BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ความผิดแผกเฉพาะ (Specific Difference)


ความผิดแผกเฉพาะ

 นอกจาก   สกุล (Genus) และ ชนิด (Species) ) แล้ว...  คำนิเทศ (Predicables) ที่มีนัยสำคัญสูงก็คือ ความผิดแผกเฉพาะ ....

การที่สิ่งหนึ่งแตกต่างจากสิ่งหนึ่งนั่นเอง เรียกว่า ความผิดแผกเฉพาะ เช่น...

วัวแตกต่างจากควาย 

แมวแตกต่างจากสัตว์

พืชแตกต่างจากสัตว์

ซ่อนกลิ่นแตกต่างจากพืช

ก้อนหินแตกต่างจากขนม

อมยิ้มแตกต่างจากแมวน้ำ

....ฯลฯ...

ซึ่งสิ่งที่ทำให้วัวแตกต่างจากควาย หรือสิ่งที่ทำให้อมยิ้มแตกต่างจากแมวน้ำ นี้เอง เรียกว่า ความผิดแผกเฉพาะ...

เมื่อพิจารณาการเชื่อมโยงของคำศัพท์เหล่านี้ ก็จะเห็นว่าความผิดแผกเฉพาะว่ามี ๒ ลักษณะ คือ

๑. ทำให้คำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์เป็นสกุลกับชนิดแตกต่างกัน นั่นคือ ความผิดแผกเฉพาะมีหน้าที่ทำให้สกุลแตกต่างจากชนิด เช่น 

สัตว์แตกต่างจากวัว (สัตว์เป็นสกุล แต่วัวเป็นชนิด ...สิ่งที่ทำให้สัตว์และวัวแตกต่างกันนี้เอง เรียกว่า ความผิดแผกเฉพาะ)

พืชแตกต่างจากทองกวาว (พืชเป็นสกุล แต่ทองกวาวเป็นชนิด...สิ่งที่ทำให้พืชและทองกวาวแตกต่างกันนี้เองเรียกว่า ความผิดแผกเฉพาะ)

อนึ่ง ความแตกต่างระหว่างสกุลกับชนิดนี้ เมื่อผูกเป็นประพจน์ ก็อาจได้ว่า....

วัวทุกชนิดเป็นสัตว์ (แต่ สัตว์บางชนิดเป็นวัว)

ทองกวาวทุกชนิดเป็นพืช (แต่ พืชบางชนิดเป็นทองกวาว)

๒. ทำให้คำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นชนิดกับชนิดแตกต่างกัน... นั่นคือ ความผิดแผกเฉพาะทำให้ชนิดหนึ่งแตกต่างจากอีกชนิดหนึ่ง เช่น

ก้อนหินแตกต่างจากขนม (ก้อนหินและขนมต่างก็เป็นชนิดของสิ่งอื่น สิ่งที่ทำให้ก้อนหินและขนมแตกต่างกันนี้เอง เรียกว่า ความผิดแผกเฉพาะ)

อมยิ้มแตกต่างจากแมวน้ำ (อมยิ้มและแมวน้ำต่างก็เป็นชนิดของสิ่งอื่น สิ่งที่ทำให้อมยิ้มและแมวน้ำแตกต่างกันนี้เอง เรียกว่า ความผิดแผกเฉพาะ)

อนึ่ง  ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นชนิดของสิ่งอื่นทำนองนี้ เมื่อผูกประพจน์ ก็อาจได้ว่า

ไม่มีก้อนหินใดเป็นขนม (ไม่มีขนมใดเป็นก้อนหิน)

ไม่มีอมยิ้มใดเป็นแมวน้ำ (ไม่มีแมวน้ำใดเป็นอมยิ้ม)

....ผู้เขียนจะนำประเภทของคำนิเทศที่มีนัยธรรมดาหรือไม่สำคัญ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความผิดแผกเฉพาะมาขยายความต่อไป...

..........

หมายเหตุ..... 

ประพจน์ (Proposition) คือ ประโยคที่สามารถบ่งชี้ว่าจริงหรือเท็จได้ ซึ่งผู้เขียนจะนำมาขยายความเมื่อถึงเรื่องนี้....

หมายเลขบันทึก: 88614เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท