ลำเนาป่า


วรรณกรรมไทยสมัยใหม่ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวแห่งความรัก ความวาดหวัง และการเลือกตัดสินใจต่อหนทางในแต่ละเส้นทางชีวิต ด้วยตนเอง

แนะนำหนังสือ 

ลำเนาป่า 

ศิเรมอร  อุณหธูป ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน

กุมภาพันธ์ 2549  

คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  

วรรณกรรมไทยซึ่งบอกเล่าเรื่องราว

ผ่านห้วงความคิด ด้วยมุมมองความรักของผู้คน

จากความเป็นไป และน่าจะเป็นของชีวิต

ในแต่ละความคาดหวัง และมุ่งมั่น

ในท่ามกลางความงามของแผ่นดิน   

คำนำสำนักพิมพ์ 

เราเชื่อว่าการอ่านวรรณกรรมเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ด้านสังคมมนุษย์อีกวิธีหนึ่ง เพราะผู้เขียนมักนำความคิด แสดงมุมมอง และสะท้อนสภาพความเป็นไปในสังคมลงในผลงานของตนเสมอ

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ดังนั้น การได้อ่านผลงานของหลายๆ นักเขียนในช่วงเวลาเดียวกัน เราจะสามารถมองเห็นภาพของคนในยุคสมัยนั้นๆ ได้ดีที่สุด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำหรับ ลำเนาป่า ก็เช่นกัน นอกจากจะเป็นนวนิยายที่มีรางวัลการันตีแล้วยังเป็นผลงานของนักเขียนหญิงอีกด้วย จึงเป็นอีกมุมมองความคิดที่น่าสนใจ ก่อนจะเสพอรรถรสวรรณศิลป์จาก ลำเนาป่า ขอลำดับที่มาพอสังเขป </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลำเนาป่า ทยอยลงเป็นตอนๆ ในนิตยสารดิฉัน ตั้งแต่ปี 2525 2526 นักอ่านเฝ้าคอยติดตามเรื่องราวของ ลำเนา กับ ชด ว่าจะสมหวังในความรักหรือจักลงเอยกันแบบใด พร้อมกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและตรงข้ามกับพฤติกรรมของลำเนาที่ขัดอารมณ์ยิ่งนัก</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ปี 2527 ลำเนาป่า ตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกโดย สำนักพิมพ์ต้นหมาก และปีนี้ ลำเนาป่า ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวนิยาย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลำเนาป่า ยังได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่องจนได้รับการตีพิมพ์ซ้ำครั้งที่สองในปีถัดมา</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เรื่องราวของหญิงสาว ลำเนา กับความรักที่มีต่อ ชด ชายหนุ่มที่ตนรัก ได้ถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่อง คือฉัน มีสบันงา วงศ์โสภา และสันติสุข พรหมศิริ รับบทเป็นลำเนาและชด เมื่อปี 2533 กำกับการแสดงโดยแจ๊สสยาม สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมอย่างมาก จนดันจำนวนครั้งที่พิมพ์เพิ่มเป็นสาม สี่ ห้า ให้กับสำนักพิมพ์หมึกจีนในเวลาเพียงหนึ่งปี</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลำเนาป่า ทิ้งช่วงไปสักระยะให้ลำเนาโลดแล่นในใจผู้อ่านจนทนคิดถึงไม่ไหว แพรวสำนักพิมพ์หยิบมาตีพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่หกในปี 2540 และหลังจากนั้นกรมวิชาการก็ยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2544</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ครั้งนี้นับเป็นการพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 7 สำนักพิมพ์มติชน เห็นว่า ลำเนา หญิงสาวผู้กล้าหาญดำเนินชีวิตมาเป็นเวลา 24 ปีด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้า… กล้าพอที่จะละทิ้งความรัก ความสุขที่ผู้คนปรารถนาไขว่คว้ามาครอบครอง แต่สำหรับเธอทั้งที่มีมันอยู่ในมือกลับปล่อยวาง หันหลังหนี เดินไปสู่ที่ที่เธอถวิลหา เพื่อเลือกทางเดินแห่งอุดมการณ์ในชีวิต</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ดอกไม้มันพูดได้ด้วยกลีบ ต้นพูดด้วยใบ เวลาออกดอก ทั้งกลีบและใบทักทายกันในสายลม และเริงรื่นอยู่ด้วยกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>  ความคิดที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ลำเนาจึงกลายเป็นขบถของครอบครัวชดและสังคม ถูกตราหน้าว่าแข็งกระด้าง ดื้อรั้น และกระด้างกระเดื่อง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">… แต่ในที่ที่เธอเคยอยู่และหวนกลับไปหา เธอกลับดูอ่อนหวาน อ่อนน้อม นุ่มนวล เผื่อแผ่ และอบอุ่นมั่นคง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> ป่าแต่งองค์ทรงเครื่องใหญ่</p><p>ห่มสไปสีโศก</p><p>ตกกลางคืนก็เคลื่อนใบส่ายโยกกับลมไหว</p><p>ก้านกิ่งทำเสียงล้อลมพลางกวัดไกว </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แล้วทิ้งใบจากก้าน…ลอยคว้างลม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> ลำเนาป่า โดดเด่นทั้งภาษา เด็ดเดี่ยวในความคิด และเด็ดขาดในการกระทำเป็นวรรณกรรมคลาสสิกเล่มหนึ่งของไทย… ที่ควรมีไว้ครอบครอง </p><p></p><p>สำนักพิมพ์มติชน   </p><p> </p><p>เมื่อชีวิตและธรรมชาติคือความหมายแห่งรักเพียงหนึ่งเดียว   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โลกของธรรมชาติเป็นโลกอันพิสุทธิ์ ที่กอปรด้วยความรู้สึกของการเปล่งประกายที่ล้ำลึก ทุกๆขณะธรรมชาติมีจุดยืนแห่งตน…เรียบง่ายและลึกซึ้งดุจบทเพลงสวดของศาสนา ชีวิตมีค่าเพียงใด…เมื่อธรรมชาติเป็นลมหายใจของคำตอบที่ทำให้ทุกๆคน ก้าวย่างสู่การค้นหาความหมาย ที่อิ่มเอมในหัวใจได้ทุกเวลานาที</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมถือเอาสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นบริบทอันสงบงามของความคิด… ความคิดที่จะสื่อกับวรรณกรรมที่ละเมียดละไมในจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมระหว่างความรักกับตัวตนอันแท้จริงของชีวิตและสรรพสิ่ง… ความรักกับความเบิกบานใจที่หลอมรวมกันเข้าระหว่างความเข้าใจและความประทับใจในเจตนาที่เป็นความหมายของความรื่นรมย์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลำเนาป่า คือเรื่องเล่าของความคิดอันเนื่องมาแต่ความรักและตัวตน… ที่ปรากฏกายอยู่ท่ามกลางความสุขแห่งธรรมชาติ… การตัดสินใจที่จะมีวิถีแห่งรักผ่านภาพขยายอันมีชีวิตชีวาของโลกกว้าง …นับเป็นภาวะที่น่าค้นหาอย่างยิ่งในมิติคิดของผู้หญิงที่ชื่อ ลำเนา จริตมายาแห่งภาพลวงตาทั้งปวงถูกปกคลุมด้วยมโนทัศน์ที่ถ่อมสุภาพ และยกย่องให้ธรรมชาติเป็นแหล่งกำเนิดที่งอกงามแห่งเมล็ดพันธุ์ของจิตใจ… ความหมายแห่งรักที่เธอได้ค้นพบเป็นภาพเปรียบเทียบเหนือจินตนาการใดใด… เป็นจุดกำเนิดของสำนึกคิดที่ตื่นตระการทางอารมณ์… การปฏิเสธความรักจาก คนที่รัก</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การพยายามอธิบายเหตุผลของความรักด้วยท่าที อันเป็นเสน่หาที่ผูกโยงแนบชิดกับธรรมชาติถือเป็นสาระที่มีค่าต่อการเรียนรู้อย่างยิ่งของ ผู้หญิง ในฐานะสตรีแห่งความพิลาสพิไล </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ศิเรมอร อุณหธูป …เขียนเรื่องเล่าที่วิจิตรตระการด้านอารมณ์นี้ออกมาด้วยลีลาการเขียนที่เนียนละมุน …ผมรู้สึกถึงความอ่อนโยนและกลิ่นอายที่จรุงใจนั้นในทุกครั้งที่มีได้อ่านนวนิยายาเล่มเล็กเล่มนี้… ในฐานะผู้ชาย… ในฐานะบุรุษผู้ลุ่มหลงในวังวนแห่งความรัก… ผมออกเดินค้นหาที่มาที่ไปในศรัทธาแห่งธรรมชาติอันไม่รู้จบ ออกค้นหาคำตอบอันชัดเจนในนัยแห่งความรักและองค์ประกอบอันรื่นรมย์ของธรรมชาติที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมได้ค้นพบสีสันแห่งการอยู่ร่วม และเหตุผลที่ยากเย็นของการจากลา …มีอยู่บ่อยครั้งที่ความเห็นแก่ตัวของหัวใจบังคับให้ผมต้องดื้อรั้น และไม่ยอมที่จะมองเนื้อในที่ใสสะอาดของธรรมชาติเหมือนอย่างที่ ชด คนที่รักลำเนาเป็น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ชด อาจเป็นคนเห็นแก่ตัว… ผมและผู้ชายอีกทั้งโลกก็น่าจะเป็นคนเห็นแก่ตัว หากพวกเขาได้พบกับหญิงสาวผู้มองเห็นธรรมชาติเป็นเนื้อในที่พิสุทธิ์งดงามของชีวิต</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลำเนาป่า …คือท่วงทำนองแห่งความตระหนักรู้… ท่วงทำนองแห่งการเข้าใจวิถีแห่งธรรมชาติอันล้ำลึก มันคือโลกเฉพาะ… โลกอันเป็นความหมายเฉพาะที่เกิดจากการพินิจพิเคราะห์ด้วยสายตาที่ลึกซึ้งจากหัวใจ มากกว่าอารมณ์แห่งความเห็นแก่ตัวอันน่าเวทนาสงสารเพียงถ่ายเดียว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ชด อาจจะมีความถูกต้องหากเราจะมองโลกด้วยสายตาที่คับแคบ ด้วยหัวใจที่ปิดกั้นชีวิตแห่งความเติบใหญ่ และงอกงามของธรรมชาติ ณ ที่นั้น… สายลมย่อมโบกโบยอย่างแผ่วเบา… มวลดอกไม้ย่อมผลิบาน สะเทิ้นไหวและป่าไม้นานาพันธุ์ย่อมแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ ดุจกวีที่หลอมจิตวิญญาณของเขาและเธอทั้งหลายให้เป็นโศลกแห่งความทรงจำที่ไม่เคยลบเลือนไปได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมอยู่กับลำเนาป่า …เนิ่นนานมากในช่วงเวลาหนึ่ง …ถ่ายทอดตัวหนังสืออันเป็นรูปรอยของความรักนี้… ผ่านสู่มิติแห่งภาพยนตร์… ประดิดประดอยสาระให้อิงแอบอยู่กับก้นบึ้งแห่งธรรมชาติและความหมายแห่งรักอันแท้จริง… หนึ่งเดียวที่ผมสัมผัสได้คือความอิ่มเอมอันพิสุทธิ์… หอมหวานและตื่นตระการในจิตวิญญาณของความสุขอันเลอค่าและเป็นเนื้อแท้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมเข้าใจในความเข้าใจของ ศิเรมอร อุณหธูป …สัมผัสถึงสัมผัสแห่งลำเนาและความเป็นวิถีแห่งป่าที่ไม่เคยสูญสิ้น…ทุกสิ่งปลูกสร้างขึ้นในจิตวิญญาณของเธอ… ในนวนิยายของเธอ… ทั้งหมดทั้งมวลถูกแปลค่า เป็นความหมายของชีวิตที่เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวถึงความรักอันเป็นเพียงหนึ่งเดียว… เป็นความหมายที่ถูกแปลค่าให้เป็นดั่งศรัทธาของความเป็นนิรันดร์แห่งนิรันดร์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมอยากให้ทุกคนได้มองเห็นในสิ่งที่ผมเคยได้เห็น… ได้มองเห็นภาพความรักในหัวใจของตนเองที่ไม่ได้ลวงตา ได้มองเห็นความหมายในสรรพสิ่งที่เคลื่อนไหวในธรรมชาติอย่างรื่นรมย์และเข้าใจ… ไม่รู้จบ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทุกๆ ขณะ… ทุกๆสิ่งมีจิตวิญญาณอันเป็นรูปรอยที่พิสุทธิ์ ทุกๆขณะลำเนาป่าคือหนทางที่เติบใหญ่แห่งเมล็ดพันธุ์ ที่งอกงามออกมาจากนัยชีวิตที่ไม่เคยสูญสิ้น … นัยแห่งบทเพลงของความสงบงาม… แท้จริง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ท่วงทำนองแห่งกวีนิพนธ์ เงียบสงบ ลำนำเพลงแห่งรัก ส่งสายตาเฉิดฉาย ทุกๆความหมายในโลกแห่งสรรพสิ่ง ล้วนเป็นหนึ่งเดียวเมื่อ… ธรรมชาติเกาะเกี่ยวหัวใจไว้ด้วยใจ</p><p>สกุล บุณยฑัต  </p><p></p><p>ลมหนาว หยดน้ำฝน ใบไม้แห้ง และไออุ่นความรัก  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หนึ่งในวรรณกรรมไทย ที่บอกเล่าความหมายของสายลมหนาว หยดน้ำฝน ใบไม้แห้งสีโศกยามแล้ง ผ่านแต่ละบทบรรยายขุนเขาแห่งเชียงใหม่ไว้อย่างงดงาม พอกับการอธิบายถึงความรักความผูกพัน ด้วยมุมมองเนื้อหา และสายตาของคนที่ปรารถนาในรัก ซึ่งมาพร้อมกับการถวิลหาตัวตนในที่ทางอันเหมาะสม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แม้มิใช่ความตื่นเต้นแปลกตา ด้วยความใหม่สดหรือโลดแล่นให้โดดเด่นจากเนื้อหาทั่วไป จนต้องกล่าวว่าเป็นจุดเริ่มต้น แต่ภาพของการอธิบายที่ทางแห่งความฝันของคนหนุ่มสาวบางคน ที่ผนวกรวมกับคำถามทั่วไปในชีวิต กลับเป็นสิ่งที่เด่นชัดในน้ำหนักเนื้อหา ด้วยความเท่าเทียมและเสมอภาคในพื้นฐาน หากต้องเลือกอยู่เลือกตัดสินใจเพียงลำพัง คำตอบของชีวิตก็ดูไม่ยากเย็นนัก </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่หากเมื่อลมแห่งความรักพัดพาตัวแปร ให้เข้ามาสู่ชีวิตที่ได้เลือกตัดสินใจ คำตอบตามมาจะเป็นเช่นไร สำหรับวันคืนที่เราจะได้มีโอกาสเห็นตัวเอง อยู่ท่ามกลางคนอื่น และอยู่ท่ามกลางความคาดหวังอีกมากมาย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">            ความต่างของเรื่องราวผู้คน ระหว่างเมืองและป่าขุนเขา ไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดจากกัน แต่กลับเชื่อมร้อยและเกี่ยวพันเราไว้กับความจริงบางอย่าง ในแต่ละบทของเรื่องราว เหมือนประโยคบอกเล่าสิ่งสัมพันธ์ของชีวิตกับชีวิตรอบข้าง ของชีวิตกับธรรมชาติ ของชีวิตกับวัตถุรอบข้าง สิ่งที่มีค่ามากมายเริ่มต้นขึ้น สัมพันธ์และเกาะเกี่ยวด้วยเหตุผลความรู้สึกบางอย่าง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทั้งหมดเกี่ยวร้อยไว้ในวรรณกรรมไทย ซึ่งเขียนไว้ในรูปนวนิยาย รวมเล่มและเก็บเรื่องราวของความรักออกมา ด้วยสายตาที่มองเห็นเมือง เห็นผู้คน ขุนเขา ในแต่ละลมหนาว หยดน้ำฝน ใบไม้แห้ง และไออุ่นความรัก ทั้งหมดเชื่อมร้อยไว้ด้วยเนื้อหาของงานเขียนไทย ด้วยบทสรุปความรักจากคำรำพึงของหญิงสาว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อีกไม่นาน มันจะบานแอร่มฟูเต็มต้นไปหมด ทั้งกลีบดอกและใบทักทายในสายลมโบย มันเริงรื่นอยู่ด้วยกันคงอีกนานหรอกชด กว่ามันจะทิ้งดอกทั้งใบให้ต้นมันเหงาตามลำพัง ลำเนาพูดกับตัวเองอย่างเงียบเชียบ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>หมายเหตุ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำนักพิมพ์มติชน จัดทำเนื้อหาวรรณกรรมเรื่อง ลำเนาป่า ของศิเรมอร อุณหธูป ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ด้วยเนื้อหาเรื่องราว ที่จัดวางประเภทในส่วนของงาน พร้อมทั้งนำเสนอชุดการพิมพ์ว่าเป็น Thai Modern Classic พร้อมกับนวนิยายเรื่องอื่น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> ภายใต้คำนิยม และรางวัลทางวรรณกรรมซึ่งตีพิมพ์หน้าปกไว้ว่า เป็นนวนิยายรางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2527 หรือ 1 ในหนังสือดี 100 เล่ม ทีเด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยภายในเล่ม มีบทสัมภาษณ์ผู้เขียน ในชื่อบทที่ว่า ลำเนา ในสวนอักษร ศิเรมอร อุณหธูป จากการสัมภาษณ์ของ วีณา โดมพนานดร เสมือนคำไขเนื้อในใจผู้เขียน ให้ได้แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมหลังการอ่าน หลังการสัมผัสความงามในดงอักษร   </p><p> </p><p>ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           กุมภาพันธ์ 2549 พิมพ์ครั้งที่ 7 </p><p>ชื่อหนังสือ          :           ลำเนาป่า </p><p>ประเภท             :           วรรณกรรมไทย</p><p>ชื่อผู้เขียน           :           ศิเรมอร อุณหธูป </p><p>บรรณาธิการ       :           ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์     </p><p> </p><p>ข้อมูลทางบรรณานุกรม </p><p>ศิเรมอร  อุณหธูป            </p><p>ลำเนาป่า. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. </p><p>193 หน้า : ภาพประกอบI.วรรณกรรมไทย II.ชื่อเรื่อง</p><p>ISBN 974-323-617-1</p>

หมายเลขบันทึก: 98999เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

2540. จงจิต อนันต์คูศรี. มโนทัศน์สตรีนิยมในนวนิยายของซีโมน เดอ โบวัวร์, ซิลเวีย พลาธ, บิรกิตเทอะ
ชไวเกอร์ และศิเรมอร อุณหธูป

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษามโนทัศน์สตรีนิยมในนวนิยายเรื่อง ชี เคม ทู สเตย์ ของ ซีโมน เดอ โบวัวร์, เดอะ เบล จาร์ ของ ซิลเวีย พลาธ, วายอีสแดร์ ซอลต์ อิน เดอะ ซี? ของ บริกิตเทอะ ชไกเกอร์ และเรื่อง ลำเนาเป่า ของ ศิเรมอร อุณหธูป

มโนทัศน์สตริยมคือความคิดโดยรวมใมนการเรียกร้องสิทธิที่สตรีพึงจะได้รับในฐานะสมาชิกผู้หนึ่งของสังคม โดยมีพื้นฐานควสามคิดที่ว่าชายและหญิงมีความสามารถเท่าเทียมกันในการประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน แต่ความคาดหวังและข้อกำหนดจากสังคมเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสตรี การแบ่งงานโดยใช้เพศเป็นเกณฑ์ และแนวทางการวิจารณ์ที่เรียกว่า "ความเป็นจริงที่แท้" ซึ่งแสดงลักษณะอัตชีวประวัติของผู้ประพันธ์และประสบการณ์แห่งสตรี

ผลการวิเคราะห์แกละเปรียบเทียบมโนทัศน์สตรีนิยมในนวนิยายทั้ง 4 เรื่องพบว่า ตัวละครสตรีทั้งสี่ตระหนักถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่สังคมคาดหวัง กับตัวตนที่แท้จริงของตัวละคร และนำไปสู่วิกฤติความเป็นตัวตนของตัวละคร นอกจากนี้ตัวละครทั้งหมดมีแนวคิดเรืองการพึ่งพาตนเองเพื่อการมีชีวิตที่เป็นอิสระ แต่ยังได้รับผลกระทบจากทัศนคติของคนในสังคมเกี่ยวกับบทบาทของสตรีที่ดี จากการใช้แนวทางการวิจารณืที่เรียกว่า "ความเป็นจริงที่แท้" ในการศึกษาวิะคราะห์พบว่านวนิยาย 3 เรื่องมีลักษณะเทียบเคียงได้กับอัตชีวประวัติของผู้ประพันธ์ ในขณะที่นวนิยายเรื่อง ลำเนาป่า เป็นการเสนอภาพสตรีตามแนวทางการดำเนินชีวิตของผู้ประพันธ์สำหรับประสบการณ์แห่งสตรีในนวนิยายทั้ง 4 เรื่องมีลักาณะสากลที่เป็นประสบการร่วมของสตรีทุกชาติทุกภาษา

ผมเคยมีหนังสือเล่นนี้นะ "ลำเนาป่า"

แต่ว่าไม่รู้ว่าพอย้ายบ้านแล้วหายไปไหน

ไปตามหาซื้ออีกก็ไม่มีขายแล้ว

อยากได้มาสะสมมาก

อยากอ่านอีก...ชอบมาก

ใครพอจะทราบว่ามีที่ไหนเขายังขายกันบ้าง

รบกวนบอกด้วยนะครับ

อยากได้เก็บไว้จริง...ตามหามานานแล้ว

ขอบคุณครับ

คุณคนข้างบน ผมมีหนังสือลำเนาป่า และผมทราบว่าจะซื้อได้ที่ไหนติดต่อผม นะคับ0844618726

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท