Developmental Evaluation : 72. ใช้ DE พัฒนาหน่วยจัดการทุนวิจัย ในระบบ ววน.


 

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ผมเข้าร่วมการประชุมหารือผลประเมินและ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการทำงานของหน่วยจัดการทุน ววน. (PMU) หน่วยงานหนึ่ง   โดยที่ สกสว. ใช้ทั้ง (๑) การประเมินติดตามผล  และ (๒) การประเมินเพื่อการพัฒนาแบบ DE     

ผมเสนอให้ใช้การประเมินทั้งสองแบบให้ก่อผลเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน    โดยใช้ DE เป็นเครื่องมือเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง สกสว. กับ PMU นั้น    สกสว. ต้องใช้ท่าทีและ DE สร้าง trust กับ PMU นั้น (และทุก PMU)    ว่า สกสว. มีเป้าหมายและเจตนาเรียนรู้ร่วมกันกับ PMU   เพื่อหาทางร่วมกันยกระดับผลงานของ PMU ทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ    ผ่านการร่วมกันเรียนรู้และทำความเข้าใจวิธีทำงาน ผลงาน และวิธีพัฒนาให้ยกระดับขึ้น   เพื่อให้ PMU พัฒนาวิธีทำงานขึ้นเรื่อยๆ   และประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในระยะยาว    ซึ่งจะวัดได้จากการประเมินติดตามผล outcome และ impact 

สกสว. ต้องพัฒนาวิธีการติดตาม output, outcome และ impact ให้แม่นยำ    มีระบบข้อมูลที่ครบถ้วนแม่นยำช่วยการประเมินนั้น    ให้เกิดการประเมินผลงานแบบตรงไปตรงมา    เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบ ววน. ที่เข้มแข็ง หนุนเสริมการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูงสังคมดีได้ตามเป้าหมาย   

เพื่อสร้างมิตรภาพและความไว้วางใจต่อกัน    สกสว. ควรเสาะหาผลงานที่เป็นความสำเร็จสูงส่งของ PMU นั้น    นำมาเป็นกรณีศึกษา ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร    กรณีตัวอย่างที่คุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐยกมาคือ colostomy bag ที่ทำจากน้ำยางพาราที่ผ่านการสะกัดโปรตีนออกไป   นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้เวลาพัฒนาถึง ๘ ปี    ผ่านความล้มเหลวยากลำบาก แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค   ได้รับทุนวิจัยจาก PMU นั้น ถึง ๕ ทุนต่อเนื่องกัน   เวลานี้ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการรับรองเข้าบัญชีนวัตกรรมของชาติ    ทำให้ สปสช. ซื้อใช้ในประเทศปีละเกือบ ๑๐๐ ล้านบาท   

เราแนะนำให้ สกสว. ดำเนินการให้มีการเรียนรู้จากกรณีศึกษานี้    และหากรณีอื่นๆ มาเรียนรู้เพิ่มอีก    และตั้งคำถามว่า จะสร้างผลงานทำนองนี้ให้มากขึ้นได้อย่างไร   เพื่อช่วยให้ PMU มีผลงาน impact สูง    ทั้ง impact ด้านเศรษฐกิจ  และด้านอื่นๆ    เมื่อประเมินผลงานแบบติดตามผล PMU นั้นก็มีผลการประเมินที่ดี

ในภาพรวม ระบบ ววน. ของประเทศ ก็จะเข้มแข็ง                

เป็นการใช้ DE เพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกในระบบ ววน.    สู่ระบบ ววน. ที่เข้มแข็ง 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ค. ๖๖

    

หมายเลขบันทึก: 714089เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2023 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2023 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท