ขอความเห็น !! "ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการทำ R2R เป็นภาคบังคับหรือสมัครใจ"


ขอทัศนะเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทุกท่าน...ใน GotoKnow ในฐานะที่ท่านเป็นคนหน้างาน ที่คลุกอยู่กับการทำงานประจำ ท่านมองว่า

 การพัฒนางานประจำที่นำกระบวนการ R2R มาเป็นตัวขับเคลื่อนนั้น

ระหว่างกำหนดให้เป็นภาคบังคับและมีการแข่งขัน

...กับสมัครใจ อันไหนน่าจะ work กว่ากัน...

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km#r2r
หมายเลขบันทึก: 280031เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • สวัสดีค่ะ อ.น้องกะปุ๋ม
  • สำหรับองค์กรป้าแดงแล้ว สมัครใจไปได้ช้ามากค่ะ แต่ก็ไม่มีการบังคับ(น่าจะเวิร์ค)
  • ตอนนี้เลยยังไม่ไปถึงไหน แค่เปรยๆๆกันแล้วก็ไม่จริงจังอะไรมากนักค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ติดตามอ่านบันทึกพี่กะปุ๋มแบบใส่เสื้อคลุมล่องหนมาจนทุกวันนี้ค่ะ ยังติดใจและติดตามต่อๆ มาค่ะ วันนี้ ขอทิ้งรอยค่ะ R2R ในที่ทำงานพูดกันอยู่เสมอๆ มีแผนมีกรรมการดูแลงาน ผลักดันนี้(คนละทีมกับกรรมการ KM) มีรายการอัดฉีดเป็นตัวเลขด้วย แต่ทางปฏิบัติ ก็ไม่ค่อยจะมีกิจกรรม 5ช จริงจัง อย่างที่อ่านเจอในบันทึกพี่กะปุ๋มเลยค่ะ(R2R "5 ช" = ชี้ เชียร์ ช่วย เชื่อม ใช้) โดยธรรมชาติคนทำงานประจำๆ พอคิดเรื่อง  R ตัวที่สอง หลายคนก็หลบสายตาแล้วค่ะ (ดาวลูกไก่ด้วย^^) แต่ก็พยายามทำความเข้าใจว่ามันสำคัญมาก ไม่งั้นจะทำแผนงานอะไรๆ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

สงสัยต้องให้โดนบังคับจริงๆ ค่ะ (แต่ตัวเลขก็ยังขอให้เป็นผลพลอยได้นะคะ^^)

ความเห็นของคุณหมอเอกรัฐเขียนไว้ที่นี่ค่ะ

R2R พัฒนาคุณภาพ กับ ๓ ใจ

http://gotoknow.org/blog/r2rsichon2/280041

R2R เป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้
มีความสำคัญมากเพราะพัฒนาคนไม่ใช่เรื่องง่าย
ต้องอาศัย"ใจ"ที่มีศรัทธาต่อการทำงาน มี"ใจ"ที่รักผู้ป่วย ต้องการพัฒนางานของตนเพื่อเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น
 
เราสามารถนำConcept R2R มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานประจำได้
โดยต้องเข้าใจเรื่องของ"คุณภาพ"ก่อน ว่า คุณภาพไม่ได้เกิดขึ้นมาเองตามยถากรรม แต่คุณภาพมีที่มา
การทำงานคุณภาพ กับ ๓ ใจโดย ต้องเริ่มจาก
๑. คุณภาพ ตั้งต้นที่ ใจ ทำงานด้วยความเข้าใจ มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์
๒. คุณภาพ เกิดขึ้นได้ด้วย ใจ ที่รู้จักว่าคุณภาพของงานคืออะไร และทำอย่างไรให้สำเร็จ
๓. คุณภาพ สำเร็จได้ด้วย ใจ ที่มุ่งมั่นให้เกิดคุณภาพและกระทำอย่างต่อเนื่อง
 
กระบวนการR2R ของประเทศ ที่กำลังเดินทางมาด้วยความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่าย นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สามารถนำมาใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลได้ด้วย
การนำเรื่องผลตอบแทนเป็นเงินเข้ามา ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง และต้องฟังเสียงจากหลายๆฝ่าย
การนำเรื่องเงินมาใช้อาจเพิ่มตอบแทนเป็นโบนัสหรือรางวัลสำหรับหน่วยงานที่มีการพัฒนางานด้วยกระบวนการนี้ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง
หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
คำสำคัญ: r2r  การพัฒนาคุณภาพ  โรงพยาบาลชุมชน
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ส. 25 ก.ค. 2552 @ 13:56   แก้ไข: ส. 25 ก.ค. 2552 @ 13:56   ขนาด: 3041 ไบต์

สวัสดีค่ะดร.กะปุ๋ม...

งาน R2R.....พอพูดถึงวิจัยหลายคนจะกลัวค่ะ...

มีขั้นตอนเยอะ ทำงานประจำก็หนักมากๆค่ะ หนักจนหมดแรง ที่จะสร้างสรรค์งานดีๆต่อ ทุกวันนี้งานยิ่งหนักมาก...เราต้องมีการประเมินตนเอง...

แดงว่าเป็นการทำแบบสมัครใจ...มีระบบพี่เลี้ยงดูแล...

หน่วยงานอาจจะต้องมีเวลาให้....

ขอบคุณที่ให้เกียรตินะคะ...

 

การพัฒนางานประจำที่นำกระบวนการ R2R มาเป็นตัวขับเคลื่อนนั้น

ระหว่างกำหนดให้เป็นภาคบังคับและมีการแข่งขัน

...กับสมัครใจ อันไหนน่าจะ work กว่ากัน...

ในทัศนะของคนหน้างาน ส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งคือวัฒนธรรมองค์กรที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน แม้ทุกองค์กรจะมีคนที่พร้อมคิดพร้อมพัฒนาแฝงตัวอยู่ทุกที่ แต่จะเห็นได้ว่า บางเเห่งก็ดูล้าหลังเชื่องช้ากว่าที่อื่นๆ เพราะความสมัครใจของคนกลุ่มนี้มีมาตั้งแต่ต้นในการรอโอกาสพัฒนาอยู่เสมอ แต่พลังในการเปลี่ยนองค์กรให้มีชีวิตชีวา มีวิถีการขับเคลื่อนที่เร็ว แรง และทรงพลัง ยังต้องอาศัยกลุ่มอำนาจในองค์กรอยู่ เพียงแต่เมื่อมีการกำหนดให้เป็นนโยบายคนกลุ่มนี้จะทำงานง่ายขึ้น คนกลุ่มที่ไม่เคยคิดทำเลยซึ่งอาจมีความสามารถ มีพลังผลักดันการพัฒนาสูงกว่าคนที่ทำโดยสมัครใจก็จะได้สนใจหยิบมาทำ โดยสรุป กำหนดให้เป็นภาคบังคับและมีการแข่งขัน นั่นล่ะค่ะดีแล้ว เพราะพวกสมัครใจ ยังไง ยังไงก็ทำอยู่แล้ว เอื้ออำนวยให้พวกเขาทำงานง่ายขึ้นโดยทำเสมือนเขาถูกบังคับให้ทำ แต่พวกเขาน่าจะรู้ตัวดีว่าพวกเขารอโอกาสนี้มานานแล้ว ในการที่จะมีส่วนขับเคลื่อนสู่วงล้อการพัฒนา อย่างมีชีวิตชีวา และไม่โดดเดี่ยว เพียงแต่ต้องส่งเสริมองค์ความรู้ ช่วยเสริม เติมให้ เอาใจใส่ และติดตามความก้าวหน้าอย่าให้ห่างจนเกินไป

น่าจะดี นี่เป็นทัศนะของคนตัวเล็กนะคะไม่รู้คนตัวโต โต ท่านจะว่ากระไรกัน

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมมาเม้นท์ตามคำเชิญชวนค่ะ
  • ความจริงอ่านแล้ว..เมื่อเห็นบันทึกค่ะ
  • พี่คิมอ่านแทบทุกบันทึก..ของสมาชิก  บางบันทึกจะอ่านซ้ำ ๆ บางบันทึกก็อ่านคร่าว ๆ
  • แต่ไม่ได้เม้นท์ทุกครั้งที่อ่านค่ะ  เพราะไม่ทราบจะเม้นท์อะไรนั้นเอง
  • สำหรับเรื่องนี้..พี่คิมไม่มีประสบการณ์จากหน่วยงานใหญ่ ๆ นอกจากโรงเรียนและอยู่กลุ่มของพื้น ๆ แบบฉบับบ้านนอกนั่นแหละค่ะ
  • เป้าหมาย..ก็เป็นไปตามความต้องการและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางานและส่งผลถึงหน่วยงาน  เช่นเดียวกัน
  • การนำ R2R มาเป็นการขับเคลื่อนเพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่  พี่คิมว่าดีทั้งสองแบบ
  • อันแรก  เมื่อไม่ทำก็ต้องบังคับ มีการประกวด  เพื่อให้เขาเห็นคุณค่าในตนเอง  มีประสบการณ์ และเข้าถึงความรู้  แบบนี้ได้งานตามหน้าที่ที่มอบหมาย เป็นไปได้สวยแต่อาจจะไม่งามในบางส่วน
  • อันที่สอง  การสมัครใจ  อันนี้เมื่อทำด้วยใจรัก ก็ย่อมเกิดผลดีทั้งสองฝ่าย  คนทำก็มีความสุขในการทำงาน แต่หน่วยงานได้รับไม่เต็มร้อยค่ะ เพราะไม่ได้สมัครใจทำทุกคน
  • พี่คิมว่า..ทำได้ค่ะถ้าจะขับเคลื่อนกันจริง ๆ แต่ต้องใช้เวลาหน่อยค่ะ 
  • ถ้าจะแข่งขันก็ควรให้มีการตั้งเกณฑ์การแข่งขันกันเอง  ก็สนุกดีนะคะ  เป็นการแข่งขันเพื่อกำลังใจ  ไม่ไกด้หมายความถึงการแพ้หรือชนะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ  เป็นกำลังใจให้นะคะ

การทำวิจัย ไม่ยากหากทำเป็น

แต่โอกาส ที่นักวิจัยหน้าใหม่

จะเกิดยาก เนื่องจากขาดทักษะ

ขาดความรู้ ขาดทุน5555

แต่อย่าวไรก็ตาม งานวิจัยที่ดี

ต้องช่วยแก้ปัญหาเรื่องงานได้

ไม่ใช่ ทำแล้วเกิดภาระ

แต่ทำแล้วได้ผลดี ต่อคนไข้

แล้วงานจะเข้า

ตย.

ผมวิจัยรูปแบบการเลิกบุหรี่ในชุมชน

เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ทำให้ผมแก้ปัญหา

ไม่มีเวลาให้คนอยากเลิกบุหรี่ได้

ต่อมาผมทดลองวิจัยแก้ปัญหาคนไข้เบหวาน

ด้วยกิจกรรมธรรมชาติบำบัด

ทำให้คนไข้เบาหวานดีขึ้น

การบังคับ เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้

และอาจเกิดผักชีได้มากมาย

ที่เสนอคือใช้รูปแบบ

การกระตุ้น ทำให้เกิด ความสมัครใจมากๆ

แล้วส่งเสริมการแข่งขันโดยใช้แนวคิด

social facilitation ไม่ใช่แนวคิดประกวดผักชี

งานวิจัยR2R จะมีคุณค่า

หากส่งเสริม ให้คนทำวิจัยให้เป็น

ผมว่าจะสมัครไปประชุมR2Rรอบ2

ก็สมัครไม่ทันเพราะรู้ช้าไปครับ

หากผมมองในฐานะcounseler ก็จะใช้

กิจกรรม ให้ จนท.อยากทำวิจัยมากๆ

เหมือนชวนคนไข้ให้เลิกบุหรี่

สร้างระบบพี่เลี้ยง

โดยมีหน่วยงานให้ทุนด้วย

สร้างเป็นชุมชนคน R2R ให้ได้

อย่าบังคับเลย ผักชีเกินไป ไม่ดีครับ

ขอสรุป กระตุ้นให้สมัครใจ ส่งเสริมการแข่งขัน แบบหลายระยะ

สนับสนุน ความรู้ พี่เลี้ยง ทุน

ให้รางวัลอย่างยุติธรรมครับ

  • เข้ามาคุยด้วยคนในฐานะคนอยากทำ แต่รู้สึกว่ากำลังสับสนกับR2R ว่าจริงแล้วต่างกับ CQI มากแค่ไหนคะ เพราะที่เคยไปฟังดร.กะปุ๋ม...กับอ.วิจารณ์ที่เวทีR2R เมื่อปีก่อนโน่นก็เข้าใจมาว่ามันคือเรื่องเดียวกัน เพิ่มเติมเพียงแค่รูปแบบที่เป็นแบบวิจัย
  • แล้วพอหน่วยงานจัดเชิญอาจารย์มาให้คำแนะนำเรื่องR2R แล้วก็พยายามผลักและดันให้ทำก็เห็นแต่ละคนบ่นว่ายากจัง ก็เลยเอ้!! งานนี้ไม่เห็นง่ายอย่างที่ฟังมาจากดร.กะปุ๋ม...กับอ.วิจารณ์เลยแฮะ
  • การให้เกิดR2R ได้มากขึ้นเรื่อยๆในผู้ปฏิบัติงาน ส่วนตัวมองว่าพี่เลี้ยงต้องแม่นเรื่อง R2R เพราะบางทีพี่เลี้ยงที่เก่งเกินไปก็พาไปเป็น big วิจัยซะแล้วคะ งานนี้มือใหม่ก็กินท้อเลย อีกอย่างพี่เลี้ยงต้องมีเวลาให้ แถมด้วยมีกำลังใจอย่างแข็งแรงสำหรับมือใหม่ที่มีงานประจำล้นมืออย่างที่สาวๆพยาบาลมักเป็นกัน

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.'ปุ๋ม ^^

การวิจัยในหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นนะคะ...อ้อนแอ้นมองว่า ถ้าสมัครใจ แล้วสนุกกับมัน

ทำให้เรามีพลังในการสร้างสรรค์แนวคิด และมีพลังการอยากเรียนรู้ อยากพัฒนา..

การบังคับทำให้บรรยากาศเป็นแบบแกนๆน่ะค่ะ..(มันถูกทอนพลังไปแล้วน่ะ)

แม้ว่า..จะมีรางวัลมาเป็นสิ่งจูงใจนะ..ทำให้เครียดมากขึ้นไปอีกเพราะอยากได้ๆๆๆๆๆ

เอาเป็นว่า..อ้อนแอ้นโหวต..สมัครใจค่ะ^_^

น้องกระปุ๋มคะ

  • R2Rในทัศฯของพี่เป็นสิ่งที่ดี
  • การทำR2R ให้ขับเคลื่อนไปพร้อมๆกับการทำงานในหน้าที่
  • และส่งผลต่อความก้าวหน้าทางอาชีพ มีกิจกรรมเสริมแรง
  • พร้อมสร้างและกระตุ้นให้เห็นความจำเป็นและประโยชน์ของR2R
  • น่าจะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนได้
  • อีกทั้งการจัดวางตัวพี่เลี้ยงในการทำR2Rให้กับมือใหม่หัดขับ
  • ไม่นานมือใหม่ก็จะกลายเป็นมืออาชีพ
  • สำคัญที่เริ่ม หากวางแผนจากการสำรวจทัศนคติ
  • ก่อนจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย
  • สามารถวางหรือกำหนดแนวปฏิบัติได้ง่าย
  • ปัญหาระหว่างทาง 2 แพ่ง ว่าจะบังคับดี
  • หรือตามสมัครใจดีนั้นพี่คิดว่า
  • อยู่ที่แต่ละคนจะมองเห็นความจำเป็น
  • หากเป็นพี่พี่ไม่ชอบให้บังคับ ไอ้ครั้นจะสมัครใจทำก็ไม่ถนัด
  • เกรงจะทำผิด เลยลงเอยที่ไม่ทำดีกว่า
  • ตรงจุดนี้ต้องช่วยด้วยการหาพี่เลี้ยงดีๆให้
  • ประคองกันไปก่อน แบบคู่ขนาน
  • และบัดดี้ก็ต้องเก่งที่จะถ่ายทอด ช่วยเหลือจนยืนได้ด้วยตัวของตัวเอง
  • อันนี้เกิดกำลังใจ ก็ต้องเสริมแรง เพื่อการต่อยอดงานR2R คะ
  • พี่เองเริ่มต้นจากคนที่ไม่เคยชอบR2R มาเป็นชอบ
  • เพราะมันได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างมืออาชีพจริงๆ
  • ที่สำคัญต้องมีพี่เลี้ยงดีๆด้วยค่ะ
  • ขอบคุณที่ให้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ
  • ทานเชอรี่ของไทยกันหน่อยไหมค่ะ เปี้ยววอมหวานค่ะ

โอ้ ขออภัยพี่พิมพ์ผิด ตรงคำว่าเปรี้ยวค่ะ

ขอบคุณทุกท่านนะคะ...ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันในทัศนะที่ไม่มีถูกและผิด แต่เราช่วยกันคิดและช่วยกันมองค่ะ...

ในส่วนทัศนะของกะปุ๋มเอง ได้เขียนไว้ที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/kapoomr2r/279876

ท่านไหนที่เวียนมา..ฝากร่องรอยของการความคิดเห็นไว้ได้นะคะ...

 

ขอบคุณค่ะ

พี่แก้วมักจะพาน้องคิด ค้น หาสิ่งที่จะทำกัน โดยไม่ต้องบอกว่า เรามาทำวิจัยกัน

เมื่อหาประเด็นที่พวกเราคิดร่วมกันว่าเป็นปัญหาในการทำงาน เราก็มาช่วยกันคิดว่าน่าจะทำอะไรกัน เพื่อแก้ปัญหา

ผู้รับผิดชอบงานนั้น ก็ไปเขียนโครงการมา แล้วลองทำดูก่อน

ระหว่างทำ ก็ค้นหาว่าที่อื่นทำกันยังไง

พี่แก้วก็ช่วยหา โดย Advanced serching แลว้สอนน้องหางานที่เกี่ยวกับเรา

มาช่วยกันอ่านว่า ที่เขาทำดีดี เขาทำยังไง

แล้วเราก็นำมาสร้างวิธีปฏิบัติกัน แล้งลองทำดูอีก

และถ้าจะนำมาดำเนินการ ก็มาชี้แจงกับเพื่อนๆว่า จะทำอะไร เพื่อนจะช่วยอะไร และจะเก็บข้อมูลกันอย่างไร

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ลองมาวิเคราะห์ดู ถ้าทำยังไม่เป็น พี่แก้วก็สอน

ถ้ายังเขียนไม่เป็นก็ส่งไปอบรมบ้าง เช่น อบรมการทำวิจัย อบรมการเขียนรายงาน

ทำเสร็จ ลองเขียนรายงานวิจัย มาให้ดู พี่แก้วก็ช่วยปรับให้ดี จะได้ส่งตีพิมพ์ได้

ระหว่างนี้ ถ้ามีที่ไหนให้ปนำเสนอ ก็ให้น้องไปลองนำเสนอผลงาน ถ้ายังเตรียมการนำเสนอไม่ดีเท่าที่ควร พี่แก้วก็ลองให้เตรียมมาก่อน พี่ก็ดูให้ แล้วให้น้องลอมานำเสนอให้เพื่อนดูก่อน ก่อนจะออกเวทีจริง

สรุป น้องพี่จะไม่ค่อยรู้ตัวว่าจะต้องทำวิจัย ทำให้ไม่เครียดค่ะ

ขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ

ความเห็นของท่านมีคุณค่า ต่อการขับเคลื่อน R2R สำหรับคนหน้างานที่เป็นดั่งวิถีความงดงามแห่งการงานนะคะ... เป็นการที่ไม่ก้าวไปติดกับดักแห่งการผลักคนหน้างานไปสู่สภาวะแห่งเครื่องจักร หากแต่คืนความเป็นมนุษย์ที่สรรค์สร้าง...พลังความดี ความงาม ผ่านการทำงานไปได้ค่ะ

 

ตามความคิดเห็นของพยาบาลคนหนึ่ง  ในการทำR2R

  • ควรจะมีเวลามากกว่านี้ในการเก็บข้อมูล เพราะตอนนี้มีเวลาแค่เดือนเดียว (เร่งทำ) ไม่มีเวลาพอในการทบทวนวรรณกรรม
  • ควรมีพี่เลี้ยงประกบในการทำ R2R ทุกขั้นตอนสำหรับมือใหม่

ขอบคุณค่ะสำหรับความเห็น...

มีอีกมากมายในหลายเส้นทาง หากเราเรียนรู้กระบวนการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น เราจะสนุกกับการทำ R2R แต่ถ้าเมื่อไรที่เราใช้กฏของการตั้งต้นทำวิจัย เมื่อนั้นเราจะเบื่อหน่ายต่อการทำ

เป็นกำลังใจให้นะคะ

(^___^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท