โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

HA reaccreditation กับงาน palliative care KPI แม่สอด (ทีมกัลยาณมิตร)


รพ.ผมใช้ morphine ในทุกกิจกรรมรวม 8,672 ampule/ปี ต้องเพิ่มการใช้ morphine อีก 13.8% บอกอย่างงี้ดูน้อย แต่ถ้าบอกกับเภสัชว่าใช้ morphine 1176 amp เภสัชคงหงายหลัง

ตั้งแต่วันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2552 ผมได้รับ ผิด/ชอบ งาน HPH ในส่วนของความเชื่อมต่อระหว่าง รพ. ลงสู่ชุมชน อาจารย์ที่เป็นผู้เยี่ยมสำรวจคือ อาจารย์ทัศนีย์ สุมามาลย์

 

 

อาจารย์ทัศนีย์ สุมามาลย์

ตอนแรกก่อนที่ทาง สรพ. (คือ พรพ.เก่า....สถาบันตรวจรับรองคุณภาพสถานพยาบาล) จะมา ผมได้รับจัดสรรเวลาทั้งหมด ทั่ง home health care ,palliative care ,งานชุมชน รวมทั้งหมด 15 นาที ครับ!  ที่ตกใจคือเครียดว่า ทำมาตั้ง 3 ปี มีเวลาแค่ว่าเนี้ยนะ!!! ...ผมซ้อมแล้วซ้อมอีก...เต็มที่แค่ 22 นาที

ปรากฏว่าพอหลัง hospital presentation (เป็นชั่วโมงแรกที่ ผอ.เล่าภาพรวมโรงพยาบาล) อาจารย์ทัศนีย์ ขอดูงาน palliative care อย่างละเอียดหลัง 17:00 น. ผมค่อยโล่งอกหน่อย ผมได้มีโอกาสเดินตามอาจารย์ทัศนีย์ ผมรู้สึกว่า อาจารย์จะฟังจนจบก่อนถาม และคำถามไม่คุกคาม ได้ความรู้สึกถึงโทนอบอุ่น ผมได้ skill การถามหางานคุณภาพจากอาจารย์หลายเรื่องแบบที่ไม่รู้ว่าอาจารย์จะรู้ตัวหรือเปล่าว่ากำลังสอนผมอยู่

พอ 17:00 น.ผมรู้สึกว่า "อาจารย์คงเหนื่อยมาทั้งวัน" ก็เลยนำเสนอแบบสนุกสนานผ่อนคลายโดยเราเชิญ ทีมกัลยาณมิตร ทั้งทีมทั้งหมอสมชาย หมอศิริศักดิ์ เลขา 2 น. พี่นิว (เลขาฝั้งชุมชน) และพี่แนท (เลขาฝั้งโรงพยาบาล) ผมใช้เวลานำเสนอประมาณ 20 นาที เป็นเรื่องราวดี ๆ + KPI งานเรา แล้วอาจารย์คุยกับเราจนถึง 18.00 น. สรุปคือผลงานหลักเราคือ

1. ผู้ปฏิบัติใน ward เริ่มเก่งขึ้น คือ จากเมื่อปี 50 และ 51 พบว่าปรึกษาทีมกัลยาณมิตรเมื่อก่อนเป็น communication ซึ่งหลังจากเรา train กันแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้มา 2 ปีเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยปรึกษาเรื่องนี้จากตาราง ชัดไหนครับ ไม่ง้อเราแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นฝากเราดูต่อที่บ้านแทน

 

 

2. ข้อมูลนี้ถูกสอบทาน (triangulation) ด้วยข้อมูลต่อมาคือ "ก่อนปรึกษาทีมกัลยาณมิตร..มีการปิดบังการวินิจฉัยคนไข้มากน้อยแค่ไหน"...จากเมื่อก่อนปิดกันแซดถึง 50% กว่า ปีล่าสุดลดเหลือแค่ 32% นั้นหมายความว่า ที่ ward เริ่มจัดการเรื่องนี้ได้ดี (reverse ratio เลยครับพี่น้อง!!!!!)

 

 

3.ถึงทีมกัลยาณมิตรแล้วเรา outcome สุดท้ายเป็นอย่างไร?

ชัดเจนครับ มีผู้ป่วยที่รับได้และรู้ว่าเป็นมะเร็งอย่างต่ำ 90% (อันนี้ตาม learning curve ครับ ยิ่งทำนานก็เก่งขึ้น) หลักการเดียวในการแจ้งความจริง (พี่ฮัว หัวหน้าพยาบาล HHC ศิริราชชอบใช้ ผมเลยใช้ตาม....จริง ๆ คำที่คุ้นเคยคือ แจ้งข่าวร้าย) คือ บอกแล้วได้ประโยชน์ คนไข้มีความสุขมากขึ้นผมจะบอก ถ้ารับไม่ได้หรือบอกไปก็ไม่ได้ประโยชน์หรือคนไข้ไม่เห็นอยากรู้ก้ไม่มีความจำเป็นต้องบอก

 

ปัญหาที่ทำให้กลับมา readmit ที่โรงพยาบาลมากที่สุดคือ บังเอิญกระทันหันทำตัวเลขปี 2551 หายเลยกลายเป็น NA=not assess ไป

4. คนไข้ที่เราดูแลเสียชีวิตที่บ้านเป็นส่วนใหญ่

จะเห็นว่า 60-80% เสียชีวิตที่บ้านอย่างสงบ...คนที่มา รพ.เพราะทนไม่ไหวจริงส่วนใหญ่ คนไข้ผมเป็น CA lung อันดับ 1 เหนื่อยมากใส่ tube ปีนี้เยอะไปหน่อย แต่ถ้าไม่ใส่หมอเจ้าของไข้ก็ไม่รู้ทำยังไง....จริง ๆอาจใช้วิธี sedate ด้วย valium + morphine low dose แต่คุยกับญาติเรื่อง การใส่ท่อคนไข้เจ็บและทรมาน อันนี้คงต้องค่อย ๆแก้ไขกันไป จริง ๆ เสียชีวิตที่ไหนไม่ใช่ประเด็นครับ...แต่ประเด็นคือ คนไข้ได้เสียชีวิตอย่าสงบไหม

 ส่วนเป้าปีต่อไปคือสร้างเครือข่ายอาสาสมัครมากขึ้นโดย ถือสิทธิผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง...รวมถึงการชั่งน้ำหนักระหว่างประเด็นส่วนบุคคลกับเรื่องสาธารณะ

จบ slide อาจารย์ทัศนีย์ บอกกับเราว่า "เป็นทีมที่แปลก...การรวมกันแบบนี้น่าจะถูกทิศทาง...เป็นการรวมกันตามธรรมชาติ"

"มีคนอื่น ? ฝากมาถามว่า ทำpain management ไหม เขาไม่เห็นในรายงาน" ผมเลยบอกว่าเดี๋ยวพรุ่งนี้ผมเอามาให้......ผมกลับมาที่บ้าน และนั่งคิดว่า คนอื่นน่าจะเป็นใคร? ผมเดาว่าน่าจะเป็นหมอคนเดียวในทีมคือ อาจารย์ รณชัย (หัวหน้าทีม)

เพื่อไม่ให้เสียชื่อทีมกัลยาณมิตร.....ผมไปนั่งค้นงานวิจัยในปี 2550 ที่ผมเอาไปทำ อวช. ซี 6 ซึ่งผมคิดอย่างละเอียดวิเคราะห์ว่า เหตุผลที่คนไข้ readmit ด้วย pain แก้ไขได้ง่ายกว่า dyspnea ถ้าเพียงเรามี acute pain killer นั้นคือ morphine syrup ที่ รพ. เราผลิตสำหรับคนไข้เฉพาะราย โดยเอา morphine ฉีดมาทำ โดยคิดที่ ความเข้มข้น 10 mg/ชช. 1 ขวด 60 ml. เราจะใช้ morphine 12 ampules ต่อขวด

ในปีนั้นเรามี คนไข้ 14 คน ที่ใช้ morphine (ทั้งหมดเป็น MST ยาออกฤทธิ์ยาว)....เฉลี่ยใช้ 60 mg/คน/วัน แต่ละคนจะมี breaking through pain อย่างน้อย 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าเรามี morphine น้ำ เราจะใช้ประมาณ 10 mg/วัน ในรายที่คุม pain ได้ดีแล้ว นั้นหมายถึง .....เราต้องใช้ยาน้ำประมาณอย่างน้อย 1 ขวด/สัปดาห์ คนไข้ผม อายุเฉลี่ยที่เราดูแลจนเสียชีวิต 7 สัปดาห์

เพราะฉะนั้นถ้าเราจะลด readmit ในคนไข้ 14 รายนี้ใน 1 ปี ต้องใช้ morphine ทั้งสิ้น

 

14ราย/ปี x1 ขวด/สัปดาห์/ราย x 7สัปดาห์ x 12 ampules/ขวด=1176 amp/ปี

 คิดเป็นยาแก้ปวดที่ใช้เฉพาะเวลาปวด (prn dose ไม่รวม MST ที่ให้เป็น baseline) ถ้าเรามี morphine amp ละ 20 บาท เราจะใช้เงินเพียง 23520  บาท/ปี (ไม่รวมค่าการผลิต morphine น้ำที่ไม่ได้แพงมาก) ซึ่งไม่แพงเลย

รพ.ผมใช้ morphine ในทุกกิจกรรมรวม 8,672 ampule/ปี

ต้องเพิ่มการใช้ morphine อีก 13.8% บอกอย่างงี้ดูน้อย แต่ถ้าบอกกับเภสัชว่าใช้ morphine 1176 amp เภสัชคงหงายหลัง

ผมนำเสนอให้ อาจารย์ รณชัย (หัวหน้าทีม) ในองค์กรแพทย์ ผอ. ทำหน้าตกใจมากว่าต้องใช้ morphine เยอะมากมายขนาดนี้เชียวหรือ

จากงานวิจัยของผม....รพ. under-evaluate pain จากที่ควรจะเป็นคือ 66% เป็น 28% จากตารางที่ 3.....อาจารย์รณชัย ฟังจนจบ หลังจบองค์กรแพทย์....ผมยืนงานวิจัยของผมให้กับมืออาจารย์แล้วบอกอาจารย์ว่า "ถ้าอาจารย์ไม่มีเวลาอ่านขอให้อ่านแค่ 2 หน้าแรกก็พอ" อาจารย์ยิ้มแล้วบอกว่า "พี่อยากให้น้องเขียนให้หน่อยจะได้เอาไปบอกเขาได้ว่าที่นี่ดีจริง"

ผมประทับใจอาจารย์มากที่อาจารย์ให้ความเป็นพี่น้องกับเพื่อนแพทย์ร่วมวิชาชีพ

 

อาจารย์ รศ.นพ. รณชัย อธิสุข (รูปจาก blog คุณP♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿ ขอบคุณนะครับ....ไม่กล้าถ่ายเองเพราะตอนแรกกลัวอาจารย์จะดุเอา)

แต่ KPI ที่สำคัญที่สุดคือ รอยยิ้มในรูปข้างล่างนี้ต่างหากครับ

หมายเลขบันทึก: 315018เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องราวน่าชื่นชม

แค่มีความสุขกับงานที่ได้ทำ ... ก็เป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณที่อาจารย์แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

คนไข้ได้รับบริการจากทีมดีแบบนี้ ผ่านฉลุยค่ะ

สวัสดีครับพี่แก้ว และคุณครูบันเทิง

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ

  • ทำได้ดีมากๆเลยนะจ๊ะหมอโรจน์
  • ทีมของพี่ ยังเล่นเรื่องผู้ป่วยระยะสุดท้ายน้อยมากๆเลยอ่ะ
  • ..........
  • เป็นความฝันของพี่ที่จะได้เห็นผลงานอย่างนี้เลยนะ
  • ขอบคุณนะน้องที่ทำให้เห็นว่าเป็นฝันที่ทำให้เป็นจริงได้

สวัสดีครับพี่

ตื่นแต่เช้าเลยนะครับ ขอบคุณพี่เหมือนกันที่ดูแล DM แบบ intensive และเป็นตัวอย่างให้ผมเดินตามเช่นกันครับ

รออ่านอย่างน่าตื่นเต้น อิอิ ภาพมาช้า เอ๊ย เน็ทเราช้า อิอิ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหมอโรจน์ คุณภาพและผลลัพธ์คับแก้วจริงๆ ขอบคุณแทนผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยทุกๆคนที่มีทีมที่ดูแลดีขนาดนี้ ไก่ขอเป็นกำลังใจให้หมอโรจน์และทีมงานทุกๆคนนะคะ

ขอบคุณ paula สำหรับภาพประกอบนะครับ

สวัสดีครับไก่สบายดีไหม...ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ...อย่าหักโหมงานเกิน

อ่านจบแล้วค่ะ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ รพ.รายงาน KPI สองมิติ ที่ผสมผสานไปด้วยกันได้ดีมากค่ะ ทั้งตัวเลขและรูปภาพรอยยิ้ม แต่พอลล่าชอบอันหลัง อิอิ

เสียดายเวลานำเสนอน้อยไปหน่อยนะคะ กับงานหลายงาน ขอบคุณที่ชื่นชมทีมผู้เยี่ยมสำรวจของเราค่ะ

เป็นกำลังใจให้ผ่านไปด้วยดีนะคะ

สวัสดีครับ Paula ผมก็ดีใจที่ทีมเยี่ยมสำรวจยกเรื่องนี้ให้เป็น Best practice และผมหวังว่า "หลังจากนี้ รพ.แม่สอดน่าจะเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลที่มี palliative care เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร.....ไม่รู้หวังสูงเกินไปหรือเปล่า

เข้ามาเรียนรู้ด้วยคะ พี่โรจน์ เป็นตัวอย่างของ คนจริง ทำจริง

ตอนนี้กำลังพยายามเพิ่มกระบวนวิชา ป.ชั้นสูง เพื่อให้น้องๆ dent ม.ช. ไปเรียนรู้ best practic palliative กับพี่โรจน์คะ

สวัสดีครับ น้องแต้ ยินดีต้อนรับ resident ที่จะมา...แต่ก็ขออย่าไปบังคับน้องนะครับ

ผมเชื่อว่า ไม่ต้องมากคน แต่ส่งคนที่ มากด้วยความสนใจมา....เขาจะได้อะไรที่คุ้มค่ากลับไป

ความจริงพอลล่าน่าจะไปด้วย อิอิ

นอนดึกเหมือนกันนะครับ พรล่า:)

วันที่ ๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ได้มีโอกาสไปดูงาน palliative care ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ค่ะ แล้วลองมาค้นคำว่า palliative care ก็มาเจองานของคุณหมอโรจน์ ขอชื่นชมในการดูแลผู้ป่วยให้จากไปอย่างสงบค่ะ เห็นรอยยิ้มของผู้รับบริการ และอย่าลืมมีรอยยิ้มคนทำงานที่อิ่มบุญด้วยนะค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ อารยา ที่สนใจครับ

"KPI ที่สำคัญที่สุดคือ รอยยิ้มในรูปข้างล่างนี้ต่างหากครับ"

เห็นด้วยมากๆครับ

สวัสดีครับ

วัชรพงษ์......สิ่งที่เห็นทั้งหมดผมใช้วิชาที่เล่าเรียนมาจากอาจารย์ fammed ทำทั้งสิ้น ผมเชื่อว่า Family doctor ทุกคนทำได้

อ่านแล้วประทับใจค่ะ ผู้ป่วย ครอบครัวคงมีความสุขแม้วันนั้นมาถึง และคำนึงถึง passive/active euthanasia ด้วยค่ะ

ขอบคุณ คุณน้อยหน่าที่แวะมาอ่านครับ

จริง ๆ euthanasia ขัดหลักการ palliative care ชัดเจน เพราะ เราดูแลเพื่อคุณภาพชีวิที่ดี และเราจะไม่เร่งหรือชะลอการเสียชีวิตของผู้ป่วย นี่เป็นหลักการสากลของงาน palliative care

มาชื่นชมค่ะหมอโรจน์ งาน PAL ได้เริ่มยังเต็มสตีมกันหล่ะคราวนี้ ฟิตเอาไว้นะคะ

สวัสดีครับพี่สุ้ย....พุทธิกาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้ครับ

สวัสดีค่ะ ผ่านเข้ามาอ่านเจอ เรื่องนี้พอดี ขอชื่นชมนะคะ เยี่ยมมากๆค่ะ

และ เมื่อวันที่ 14-15 มค. 53 นี้ ทาง รพ. ได้รับการเยี่ยมสำรวจจากทีม อ.รณชัยและ

อ. ทัศนีย์ อ. ปรมินทร์อ .มธุรส ค่ะ ท่านสุดยอดจริงๆนะคะ

สวัสดีครับคุรอุทัยวรรณ

ขอให้ผ่านการ reaccredit นะครับ

สวัสดีครับคุณหมอ...

แวะมาเยี่ยมครับ

ผมเพิ่งกลับจากการแวะเยี่ยม ร.พ.พิจิตร

และได้อ่านบันทึกคุณหมอแล้วรู้สึกอิ่มใจครับ

อย่างน้อยก็รู้สึกว่าบ้านเราก็มีดีเหมือนกัน

ขอบคุรหนานเยรติที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

ชื่นชอบผลงานค่ะอ่านแล้วรู้สึกดีใจแทนผู้ป่วยที่มีทีมงานที่ดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

ตอนนี้ได้มารับหน้าที่พยาบาลชุมชนค่ะ อยากได้รับคำแนะนำบ้างค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท