ศูนย์วิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาสังคม


 

เราได้อ่านย้อนไปในบันทึก ก้าวแรกของ "Digital KM" ของท่านอาจารย์ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์  ในประโยคที่ท่านพูดถึง Digital KM ที่ว่า

"องค์กรและบุคลากร"

โดยเรื่องรูปแบบองค์กรนั้น ห้องปฎิบัติการ UsableLabs จะยกระดับเป็น "ศูนย์วิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาสังคม"

ประโยคนี้ "ศูนย์วิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาสังคม"เป็น Goal เป็นเป้าหมาย เป็นสิ่งที่เราอยากจะให้มีให้เป็น

และในประโยคนี้ "ศูนย์วิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาสังคม" เราเองสามารถตีความออกได้เป็น 2 ส่วน (ถ้าผิดก็ขออภัย) คือ ในส่วนของการพัฒนาซอฟต์แวร์ และส่วนของการพัฒนาสังคม

ทั้งสองส่วนนี้จะต้องเชื่อมโยง ประสาน "พึ่งพา" ซึ่งกันและกัน

ส่วนที่หนึ่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นส่วนที่จัดสร้าง "ระบบ" ให้เรา "สมาชิก G2K" ได้ใช้ ได้มี "เวที" เพื่อพัฒนาสังคม

ส่วนที่สอง การพัฒนาสังคม ตาม Model ที่เราเข้าใจ สังคมนี้จะพัฒนาได้ด้วย "ความรู้" G2K จึงจัดสร้างขึ้นเพื่อ "สร้างเกลียวความรู้" เกลียวความรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" จากผู้รู้และโดยเฉพาะ "ผู้ไม่รู้"

ในส่วนที่หนึ่งทีมงานของท่าน ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ นั้นทำดีมาก ๆ อยู่แล้ว

แต่ตอนนี้ปัญหาเรื่องของการ "พัฒนาสังคม" นั้นมันติดอยู่ที่พวกเรา ที่เราไม่สามารถ "ควั้นเกลียวดความรู้" ได้

เพราะทำไมน่ะหรือ...?

ก็เพราะว่าเราไม่เปิดใจรับความรู้ความเห็นซึ่งกันและกัน

ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ในวงวิชาการไทยมานานแสนนาน

เมื่อก่อนนี้เราต้องเข้าในเวที ต้องเข้าไปนั่งในห้องประชุม Face to Face ตาต่อตา ฟันต่อฟัน นักวิชาการไทยไม่เถียงกันอยู่แล้ว หรือเถียงกันก็จัดเข้าขั้นว่า "ทะเลาะกัน" วงการวิชาการไทยถึงไม่ "เจริญ"

หรือถ้าเวทีไหน "เจ๋ง ๆ" หน่อย คือมี "คุณอำนวย" เก่ง ๆ ก็จะสามารถ "รีด" ความรู้จากการถกเถียงนั้นออกมาเป็น "องค์ความรู้" ที่มี "เกลียว" อยู่อย่างมากมาย

แต่ทว่าการจัดเวทีแต่ละครั้งนั้น ต้องใช้งบประมาณ ค่าสถานที่ ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงมากมาย

เวทีเสมือน G2K แห่งนี้จึงเป็นที่ที่จะทำให้นักวิชาการทั่วโลกและทั่วประเทศไทยสามารถเข้ามาใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ทุกวัน ทุกเวลา

แต่ว่า... เราไม่ค่อยจะกล้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเท่าไหร่

คนที่กล้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คนเขียนเรื่อง (ผู้เขียนบันทึก) ก็มีอัตตาตัวตนสูง ไม่แลกเปลียนเรียนรู้ด้วย เขาแสดงความคิดเห็นอะไรมาก็ไม่ฟัง ไม่ต่อยอด ไม่ขั้นเกลียว

คนตอบ คนแสดงความคิดเห็นก็ไม่กล้านั้นก็เพราะว่ากลัวเสียชื่อ เสียหน้า เสียเกียรติ "เสียเพื่อน" กลัวคนอื่นไม่รัก กลัวสังคมไม่เข้าใจ การพัฒนาสังคมสี่ปีที่ผ่านมานี้จึงก้าวไปอย่างเชื่องช้า

สี่ปีแล้วที่เรามีแต่คำ "ป้อยอ" ให้แก่กัน ปีที่ต่อไปจากนี้นั้นน่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแท้จริง

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น "มีคุณค่า" มากนะ ผู้เขียนและผู้แสดงความคิดเห็นต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อที่จะพัฒนาความรู้ให้ "กว้างขวาง" ซึ่งจะสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไป "พัฒนาสังคม..."

ในส่วนของเรา เราต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเต็มที่ ระบบที่ดีย่อมทำให้มีผู้เข้ามาใช้เวทีนี้เยอะ

คนเยอะ ความรู้ก็เยอะ 

ความรู้ทุก "อณู" มีคุณค่า

ขอให้ "รักษา" ความรู้ที่กลั่นออกมาจาก "กูรู" ทั้งหลายใน G2K นี้ไว้ แล้วสังคมไทยจะ "พัฒนา..." 

หมายเลขบันทึก: 298946เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2009 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คุยกันไม่เป็นงัยท่าน..จึงได้ทะเลาะกัน

ฟังกันไม่เป็น...จึงได้โกรธกัน...นึกคิดไปว่า เขานั้นมาว่าตนมาด่าตน

ด้วยความที่กอด...อาการที่หลงว่าตนเองรู้ตนนั้นชำนาญนั่นน่ะ จึงทำให้ฟังใครไม่ได้ฟังใครไม่เป็น... พอมีใครมาบอกก็ทนไม่ได้ แต่หารู้ไม่ว่าการที่มีคนมาบอกนั่นน่ะ คือ เรายังมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปได้อีก...

ฟังก่อน...ฟังแบบใช้หัวใจฟังนะ ใช้หัวใจฟังแล้วปัญญามันจะเกิด

อย่าใช้อารมณ์ฟัง...เพราะหากว่าใช้อารมณ์ฟัง...

เราจะชอบแต่คำป้อยอ พอไม่ได้ยินคำป้อยอ เราก็จะไม่ชอบใจ...

แต่ดูท่านช่างแน่ใจเหลือเกินนะ...

ว่าก้าวต่อจากนี้จะมีการแลกเปลี่ยนมากขึ้น...อืม!

อื้ม... มันต้องมั่นใจกันหน่อย

เหมือนกับเมื่อก่อนนี่นะ ตอนที่ตั้งใจปวารณาว่า "ถ้าสวดปาฏิโมกข์ไม่ได้จะไม่สึกนี่" ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปก้มกราบพระประธานในพระอุโบสถนี่ก็ต้องตัดสินใจอยู่นาน

แต่การทำแบบนี้ก็เหมือนกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยปรารภไว้ว่า

"เหมือนกับเราตัดสินใจที่จะไปอีกฝั่งหนึ่ง เรายังไม่เห็นฝั่งหรอก และไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ที่ไหน แต่ใครล่ะที่จะกล้ากระโดดลงไปแม้จะไม่เห็นฝั่ง..."

ตอนที่เราสมาทานว่าจะสวดปาฏิโมกข์ให้ได้ก็อารมณ์นั้น คือ โอ้โห อย่างยาวเลย (จากต้นจนจบประมาณ ๕๐ นาที) จะสวดได้หรือเปล่าเนี่ย แต่ก็เอาวะ กระโดดลงน้ำไปก่อนเลย ฝั่งอยู่ไหนไม่รู้ แต่ก็ดีกว่าพวกที่ "วิ่งลัดเลาะอยู่ตามฝั่ง..." เน๊อะ

อ้าว... นอกเรื่องไปเสียไกล กลับมาเรื่องที่เราแน่ใจว่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "มากขึ้น"

อันนี้ก็ต้องกระโดดลงน้ำไปก่อนเหมือนกัน

ต้องทุ่มไปเลยสุด ๆ ไม่มีทางถอย กระโดดลงน้ำไปแล้ว ฝั่งก็ไม่เห็นหรอก แต่อย่างไรก็ต้องว่ายไป

แต่เราก็มั่นใจว่า อย่างน้อยก็มีเราคนหนึ่งที่จะคอย "ปั่น" ความรู้อยู่

ในปัจจุบัน G2K ขาด "ตัวปั่น" ตัวปั่นไม่ใช่ตัวป่วนนะ

ตัวปั่นนี้เปรียบเสมือนโปรโมเตอร์ จับแพะชนแกะ

ตัวปั่นนี้ก็คือ "คุณอำนวย" นี่แหละ ถ้าพูดแบบง่าย ๆ

เรามาช่วย "ปั่น" ความรู้กันดีกว่า

นอกจากเขียนแล้ว มาช่วย "ปั่น" กัน

นักปั่น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ "นักเจ๊าะแจ๊ะ"

ต้องมองให้ขาด ปั่นให้ถูก

ถ้าปั่นดี จะมีองค์ความรู้ดี ๆ เกิดขึ้นเยอะ

ถ้าปั่นดี สมาชิกหน้าใหม่จะเลื่อนชั้นเป็นสมาชิกหน้าเก่า

สมาชิกหน้าเก่าจะเป็น "พี่เลี้ยง" คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สังคมนี้จะไม่เป็นเพียง "สังคมอุดมคติ"

สังคมนี้จะกลายเป็นสังคมจริง เพราะเราช่วยกัน...

น้าน...ต้องอย่างนี้...เลย

เอ้อละเหยลอยลมกันมาก็นาน...นานถึงสี่ปี

เหมือนที่ว่าน่ะนะ...ว่าตายเป็นตาย ถ้าหากจะตายเพราะทำความดี ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ... ทำสิ่งที่เป็นคุณค่า ทำไป ทำไป...ทำไปเพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ

หน้าที่ที่ว่านี้คือ ... หน้าที่ต่อการได้เกิดมาเป็นมนุษย์

ใครไม่ทำ...เราก็ทำ

ใครทำ...เราก็ทำ...

ก็เท่านั้นเอง...ทำแล้วผู้ทำก็จะเห็นในผลที่ทำนั้นด้วยตัวเอง...

อืม...ก็ลองดูสักตั้งจะเป็นไรไป...

 

โยมขอโอกาสเจ้าค่ะ............

 

โดนใจกับประโยคนี้มาก

 

"เราไม่ค่อยจะกล้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเท่าไหร่

คนที่กล้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คนเขียนเรื่อง (ผู้เขียนบันทึก) ก็มีอัตตาตัวตนสูง ไม่แลกเปลียนเรียนรู้ด้วย เขาแสดงความคิดเห็นอะไรมาก็ไม่ฟัง ไม่ต่อยอด ไม่ขั้นเกลียว

คนตอบ คนแสดงความคิดเห็นก็ไม่กล้านั้นก็เพราะว่ากลัวเสียชื่อ

เสียหน้า เสียเกียรติ "เสียเพื่อน"

กลัวคนอื่นไม่รัก กลัวสังคมไม่เข้าใจ

การพัฒนาสังคมสี่ปีที่ผ่านมานี้จึงก้าวไปอย่างเชื่องช้า"

 

อ่านแล้วรู้สึกกระทบปังไปที่ อัตตา

แล้วอยากลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนและให้กำลังใจ G2K

 

ลำพังโยม

ก็ถอดบทเรียนไม่เป็นเจ้าค่ะ

โดนความกลัวโจมตีเสียงจน ขาดความมั่นใจ

แต่จะพยายามต่อไป ตามคำแนะนำของครูบาอาจารย์เจ้าค่ะ

 

 

ตอนนี้เรากำลังสะดุดคำว่า "ถอดบทเรียน"

ถอดบทเรียนเป็นอย่างไรน๊า...???

สิ่งที่เรากำลังทำเราก็ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าอะไร แต่ก็รู้เพียงว่าไปทำอะไรมาแล้วมี "หน้าที่" เขียนก็เขียนลงไป เล่าออกมา ถอดออกมาให้มากที่สุด

เมื่อก่อนก็เคยเป็นประมาณว่า เรียนทฤษฎีก่อนแล้วตีความ ตีความเข้าใจแล้วจึงค่อยมาทำ

จากสมการเดิมที่เคยทำ กว่าจะเรียนรู้เรื่อง ก็ต้องลงทุน ลงแรง ลงเวลาไปเยอะ

แล้วพอจะทำก็กล้า ๆ กลัว ๆ ก็เพราะว่ากลัวที่จะ "ผิด"

ตอนนี้ก็เลยไม่ค่อยสนใจทฤษฎี แค่ขอว่าเป็น "ความดี" เราก็ทำ

งานใด การกระทำใดที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความดี และความเสียสละ ก็ทำเต็มที่เลยนะ ทำโลดดดด

ทำเลย ทำไป เรียนรู้ไปนี่แหละ สนุกดีนะ

ค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ คิด ให้สมองได้สะกิด สะเกากันสักหน่อย

อ่านมาก จำมาก "ปวดหัว" คิดแล้วทำเลยดีกว่าเน๊อะ

เรามีเวทีอยู่แล้วนี่ G2K นี่แหละ เวทีที่เปิดกว้าง เขาเปิดกว้างให้เรามา 4 ปีแล้ว

แต่เราก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ อยู่ (กล้า ๆ กลัว ๆ มา 4 ปี)

ตอนนี้มาลองกล้าและไม่กลัวดูบ้าง ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วเน๊อะ

ถ้าตายเพราะทำความดีก็ให้มันตายไป

ทำความดีกันดีกว่าเน๊อะ

เสียสละแรงกายและแรงใจ นำความรู้ นำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กันและกัน

เสียสละความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

เสียสละตัวตนเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

เสียสละ เสียสละ และ "เสียสละ" แล้วเราจะพบสุขจริง...

มาตามแกะรอยคนมีปัญญาคุยกันเนี่ย โลกสว่างดีจัง

ติดตามอยู่นะคะ

หน้าที่ในการตอบแทนสังคม G2K นี้ คือ หน้าที่ในการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้..."

ทีมงาน UsableLabs มีหน้าทีพัฒนา "ซอฟต์แวร์" เราจึงมีหน้าที่ในการพัฒนา "สังคม"

เรานั้นไม่สามารถช่วยประเทศชาติในการเพิ่มรายได้อะไรได้มากนัก

แต่เราสามารถช่วยชาติในการลดรายจ่ายที่ได้ชื่อว่า "การประชุมสัมมนา" ได้อย่างมาก

การประชุม สัมมนา ระดมสมอง ที่จัดขึ้น ณ สถานที่ต่าง ๆ นั้น ได้ใช้งบประมาณและ "เวลา" เป็นจำนวนมาก

บุคลากรทั้งหลาย ที่มีหน้าที่ "ทำงาน" ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักวิชาการ ไม่ค่อยได้ทำงานก็เพราะต้องเดินทางไป "ประชุม"

วันนี้เรามาร่วมกันปลด "ภาระ" การประชุม โดยการมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ สถานที่แห่งนี้

สถานที่ที่เราสามารถใช้วันและเวลาที่ "สะดวก"

ไม่ต้องทอดทิ้งคนที่อยู่ทางบ้าน ครอบครัว หรือแม้นภาระกิจส่วนตัวที่พึง "กระทำ"

เวทีนี้จึงเป็นเวทีที่เราทั้งหลายสามารถร่วมกันใช้ "พัฒนาสังคม" ได้ด้วยสองมือของเรา

ขอให้ใช้ความกล้าหาญ อันอยู่บนรากฐานของความวิริยะ อุตสาหะ โดยเฉพาะ "ความเสียสละ" มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ค่อย ๆ "ต๊าบเกลียว" ความรู้

ค่อย ๆ ดู ค่อย ๆ ทำ

เริ่มต้นจากตัวเราเอง เริ่มต้นจากสองมือน้อย ๆ ของเรา

ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป

ปัญหานั้นมิได้อยู่ที่ว่าทำแล้วจะดีหรือไม่ดี ปัญหาที่จริงแล้วอยู่ที่ว่า "จะทำหรือไม่ทำ..."

การกระทำใดที่พิจารณาว่าดีแล้วพึงทำ

ไม่ต้องกลัวในการทำความดี ทำความชั่วสิต้องกลัว

ไม่ต้องอายในการทำความดี มีหน้าที่แล้วไม่ทำความดีสิน่าอาย

โลกธรรมทั้ง 8 อันได้แก่

มีลาภ เสื่อมลาภ

มียศ เสื่อมยศ

นินทา สรรเสริญ

สุข และ ทุกข์

เป็นโอกาสที่วิเศษในการ "ภาวนา"

เราไม่ต้องไปวัดที่ไหน เรามาวัดใจใน G2K แห่งนี้กันนี่แหละ

เราไม่ต้องไปนั่งหลับตา บำเพ็ญภาวนาที่ไหน เรามาตั้งจิต ตั้งใจทำความดี และเสียสละ ณ ที่แห่งนี้นี่แหละ

เราเกิดมาเป็นคน มีชีวิต มีลมหายใจ มีเรี่ยว มีแรง มีกำลัง มีความรู้ ก็ขอให้ใช้ความรู้ที่มีอยู่นี้ในการทำความดี ตั้งมั่นใจการ "เสียสละ"

มาร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาสังคมด้วยกันและกัน

มาร่วมแรง รวมพลัง ร่วมสร้างสรรค์สังคมนี้ (G2K) ให้งดงาม...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท