คำว่า "Multimedia" ควรใช้ภาษาไทยว่าอย่างไร จึงจะถูกต้อง ?


จากหัวข้อ "คำที่มีการรวมความหมายคำแปลเดิม กับ คำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติใหม่"

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้แนวคิดไว้ว่า

"... คำบางคำ แม้ว่าจะมีการแปลขึ้นมาก่อนที่ทางราชบัณฑิตยสถานจะบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ ในระยะแรกแม้จะไม่ถูกต้องตามรูปศัพท์เดิม แต่พอนาน ๆ เข้า เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง คำที่เคยผิดหลักดังกล่าวนั้น กลับเป็นคำที่ถูกหลักขึ้นมา จนทางราชบัณฑิตยสถานต้องนำมารวมไว้กับคำที่ทางราชบัณฑิตยสถานเคยบัญญัติไว้ ..."

 

เช่น "Multimedia" มีผู้แปลและใช้คำนี้ในความหมายที่ว่า "สื่อประสม" แต่ถ้าดูกันตามความหมายของคำภาษาอังกฤษแล้วจะเห็นว่า ควรจะแปลเป็น "หลายสื่อ" หรือแปลตามที่ราชบัณฑิตยสถานได้เคยบัญญัติศัพท์คำนี้ไว้ว่า "สื่อหลายแบบ"

แต่เนื่องจากในปัจจุบันการใช้ Multimedia จะการใช้งานใน 2 ลักษณะ คือ

  • การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือ ใช้ในการผลิตบทเรียน ผลิตงานด้วยซอฟต์แวร์ โดยมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง รวมอยู่ในบทเรียนเดียวกัน

ราชบัณฑิตยสถานจึงได้บัญญัติศัพท์เพิ่มเติม โดยนำคำว่า "สื่อประสม" ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไป มาบัญญัติเพิ่มด้วย

โดยบัญญัติคำว่า Multimedia หมายถึง ๑. สื่อประสม, ๒. สื่อหลายแบบ

โดยที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

"สื่อประสม" ... จะเป็นการใช้สื่อในลักษณะที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก ในการนำเสนอข้อความ ภาพ และ เสียง โดยที่ทั้ง 3 อย่างนี้นำเสนอรวมอยู่ด้วยกัน

ในขณะที่ "สื่อหลายแบบ" ... จะเป็นการใช้สื่อในลักษณะที่ใช้สื่อหลายอย่างในการเรียนการสอน โดยผู้สอนจะนำเสนอสื่อข้อความ ภาพ และ เสียง แยกออกจากกัน เช่น บรรยายบทเรียนเสร็จแล้ว ให้ฟัง เทปเสียง และจบลงด้วยใช้ แผนภูมิ สรุปบทเรียน เป็นต้น

 

แต่ที่สาขาวิชาของผมก็จะมีวิชาชื่อ "การผลิตและการนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา" (Production and Presentation of Educational Multimedia) ทางสาขาวิชาได้เลือกทับศัพท์คำว่า มัลติมีเดีย แทนคำว่า สื่อประสม ... เนื่องจากเราเน้นการผลิตสื่อจากคอมพิวเตอร์ จึงไม่ได้ใช้คำว่า สื่อหลายแบบ

 

จึงนำเสนอความรู้ให้ทราบดังกล่าวนี้

 

ขอบคุณครับ :)

 

 

 

แหล่งอ้างอิง

รุ่งกานต์ มูสโกภาส.  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" , วารสาร Internet Magazine. 8, 86 (กันยายน 2546) : หน้า 77 - 82.

เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่อง การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน

เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน.  http://www.royin.go.th (11 มิ.ย.2551).

 

 

รายชื่อคณะกรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง
1. ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ประธานกรรมการ
2. นาย บุญเกิด ธรรมวาสี กรรมการ
3. ผศ.ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน กรรมการ
4. รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง กรรมการ
5. ผศ.ดร.ยุพาพรรณ หุ่นจำลอง กรรมการ
6. นาย สุธีระ อริยะวนกิจ กรรมการ
7. นาย พลากร จิรโสภณ กรรมการ
8. ผู้แทนบริษัท ทศท คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(นาย สมศักดิ์ มงคลลาภกิจ, นางสาว วิไล ปัญจขจรศักดิ์)
กรรมการ
9. ผู้แทนกระทรวงคมนาคม
(นาง ภาวสุทธิ์ จึงอนุวัตร, นางสาว อัมพร ชาตบุษยมาส)
กรรมการ
10. ผู้แทนการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(นาย กิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง, นายสมเกียรติ กุลธรรมโยธิน, นายธนา ตั้งสิทธิ์ภักดี
กรรมการ
11. ผู้แทนสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
(รศ.ดร.ประสิทธิ์ ฑีฆพุฒิ)
กรรมการ
12. ผู้แทนสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
(นาง สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์, ดร.บุญเรือง เนียมหอม)
กรรมการ
13. ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(นางสาว ประดิษฐ์ ศิริพันธ์, ดร.ประณต บุญไชยอภิสิทธิ์)
กรรมการ

 

 

บันทึกที่เกี่ยวข้องกัน

 

หมายเลขบันทึก: 189301เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับอาจารย์

  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • เพราะทุกครั้งจะคิดว่าแปลเป็น สื่อประสม อย่างเดียวตลอดครับ

ขอบคุณครับ คุณครูสุ ...

การคิดถึง คำว่า สื่อประสม เพียงคำเดียว มิได้ผิดใด ๆ นะครับ อันเนื่องจากว่า แม้แต่ในมหาวิทยาลัยเอง อาจารย์บางท่านยังไม่ค่อยติดตามและสนใจสิ่งเหล่านี้เลย เวลาถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้ไป จึงมีใช้แค่อยู่คำเดียว และก็ไม่ทราบเหตุผลอีกต่างหากว่า ทำไมถึงใช้คำนี้ ... :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท