การบาดเจ็บจากการวิ่ง ป้องกันดีกว่ารักษา


บางท่านที่เริ่มวิ่งแล้วมีปัญหาบาดเจ็บ ก็คิดว่าวิ่งไม่ได้แล้ว บางครั้งได้รับคำแนะนำผิดๆ ว่าถ้าน้ำหนักตัวมาก การวิ่งไม่เหมาะสม จริงๆแล้วถ้าเริ่มฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีและค่อยๆลดน้ำหนักตัวลงก็สามารถวิ่งได้ การบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดจากการวิ่งไม่ถูกเทคนิค ฝึกซ้อมหนักเกินไปหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ การวิ่งให้ถูกวิธีและการฝึกกล้ามเนื้อก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บได้โดยไม่ถึงกับต้องเลิกวิ่ง

บางท่านที่เริ่มวิ่งแล้วมีปัญหาบาดเจ็บ  ก็คิดว่าวิ่งไม่ได้แล้ว  บางครั้งได้รับคำแนะนำผิดๆ  ว่าถ้าน้ำหนักตัวมาก  การวิ่งไม่เหมาะสม  จริงๆแล้วถ้าเริ่มฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีและค่อยๆลดน้ำหนักตัวลงก็สามารถวิ่งได้  การบาดเจ็บส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ภายใน 2-3 อาทิตย์  แต่การรักษาที่ดีที่สุดก็คือรักษาที่สาเหตุ  แต่ก็คงต้องรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นก่อน  เช่นให้อาการปวดหายก่อน  แล้วจึงเริ่มรักษาที่สาเหตุหรือต้นตอที่ทำให้บาดเจ็บ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการวิ่งไม่ถูกเทคนิค  ฝึกซ้อมหนักเกินไปหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ  การวิ่งให้ถูกวิธีและการฝึกกล้ามเนื้อก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บได้โดยไม่ถึงกับต้องเลิกวิ่ง

 

        การระวังไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บก็เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ที่เหมาะสม  การแต่งกายก็ให้มีการระบายความร้อนได้ดี  ที่สำคัญที่สุดก็คงเป็นรองเท้า  ควรจะลงทุนหน่อย  ใช้รองเท้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการวิ่งโดยเฉพาะ  นอกจากนี้ยังมีแบบต่างๆให้เลือกใช้ตามความต้องการของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน  ถ้าน้ำหนักตัวมากก็เลือกรุ่นที่สามารถรับแรงกระแทกได้ดี  ถ้าต้องการวิ่งให้เร็วและไกลก็เลือกรุ่นที่มีน้ำหนักเบา ( เหมาะกับนักวิ่งที่วิ่งแข่งขัยระยะไกล เช่นมาราธอน )

 

        เลือกสถานที่วิ่งที่เหมาะสม  ทางวิ่งเรียบ  ไม่ขรุขระ  ไม่มีทางที่ลาดชัน  ( ทางที่ลาดชันเหมาะสำหรับนักวิ่งที่เป็นนักวิ่งแข่ง  ต้องการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Strength  แต่ก็ไม่ได้ฝึกแบบนี้ทุกวันนะครับ )  ไม่เปลี่ยวเกินไป  ไม่มีการเลี้ยวที่มีมุมแคบ  เพราะจะทำให้บาดเจ็บที่ข้อเท้าและเข่าได้ง่าย  หลีกเลี่ยงการวิ่งในขณะที่อากาศร้อนจัดมาก  ดื่มน้ำให้เพียงพอ  ถ้าอดนอนหรือไม่สบายก็ต้องงดการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน

 

        การวิ่งก็ต้องวิ่งให้ถูกวิธี  ทั้งท่าทาง  ทั้งการหายใจและการวางเท้า การฝึกซ้อมก็อย่าหักโหม  มีการพักที่เหมาะสม  ถ้าฝึกซ้อมแล้วมีอาการบาดเจ็บก็อาจจะเกิดจากการฝึกซ้อมที่หนักเกินไป  ร่างกายรับไม่ไหว  อาจต้องลดความหนัก  ระยะทางหรือระยะเวลาลงก่อน  แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นภายหลังก็ได้

 

        การรักษาอาการบาดเจ็บก็ทำได้ง่ายๆ  คือ  หยุดพัก  ประคบเย็น  ไม่ให้ส่วนนั้นเคลื่อนไหวด้วยการพันรัดไว้  ยกส่วนนั้นให้สูงขึ้น

 

        การหยุดพัก  หมายความว่า  ถ้ามีอาการบาดเจ็บก็ให้หยุดพัก  ไม่ฝืนที่จะวิ่งต่อ  เพราะจะทำให้อาการบาดเจ็บเป็นมากขึ้น  ใช้เวลารักษานานขึ้น  หรืออาจทำให้เป็นจุดอ่อนต่อไปในอนาคต  การพักอาจต้องพัก 3-4 วัน ถึง 3-6 อาทิตย์แล้วแต่ความรุนแรง  แล้วค่อยๆกลับมาฝึกใหม่

 

        การประคบเย็น  ควรทำเร็วที่สุดที่สามารถทำได้  ใช้น้ำแข็งประคบ 10 นาที  หยุด 10 นาทีสลับกันไปจะช่วยลดอาการปวดและอาการบวมได้  ( การประคบร้อนใช้หลังจากได้รับการบาดเจ็บ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วันไปแล้ว )

 

        หลังจากนั้นก็พัน รัดไว้  เพื่อให้ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บเคลื่อนไหวน้อยที่สุด  แล้วยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บไว้ให้สูงกว่าหัวใจ  เพื่อลดอาการบวม  การนอน  ยกขาหรือเท้าสูงจะช่วยได้มากกรณีที่ได้รับบาดเจ็บที่ขาและเท้า

 

        จะเห็นได้ว่า  ถ้าไม่ระวังให้ดี  เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาแล้ว  จะต้องเสียเวลารักษาตัว  แถมการหยุดฝึกซ้อมจะทำให้สภาพความฟิตซ้อมของร่างกายลดลง  เมื่อหายจากการบาดเจ็บต้องค่อยๆฝึกซ้อม  เพราะจะฝึกหนักก็ไม่ได้  บางคนกล่าวว่าถ้าหยุดไปนานเท่าไหร่ก็ตาม  การฝึกซ้อมให้กลับมาแข็งแรงเท่าเดิมจะใช้เวลา 2 เท่าของเวลาที่หยุดพักไป  เช่นถ้าหยุดไป 2 อาทิตย์  ต้องใช้เวลาถึง 4 อาทิตย์ในการฝึกซ้อมให้กลับมาแข็งแรงเท่าเดิม

 

        จึงควรระวัง  แต่งกายและเลือกรองเท้าให้เหมาะสม  เลือกสถานที่ที่เหมาะสม  ฝึกซ้อมตามตารางที่ไม่หนักเกินไป  ไม่หักโหม  จะดีกว่า  เพราะส่วนมากหลังเกิดการบาดเจ็บก็พาลเข็ดการออกกำลังกาย  เลิกหรือรู้สึกไม่ดีกับการออกกำลังกายไปเลย

        ไม่เหมือนพวกที่ชอบจนเข้ากระดูกดำ  ชนกำแพงก็แล้ว  เจ็บเจียนตายก็แล้ว  รอดตายหายป่วยยังบอกว่า  ไม่เข็ดจะเอาอีก  แต่ทุกรายจะพูดตรงกันว่า  ต้องศึกษาให้ดี  ฝึกซ้อมตามตารางไม่หักโหม  ถ้ามีอาการผิดปกติต้องหยุด  อย่าฝืนเพราะอันตรายมากที่จะฝืนฝึกซ้อมหรือแข่งขันต่อ  พวกนี้ก็เกินไปหน่อยนะครับ  พวกเราก็เอาแค่  ออกกำลังกายให้สุขภาพดี  มีความสุขตามอัตภาพก็พอแล้ว  อยู่เขียน blog นานๆดีกว่า  
หมายเลขบันทึก: 88911เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • หายไปนานเลยนะคะ สบายดีนะคะ
  • มาพร้อมความรู้ดีมากๆ ค่ะ
  • ดิฉันไม่วิ่ง แต่จะเดินเร็วๆ ค่ะ
  • ตอนนี้ยังพอคุมน้ำหนักได้ค่ะ (55 กิโล) ยังไม่ปวดเข่าค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณBright Lily   ที่อเมริกาก็นิยมเดินเร็วๆเหมือนกัน  เพราะมีปัญหาที่เข่าน้อยกว่าวิ่ง 

ออกกำลังกายไม่ว่าวิธีไหนก็ดีเหมือนกันหมด  กำลังจะเขียนเรื่องฝึกกล้ามเนื้อเพื่อลดการปวดเข่าอยู่พอดี  ครับ  ตอนหน้านะครับ

จริงค่ะคุณหมอกว่าจะรักษาหายได้นานค่ะ ป้องกันดีที่ซู้ด....จะได้ไม่เสียเวลา เสียเงิน และเสียสุขภาพ 555

อาจารย์ Ranee   ในวงการแพทย์ก็มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา  แต่ส่วนมากก็จะรู้  แต่ไม่ทำ  หรืออาจเป็นพวกทำ ทั้งๆที่รู้ 

คุณหมอขา  

หนิงอยากจะซื้อรองเท้าวิ่งใหม่อ่ะค่ะ  เข้ามารบกวนคำแนะนำด้วยค่ะ

ออกตัวก่อนครับคุณหนิง  ไม่เชี่ยวชาญเรื่องรองเท้าวิ่ง  ทุกครั้งก็ไปปรึกษาเพื่อนที่ขายรองเท้าซึ่งเป็นนักวิ่งด้วย  เขาก็บอกว่าใช้รุ่นที่รับน้ำหนักได้ดี ( คนอ้วนว่างั้นเหอะ )  ส่วนเจ้าตัวบอกว่าใช้รุ่นน้ำหนักเบาเพราะพี่แกวิ่งมาราธอน

รองเท้าวิ่งจะมีหลายรุ่น  เน้นวัตถุประสงค์ต่างกัน  ลองอ่านคำแนะนำของคุณหมอ Jfk ดู

ดีใจจังที่คุณหนิงสนใจการวิ่งขนาดจะซื้อรองเท้าคู่ใหม่ อิอิ

น้ำหนักตัวเยอะเกินไปค่ะคุณหมอ  รองเท้าคู่เดิม รับไม่ไหวแล้วมังคะ  เลยทำให้ข้อเท้าแพลงอ่ะค่ะ   และได้รับคำแนะนำจากพี่ที่คุย(ทางmsn)ว่า  ต้องเปลี่ยนรองเท้านะ  หาที่รับน้ำหนักได้เยอะๆและลดแรงกระแทกได้ดีอ่ะค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าแบบไหนดีเนี่ย..เพราะพี่เขาก็ไม่เคยอ้วนอ่ะค่ะ  ดูเขาว่าเราสิ  !!  555  แต่ก็จริงของเขาเนอะ  ^__*

คุณหนิงครับ รองเท้าวิ่งก็มีอายุใช้งานอยู่  ขึ้นกับระยะทางและเวลา  ฝีมือพวกเราคงไม่ต้องดูระยะทางหรอก  ดูที่เวลาก็พอ  ส่วนใหญ่ก็ประมาณปี-ปีครึ่งก็ควรจะเปลี่ยนแล้ว

คนน้ำหนักตัวมากปกติจะมีปัญหาที่เข่า  ถ้าเป็นข้อเท้าอาจปรึกษาแพทย์ว่ามีการบิดของเท้าหรือเปล่า  อาจจำเป็นต้องหนุนรองเท้าครับ

ขอให้หายไวๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท