน
  • การทำงานบนฐานข้อมูล 
  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • ความอดทน
  • การทำงานแบบมีส่วนร่วม 
  • การตัดสินใจ
  • พบปะให้กำลังใจชาวบ้าน

     

 

ความรู้

  • เส้นทางน้ำ ภูมิศาสตร์น้ำที่เกี่ยวข้อง  เช่น เขื่อนจุฬาภรณ์  เขื่อนอุบลรัตน์  แม่น้ำชี แม่น้ำมูล  แม่น้ำโขง เขื่อนขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่งระหว่างเส้นทางของแม่น้ำชี
  • การสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน
  • การบรรจุถุงยังชีพที่สัมพันธ์กับความต้องการของชุมชน
  • เครื่องมือการเรียนรู้ เช่น สังเกต ลงมือทำ สอบถาม 
  • การบริหารงาน บริหารคน 

 

 

ครับ - ทำแล้วก็ชวนนิสิตทบทวนตัวเองว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง   อย่างน้อยก็พาให้นิสิต “กล้บเข้าสู่ตัวเอง”

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท