กรอบคิดเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำความรู้


ในวง gotoknow เอง มีบล็อกจำนวนมาก ที่พูดถึงเรื่องแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำความรู้

บางบล็อกเอง ผู้เขียนอาจไม่ได้ใช้ศัพท์นี้ หรืออาจไม่ได้เฉลียวใจว่า นี่ก็...ใช่เลย

ผมขอใช้กรอบแนวคิดแบบมหภาคจากหัวข้อวิเคราะห์เรื่องความเหลื่อมล้ำของความรู้มาเป็นโครง เพื่อให้เห็นภาพรวม

ผมเชื่อว่า ภาพรวมจำเป็น เพราะจะทำให้เรารู้ว่า เรากำลังอยู่ตรงไหน ปัญหาตอนนี้คืออะไร ในอนาคตถ้าปัญหานี้แก้ได้แล้ว ปัญหาอะไรจะมาต่อ


การเข้าถึงโอกาส

  • การเข้าถึง IT 
  1. การเข้าถึง hardware (ประเด็นนี้ อาจารย์ธวัชชัย เคยพูดถึงเครื่องคอมพิวเตอร์จิ๋วอยู่หลายรายการ เช่น EeePC พอลุ้นได้ หรือเรื่อง OLPC ที่มีหลายท่านพูดถึง ซึ่งผมมองว่า คงยาก เพราะคนไม่อยากลองของใหม่ เพราะต้องควักเงินเพิ่มพอสมควรอยู่)
  2. การมี software ที่เหมาะสม (ผมเองมองว่า ระบบปฎิบัติการอูบันตู คือทางออก แม้เป็นของใหม่ แต่คนอาจเต็มใจลอง เพราะ ฟรี และ คุณภาพดี แม้ตอนนี้ จะใช้ไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นยากปราบเซียน ข้อสำคัญ มันอาจชุบชีวิตเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าที่ไม่มีใครเหลือบมองแล้วตามโรงเรียนต่าง ๆ ให้กลับมาวิ่งฉิวปรูดปราด ซึ่งผมเองก็มองว่า การลง ubuntu ใน usb thumbdrive 8-16 gb เป็นทางออกที่น่าสนใจมาก เพราะราคาถูกกว่า EeePC หรือ OLPC หลายเท่า ประเด็นนี้ ผมเคยเขียนถึงในฮาร์ดแวร์สำหรับการลด digital divide)
  3. โครงข่ายรองรับ internet ที่เหมาะสม (ตรงนี้ ตั้งแต่ ICT ออกกฎดูแลบันทึก log file อย่างเข้มข้น การขับเคลื่อนเชิงทดลองภาคประชาชน จะหายไปหมด ต้องรอซื้อบริการสำเร็จรูปอย่างเดียว - ตรงนี้ จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีแบบราคาถูกที่เอื้อชุมชนนั้นอยู่ในวิสัยเป็นไปได้ แต่ติดตรงประเด็นกฎหมายครับ ซึ่งก็เข้าใจ เพราะเดี๋ยวนี้ อาชญากรรมผ่าน net มีมาก ถ้าไม่มีกฎหมายรองรับ ก็ยุ่งเหมือนกัน - รูปแบบที่ว่า อย่างเช่นการใช้ตัวกระจายสัญญาณ wireless หลายทอด สร้างเครือข่ายกันเอง โดยอาจมี gateway อยู่จุดเดียว)
  4. ผู้เอื้อโอกาส (ถ้าใช้อูบันตูจริง ต้องการจุดตั้งต้นของชุมชนที่เป็นแกน อย่างน้อยคือให้ความรู้ แก้ปัญหาเรื่องลงโปรแกรมแล้วรวน ฯลฯ - ผมมองว่า ถ้าไม่มีตรงนี้ มันก็ไปของมันได้ในเวลา 5-10 ปี แต่ถ้าจะขับเคลื่อนทั้งสังคม ตรงนี้ จำเป็นมาก ไม่งั้น คนเจอปัญหาแล้วไม่มีทางออกใน 24 ชั่วโมง เขาก็เลิกยุ่ง แล้วอีก 5 ปีค่อยว่ากันใหม่ ประเด็นนี้ เชิญอ่านที่ digital divideในมุมมองคนเป็นครู(ตัวเล็กๆคนหนึ่ง))
  • การเข้าถึงคลังความรู้ในตัวคนอื่น
  1. วิธีทั้งหลายของ KM ที่เคยคุยกันในยุค 2 ปีก่อน มีพูดถึงประเด็นเหล่านี้เยอะมาก ผมมาไม่ทัน ที่ทำให้คนคุยกันอย่างเป็นมิตร ฟังอย่างลึกซึ้ง แลกเปลี่ยนอย่างสนุกสนาน
  • การสังเคราะห์ความรู้ในตัว และสติปัญญาของตนเอง
  1. สมรรถนะการตั้งคำถาม การคิด การวิจารณ์ การวิจัย การสังเคราะห์
  2. การรู้เท่าคนอื่น การรู้ทันตนเอง

การสามารถใช้โอกาสเป็น

  1. ไม่มีจุดอ่อนเรื่องภาษา
  2. การอ่านหลักฐานเชิงประจักษ์เป็น
  3. มีวิธีคิดในการใช้เวลาอย่างฉลาด

การมุ่งหมายประโยชน์

  1. การมีจิตบริการประโยชน์สาธารณะ
  2. การตระหนักคุณค่าของสมบัติสาธารณะ
  3. การไม่เป็นโรคจิต เข้า net เพื่อ "เกรียน"

 

ห้วนและสั้น แต่จริงใจครับ

หมายเลขบันทึก: 256481เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2009 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หัวข้อน่าสนใจมากค่ะอาจารย์ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

สั้นแต่ชัดเจน มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ บันทึกนี้ค่ะ
คิดว่า ตัว hardware ขณะนี้ ไม่มีปัญหา เครื่องมีพอ แต่ใช้กันไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ต่อไป ถ้า มีsoftware ที่เหมาะสม ใช้ง่าย  เร็ว ราคาถูก  ประกอบกับมีโครงข่ายรองรับ internetได้ทุกตำบล  ผู้คน ก็จะสามารถเข้าถึงความรู้  ได้มากขึ้นมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท