สมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรในองค์การ


สมรรถนะ หมายถึง กลุ่มของคุณลักษณะใดๆที่อยู่ภายในบุคคลอันมีผลต่อการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้สำเร็จดีขึ้นได้ ดังมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สมรรถนะของบุคลากรในองค์การ

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการดำเนินกิจ การต่างๆ ล้วนต้องอาศัยบุคลากรในองค์กรเป็นหลัก แม้จะมีการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการทำงานแล้วก็ตาม การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ อุปนิสัยที่ดี และนำคุณสมบัติดังกล่าว มาสร้างสรรค์งานให้เกิดความสำเร็จและผลิตผลที่ดี ตอบสนองเป้าหมายขององค์การ สร้างความสำเร็จโดยรวมให้กับทั้งตัวเองและหน่วยงานที่ทำงานอยู่ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารของทุกองค์การต่างมุ่งหวัง

สมรรถนะ (Competency) คืออะไร

สมรรถนะ (Competency) เป็นคำศัพท์ร่วมสมัยเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับความสนใจนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะจากงานริเริ่มของ David C.McCelland (1973) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ที่เน้นย้ำให้วงการประเมินบุคคลหันมาให้ความสำคัญกับสมรรถนะมากกว่าสติปัญญา *

สมรรถนะ หมายถึง กลุ่มของคุณลักษณะใดๆที่อยู่ภายในบุคคลอันมีผลต่อการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้สำเร็จดีขึ้นได้ ดังมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น*

องค์ประกอบของสมรรถนะ หมายรวมถึง ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และ ความสามารถ (Ability) ซึ่งถือเป็นสมรรถนะที่ "Hard" เป็นส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่มีความชัดเจนเอื้อต่อการสังเกต การพัฒนาและการประเมิน มีความเกี่ยวข้องกับงานและบุคคล นอกจานี้ คุณลักษณะอื่นๆ (Others-O) ที่เป็นลักษณะเฉพาะบุคคล ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำทะเล อาทิ เช่น ลักษณะนิสัย แรงจูงใจ ความสนใจ เจตคติ ความเชื่อ ค่านิยม ภาพพจน์ของตน ซึ่งถือเป็นสมรรถนะที่ "Soft" ที่แปรผัน ยากแก่การวัด การฝึกฝนพัฒนา

แต่ละองค์การจะให้ความสำคัญต่อ KSAO ในสัดส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญในด้านต่างๆ เช่น หากหน่วยงานให้ความสำคัญกับความเป็นคนดี คนเหมาะสม มากกว่า คนเก่ง นั่นหมายความว่า การวิเคราะห์รายการสมรรถนะจะต้องเน้นส่วนที่จมใต้น้ำมากว่า แต่ถ้าเน้นความเก่ง ก็จะวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่อยู่ส่วนบนของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะวัดและสังเกตได้ง่ายกว่า

* Boyatzis,1982; cooper, 2000; Dubois, 1993; Klemp, 1980; Parry,1996; Spencer& Spencer, 1993)
* บทความ "การพัฒนาโมเดลสมรรถนะเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์" โดย ดร.วีระวัตน์ ปันนิตามัย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #competency
หมายเลขบันทึก: 75712เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอสอบถามแล้วในการคัดเลือกหรือดึงเอาส่วนที่อยู่ใต้น้ำแข็งออกมาได้โดยวิธีไหนครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท