ว่าด้วย เรื่อง "ละหมาด" (1)


ละหมาด

ละหมาด” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัฒฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ละหมาด" ว่า “น. การปฏิบัติศาสนกิจในศาสนาอิสลามเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก.”  

คำว่า “ละหมาด” แผลงมาจากคำว่า “นมัสการ” ที่หมายถึง “การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้” แต่ด้วยวิธีปฏิบัติศาสนกิจของคนมุสลิมที่เรียกว่าละหมาดนั้น เป็นการกระทำเฉพาะของคนมุสลิม และมุสลิมในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วเป็นคนภาคใต้โดยเฉพาะในบริเวณ ๔-๕ จังหวัดของประเทศไทย ด้วยสำเนียงของคนพูดใต้และด้วยสำเนียงของคนที่พูดด้วยภาษามลายูที่เป็นภาษาแม่ ทำให้การกล่าวถึงการปฎิบัติศาสนกิจวิธีหนึ่งคลายๆกับนัสการทำให้เรียกนมัสการตามสำเนียงที่เขามีอยู่และคนใต้จะเรียกอะไรก็จะเรียกสั้นๆ ดังนั้นจากคำว่า นมัสการ เป็น นมาซ สุดท้ายก็เป็น นมาซและแผลงเป็นละหมาดตามที่ใช้กันและเข้าใจตรงกันว่าเป็นการกระทำหรือการปฏิบัติที่เป็นรูปแบบเฉพาะของชาวมุสลิมที่ทำกันอย่างน้อยวันละ ๕ เวลา

ถามว่า ละหมาดมีความจำเป็นสำหรับมุสลิมไหม?
ตอบว่า จำเป็น เพราะมุสลิมทุกคนจะต้องกระทำ 

เสาหลักที่มุสลิมทุกคนจะต้องกระทำมีอยู่ ๕ อย่าง คือ อันดับแรกสุด “ความเชื่อ” กล่าวคือ มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อและยึดมั่นว่า ไม่มีอำนาจใดๆ หรือผู้มีอำนาจใดๆ ในโลกนี้หรือสากลโลก ที่สามารถที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างหรือบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงได้ นอกจาก พระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น คือ อัลลอฮฺ ดังนั้น สิ่งหรือที่หรืออะไรก็ตามที่ควรเคารพ บูชา และขอสรรพสิ่งทั้งหลาย คือ อัลลอฮฺเท่านั้น และต้องเชื่ออีกว่า มุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮฺ บุตรอับดุลมุฏฏอลิบ ชาวมักกะฮฺที่เกิดขึ้นเมื่อ ๑๔๐๐ กว่าปีที่แล้ว เป็นศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ส่งมาสอนมุสลิมและทำแบบอย่างให้คนมุสลิมปฏิบัติตาม 

อย่างที่สอง คือ จะต้องละหมาดวันละ ๕ เวลา และละหมาดอย่างที่กล่าวมาข้างต้นคือการปฏิบัติที่มุสลิมต้องปฏิบัติ และในภาษามลายูจะเรียกว่า ซึมบะหฺยัง(Sembahyang) (บางหมู่บ้านของภาคใต้จะอาจจะเรียกว่า "มายัง") ก็หมายถึงพิธีกรรมที่แสดงความอ่อนน้อมและขอพรสิ่งต่างๆที่อยากได้ ไม่ว่าศาสนาใดก็จะเรียกว่า ซึมบะหฺยัง ก็มีความหมายเช่นเดียวกันกันกับคำว่า นมัสการ ดังนั้นยุคหลังๆนี้เรามักได้เขาเรียกการละหมาดนี้ว่า “ศอลาต หรือ ศอลาฮฺ” มาจากคำอาหรับที่มีความหมายเฉพาะของพิธีการที่มุสลิมทำวันละ ๕ เวลาเป็นอย่างน้อย และ คำว่า ศอลาฮฺ(صلاة) ในภาษาอาหรับนี้จะมีความหมายว่า “ดุอา หรือ ขอพร” ดังนั้น การละหมาดก็คือการขอพรนั้นเอง คำกล่าวขอทุกอิริยบททุกอากับอากับกริยาในการการละหมาดจะเป็นการกล่าวสรรเสริญและการขอพรจากกระเจ้าอัลลอฮฺ จะขออะไรก็ได้ แต่โดยหลักๆแล้วจะขอให้อัลลอฮฺชี้แนวทางที่ถูกต้องให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคตอับใกล้และไกล ขอให้อัลลอฮฺทรงอภัยและเมตตา  

เสาหลักอย่างที่สาม คือ การถือศีลอด ปีละครั้ง เป็นเวลานาน ๑ เดือนติดต่อกัน อย่างที่สี่ คือ การจ่ายซากาตคล้ายกับการจ่ายภาษีของคนยุคปัจจุบันทั่วไป และเสาที่ ๕ คือ การทำฮัจย์ที่มักกะฮฺสำหรับคนที่มีความสามารถที่จะเดินทางไปได้ 

เราจะเห็นได้ว่า ทั้ง ๕ อย่างที่เป็นเสาหลักนี้ มีละหมาดอย่างเดียวที่ไม่สามารถที่จะปกปิดให้คนอื่นไม่รู้เห็นได้ อย่างแรกเป็นเรื่องในใจซึ่งไม่มีใครนอกจากตัวเองเท่านั้นที่รู้ เว้นแต่ได้กระทำที่แสดงให้เห็นว่าไม่เชื่อในพระเจ้า ส่วนอย่างที่ ๓-๔ ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครรู้ว่าไม่ถือศีลอดหรือไม่จ่ายซากาตนอกจาตัวเขาเอง ดังนั้นบางครั้งจึงสามารถที่จะตัดสินได้ว่าเขาเป็นมุสลิมหรือไม่นั้น คือ การละหมาด เพราะมีรายงานหะดีษว่า ความแตกต่างระหว่างผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺกับผู้ที่ไม่ศรัทธาคือ การละหมาด    

 

 

หมายเลขบันทึก: 714082เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2023 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2023 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท