BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปทารถะ (Category)


ปทารถะ

Category ในภาษาไทยนอกจากจะมีศัพท์บัญญัติว่า ปทารถะ แล้ว บางครั้งก็นิยมแปลกันว่า ชนิด หรือ ประเภท ... ซึ่งศัพท์นี้ก็มีใช้ทั่วๆ ไป...

ส่วน Category หรือ ปทารถะ ที่ศึกษากันในวิชาปรัชญานั้น มีมุมมองทั้งในแง่ตรรกศาสตร์และอภิปรัชญา... ถ้ามองในกรอบของอภิปรัชญาก็จะหมายถึง หลักความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานแห่งความเข้าใจของมนุษย์ ... ประมาณนี้

การจำแนกชนิดของคำหรือหน่วยย่อยแห่งคามสัมพันธ์พื้นฐานที่เรียกว่า ปทารถะ นี้ แตกต่างกันไป เช่น 

  • อริสโตเติล จำแนกไว้ ๑๐ ประการ
  • อิมมานูเอล คานต์ จัดไว้ ๔ ประเภท จำแนกได้ ๑๒ ประการ
  • ปรัชญาไวเศษิกะของอินเดีย จำแนกไว้ ๗ ประการ
  • ปรัชญานยายะของอินเดีย จำแนกไว้ ๑๖ ประการ

......

 ปทารถะ (Category) ตามนัยแห่งตรรกศาสตร์ก็คือ วิถีแห่งถ้อยคำหรือการกระทำของภาคประธาน ซึ่งมีความสำคัญ ๒ ประการ คือ

  • ทำให้รู้จักวิธีในการจัดแจงการพูดคือการใช้ภาษาให้เป็นระเบียบ
  • ทำให้จำกัดความหมายของคำต่างๆ ได้
และมี เงื่อนไขในการจัดปทารถะ ดังต่อไปนี้
  • เป็นสิ่งง่ายๆ ธรรมดาสามัญ ไม่ซับซ้อน เช่น อสังกรกถา
  • เป็นของแท้ มิใช่ของเทียม
  • เป็นคำเอกัตถะ มีความหมายอย่างเดียว
  • สามารถอธิบายบางอย่างนอกจากตัวมันเองได้
  • เป็นสิ่งที่กำหนดได้หรือมีที่สุด

............

เฉพาะของอริสโตเติล ๑๐ ประการ มีดังต่อไปนี้

  •  ทรัพย์ หรือ สาระ (Substance)
  •   ปริมาณ (Quantity)
  •   คุณภาพ (Quality)
  •   สมวายะหรือสัมพันธภาพ (Relation) 
  •   กิริยาการหรือกัมมันตภาพ (Action or Activity)
  •    กรรม (Being passive or Passivity)
  •   กาละ (When)
  •   เทศะ (Where)
  •   สังโยค (Position)
  •  อาจาระ (Habit)

ตัวอย่างการจำแนกปทารถะ ตามแนวคิดอริสโตเติล... 

......  ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ภายในประเทศรู้สึกเครียดกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง   ....

ปัจจุบัน = กาละ

คนไทย = ทรัพย์

ส่วนใหญ่ = ปริมาณ

ภายใน = สมวายะ

ประเทศ = เทศะ

รู้สึก = อาจาระ

เครียด = กิริยาอาการ

กับ = สังโยค

ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง = กรรม

และ = สมวายะ

.......... 

อนึ่ง ปทารถะของอริสโตเติล ผู้เขียนก็ไม่ค่อยเข้าใจนัก ผู้สนใจเพิ่มเติมสามารถอ่านงานของอริสโตเติลได้ที่  http://etext.library.adelaide.edu.au/a/aristotle/categories/  

คำสำคัญ (Tags): #ปทารถะ
หมายเลขบันทึก: 94891เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2007 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • นมัสการหลวงพี่ผมเลยได้หลายภาษาจากบันทึกหลวงพี่เลยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • จำวัดดึกจังเลย
P

อนุโมทนา...

สำหรับการมาเยี่ยมและทิ้งร่องรอยไว้ที่นี้...

เพราะปกติบล็อกตรรกศาสตร์จะไม่ค่อยมีใครทิ้งร่องรอยไว้...........

เจริญพร 

ผมก็ชอบอ่านครับ

ได้ทบทวนนิยาม คำศัพท์ต่างๆที่เรา(คิดเอาเองว่า)รู้แล้ว 

นมัสการพระอาจารย์ครับ

  • หลักความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานแห่งความเข้าใจของมนุษย์ ที่พระอาจารย์กล่าวถึง เอาไปใช้ในเชิงปรัชญาอย่างไรครับ นอกเหนือจากประโยชน์ทางภาษาศาตร์ที่อาจารย์อธิบายแล้ว
  • กราบ ๓ หน

P

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

 

  • ความจริง คือ .....

นั่นคือ คำอธิบายของอภิปรัชญา ซึ่งเมื่อค้นคว้าไปเรื่อยๆ ก็ไปสะดุดที่่โลกภายนอก ซึ่งเรียกว่า อวกาศ ที่ว่าง พื้นที่ หรือ space (แต่ละำสำนักปรัชญาจะมีคำอธิบายเรื่องนี้ เช่น คลิกที่นี้ )

เฉพาะ space นี้... มีสิ่งต่างๆ บรรจุไว้มากหมายใน space... หรือ space มิใช่สิ่งมากมาย แต่เป็นเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น ... นี้เป็นประเด็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ตั้งคำถามเรื่องโลกภายนอก

ไปๆ มาๆ เมื่ออธิบายได้ไม่ชัดเจน ก็เกิดสงสัยขึ้นมาอีกว่า โลกภายนอก หรือ space นี้ มีจริงหรือไม่ ?... จึงมาสนใจโลกภายใน คืิอ จิตใจ ความคิด...  และนี้คือที่มาของหลักความสัมพันธ์พื้นฐานแห่งความเข้าใจของมนุษย์ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ปทารถะ หรือ category (อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี้)

จิตใจจะสร้าง ความเชื่อมโยง ความเหมือน ความต่าง ความคล้ายคลึง ความผิดแผก ความหลากหลาย ความเป็นหนึ่ง ความก่อน ความหลัง ฯลฯ แล้วก็ใช้สิ่งเหล่านี้คิดไปเรื่อยๆ และบางอย่างก็เป็นเพียง ข้อมูล ที่รับรู้มาจากโลกภายนอก เพื่อจะเข้าใจสิ่งต่างๆ....

อาตมาก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนัก (มิใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้) สรุปว่า เป็นการค้นหาเพื่อตอบคำถามว่า ความจริง คือ ....

เจริญพร

 

P

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

 

ปทารถะ เป็น เรื่องที่ยาก ซึ่งสำนักปรัชญาและนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่บางคนที่สนใจเรื่องนี้ ได้สร้างระบบขึ้นมาเพื่ออธิบาย ผู้สนใจด้านนี้ก็ต้องศึกษาเฉพาะสำนักหรือเฉพาะราย...

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะรู้เรื่องไม่รู้เรื่องปทารถะ แต่เราก็สามารถคิดได้ ขยายความ ประมวลความ และหาข้อสรุปหาความจริงที่เราสนใจได้...

การกำหนดช่วงของเวลาก็จัดเป็นประเด็นหนึ่งของปทารถะ มีบทความน่าสนใจมาฝากอาจารย์ (คลิกที่นี้) เป็นภาษาไทย แต่ก็อ่านไม่ง่ายนัก อาตมาอ่านแล้วรู้สึกยกย่องผู้เขียน จึงถือโอกาสฝาก link ไว้ที่นี้

เจริญพร

นมัสการพระอาจารย์ครับ

  • อ่านแล้วยัง งง งง ครับ
  • คงต้องหาเวลาอ่านซ้ำหลายหน
  • กราบ

P

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

 

เคยอ่านหลายเดือนแล้ว (ไม่ค่อยรู้เรื่องเหมือนกัน 5 5 5..) เท่าที่จำได้จากการอ่านบทความนี้ ก็คือประเด็นว่า...

อดีตที่เป็นความจำของเรานั้น มีมากมาย ทำไมเราจึงกำหนดความก่อนความหลังของเหตุการณ์ที่จำไว้ในอดีตได้อย่างชัดเจน...

การกำหนดช่วงเหตุการณ์ก่อนหลังของอดีตนั้น มิใช่่ความจำ แต่เป็นอย่างหนึ่ง... อย่างหนึ่ง ที่ว่านี้ น่าจะจัดเป็น ปทารถะ ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งประเด็นนี้ (เท่าที่รู้) ยังไม่เคยมีใครศึกษาหรืออ้างถึง...

คิดว่า ถ้าใครสร้างชุดอธิบายเรื่องนี้ได้อย่างน่าเชื่อถือหรือเป็นที่ยอมรับแล้ว... รางวัลโนเบิลหรือรางวัลอื่นๆ น่าจะไม่ไกลเกินฝัน (5 5 5...)

เจริญพร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท