โครงการ ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)


 

          นี่คือเพชรเม็ดงามที่ทรงคุณค่ายิ่งของวงการวิจัย และวงการบัณฑิตศึกษาไทย    เป็นกิจกรรมที่มีคนช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างสรรค์จำนวนมากมาย    เป็น platform การทำงานที่เพิ่มคุณค่า (value add) ได้ไม่รู้จบ    ผมคิดถึง หรือเข้าไปเกี่ยวข้องทีไรก็มีความสุขเมื่อนั้น    เพราะตอนเริ่มเมื่อปี ๒๕๓๙ เรานึกไม่ถึงว่าจะเกิดผลดีถึงขนาดนี้    คือเป็นโครงการผลิต PhD ที่มีคุณภาพสูงจริงๆ    สูงระดับสากลที่คุณภาพสูง    ผมเคยบันทึกเรื่อง คปก. ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/council/125988 และ http://gotoknow.org/blog/thaikm/60160

 

          เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ค. ๕๑ มีการประชุมคณะกรรมการนโยบาย คปก.   ได้รับทราบว่าตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ ให้ทุนไปแล้ว ๒,๒๓๑ ทุน  จบการศึกษาแล้ว ๑,๐๔๖ คน   มีผลงานตีพิมพ์ ๒,๓๘๐ เรื่อง   ผลงานสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ๓๙ ชิ้น  มีอาจารย์ที่ปรึกษาต่างประเทศ ๑,๘๗๗ คน    ผมได้เสนอที่ประชุมว่า คุณค่าที่เราไม่เคยนึกถึงของ นศ. คปก. คือเป็นยุวฑูตในต่างประเทศ ทำให้เขาเห็นความสามารถของนักศึกษาไทย และอาจารย์ที่ปรึกษาไทย   สร้างเกีบรติภูมิ สร้างความเตารพนับถือให้แก่ประเทศชาติ

 

          ประธาน ศ. ดร. สุจินต์ จินายน ย้ำว่าต้อง integrate education กับ employment


          ศ. ดร. ปราณี กุลละวณิชย์ แจ้งว่าอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมจากต่างประเทศ ช่วยสร้างความตื่นตัวให้วงการวิชาการไทยมาก เช่น อาจารย์จาก Max Planck Institute สร้างความตื่นตัวทางวิชาการภาษาศาตร์ด้าน topology   ศ. ดร. นักสิทธ์ ผอ. คปก. แจ้งว่า กำลังศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ
          RGJ Congress IX มี theme ความร่วมมือ ตปท.   อจ. ตปท. มาร่วมประชุม ๕๕ คน  ส่วนใหญ่ต้องมาอยู่แล้ว  ส่วนหนึ่งออกเงินมาเอง
          มี Seminar series และ Post-RGJ Congress Seminar Series เป็นเครื่องมือสร้างความคึกคักและกระตุ้นวิชาการ
          ประเทศเยอรมันต้องการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของนักวิจ้ย  DAAD จัด Research Based Mobility Scheme เป้าหมายตือ networking   ใช้วิจ้ยบัณฑิตศึกษาเป็นเครื่องเชื่อม   ผมเสนอแนะให้ คปก. และพันธมิตร ดำเนินการขยายฐานสู่ความร่วมมือวิจัยในเทคโนโลยี หรือ ประเด็น (issues) หรือปัญหา (problems) ที่มีความสนใจร่วมกัน   โดยสร้าง platform เพื่อความร่วมมือ
          มีการลงนามความร่วมมือกับ East - West Center

          นศ. คปก. สาขามนุษย-สังคม ยังมีเพียง ๖% สาเหตุ ๕ ประการ    เป็นเรื่องที่ คปก. ต้องการแก้ไขจุดอ่อนของสาขานี้อย่างเป็นระบบ   ผมชี้ให้เห็นว่า ในสาขา มนุษย-สังคม ยังไม่มีโมเดลของ R-Based Department หรือ R-Based Faculty เหมือนอย่างที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโมเดลของ R-Based Faculty of Science   นอกจากนั้น ประเทศไทยยังขาด

 
๑. academic r grant ที่ช่วยให้มีการวิจัยวิชาการต่อเนื่องในสาขามนุษย-สังคม
๒. วัฒนธรรมอาจารย์ที่ปรึกษา และวัฒนธรรมการตีพิมพ์ ที่ผมเห็นร่องรอยในสหรัฐอเมริกา จากคำบอกเล่าของ อ. ศิริสุข รักถิ่น ที่กำลังศึกษาปริญญาเอกด้าน KM อยู่ที่ MSU – Michigan State University http://gotoknow.org/blog/sirisuhk

 

          รศ. ดร. จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี ม. หอการค้า เล่าว่า ใน สรอ. ผู้จบปริญญาเอกบริหารธุรกิจ ๑,๖๐๐/ปี   ๕๐% ทำงานธุรกิจ   บ้านเราขาดการผลิตนักวิจัยสาขากฎหมาย
          ประธานเสนอให้จัดเวทีหารือ
          ผอ. สุวรรณี สศช. เสนอให้ทำเป็น megaproject ระยะยาว
          ศ. ดร. สมบัติ จันทรวงศ์ : ปัญหาด้านสังคม - มนุษยศาสตร์ สังคม ชีวิตจิตใจคน เปลี่ยนมาก  มีคำเตือนว่า ปี ค.ศ. ๒๐๔๐ The end of democracy และ The end of monpgamy ต้องการคนที่วิเคราะห์เหตุการณ์ได้ลึกซึ้ง   ให้ความเห็นที่เป็นกลาง
          รศ. ดร. กำจัด มงคลกุล เสนอให้ คปก. พัฒนากติกา วิธีการ งบประมาณ   สิ่งที่ นศ. สาย มนุษย-สังคม ต้องการมากคือห้องสมุด สำหรับเข้าไปฝังตัว   ในสาขามนุษย-สังคม คปก. ต้องการองค์กรหุ้นส่วนที่ทำวิจัยลึก เช่น กต.  พม.  สงป. ควรจัดทุนวิจัยแนวลึกควบคู่ไปกับการสร้างคนในโจทย์วิจัยนั้น   ใช้โจทย์วิจัยเป็นตัวตั้ง
          ผู้แทน สงป. แจ้งข้อจำกัด แม้ตนจะเห็นคุณค่าของโครงการนี้มาก และได้ผลักดันงบประมาณให้  แต่เมื่องบลงทุนไม่พอ ผู้มีอำนาจก็จะตัดงบวิจัย  ไม่มองเป็นการลงทุนระยะยาว

          มีการปรึกษาเรื่องการปรับ คปก. เป็นหน่วยงานถาวร
เชื่อมกับความต้องการด้านวิจัย  หน่วยวิจัย   โจทย์วิจัยใหญ่ๆ ของประเทศ
**linkage ระหว่าง คปก. กับส่วนอื่นๆ ของ สกว.

          ปี ๒๕๕๑ มีเงิน ๒๗๑ ทุน จัดสรรแล่ว ๒๔๖  เมื่อคิดละเอียดหลายด้านแล้ว ต้องการทุนเพิ่ม ๑๔๑  ถ้าไม่มีเงินผลักไปปีหน้า


          ผมมองว่า คปก. ช่วยค้ำจุนงานวิจัย  ดีงคนเก่งเข้า Academic sector

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ พ.ค. ๕๑

                 
                                    
                      

หมายเลขบันทึก: 183355เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท