เที่ยวสามแผ่นดิน


งานเขียนชิ้นเยี่ยมของนักเขียนสารคดี ผู้หลงใหลการเดินทาง ผ่านบทบันทึกและภาพถ่ายอันงดงามของผู้คน และแผ่นดิน ผ่านสามแผ่นดิน สองทวีป

แนะนำหนังสือ 

 

<p></p>

เที่ยวสามแผ่นดิน  

ภาณุ  มณีวัฒนกุล

เรื่องและภาพ  

กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์

กันยายน 2544   

 

 

</span><p></p><p>คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ   </p><p></p><p>เรื่องราวบอกเล่าจากการเดินทาง</p><p>ผ่านการมองเห็น พูดคุย พบปะ และสังเกตุ</p><p>ท่ามกลางความจริงของผู้คนบนแผ่นดิน</p><p>ในแต่ละการเรียนรู้อันงดงาม    </p><p></p><p></p><p></p><p>หมายเหตุสำนักพิมพ์   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ภาณุ มณีวัฒนกุล นักเขียน นักเดินทาง นักแบกเป้ คนเร่ร่อน นักซอกแซก และนักอะไรต่อมิอะไร ตามแต่ที่ใครจะเรียกเขา ขณะที่เขาพอใจจะเรียกตัวเองว่า นักเล่าเรื่อง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>            ใช่ เขาคือนักเล่าเรื่องที่ช่างสรรหาเรื่องมาเล่า และก็เล่าได้สนุกมีสาระ ทั้งที่เล่าผ่านปากเปล่าและที่เล่าผ่านปากกาเป็นงานเขียน … งานเขียนหรือตัวหนังสือของเขา ถ้าจะพูด… ถ้าจะอ่านกันแค่ผิวเผิน พอผ่านๆไป ก็คล้ายว่าจะเรียบเรื่อย ไปเรื่อยๆ เหมือนไม่มีอะไรน่าสนใจ แต่ถ้าตั้งใจอ่านสักนิด ก็จะพบว่าในความเรียบเรื่อยนั้น มีความงามของภาษา มีความจริงใจต่อเรื่องที่เขาเล่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงก็มีสัดส่วนไม่มากไม่น้อย ในแง่ที่งานชิ้นนั้นคือสารคดี และที่เด่นอีกอย่างก็คือ การที่เขาพูดถึงคน เขียนถึงคน ด้วยความรู้สึกนึกคิดของคนที่รู้จักคน รู้จักธรรมชาติของคน… ภาณุ มณีวัฒนกุล เป็นนักเล่าเรื่อง และเรื่องที่เขาเล่ามักจะทำให้ถ้วยชากาแฟของใครหลายคนจิบแล้วได้รสชาติมากขึ้น เขายังทำให้ใบหน้าของคนแก่ เด็ก ใครต่อใครในสังคมที่แตกต่างเป็นใบหน้าของเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ที่ควรค่าแก่การเก็บไว้เป็นความทรงจำ ดังที่เขาเล่าไว้ในเล่มที่ผ่านๆมา เช่น คือคนในความทรงจำ… คือสาระจากชีวิตเร่ร่อน และอารมณ์กาแฟ… สำหรับเล่มนี้ เที่ยวสามแผ่นดิน เขาเล่าถึงแผ่นดินของออสเตรเลีย เวียดนาม และอินเดียเสมือนหนึ่งว่าเขาเล่าถึงบ้านและแผ่นดินของเขาเอง มันเป็นบ้านและแผ่นดินที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง   </p><p></p><p>แพรวสำนักพิมพ์</p><p>กันยายน 2544    </p><p> </p><p>สวัสดีครับ  </p><p>สารคดีเกี่ยวกับเรื่องเที่ยวในหนังสือเล่มนี้ รวบรวมจากข้อเขียนซึ่งเคยตีพิมพ์ในนิตยสารหลายเล่มและต่างวาระกัน เมื่อนำมารวบรวมเป็นเล่มจึงมีการเรียบเรียงใหม่ และบางเรื่องอาจเรียกได้ว่าเขียนขึ้นใหม่ เพื่อให้เรื่องปะติดปะต่อ   ถามว่า ทำไมถึง สามแผ่นดินก็เพราะทั้งสามแผ่นดิน ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปมาไม่ต่ำกว่าสามครั้งสามครา และต่างระยะเวลา เพราะฉะนั้นจึงได้เห็นสิ่งที่อยากเห็นตามสมควร ได้รู้และสัมผัสกับเรื่องราวบางเรื่องจนเกิดความรู้สึกอยากเล่าสู่เป็นตัวหนังสือ  </p><p></p><p>ถามว่า นี่เป็นหนังสือคู่มือท่องเที่ยวหรือไม่คงไม่ใช่เลยทีเดียว เพราะบางเรื่องเขียนจากเหตุการณ์ที่ได้พบเห็นในประเทศนั้นๆ จึงจับประเด็นและเขียนเป็นรูปแบบสารคดี ในขณะเดียวกัน บางเรื่องก็มีความเป็นสารคดีท่องเที่ยวอยู่ โดยผู้เขียนเพิ่มข้อมูลในภาคผนวกของแต่ละแผ่นดินแต่ละประเทศแยกเอาไว้ เป็นข้อมูลดิบๆ ซึ่งเป็นข้อแนะนำบ้าง เป็นเรื่องราวที่ควรรู้บ้าง แม้แต่วิธีเอาตัวรอดในแต่ละประเทศ หรือสิ่งที่ควรและไม่ควรทำ ก็พยายามนึกและนำมาเขียนไว้  เพราะฉะนั้นภาคผนวกจึงไม่ใช่ข้อมูลประเภทนอนที่ไหน กินที่ไหน หรือไปซื้อของถูกและดีได้ตรงไหนเมื่อผู้อ่านอ่านแล้วเกิดความรู้สึกอยากออกเดินทางท่องเที่ยวบ้างก็เชิญเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ แล้วอย่าลืมรัดเข็มขัดนิรภัยนะครับ  </p><p>ภาณุ มณีวัฒนกุล</p><p>สิงหาคม 2544  </p><p></p><p></p><p></p><p>สารบัญของเรื่องราวเดินทาง  </p><p>แผ่นดินที่ 1 ออสเตรเลีย</p><p>Tasmania: The Beauty of Down Under</p><p>Fraser Island: เกาะทราย ทะเลสาบ และพระผู้ไถ่บาป</p><p>ชั้น 3 รถไฟสาย Indian - Pacific</p><p>ถนนสายสวย: The Great Ocean Road</p><p>สำนึกอนุรักษ์…ชาวออสซี่</p><p>ภาคผนวก  </p><p> </p><p>แผ่นดินที่ 2 เวียดนาม</p><p>Cao Dai: ศาสนาแห่งการต่อสู้</p><p>คาวบอยไม่พกปืนที่ Da Lat</p><p>ชายทะเลเวียดนาม</p><p>ฮอยอัน : สงบสุข สง่างาม</p><p>เล่าเรื่องเวียดนาม (ภาค) เหนือ</p><p>ภาคผนวก   </p><p></p><p></p><p></p><p>แผ่นดินที่ 3 อินเดีย</p><p>ปลายทางไกรลาส (1) ใครว่าฝนไม่ใคร่ตกที่ Lahual Spiti</p><p>ปลายทางไกรลาส (2) Tabo, Kailash และคนเก็บแอ๊ปเปิ้ล</p><p>บนความสูง 5,000 ฟุต (1) ถนนสู่เลห์</p><p>บนความสูง 5,000 ฟุต (2) เลห์ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต</p><p>ลามะน้อยกับการเกิดใหม่</p><p>ภาคผนวก   </p><p> </p><p>เริ่มเรื่องการเดินทาง </p><p></p><p>แม้ว่าภาณุ มณีวัฒนกุล จะออกตัวด้วยข้อเขียนภายในเล่ม เพื่อชี้แจงว่าหนังสือเล่มนี้ มิใช่คู่มือนำเที่ยวและอธิบายเส้นทางการเดินทางอย่างละเอียด แต่ภายในเล่มก็ได้บอกกล่าวเรื่องราวที่น่าสนใจบางอย่าง ให้แก่ผู้ใฝ่ใจจะเดินทาง ผ่านบันทึกจากความรู้สึก ความประทับใจ ในผู้คน บรรยากาศ และความงดงามแห่งแผ่นดินซึ่งได้ก้าวผ่าน หลายแห่งก้าววนกลับไปกลับมา เว้นระยะนานหลายปี จนบางแห่งนานนับสิบปี ที่หวนคืนไปรำลึกเรื่องราว และเก็บเกี่ยวความหมายที่อยู่ในความงามของแผ่นดินเหล่านั้น   </p><p> </p><p>งานเขียนชิ้นนี้รวบรวมเรื่องราว จากการตีพิมพ์ในนิตยสาร และวารสารหลากหลายฉบับ เพื่อนำกลับมาเรียบเรียง และร้อยด้วยรายละเอียดเพิ่มเติม จากบทบันทึก การพูดคุย สังเกตุ และเรื่องประทับใจในช่วงการเดินทาง นับจากปี 2532 2543   </p><p> </p><p>เรื่องราวภายใต้การเดินทางหลายรอบ ของนักเล่าเรื่องผู้ชื่นชอบการเดินทาง สัมผัสความหมายระหว่างการมองชีวิตแวดล้อม เห็นผู้คน เห็นธรรมชาติ และเหตุผลความรู้สึกซึ่งแฝงอยู่ในแต่ละดินแดนแห่งการเดินทาง การสังเกตเป็นเสน่ห์สำคัญที่ทำให้เขาถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างนุ่มนวล ราบและรื่นไปในแต่ละมุมมอง แต่ใช่ว่าสิ่งที่เขาพบเห็นจะละมุนละไมไปทั้งหมด หากแต่บางเหตุการณ์ ทำให้เขาอธิบายถึงสิ่งผิดปกติที่ล้วนเกิดขึ้นได้ ในระหว่างการเดินทาง  </p><p> </p><p>โดยทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติสำคัญของนักเดินทาง ซึ่งต้องพบพานกับเหตุไม่พึงปรารถนา ไม่พึงประสงค์ ไม่คาดหวังและไม่คาดฝัน แต่ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องจริงซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละดินแดนที่เราได้เยือน  </p><p> </p><p>สิ่งสำคัญที่เขาพยายามบอกกล่าวในแต่ละเรื่องราวของการเดินทาง คือความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ การหัดตั้งต้นสังเกต เฝ้ามอง และอ่อนน้อมพอ ต่อสถานที่อันยิ่งใหญ่หลายแห่งที่เราผ่านเข้าไป ไม่ใช่เพราะหวาดกลัว แต่เป็นเพราะมุมมองของความเปลี่ยนแปลงในโลก และความงดงามที่เราจะได้มีโอกาสเห็น ความเล็กน้อยอ่อนด้อยของตัวเอง ได้มีโอกาสเห็นความยิ่งใหญ่อันเรียบง่าย ซึ่งสั่งสมผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน เมื่อเทียบกับวันคืนในชีวิตของเรา  </p><p> </p><p>เสน่ห์ที่ไม่จบในขณะเดินทาง ผ่านบทบันทึกในแต่ละย่างก้าวของเขา ได้ถูกสายตาและมุมมองความคิด อธิบายแต่ละแง่มุมของแสงแดดซึ่งส่องผ่านเขาไกรลาส ผ่านสีหน้าท่าทางผู้คนในลาดัก ที่งดงามไม่แตกต่างจากผู้คน ในแทสมาเนีย ซาปา หรือฮอยอัน   </p><p> </p><p>คำตอบในการเดินทาง จนมาสู่ถ้อยคำบันทึก จากงานเขียนของ ภาณุ มณีวัฒนกุล คือเรื่องราวของชีวิต และผู้คน ที่มากมายไปด้วยเรื่องราว มากมายด้วยความคาดหวังของชีวิต โดยมีสิ่งสำคัญของชีวิตการเดินทาง ที่เขามักบอกกล่าว ถึงน้ำใจและตัวตนของผู้คนซึ่งแฝงอยู่ภายในเรื่องราวเหล่านี้  </p><p> </p><p>ไม่ใช่เพราะเขาเลือกจะเดินทาง แต่หลายครั้งการเดินทาง ก็ได้ให้คำตอบที่มากมายต่อนักเล่าเรื่องผู้นี้ บ่อยครั้งที่ข้อความ โจทย์ และคำตอบของการเดินทาง วนเวียนไปมาจนแทบจะแยกไม่ออก ไม่นับกับการเดินทางเพื่อถามหา หรือการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เขามักจะอธิบาย โดยพยายามไม่สรุปถึงสิ่งที่เห็น เท่ากับที่เราได้เรียนรู้ว่า เขาจะเวลาไปยาวนาน ท่ามกลางการเดินทาง เท่ากับใช้เวลาอย่างยาวนาน กว่าจะบันทึกข้อสังเกตชีวิตผู้คน ในแต่ละดินแดนที่เขาได้ก้าวผ่าน และทั้งหมดคือเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้ ที่ยืนยันว่าไม่ใช่คู่มือการเดินทาง  </p><p>แผ่นดินที่ 1 ออสเตรเลีย</p><p>แผ่นดินที่ 2 เวียดนาม</p><p>แผ่นดินที่ 3 อินเดีย   </p><p></p><p></p><p></p><p>ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           กันยายน 2544 - พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก </p><p>ชื่อหนังสือ          :           เที่ยวสามแผ่นดิน </p><p>ประเภท             :           สารคดี การท่องเที่ยว</p><p>ชื่อผู้เขียน           :           ภาณุ มณีวัฒนกุล </p><p>บรรณาธิการ       :           จตุพล บุญพรัด    </p><p></p><p></p><p></p><p>ข้อมูลทางบรรณานุกรมของศูนย์ข้อมูลอมรินทร์ </p><p>ภาณุ มณีวัฒนกุล            </p><p>เที่ยวสามแผ่นดิน / ภาณุ มณีวัฒนกุล : เรื่องและภาพ. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์, 2544523 หน้า. ภาพประกอบ. (สารคดีท่องเที่ยว ลำดับที่ 25) </p><p>1.      ออสเตรเลีย  ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. 2. เวียดนาม ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. 3. อินเดีย ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวI.ชื่อเรื่อง. II.ชื่อชุด. </p><p></p><p></p><p>919.404 ภ6ท7                                                             </p><p>DDC 919.404</p><p>ISBN 974-7521-14-8    </p>

หมายเลขบันทึก: 99002เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท