รุกต่อไปเถิด...ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร


ทุกคนกำลังจับตามองทุกฝีก้าวของท่าน พร้อมจะเป็นกำลังใจ และชื่นชมยินดีเมื่อท่านประสบความสำเร็จ

เมื่อวานผมนั่งทบทวน อ่านตำราหลายเล่มที่ว่าด้วย การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อที่จะสังเคราะห์มาเขียนหนังสือ เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เราจะทำเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทยขึ้นมา

ผมพบประเด็นหลายๆอย่างที่น่าสนใจ และมองไปว่า หากเรามุ่งหวัง องค์กรแห่งการเรียนรู้ ปฐมบทจริงๆคือ "คน" ในองค์กร

ประเด็นท้าทายในเบื้องแรก คือ ทำอย่างไรให้คนกระตือรือล้นในการเรียนรู้ จะสร้างวัฒนธรรมอย่างไร สร้างบรรรยากาศอย่างไร นี่คงเป็นโจทย์ที่น่าท้าทายเบื้องต้นขององค์กรที่จะพัฒนาตนเอง

ผมมีโอกาสไปเป็นผู้แลกเปลี่ยน การเขียนBlog บนเครือข่าย Gotoknow ในฐานะ User เก่าๆของเวปBlog ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

ตรงนั้นผมเห็นว่า เป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่จะนำพาองค์กรไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีซึ่งก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เหมาะสมในปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นเพียงสถาบันเล็กๆ เมื่อเทียบกับที่อื่น แต่การรุกก้าว น่าสนใจยิ่งนัก วันนี้ในบรรดากลุ่ม มรภ.ด้วยกัน เวลาsearch หา tag พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  มีมากที่สุด เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเขาย่อมไม่ธรรมดา

วันนั้นที่อบรม Blog บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน สนใจใฝ่รู้ของบุคลากร เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จเบื้องต้นแล้ว ผู้บริหารที่เป็นคุณเอื้อ คงเห็นภาพและชื่นชมยินดี

ก้าวแรกผ่านไปสวยงาม ก้าวที่สองต้องหนักแน่นและมั่นคง

ทำอย่างไรให้เกิดวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นธรรมชาติ สม่ำเสมอ เป็น"วิถี" ใน มรภ.กำแพงเพชร 

คุณเอื้อ คุณอำนวย จะต้องคิดต่อ คุณกิจเองก็ต้องช่วยคิด คุณวิศาสตร์ก็ช่วยเสริม เติม เพิ่มความสะดวก

ไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ...ผมว่ายากจริงๆ อบรม Blog ก็เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่ง ที่น่าตื่นเต้นสำหรับมือใหม่ไอทีดอดคอม ไม่นานหากไม่มีการสานต่อ การแลกเปลี่ยน ต่อยอด ก็จะหลุดหายไป

รุกต่อไปเถิดครับ ชาว มรภ.กำแพงเพชร

ท่านเป็นผู้กล้า ท่านเป็นผู้นำที่กล้าคิด. . . ประกาศให้เมืองไทยได้รู้ว่า เราทำจริง และเราพัฒนาเพื่อการนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ เพื่อชุมชน เพื่อการศึกษา

ทุกคนกำลังจับตามองทุกฝีก้าวของท่าน พร้อมจะเป็นกำลังใจ และชื่นชมยินดีเมื่อท่านประสบความสำเร็จ

เส้นทางนี้มีเพื่อน...เพียงแต่ไม่ท้อ ก้าวเดินไปพร้อมๆกันครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 105616เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • สวัสดีค่ะ คุณเอก ..

เป็นกำลังใจให้นะคะ

  • มาเชียร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรด้วยคน
  • รอเจ้าบ้านมาเขียนบ่อยๆๆ
  • ชอบเข้าไปอ่าน
  • สบายดีไหมครับ
  • น้องเอก
สวัสดีครับ
Pจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร 
จอมยุทธ พเนจร 
มาปฏิบัติการลับ  จะเป็นเงาให้ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160
  • ในฐานะผู้หนึ่งที่ทำงานใน มรภ. ปีที่ ๕ ถือว่ายังใหม่นัก หากเทียบกับปีที่ ๑๐ (ฮา) ให้รู้สึกเสียดาย ความเป็นองค์กรของ มรภ.ก่อนที่จะประกาศความเป็นมหาวิทยาลัย
  • แต่เมื่อแยกตัวเอง บริหารจัดการกันเอง ภายใต้พระราชบัญญัติเดียวกัน ก็ต้องกล้าที่จะทำอะไรหลายๆ อย่าง
  • น่าจะไม่กี่ปี เราก็จะรู้ว่าใครอยู่ใครไป
  • สถาบันที่ยังเหยียบเรือคนละแคม เห็นจะลำบากเป็นแน่แท้ หากต่างผู้ต่างคนต่างรีบตักตวงขุมสมบัติจากกระเป๋านักศึกษา (ไม่นานฉันก็เกษียณแล้ว)ให้เหลือเพียงซากศพให้คนรุ่นต่อไปได้จัดการ ยิ่งถ้าถูกครอบงำด้วยวิถีแบบเดิมก็ยิ่งอันตรายมาก
  • ถ้า มรภ.คือคลังปัญญาเพื่อชุมชน (ไม่ใช่ขายปัญญาให้กลุ่มผู้ต้องการใบปริญญาในชุมชน) ผมเชื่อว่า ความเข้มแข็งจะเกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่งทีเดียว
  • ผมว่า มรภ.น่าจะเป็นขุมปัญญาที่ดี แต่มรภ.ก็ต้องสะสมปัญญากันก่อน อย่างที่ มรภ.กำแพงเพชรได้ดำเนินการ (แต่ก็ยังไม่แน่ใจ ว่าที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงภาพหรือไม่)
  • ต้องแสดงความยินดีด้วยครับ กับการก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งขันของ มรภ.กำแพงเพชร ขอเป็นกำลังใจด้วยครับ

สวัสดีครับคุณ

P

ให้กำลังผ่านไปยัง ชาว มรภ.กำแพงเพชรที่เข้ามาอ่านด้วยครับ

สวัสดีครับพี่ ดร.

P

ช่วยกันก่อ ต้องช่วยกันสานต่อไปครับ เชื่อแน่ว่า มรภ.กำแพงเพชร ต้องขับเคลื่อนไปได้เป็นอย่างดี

ผมสบายดีครับ ยังเดินทางตลอดเวลา

สวัสดีครับ พี่

P

ขอบคุณพี่ครับ ที่ช่วยปฏิบัติการลับ ช่วยเหลือ เพื่อผลักดัน

ยินดีเป็นอย่างยิ่ง

เรียน อาจารยนเรศมันต์ 

ผมไม่ได้เป็นคนในของ ม.ราชภัฎ แต่ผมก็มีมุมมองและคำถามที่หลากหลาย

  • ผมไม่กล้าที่จะวิจารณ์แม้ว่ารู้และเห็นมาบ้าง
  • ผมเข้าใจดีว่า สถานการณ์เปลี่ยน การเอาตัวรอดของคนในระบบสูง  - --ผลกระทบต่อระบบทั้งข้างในและนอกสูง
  • การศึกษาเพื่อท้องถิ่นที่เป็นปรัชญาของ มรภ.นั้น จริงหรือไม่ คำตอบคน มรภ.ก็คงทราบดี
  • ....และอีกหลายๆประเด็น

มีหลายครั้งที่ผมตะขิดตะขวงใจ กับหลักสูตรที่ทำสัญญากับ อปท. ไม่ว่าจะมุ่งพัฒนาบุคลากร ระดับใด หลักสูตรใด  สถาบันในกรุงเทพก็ยึดพื้นที่ทำธุรกิจการศึกษาทั่วประเทศ พร้อม แนวคิดที่ดีเยี่ยมแต่กระบวนการซ้ำเติมคนด้อยโอกาสมาก...พวกเขาซ้ำเติมคนไทยชนบทมาก ไม่สงสารประเทศไทยเลย ถามว่าใครจะรับผิดชอบกับกระบวนการแบบนี้ นอกจากรับทรัพย์กันไปอย่างไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตามนั่นเป็นสิ่งที่ผมเห็น และผมรับรู้ด้วยข้อมูล ...มันทำให้ผมสิ้นหวังทุกครั้งเมื่อเห็น การศึกษาเชิงรุก และปรัชญา "เพื่อท้องถิ่น" ของสถาบัน

แต่แปลกดีเหมือนกันว่าไม่มีใครโอดครวญเรื่องแบบนี้กันเลย...

ผมเชื่อแน่ว่า ท่านรู้กันเต็มอกแต่ไม่พูดกัน

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

มาเรื่องของ การก้าวย่างของ มรภ.กำแพงเพชร

จะเป็นเพียงภาพ หรือไม่นั้น

เป็นคำท้าทายที่ มรภ.กำแพงเพชร ต้องทบทวนตัวเอง

หากเป็นเพียงภาพ มันก็จะค่อยๆเลือนออกไปจากประวัติศาสตร์

ด้วยความที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องในเบื้องต้น ผมเห็นพลังของบุคลากรที่นั่น ผมเห็นความตั้งใจที่เต็มเปี่ยมของคน มรภ.กำแพงเพชร ...ทั้งหมดคือปฐมบท แต่ผมกลับรู้สึกภูมิใจแทนสถาบันเล็กๆที่นี่

ผมเขียนบันทึกนี้เพื่อให้กำลังใจ เพื่อที่จะกระตุ้นให้ก้าวเดินต่อไป ...

จะแค่ไหนนั้น คำตอบอยู่ที่ ชาว มรภ.กำแพงเพชรครับผม

 

เนื่องจาก MSN.

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 ...says:http://gotoknow.org/blog/mrschuai/105583

 ....says:

หากไม่อยากให้เป็นหมาเน่า ก็ทำได้

....says:

มีหลายๆ ที่ที่ต้องตระหนักครับ ไม่ใช่ มรภ.

.... says:

ม. ทั้งหลายก็เช่นกัน

 ...says:

ต้องทบทวนตัวเอง

 ...says:

ม.ทั้งหลายควรจะเป็นพี่เลี้ยงในสาขาที่คิดว่าช่วยเหลือได้

 ...says:

มรภ.ก็ต้องเปิดใจรับ

 ...says:

ม. ก็ต้องช่วยกัน เกื้อกูลกัน

- - - -- - - - -

ขบคิดกันต่อไปครับ

 

  • ผมนึกขึ้นได้ว่า ได้แสดงความเห็นใน blog นี้ไว้ เผื่อว่าจะมีความเห็นอื่นเพิ่มเติมจาก อ.เอก จึงเข้ามาอ่าน และได้มุมมองบางประการ
  • จากคำ "แต่แปลกดีเหมือนกันว่าไม่มีใครโอดครวญเรื่องแบบนี้กันเลย...ผมเชื่อแน่ว่า ท่านรู้กันเต็มอกแต่ไม่พูดกัน"  เป็นอะไรที่ ตรงกับผู้ที่ผมเคารพท่านหนึ่ง แสดงความเห็นส่วนตัว (๒ คน) เอาไว้เหมือนกันครับ
  • อันที่จริงผมก็สับสนอยู่นะครับ ๑) ทำเพื่ออุดมการณ์ต่อไป และเดินต๊อกต๋อยต่อไป หรือ ๒) ไปทำธุรกิจแสวงหาเงิน เพื่อให้สบาย หรือ ๓) ทำทั้ง ๒ อย่างพร้อมกัน จากประเด็นนี้ ดูมันจะเห็นแก่ตัวไปหรือเปล่า ก็จะมีการอ้างอีกว่า ก็คนอื่นยังทำได้ โดยมากการอ้างเช่นนี้ เพื่อนของผมบอกว่า "อย่าเอาความไม่ดีของคนอื่นมาอ้างเพื่อให้ตนพ้นการครหา"
  • หรือว่า เราปฏิเสธไม่ได้แล้วครับ กับ "ธุรกิจการศึกษา" ก็ในเมื่อปากท้องมันหิวกระหาย เราก็ต้องทำให้ปากท้องมันเต็ม (แม้มันจะไม่เคยเต็มเลยก็ตาม)
  • จากคำ "อย่างไรก็ตามนั่นเป็นสิ่งที่ผมเห็น และผมรับรู้ด้วยข้อมูล ...มันทำให้ผมสิ้นหวังทุกครั้งเมื่อเห็น การศึกษาเชิงรุก และปรัชญา "เพื่อท้องถิ่น" ของสถาบัน" อย่าได้สิ้นหวังครับ แม้นเราจะรู้สึกว่า อะไรกันนี่ ทำไมทำกันแบบนี้" ถ้าทุกคนสิ้นหวัง เราก็ต้องมาแข่งขันกับสิ่งที่เราเคยรังเกียจนั้น (ผมว่า)
  • คนเรามาจากที่ คัมภีร์คนละเล่ม การอบรมสั่งสอนเรื่องเดียวกันแต่ไม่ใช่นัยเดียวกัน ก็ธรรมดาที่จะต้องคิดอะไรและทำอะไรที่ต่างกันไป เช่น แม่คนหนึ่งมักสอนลูกชายว่า จีบไปเลยลูก จีบให้ทั่วๆ แล้วค่อยเลือกอีกทีว่าใครจะเป็นภรรยาของลูก ก็เหมือนการซื้อของนั่นแหละก็ต้องมีการชิมกันบ้าง..." ขณะที่แม่คนหนึ่งสอนลูกชายว่า ลูกเอ๋ย ผู้หญิงเขามีพ่อมีแม่ จะทำอะไรก็คิดให้ไกล ผู้หญิงไม่ใช่ของเล่น ควรให้เกียรติเขา รักใครชอบใครก็ขอให้มั่นในคนเดียว หากไม่สมหวัง ก็ถือเสียว่า เราไม่ใช่เนื้อคู่กัน" ระบบคิดและพฤติกรรมของลูกชายสองคนจึงต่างกัน
  • ผมว่า แต่ละคนควรมาพูดเรื่องจริงกันแล้วละครับ (บางคนไม่กล้าพูดเพราะกลัวอำนาจ และอำนาจก็มีจริงด้วย เช่น แกพูดมากไปแล้ว เตรียมติดอยู่ในขั้นนี้สัก ๕ ปี) ทั้งที่ดีและไม่ดี เพื่อที่จะได้แก้ไขข้อบกพร่อง เพิ่มเติมสิ่งที่ดีเข้าไปให้มันสมบูรณ์ (แม้ว่าความสมบูรณ์จะไม่มีจริง)
สวัสดียามเช้าครับ
     เห็นคำ "ราชภัฏ" เลยรีบเข้ามา ชม และ เชียร์ ครับ
     มีอะไรน่าสนใจในความเป็น "ราชภัฏ" ลองไปอ่านที่ผมคุยกับนักศึกษาได้ ที่นี่ ครับ

สวัสดีครับ อ.นเรศมันต์

ไม่มีรูป
นม.

ผมเองไม่ได้อยู่ในวงในราชภัฎครับ แต่ก็ภูมิใจว่าสถาบันได้สร้างบัณฑิตที่ออกมาทำงานเพื่องสังคมก็มากมายและเป็นคนดีที่ช่วยกนพัฒนาบ้านเมืองเรา

เรื่องธุรกิจการศึกษาก็เป็นปรากฏการณ์ที่เราพบเจอเหมือนๆกัน และทราบเงื่อนไขดีว่า มหาวิทยาลัยเหล่านั้น ทำเพื่ออะไร

ปรากฏการณ์แบบนี้ทำให้ผมมองย้อนไปยังคนชายขอบครับ หมายถึงผู้ที่ด้อยโอกาสทางสังคม ที่ปัจจุบันเราถูกทำให้ด้อยยิ่งลงไปอีก ด้วยการวัดเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจ เราไม่มีกำลังซื้อ หากการศึกษาต้องซื้อ และได้มาซึ่งการศึกษาที่ดี เราก็แพ้ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะจะกินยังไม่ค่อยจะมี

เรื่องทุนการศึกษา กองทุนที่ให้กู้ยืมเรียนนั้น เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลส่งเสริมให้การศึกษาเข้าถึงคนรากหญ้ามากขึ้น แต่ก็ดูเหมือนนโยบายนี้แผ่วๆ เหมือนไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ (ตามความคิดของผม)

ด้วยเหตุผลที่ผมพบด้วยตนเองหลายข้อ(จากคนนอก)

  • อาจารย์ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนการสอนเท่าที่ควรจะเป็นเพราะมีภาระกิจอื่น ที่เกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้อง
  • อาจารย์ต้องการเงินเพิ่มโดยการเปิดหลักสูตรเยอะ ภาระงานมากๆ เน้นปริมาณ แต่ไม่ได้มองเชิงคุณภาพ อันนี้เห็นได้จาก มหาวิทยาลัยใหม่ๆ (หรือไม่ใหม่) ที่ปีนี้ รับ นศ. ปีหนึ่ง สาขาเดียว 300 คนขึ้นไป ดูเป็นปรากฏการณ์ "โรงงานการศึกษา" ทราบมาว่า บางคณะ บางสาขา รับที 1000 + คน
  • การเมืองในสถาบันแรงไป ก่อกวนจิตใจอาจารย์มาก
  • และ competency ของอาจารย์ อันนี้ต้องทบทวนมากๆ

เป็นเพียงมุมมองของกระผมนะครับ จริงบ้าง หรือ ไม่จริงบ้างให้พิจารณากับสภาพที่อาจารย์เจอ

ขอบคุณครับ

เรียนอาจารย์

P

ผมเองได้เกี่ยวพันกับราชภัฎ ด้วยการเข้าไปช่วยงานบ้าง และกิจกรรมอื่นๆบ้าง เห็นความตั้งใจของอาจารย์ในการพัฒนาการศึกษาแล้วก็ดีใจครับ

แต่ก็มีทั้งเชิงลบและบวกนะครับ กับการพัฒนาการศึกษา และ ความอยู่รอดของสถาบันด้วย

อย่างไรก็ตามราชภัฎได้สร้างบัณฑิตที่ดี รับใช้สังคมไทยเรามานาน

ขอให้กำลังท่านอาจารย์พินิจด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท