ถ้าเมืองไทยจะเป็นครัวของโลก...


เป็นประเด็นที่มาจากบันทึกคนไทย...ขาดสิ่งใด ? ซึ่งตั้งคำถามที่น่าสนใจว่าในเมื่อเมืองไทยดูว่าจะมีองค์ประกอบที่ดีอยู่มากมาย แต่ทำไมถึงยังไม่ดี ยังขาดอะไร สำหรับประเด็นนี้ เรียนเชิญที่บันทึกของคุณเบิร์ดครับ ส่วนบันทึกนี้ชี้ประเด็นอื่นในคำถามที่ว่า ถ้าเมืองไทยจะเป็นครัวของโลก มีองค์ประกอบอะไรอีกที่ควรจะต้องทำ ผมแน่ใจว่าไม่ครบถ้วน แต่อย่างน้อยก็ขอทดไว้ดังๆ ก่อน เผื่อว่าท่านผู้รู้ จะเติมสิ่งที่ขาดได้

ปัญหาใน value chain (คนกลางและความไม่มีประสิทธิภาพในระบบจัดจำหน่าย)

เมื่อวันศุกร์ อ่านหนังสือพิมพ์อะไรสักอย่าง เจอสกู๊ปข่าว "เงาะหน้าสวน สองบาท" คงจะหมายถึงกิโลละสองบาท ผมถามคนในบ้านว่าเงาะราคาเท่าไหร่ เค้าบอกว่า "ตอนนี้อย่างถูกๆก็ประมาณยี่สิบบาทค่ะ" ถูกหรือแพงก็ไม่ทราบครับ ไม่ได้ตรวจสอบ แต่รู้สึกว่ามีปัญหาทันที

อีกสิบแปดบาท (90%) หายไปไหนครับ?!?!

ปัญหาการไม่สามารถรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง

การที่ต่างคนต่างทำ ทำให้เกษตรกรแต่ละราย ไม่มีอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง 

ปัญหา supply chain และ logistics

เป็นเรื่องที่แปลกที่เมืองไทย ไม่นิยมใช้รถไฟขนสินค้าหรือขนคน ซึ่งจะทำให้เกิดความประหยัด และลดความคับคั่งในเครือข่ายถนน

กฏหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร

หมายเลขบันทึก: 96039เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
P

สวัสดีค่ะ

เคยทำโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ขอเล่าประสบการณ์ค่ะ

  • โรงงานซื้อตรงจากชาวไร่ส่วนมาก บางทีผ่านคนกลางบ้าง แต่อยากซื้อตรง คุมคุณภาพได้ ซื้อแยกเกรด ถูกก็มี แพงก็มี ราคาเงาะที่บอก เป็นมานานแล้วค่ะ
  • ไม่ใช้รถไฟเพราะช้า ของเสียหมด
  • ชาวสวน ไม่มีรวมกลุ่ม ถึงรวมเดี๋ยวก็แตก เพราะน่าจะเกิดจากคนกลาง ตีราคาของขายให้ลูกค้า อาจไม่ยุติธรรม เลยขายตรงดีกว่า
  • การขายของทีละมากๆ ต้องขายถูกอยู่แล้วค่ะ
  • เราเคยทดลองทำการส่งตู้Container แบบControl Atmosphere ไปยุโรป ไม่สำเร็จ เพราะคุมกระบวนการปลุก ใส่ปุ๋ย และเก็บเกี่ยวไม่ได้ค่ะ

เรื่องรถไฟนะครับ ผมเคยเรียนถามประธานกรรมการบริษัทเครื่องดื่มที่มีคนสองหมื่นคน (ตอนนั้น) ว่าทำไมไม่ใช้รถไฟขน แล้วเอารถเล็กไปขนต่อจากรถไฟ ก็ได้รับคำตอบเหมือนกันครับ คือช้าในความหมายว่าควบคุมเวลาไม่ได้

  • การขนของขึ้นลงรถไฟ ต้องให้ รสพ.ทำให้เท่านั้น
  • รถ forklift ที่ขนของขึ้นลงไม่มีตามสถานีต่างๆ
  • ไม่มีโกดังให้เช่าพักของ
  • ฯลฯ
สรุปคือไม่ใช้รถไฟครับ

เมืองไทยอาจจะขาดสิ่งนี้อยู่ก็ได้ครับ

ครัวโลกนี้ถ้านำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ ในมุมความคิดของผมก็คือ อย่างน้อยสุดครอบครัวที่ไม่ใช่ชุมชนเมือง น่าจะผลิตอาหารเช่นผักปลอดสารพิษรับประทานเองได้มากพอที่จะรับประทานเองภายในครัวเรือนและเหลือจำหน่ายให้กับชุมชนเมืองโดยอาศัย ระบบสหกรณ์และการจัดการ supply chain

สิ่งนี้ต้องเข็มแข็ง ก่อนที่เราจะเป็นครัวโลกครับ

ก็จริงครับ ถ้าหากเรายืนอยู่บนขาของตัวเองได้ แรงกดดันที่จะต้องไปเป็นโน่นเป็นนี่ที่ไม่ได้เป็นแต่อยากเป็น ก็จะลดลง (idea ไม่มี r ครับ)

หากว่าการกล่าวมุสาเป็นการขัดขวางหิริโอตตัปปะ (ซึ่งเมื่อไม่มีความละอาย+ไม่เกรงกลัวต่อบาปแล้ว ก็จะทำชั่วอื่นๆ สร้างความเสียหายได้อีกมาก) ความโลภก็เป็นการขัดขวางเศรษฐกิจพอเพียงโดยนัยเดียวกันครับ (จากเว็บ sufficiencyeconomy.org โดยสภาพัฒน์ คุณมนตรีผู้เขียนบทความเป็นคริสต์ครับ)

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

ขออนุญาตทำลิ้งค์นะคะ..และขอสงวนความเห็นค่ะ..เพราะเป็นประเด็นที่เบิร์ดอยากทราบมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท