Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

บำเพ็ญบารมี 10 ทัศ


เพื่อนๆทราบไหมค่ะ ว่าการสะสมเงิน เพื่อนำไปทอดกฐินในปลายปีนั้น  สามารถสร้างบารมี 10 ทัศ (หรือ ทศบารมี ) ได้อย่างครบถ้วนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ บารมี 10 ทัศ เป็นคุณธรรมที่สามารถประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวดหรือความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง ที่เราสามารถทำได้  (เอ๊ะ! ทำได้ด้วยหรือ ทำยังไงล่ะเนี่ย) แพรมีวิธีทำบุญง่ายๆ จากการศึกษาวิเคราะห์บุญ ตามแนวบารมี 10 ทัศ มาแนะนำสำหรับคนที่ศรัทธา ตั้งใจทำบุญสร้างกุศล เพื่อกาลทาน (ทอดกฐิน) ในแต่ละปี เพื่อเราสามารถสั่งสมบุญ บารมีได้ง่ายๆในทุกวันที่ตั้งใจจะไปทอดกฐินค่ะ “เริ่มต้นแห่งศรัทธา”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/386592  

 เมื่อพูดถึงการทำบุญ  คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการตักบาตรหรือเข้าวัดทำบุญ เป็นส่วนมาก  จริงไหมค่ะ  แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลา ก็เลยเสียโอกาสในการสั่งสมบุญ บารมี วันนี้แพรจึงมีเรื่องมาเล่าให้เพื่อนๆได้อ่านและพิจารณา เผื่อจะได้มุมมองใหม่ๆในการสร้างบำเพ็ญบุญกุศล สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา  แต่มีจิตศรัทธาและความตั้งใจจริง สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ เพื่อสั่งสมบุญบารมี และบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ไปด้วยค่ะ  น่าสนใจไหมค่ะเพื่อนๆ เรามาเริ่มกันดีกว่าค่ะ

 

 เริ่มต้นรู้จักและเข้าใจ บารมี 10 ทัศ

เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์สวรรคตแล้ว  เสด็จไปอุบัติเป็นสันตุสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต  เมื่อก่อนพุทธกาลเล็กน้อย   เทวดาทุกสวรรค์ชั้นฟ้ามาประชุม ปรึกษากันว่า  ใครจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ต่างก็เล็งว่า   พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในชั้นดุสิตจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า   จึงพากันไปทูลเชิญให้จุติลงมาโปรดสัตวโลก  เพื่อให้สมกับพระปณิธานที่ตั้งไว้ว่า ทรงบำเพ็ญบารมีมาในชาติใดๆ  ก็มิได้ทรงมุ่งหวังสมบัติอันใด  นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้า

 ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่  ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น  พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ  อันได้แก่

 ๑.   พระเตมีย์                  ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี   คือ ความอดทนสูงสุด

 ๒.   พระมหาชนก            ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี   คือ ความพากเพียรสูงสุด

 ๓.   พระสุวรรณสาม          ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี   คือ ความเมตตาสูงสุด

 ๔.   พระเนมิราช                ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี   คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์

 ๕.   พระมโหสถ                 ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี   คือ ความมีปัญญาสูงสุด

 ๖.   พระภูริทัต                   ทรงบำเพ็ญศีลบารมี   คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด

 ๗.   พระจันทกุมาร            ทรงบำเพ็ญขันติบารมี   คือ ความอดทน อดกลั้นสูงสุด

 ๘.   พระนารทพรหม         ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี   คือ การมีอุเบกขาสูงสุด

 ๙.   พระวิธูรบัณฑิต          ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี   คือ ความมีสัจจะสูงสุด

 ๑๐.   พระเวสสันดร           ทรงบำเพ็ญทานบารมี   คือ การรู้จักการให้ทานสูงสุด

 

 บารมี 10 ทัศ  คืออะไร

 

บารมี แปลตามภาษาบาลีแปลว่า เต็ม คือ ต้องใช้กำลังใจให้เต็ม  ไม่ใช่เอาวัตถุมาเต็มนะคะ แล้วทำอะไรให้เต็มละคะ  มาดูกันเต็มๆดีกว่าค่ะ

 

  การสร้างบารมี 10 ทัศ จากการทอดกฐิน 

 

 (1) ทานบารมี  คือ การให้ การเสียสละ การให้ทานเป็นการทำลายโลภะ ความโลภค่ะ  การทอดกฐินของแพร  ไม่ใช่เป็นแค่การให้เงินเท่านั้นนะคะ  แพรให้ความรู้  ให้ธรรมทาน และให้อภัยด้วยค่ะ นอกจากนั้น แพรก็พัฒนาการให้ไปอยู่อีกขั้น คือ สละงาน  เพื่อรักษาบุญทอดกฐินค่ะ  สละยังไง สละทำไม ต้องอ่านใน “มารไม่มี บารมีไม่เกิด”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/388815  ค่ะ

 วิธีการบำเพ็ญทานบารมีนะคะ  สำรวจจิตใจตนเองค่ะก่อนที่จะทำบุญทอดกฐิน  ว่าพร้อมแล้วหรือยังค่ะ  ที่จะให้ทานตามความสามารถ  ทานที่เราจะทำกันในครั้งนี้เป็นกาลทาน  คือ ทานเฉพาะเวลาค่ะ  วัดสามารถรับกฐินได้ปีละครั้ง หลังจากออกพรรษาในเวลา 1 เดือน ผ่านไปแล้ว  ต้องรอปีหน้าค่ะ  ที่สำคัญเป็นสังฆทาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับทานนี้โดยตรงด้วยนะคะ  เห็นไหมค่ะ ทานพิเศษแบบนี้  ต้องบำเพ็ญบารมีให้เต็มที่ค่ะ 

 คำว่า ทานบารมีเต็ม คือ จิตใจเรามีกำลังใจเต็มที่ในการให้ทาน มีความรู้สึกอยากให้อยู่ตลอด โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นและธำรงค์  พระพุทธศาสนา เป็นการให้เพื่อลดความตระหนี่ในใจเราเอง  วิธีปฏิบัติง่าย ขอแนะนำให้ใส่บาตรวิระทะโยค่ะ คือ นำเงินใส่กระปุกออมสินทุกวัน เพื่อรวบรวมเงินไปทำบุญ  พอกระปุกเต็มก็เอาไปเก็บไว้ใน “บัญชีบุญ” http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/386630  ค่อยๆสะสมยอดเงินไปให้ถึงเป้าหมายบุญที่เราได้วางแผนไว้  เช่น ปีนี้แพรรับเป็นเจ้าภาพร่วมทอดกฐินที่วัดป่าเจริญราช 1 กอง ๆ ละ 10,000 บาท  ถ้าเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท  กว่าจะถึงวันทอดกฐิน ก็ได้ครบเต็มจำนวนค่ะ  แต่แพรมาเริ่มสร้างบารมีตอนที่เวลามันใกล้เข้ามาแล้ว  วางแผนการทำบุญช้าไปหน่อยค่ะ แพรเลยต้องหางานพิเศษทำค่ะ เพื่อเพิ่มยอดให้ถึงเป้าหมายบุญ 555 “บุญพิเศษกับงานพิเศษ”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/386848

  ถ้าจะอัพเดทระดับทานบารมีให้เป็นขั้นสูงสุดนะคะ  ผู้กล้าอย่างเรา  ไม่ใช่แค่กล้าสละเงินเท่านั้นนะคะ  ต้องกล้าจะเสียสละชีวิตเพื่อธรรมด้วยค่ะ  555  ต้องกล้านะคะ ตายเป็นตายค่ะ ไม่ว่าระหว่างนั้นจะมีอุปสรรคอะไรเข้ามาทดสอบบุญบารมี  ในนาทีนั้นจะต้องไม่ถอย  ตั้งใจทำบุญ เพราะถ้าถอยคือ อยู่สบายกับโลกแต่เป็นทาสของมารเรื่อยๆไป เพราะฉะนั้นต้องกล้าหาญค่ะ ก่อนที่จะกล้าสละชีวิตได้ จะต้องกล้าสละของเล็กๆน้อยๆก่อน  สละอันโน้น สละอันนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ห่วงหน้า ห่วงหลัง สละความผูกพันในใจ อย่างพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธิถัตธะ สละพระนางพิมพา พระราหุล รักไหมลูกเมีย รักนะ แต่กล้าสละเพื่อธรรม นี่คือ ทานบารมีที่มันเต็มใจแล้ว เต็มเปี่ยม พอถึงนาทีสุดท้าย กล้าสละชีวิตเพื่อธรรมเลยค่ะ  เพื่อนๆไม่ต้องเครียดนะคะ  เราไม่ต้องทำถึงขนาดนั้นก็ได้แค่  ถ้ายังไม่พร้อม

 

 (2) ศีลบารมี คือ การรักษากาย วาจาให้อยู่ในหลักความประพฤติที่เป็นแบบแผนแห่งภาวะของตน , ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย  ง่ายๆค่ะ ถือศีล 5 ในระหว่างสะสมบุญบารมีไว้นะคะ  ไม่ว่าจะมีเรื่องอยากให้ผิดศีลแค่ไหนก็ตาม (ฮึ! ๆๆ)

 วิธีการบำเพ็ญศีลบารมีนะคะ สำรวจจิตใจเราจะเป็นปกติมั่นคงได้ไหม ท่ามกลางความบีบคั้นในระหว่างการบำเพ็ญบุญ  เพื่อสะสมเงินไปทอดกฐินอย่างนั้น  เรื่องดีๆ หรือเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้น ทำให้เราโกรธ โมโหโทโสขึ้นมาหรือเปล่า ถ้าโกรธแล้วรู้สึกตัวไหม จิตใจเรายังมีศีล ยังมีความเป็นปกติหรือเปล่า  ต้องสำรวจจิตใจตัวเองและรักษาความปกติให้สม่ำเสมอไว้นะคะ ยิ่งสมาทานศีล 5 ทุกวัน เพื่อรักษาศีลได้  ยิ่งดีค่ะ

 

 (3) เนกขัมมบารมี การถือบวช การละออกจากกาม ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม การถือบวชในที่นี้ก็หมายถึงว่าเป็นการระงับนิวรณ์ 5 ประการ โดยเฉพาะ กามฉันทะ เห็นรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสที่ต้องการมั่วสุมไปด้วยกามารมณ์เป็นโทษ เข้าใจยากไปไหมค่ะ เอาง่ายๆดีกว่าค่ะ

วิธีการบำเพ็ญเนกขัมมบารมีนะคะ  สำรวจจิตใจเราค่ะ  เราพยายามที่จะระงับนิวรณ์ 5 ประการหรือไม่ ในระหว่างการสะสมบุญ  สะสมเงิน จะหวั่นไหวกับนิวรณ์ 5 ประการ ไหม เช่น เอาเงินที่สะสมไว้ไปทำบุญ ไปซื้อของไปท่องเที่ยวแทน 55 เจอสิ่งล่อใจแล้วไปแบบนี้ก็ไม่ได้บำเพ็ญบารมีตัวนี้นะคะ  ถือบวชใจไว้ค่ะ  รักษาใจให้ดี  อีกไม่กี่เดือนเราก็จะได้ทอดกฐินด้วยกันแล้วค่ะ (อิ อิ) หรือถ้าเป็นไปได้นะคะช่วงนี้ หาเวลาไปบวชเนกขัมมะกันดีกว่า  แพรก็มีแผนที่จะไปบวชด้วยเหมือนกันค่ะ (อิ อิ)  ไหนๆจะต้องออกจากงานแล้ว  โชคดีจริงๆ  จะได้มีเวลาไปบวชปฏิบัติธรรม ถึงจะตั้งท้อง 7 เดือน แพรก็คิดว่า แพรยังสามารถภาวนาได้ค่ะ ที่สำคัญเป็นเหตุให้คุณแม่ของแพรต้องไปบวชด้วย หลังจากแพรพยายามชวนและขอร้องให้คุณแม่ไปปฏิบัติธรรมด้วยกันหลายครั้งไม่เคยสำเร็จเลยค่ะ  เพิ่งจะมาสำเร็จเอาช่วงนี้ละคะ (อิ อิ จับทางถูก)  แพรเอาเรื่องท้องมาอ้างให้คุณแม่ไปอยู่เป็นเพื่อนค่ะ อ๊ะ..อย่าได้บอกคุณแม่ให้รู้นะคะ เดี๋ยวไม่ยอมไปภาวนากับแพร 555 คิดดูแล้ว แพรได้โชค 3 ชั้นเลยค่ะ คือ แพร คุณแม่  และลูกในท้องค่ะ ได้ไปภาวนาด้วยกันเห็นไหมค่ะ เสียงาน แต่ไม่เสียศรัทธาค่ะ  บวชที่วัดป่าเจริญราช  http://gotoknow.org/blog/makingmeditation หรือบวชปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธฯ http://gotoknow.org/blog/gotoybat ก็ได้ค่ะ

 

 (4) ปัญญาบารมี ความรอบรู้ , ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้จักแก้ไขปัญหาและจัดการกับปัญหาต่างๆ "ไม่มีปัญหา  ไม่มีปัญญา"ค่ะ เรียนรู้ปัญหา เพื่อเพิ่มปัญญา ต้องอ่านนี่ค่ะ  “มารไม่มี บารมีไม่เกิด”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/388815 

 วิธีการบำเพ็ญปัญญาบารมีนะคะ  สำรวจความคิด สติปัญญาของตัวเองค่ะ  มีปัญหาแล้วหาทางแก้ปัญหาได้ไหม  แก้อย่างไร  ทำใจไว้นะคะ ทำบุญใหญ่  ก็ต้องมีอุปสรรคมาขวางบ้างเป็นธรรมดา เพื่อทดสอบบุญบารมีของเรา 555  จริงๆแล้วปัญหาเค้ามาให้สร้างสมบารมีเพิ่มค่ะ  ต้องขอบคุณปัญหานะคะ  อะไรที่ได้มาง่ายๆ มันไม่ค่อยมีคุณค่าหรอกค่ะ  ต้องยากหน่อย ลำบากหน่อย  น้ำตาเช็ดหัวเข่าอีกหน่อย  แล้วผ่านมันไปได้ ระดับของบารมีมันก็จะเพิ่มขึ้นค่ะ  (อิ อิ)  และปัญญาบารมี นั้นเอาไว้ตัดโมหะค่ะ อย่าลืมพัฒนาปัญญาไว้นะคะ

 

 (5) วิริยบารมี ความเพียร , ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ๆเราตั้งใจไว้ ถึงแม้จะมีอุปสรรคมามากมายแค่ไหน จะถูกนินทา ว่าร้าย ดูถูกเหยียดหยามเพียงใด  ในการทำความดี เราก็ต้องเพียรทำให้สำเร็จค่ะ  แพรโชคดีนะคะ  ไม่ได้เพียรอยู่คนเดียว  มีเพื่อนๆผู้กล้า เข้ามาร่วมบำเพ็ญบุญด้วยค่ะ อยู่ในนี้ค่ะ “ญาติธรรมใจบุญ”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/387458

 วิธีการบำเพ็ญวิริยบารมีนะคะ  สำรวจจิตใจเราค่ะว่ามีความเพียรแล้วหรือยัง มีความเพียรมากน้อยแค่ไหน  บารมีต้องใช้กำลังใจเป็นสำคัญค่ะ  โดยต้องมีความเพียรพยายามในการสะสมบุญให้ครบตามเป้าหมาย  ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรค หรือมีมารมาขวางแค่ไหนก็ตาม (ฮือๆ) ก็ต้องสู้พยายามต่อไปค่ะ  หนังยังไม่จบ  ยังเดาตอนจบไม่ได้ 555

 

 (6) ขันติบารมี ความอดทน , ความทนทานของจิตใจ ความสามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประพฤติหรือการปฏิบัติที่ตั้งไว้เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้ การกระทำความดีที่ฝืนอารมณ์เดิม ฝืนกิเลส  ต้องอดทนค่ะ เพราะใจมันคอยจะลงต่ำ จิตมันคอยจะตกอยู่เสมอ 55 เพราะมนุษย์เรามันยังมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน คือ มีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ เมื่อเจออุปสรรคแล้ว เราอดทนได้ไหม ได้แค่ไหน นานเท่าไร มาลองฝึกความอดทนกันดีกว่าค่ะ

 วิธีการบำเพ็ญขันติบารมีนะคะ  สำรวจตนเองและความทนทานของจิตใจค่ะ เจออุปสรรคเรื่องราวร้ายๆ หรือเจอมารผจญในระหว่างบำเพ็ญบารมีของเรา  เรายังสามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประพฤติหรือการปฏิบัติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบ หรือเปล่า  ไม่ตามใจอำนาจกิเลส  เช่น  อยากไปด่า ว่าเค้า แค้นเคือง อาฆาต ทำร้ายเค้า  ต้องรู้ให้ทันกิเลส ต้องอดทนค่ะ  บุญนี้ต้องอดทน  ยิ่งบุญใหญ่ บารมีมาก  ก็ยิ่งต้องอดทนมากค่ะ อดได้ ทนได้ สำเร็จแน่นอนค่ะ  คอนเฟริ์ม

 

 (7) สัจจบารมี ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ ความจริงใจ  เป็นความตั้งใจจริง เมื่อตั้งใจดีแล้วไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หากมีอุปสรรคใดๆเกิดขึ้น เราก็จะไม่ละความพยายาม  ทรงสัจจะเข้าไว้  จะไม่ยอมทิ้งสัจจะ  แพรก็มีสัจจะออมทรัพย์ด้วยค่ะอยู่ใน “บัญชีบุญ”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/386630

 วิธีการบำเพ็ญสัจจบารมีนะคะ  สำรวจสัจจบารมีของเราค่ะ ในความตั้งใจที่จะสะสมบุญบารมี  เช่น แพรตั้งใจสะสมเงิน 10,000 บาท ไปทอดกฐินเพื่อสร้างอุโบสถที่วัดป่าเจริญราช สัจจะนี้ยังมีไหม  แล้วได้เก็บเงินจริงไหม  ได้สะสมเงินตามสัจจะที่เราตั้งใจไว้ไหม สำรวจและรักษาสัจจะของเราไว้นะคะ  บารมีอันนี้ไม่ธรรมดานะคะ ทำได้จะมีวาจาสิทธิ์ค่ะ

 พัฒนาสัจจบารมีขั้นสูงสุดนะคะ คือ การยอมตายเพื่อให้ได้เห็นความจริงไหม ความจริงที่เราจะตามดูมันไปเรื่อยๆมี ดูให้สุดสายของการปฏิบัติ มันจะเกิดอะไรขึ้น  ถ้าเราจะทำตามสัจจะ ตายก็ตายนะคะ  ยอมตายเพื่อรักษาสัจจะ รักษาความจริงให้ได้ กล้าพอไหมค่ะ ต้องกล้านะคะ เราเป็นนักรบของพระพุทธเจ้า  สงครามข้ามชาติ ข้ามภพ ต้องกล้าหาญไว้ค่ะ  ไม่งั้นเอาชนะไม่ได้ (อิ อิ)

 

 (8) อธิษฐานบารมี  ความตั้งมั่น , การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางแผนและเป้าหมายแห่งการกระทำของเราไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นอย่างแน่วแน่ การอธิษฐานต้องตั้งใจไว้เลยว่า เราจะทำอะไร  เพื่ออะไร  และการปฏิบัติแบบนี้ เราต้องการอะไร เหมือนกับที่แพรได้อธิษฐานไว้ใน “บุญพิเศษกับงานพิเศษ”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/386848

 วิธีการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีนะคะ  สำรวจความตั้งมั่น ตั้งใจและเป้าหมายในการทอดกฐินของเรา  เมื่อเวลาผ่านไป  เป้าหมายยังมีอยู่ไหม ยังยิ่งใหญ่เหมือนตอนเริ่มต้นหรือเปล่า (อิ อิ) ถึงแม้บางครั้งจะต้องเผชิญอุปสรรคต่างๆนานาก็ตาม ความตั้งใจของเราที่จะสะสมเงินเพื่อทอดกฐิน ยังมีอยู่ไหม ยังสู้อยู่ไหม

 พัฒนาอธิษฐานบารมีขั้นสูงสุดนะคะ คือ ในขณะที่ความตายมารออยู่ต่อหน้า จะถอยไหม ถ้าตั้งใจไม่ถอย ครั้งนี้จะสู้ตายแล้ว ยอมตายไปแต่ไม่ยอมผิดคำอธิษฐานค่ะ  แต่ถ้าบารมีตัวนี้ไม่ถึงก็ถอยนะคะ มันจะทรมานมากไป  นอกจากนั้นระวังกิเลสมันจะหลอกกับเรานะคะว่า ถอยไปก่อนน่ะ เดี๋ยวรวมกำลังมาสู้กับมันใหม่ หลอกได้สารพัดนะคะ  เพื่อให้เราหลุดจากบารมีนี้  อย่าไปเชื่อนะคะ  นึกถึงบุญกฐินไว้ค่ะ สู้ไม่ถอย 555

 

 (9) เมตตาบารมี ความรักใคร่ ความปรารถนาดี  ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุข  ความเจริญ  เมตตาบารมีตัวนี้ก็เป็นตัวตัดโทสะ ความพยาบาท ที่เป็นกิเลสตัวสำคัญค่ะ ที่สำคัญเมื่อเราเมตตาแล้ว  ต้องมีปัญญากำกับไว้ด้วยค่ะ

 วิธีการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีนะคะ  สำรวจตนเองค่ะในความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงให้มีความสุขความเจริญ  ขอให้บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองเค้า  ขอให้เค้าเจริญในธรรม ถึงแม้ว่าเค้าจะเป็นต้นเหตุแห่งอุปสรรค  และคอยทำร้ายเราก็ตาม  เราต้องเมตตา สงสารเค้าไว้ค่ะ  ถ้าเค้าเข้าใจธรรม  ถ้าเค้าเข้าใจกฏแห่งกรรม  เค้าคงไม่ทำร้ายใครหรอกค่ะ จริงๆนะคะ

 

 (10) อุเบกขาบารมี  ความวางใจเป็นกลาง , ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม และดำรงอยู่ในธรรม ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้าย ชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ ทรงอารมณ์เฉยๆไว้ ในเมื่อเราเมตตาแล้ว  แต่เรื่องไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ  อาจเพราะกฎของกรรมที่เราทำไว้เป็นอกุศลในชาติก่อน มันมาให้ผลเรา  ขออโหสิกรรมแก่เจ้ากรรมนายเวรไปเลยค่ะ(ฮือๆ ขอโทษจริงๆค่ะ) การขออภัย  การให้อภัยเป็นเรื่องของเรา ส่วนการจะยกโทษให้หรือไม่เป็นเรื่องของเค้าค่ะ เจริญพรหมวิหาร 4 ไว้แล้วมารักษาอารมณ์สบายๆ เฉยๆ คิดว่า อะไรมันจะเกิดก็ให้มันเกิด มันเป็นธรรมดา อารมณ์ใจก็เฉยได้  สบายได้ สุขได้ เพราะรู้ว่าเป็นธรรมดาค่ะ   “มารไม่มี บารมีไม่เกิด”  http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/388815 

 วิธีการบำเพ็ญอุเบกขาบารมีนะคะ  สำรวจตนเองค่ะ  วางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม และดำรงอยู่ในธรรมได้ไหม ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้าย ชอบ ชังหรือไหวตามแรงเย้ายวนยั่วยุ ใดๆ ที่ดีและไม่ดี  ใครว่าเราก็เฉย  ใครดูถูกเราก็เฉยไว้  เพราะมันไม่ใช่ความจริง  แต่มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์เราต้องเจอค่ะ เช่น การนินทา  มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มันเป็นธรรมดาค่ะที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ ขนาดองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงพระเมตตา กรุณา ทรงบริสุทธิ์หลุดพ้นขนาดนั้น ยังเจอคนนินทาเลยค่ะ ชิลๆ

 

  นอกจากนั้นแพรขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการบำเพ็ญบารมี 10 ทัศเพิ่มเติมค่ะ คือ ให้เพื่อนๆสละเวลาทุกวัน เพียงวันละประมาณ 20-30 นาที สวดมนต์ไหว้พระเวลาไหนก็ได้ที่เราว่าง เราสบายใจ เช้า สาย บ่าย เย็น หรือก่อนนอน (แพรจะสวดทุกเช้าและก่อนนอนค่ะ) สวดมนต์จะได้ทั้งทาน ศีล ภาวนา เลยค่ะ โดยเริ่มจาก

 บทคำบูชาพระ (อิมินา สักกาเรนะพุทธัง อะภิปูชะยามิ.... )

 คำบูชาพระรัตนตรัย  (อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา...)

 นมัสการพระพุทธเจ้า (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต...)

 เทคนิคค่ะ ระหว่างที่ตั้งนะโม ก็ให้เรานำเงินมา จบเอาไว้ในมือ จะกี่บาทก็ได้ 5 บาท 10 บาท หรือจะมากกว่านั้นตามแต่ศรัทธา จากนั้นก็เริ่มสวด

 คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์ (พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ…. )

 บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ (อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ...)

 บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ (สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม.... )

 บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ  (สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ...)

 พาหุงมหากา หรือ พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)

  ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ ให้กลับมาสวด บทพระพุทธคุณบทเดียว 9 จบ หรือเท่าอายุบวกหนึ่งก็ได้ค่ะ  หรือถ้ามีเวลามากๆ สามารถแบ่งเวลามาสวดมนต์ได้  แพรแนะนำให้สวดพระปริตรเลยค่ะ http://gotoknow.org/blog/praparit คุ้มค่าจริงๆ

 ต่อจากนั้น ตั้งสมาธิจิตสักระยะหนึ่ง แล้วอธิษฐานจิตจนเสร็จ จากนั้น เอาเงินที่จบไว้ในมือ ใส่เข้าไปในภาชนะที่เตรียมไว้ที่หิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชา หรือหน้ารูปพระ เสร็จแล้วอย่าลืม แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลทุกครั้งให้เจ้ากรรมนายเวร ทำอย่างนี้ทุกวันอย่าให้ขาด

 

 เห็นไหมค่ะ เราก็จะได้บารมีครบถ้วน เพียงแค่สวดมนต์ไม่กี่นาที และสิ่งเหล่านี้ก็จะสะสมในใจเราทีละน้อย เหมือนกับเราเก็บเงินวันละ บาท 10 วันก็ได้ 10 บาท แต่ถ้าเราไม่ทำอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเลย แล้วเงินที่เราหยอดทุกวัน ที่ได้จากการสวดมนต์ ทำให้จิตของเราติดอยู่กับบุญกุศล ทุกวัน ก็เหมือนเราตักบาตรทุกวัน โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อมีโอกาสเป็นเจ้าภาพร่วมทอดกฐิน เราก็นำเงินนั้นแหละค่ะ ไปทำบุญทอดกฐิน 555  แพรขอสรุปประโยชน์ที่ได้จากการสวดมนต์เพื่อสร้างบารมี 10 ทัศ มีดังนี้ค่ะ

 

 1. ทานบารมี         = ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จ เราทำทานคือเอาเงินที่จบใส่ในกระปุกออมสิน เป็นทานบารมีค่ะ

 2. ศีลบารมี           = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ในขณะนั้นเราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวดมี ศีลบารมี

 3. เนกขัมมบารมี   = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ จิตของเราปราศจาก นิวรณ์มารบกวนจิตใจ ถือว่าเป็นการบวชใจ ถือว่าเป็น เนกขัมมบารมี

 4. ปัญญาบารมี     = การสวดมนต์ทำด้วยความศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ช่วยฝึกฝนให้เกิดสติ มีสมาธิเป็น ปัญญาบารมี

 5. วิริยะบารมี        = ถ้าเราไม่มีความเพียร เราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นความเพียรเป็น วิริยะบารมี

 6. ขันติบารมี        = มีความเพียรแล้ว ไม่มีความอดทน ความเพียรก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความอดทน ความอดทนเป็น ขันติบารมี

 7. สัจจะบารมี       = มีความเพียร มีความอดทนแล้ว และมีความจริงใจในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งความจริงใจคือ สัจจะบารมี

 8. อธิษฐานบารมี   = เมื่อเราสวดมนต์เสร็จ ทำสมาธิ ตั้งจิตอธิฐาน การอธิฐานเป็น อธิษฐานบารมี

 9. เมตตาบารมี     = ใส่บาตร สวดมนต์เสร็จ ก็ต้องแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล การแผ่เมตตาเป็น เมตตาบารมี

 10. อุเบกขาบารมี  = ขณะที่แผ่เมตตา เราต้องทำใจของเราให้มีเมตตา ต่อสัตว์ทั้งหลาย ทำใจให้เป็นพรหมวิหาร 4 อุเบกขา วางเฉย อโหสิกรรม กับบุคคลที่เราเคยล่วงเกินกันมา ไม่โกรธใคร ไม่เกลียดใคร ไม่ชอบใคร ไม่ชังใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบ วางใจให้เป็นอุเบกขา เป็นอุเบกขาบารมี

 

   โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ

 

  ขอให้บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองทุกคนนะคะ

   เพื่อนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบุญกฐินได้ที่นี่ค่ะ

 ชื่อบัญชีบุญ  แพรภัทร  ยอดแก้ว

 เลขที่  159-2-05143-5

 สาขา  ม.สยาม  บัญชี ออมทรัพย์

 ธนาคาร ทหารไทย

 images สาธุ  สาธุ  สาธุ อนุโมทามิ

 อ่านบันทึกการสะสมบุญที่ผ่านมาได้ที่นี่ค่ะ 

 

 อานิสงส์ของการถวายผ้า

http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/390329

 สะสมเงิน เป็นทุนชีวิต

http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/391824

 ปาฏิหาริย์แห่งการอธิฐานจิต

http://gotoknow.org/blog/kathinceremony/394853

หมายเลขบันทึก: 389697เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2010 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วนะอาจารย์แพร

ดีเลยละ ให้หลวงพี่เขียนก็คิดว่าคงไม่ได้ครึ่งของอาจารย์แพรหรอกนะ

อาจารย์แพรบรรยายแบบเห็นภาพเลยนะ

แต่ที่แปลก (สำหรับหลวงพี่นะ ) คือ พาสตางค์สวดมนต์ด้วย

ถ้าเป็นเหรียญ สวดๆ แล้วตกพื้น กริ๊ง ๆ ๆ จะตกใจมั๊ยเนี่ย (อะ ล้อเล่น)

เอาแบบจริงจังบ้างนะ

หลวงพี่ซาบซึ้งในความมุ่งมั่น ความพากเพียรพยายาม เพื่อสร้างบุญกุศลของอาจารย์นะ

ความเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้าทางกาย และทางใจในบางครั้งที่พานพบอุปสรรค

ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความหวั่นไหวเพื่อจะลดศรัทธาอันแรงกล้าอันนี้ไปได้

ด้วยบุญกุศล และความตั้งใจในการสร้างบารมีในครั้งนี้

อาตมภาพในฐานะพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

และในฐานะกัลยาณมิตร ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย

อันมีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

และอำนาจคุณงามความดีที่อาจารย์แพรตั้งใจในการถวาย(กฐิน)ทานในครั้งนี้

ปกป้อง รักษา คุ้มครอง อาจารย์แพร (และครอบครัว)

ขอให้สำเร็จ ลุล่วง สมดังที่ตั้งมโนปนิธานไว้ทุกประการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท