APHN Diploma of Palliative Care ๒๗: Wit; อีกแล้วครับท่าน


   ช่วงเช้าของวันสุดท้าย เรารู้มาก่อนแล้วว่าจะได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Wit  ผมเองซึ่งดูหนังเรื่องนี้มาหลายครั้งและประทับใจมากๆ ตามบันทึกนี้ ก็ยังไม่รู้สึกเบื่อที่จะดู เพราะทุกครั้งที่ดู จะได้มุมมองใหม่ๆทุกครั้ง และครั้งนี้ผมคิดว่าคงจะเป็นครั้งสำคัญ เพราะจะเป็นมุมมองในฐานะผู้เพิ่งผ่านการฝึกอบรมมาหยกๆ ผมก็อยากรู้ว่า ตนเองจะมีมุมมองอะไรที่เปลี่ยนไปมั๊ย
    เราย้ายไปดูในห้องประชุมที่มีจอภาพขนาดใหญ่เหมือนโรงหนัง นับเป็นจุดต่างจากสิ่งที่ผมดูมาทุกครั้ง เพราะภาพและเสียงดีมากๆ ระดับหนังโรง
    หมอ Rosalie เป็นคนดำเนินการช่วงนี้เองอย่างคุ้นกับมันนัก เพราะเธอจะใช้วิธีเปิดแล้วหยุดเป็นช่วงๆอย่างได้จังหวะ เพื่อให้วิเคราะห์กันเป็นตอนๆ ผมคิดว่าเธอทำได้ดีมากในการแบ่งช่วง ซึ่งมีอารมณ์และประเด็นที่ต่างกันไป โดยใช้เวลาทั้งครึ่งวันเช้ากับมัน


    ผมรู้ตัวเลยว่า ทุกครั้งที่ผมดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมดูและ คิด มากกว่า รู้สึก เพราะจะต้องคิดว่า ตัวละครแสดงอะไรบ้าง  คนไหนทำดี คนไหนทำไม่ดีอย่างไร มันเกี่ยวข้องอะไร จะสอนคนดูต่อไปในประเด็นไหน  แต่ครั้งนี้ผมดูแบบพยายาม คิดน้อยลง แต่ รู้สึกมากขึ้น ถึงจะต้องวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการจัดประสบการณ์ก็ตาม
    ผมเพิ่งสังเกตเห็นว่า ตัวผู้แสดงนำในเรื่อง คือ ศาสตราจารย์วิเวียน แบริ่ง เธอถนัดซ้าย ผมคิดว่า เขาต้องการบ่งบอก ความเป็นคนไม่ธรรมดาของเธอ
    ผมสังเกตเห็นรูปภาพรูปหนึ่งที่ตั้งอยู่บนโต๊ะข้างเตียงผู้ป่วย ซึ่งตรงกันกับภาพขนาดใหญ่ในห้องของอาจารย์ของผู้ป่วย ขณะสอนเขาในประเด็นที่เป็นจุดหลักของเนื้อเรื่อง คือ ความตาย เป็นครั้งแรกที่ผมสังเกตเห็นภาพของนักบุญเซบาสเตียน และก็เป็นประเด็นที่เราคุยกันในห้องว่า คือภาพอะไร มีความหมายอะไรบ้าง
    ผมผ่านฉากที่ผมชอบนักชอบหนาอย่างประทับใจเหมือนทุกครั้ง คือ ฉากพยาบาลเอาไอศกรีมหวานเย็นมาให้ผู้ป่วยแล้วนั่งและเล็มมันด้วยกันอย่างสบายอารมณ์ดูง่ายๆ แต่บทพูดต่อไปนั้นเป็นเรื่องการไม่ช่วยฟื้นชีวิต หรือ DNR  do not resuscitate ซึ่งเรียกได้ว่า ยากทั้งการพูดถึงและการตัดสินใจ ไม่มีมุมมองใหม่ในฉากนี้ รู้แต่ว่ายังชอบ และมีหลายคนในกลุ่มชอบ
    แต่ครั้งนี้ ผมกลับมาประทับใจกับฉากที่อาจารย์ของผู้ป่วยมาเยี่ยมก่อนเสียชีวิต แล้ว กล่อม เธอให้สงบลงด้วยเรื่องง่ายๆอย่าง นิทานก่อนนอนเรื่องกระต่ายน้อย แทนการสอนปรัชญาสูงส่ง และในฐานะตัวแทนของสิ่งที่ผู้ป่วยขาดหาย คือ พ่อ เรียกได้ว่าเป็นความประทับใจที่เฉือนฉากอื่นขาดลอย แตกต่างจากการดูทุกครั้ง และเรียกได้ว่าเป็นฉากที่ทุกคนเสียน้ำตาในวันนั้น คงต้องย้ำครับว่า ทุกคนทั้งชายและหญิง
    ตอนจบของเรื่อง ผมรู้สึกว่าตัวเอง กลัว กลัวการพลัดพราก การสูญเสียตัวตนเหมือนกับตัวละครสำคัญในเรื่อง มองเห็นความเปราะบางของชีวิต มันง่ายเหลือเกินที่จะเกิดทุกข์ได้ทุกขณะ บางครั้งคาดไม่ถึง บางครั้งรู้ตัวล่วงหน้า


     Rosalie ทิ้งช่วงให้เรานั่งกันเงียบๆในความมืด จนกระทั่ง credits หลังภาพยนตร์ขึ้นจนหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อน เพราะเวลาฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ให้แพทย์ใช้ทุนหรือนักศึกษาทีไร มักจะต้องรีบๆปิด รีบๆคุยกัน ตามเวลาที่มีจำกัด ครั้งนี้จึงเหมือนกับเป็นการตอกย้ำสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ที่ว่า  บางครั้งเมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์ความรู้สึก หรือร้องไห้ออกมา การตอบสนองที่ดีีที่สุด คือ เงียบและสงบนิ่ง ปล่อยให้อารมณ์นั้นค่อยๆคลี่คลายก่อน มันเหมือนกับครั้งนี้ ผมรู้สึกได้เลยว่า Rosalie ปล่อยให้เราอยู่กับอารมณ์นั้นของตนเองระยะหนึ่งอย่างจงใจ อย่างไม่แทรกแซง เพราะเธอมาบอกตอนหลัง หลังจากเราย้ายกลับมานั่งรวมกลุ่มวิเคราะห์เมื่อพักเบรคแล้วว่า ช่วงที่ภาพยนตร์ฉายจบใหม่ๆ เธอรู้สึก ไม่เหมาะสม ที่จะคุยเลยทันที เพราะทุกคนกำลังมีอารมณ์กันสุดๆ


    ลองหาภาพยนตร์เรื่องนี้มาดูกันนะครับ แล้วลองแลกเปลี่ยนกันว่า ประทับใจตอนไหนบ้าง คงต้องย้ำนิดว่า ต้องดูหลายๆครั้ง แล้วสังเกตตัวเองไปด้วย ว่า คิด หรืิอ รู้สึก เปลี่ยนไปหรือเปล่า

๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐

<<   APHN Diploma of Palliative Care ๒๖: พงศาวลี..ผังเครือญาติ genogram

APHN Diploma of Palliative Care ๒๘: พิธีกรรม..ภาพรวม  >>

หมายเลขบันทึก: 160091เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

วันนี้อ่านเรื่อง  นาทีทองของชีวิต  ของ อ. ไพศาล วิศาโล

เราต้องหมั่นเจริญมรณาสติเสมอว่า

1. เราต้องตายแน่นอน

2. ความตายเกิดกับเราได้ทุกเมื่อ

3. สำรวจว่า เราพร้อมจะตายหรือยัง

4. หากเราไม่พร้อมให้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

ข้อ1และ2 เราไม่อาจฝืนกฏ ถ้าเราระลึกเสมอเราจะจะตื่นตระหนกน้อยลง ถ้าความตายมาปรากฏอยู่เลื้องหน้า

ข้อ3และ4 เราจัดการได้

พี่อ่านแล้วมาเล่าให้ฟัง  แต่พี่ยังต้องฝึกอีกมากค่ะ

ถ้าพูดการกลัวนะคะตอนนั้นจำได้ว่าตอนเป็นเด็กกลัวมากคือกลัวแม่เสียชีวิตคะประมาณป.1นะคะ และกลัวย่าเสียคะและแล้วก็เสียจนได้คะ

  MySpace and Orkut Sorry Glitter Graphic - 7MySpace and Orkut Sorry Glitter Graphic - 6

 เอา dialogue ตอนที่อาจารย์น้องหมอเต็มศักดิ์ชอบมาฝากค่ะ

 

Vivian? You want a popsicle? - Yes, please. -

Okay. I'm gonna go get one. I'll be right back, okay?

The epithelial cells... in my GI tract... have been killed by the chemo. The cold popsicle feels good. It's something I can digest and it helps keep me hydrated.

For your information.

Here you go. -

 Here. - You sure? - Thanks. - Thank you. When I was a kid we used to get these from a truck. A man would come around and he'd ring his bell... and we'd all go running over. And then we'd sit on the curb and eat our popsicles. That's pretty profound, huh? Sounds nice.

There's something we need to talk about.

That you need to think about. My cancer's not being cured, is it?

No. They never expected it to be, did they?

They thought the drugs would make the tumor get smaller. And it has, it's gotten a lot smaller. But the problem is, it's started in other places too. They've learned a lot for their research and it was the best they had... it was the strongest drugs. It's just that there... There really isn't a good cure for what you have yet. For advanced ovarian.

I'm sorry, they should have explained this to you.

I knew.

You did?

I read between the lines.

What you need to think about is your code status. What you want them to do... if your heart stops beating.

Well? You can be full code which means that if your heart stops... we'll call a code blue and the code team will come in and resuscitate you... and take you to intensive care until you stabilize. Or, you can be: "Do not resuscitate."

Which means that if your heart stops... we'll just let it.

You'll be DNR. Now, you can think about it.

But I just... I just wanted to present you with both choices... before Kelekian and Jason come in and talk to you. -

They don't agree about this? - They like to save lives. So anything's okay as long as the life continues. Doesn't matter if you're hooked up to a million machines. Kelekian's a great researcher, he is... and the Fellows like Jason, they're really smart. It's an honor for them to be working with him. But they always want to know more things. I always want to know more things. I'm a scholar. Or I was... when I had shoes. When I had eyebrows. Okay, that's fine. You'll be full code.

No. Don't complicate the matter.

No, really, it's fine. It's up to you. Just let it stop.

Really?

Yes. So, if your heart stops beating... Just let it stop.

You sure?

Yes. Okay.

Okay, I'll get Kelekian to give the order, and then...

Susie? You're still going to take care of me, aren't you?

Of course I am. Don't you worry, sweetheart. Okay. Thank you.

That certainly was a maudlin display. Popsicles, "Sweetheart." I can't believe my life has become so corny. But it can't be helped, I don't see any other way. We are discussing life and death, and... not in the abstract, either.

We are discussing my life and my death. And I can't conceive of any other tone.

Now is not the time for verbal swordplay.

Nothing would be worse than a detailed scholarly analysis and... erudition, interpretation, complication.

No. Now is the time for simplicity. Now is the time for... dare I say it... kindness. And I thought being extremely smart... would take care of it. But I see that I have been found out. I'm scared. Oh, God. I want... I want to... No. I want to hide. I just want to curl up in a little ball. I want to tell you... how it feels. I want to explain it. To use my words. It's just as if I can't. There aren't... I'm in terrible pain. Susie says... I need to be in aggressive pain management... if I'm going to stand it. "lt." Such a little word. I think in this case... "it"... signifies being alive.

Okay. We've located Dr. Kelekian and he's on his way here... and we'll get you some meds.

God, it's so painful. So much pain.

I know. Just try and relax and clear your mind. We'll get you patient-controlled analgesic. It's a little pump with a little button and you press it... and you decide how much medication you want. It's very simple and it's all up to you.

Okay.

P  ขอบคุณพี่อุบลครับ

  • หลวงพี่ไพศาลเป็นพระที่ปฏิบัติจริง ท่านสะสมประสบการณ์จากการปฏิบัติช่วยเหลือผู้ป่วย คำแนะนำของท่านจึงเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้จริงครับ ไม่ใช่ทฤษฎี

P  อาจารย์รัตน์ชนกครับ

  • ความกลัวนี่อยู่คู่กับเราเลยนะครับ อยู่เฉยๆก็ build อารมณ์กลัวขึ้นมาเองได้ อย่าง กลัวผี เป็นต้น
  • มันอยู่ที่เราจะตามทันอารมณ์ของเราหรือเปล่า ก็เท่านั้นนะครับ

พี่สร้อยครับ

  • นี่แสดงว่าพี่ชอบฉากนั้นยิ่งกว่าผมอีกนะครับ ถึงขนาดรู้บทกันเลย
  • ขอบคุณมากครับ 

ขอบคุณมากค่ะ อ.หมอที่แวะไปบอกข่าวที่บ้านโน้น

ชอบค่ะชอบ : )

จะนำเคล็ดการ "ทิ้งช่วงให้นั่งกันเงียบๆในความมืด จนกระทั่ง credits หลังภาพยนตร์ขึ้นจนหมด" ไปใช้ด้วยค่ะ

 

P  อาจารย์มัทนาครับ

  • นี่ยังอยู่แคนาดา หรือเปล่าครับ เห็นว่าอากาศหนาว ระวังสุขภาพด้วยนะครับ
  • ตอนหนังจบเหลือแต่เครดิต บางทีก็มีทีเด็ดและมีความสำคัญนะครับ จำได้ว่ามีอย่างน้อยก็เรื่องหนึ่ง คือ เรนแมน ที่ดัสติน ฮอฟแมนแสดง ตอนหนังจบแล้วเหลือแต่เครดิตขึ้น มีภาพประกอบที่ถ่ายโดยตัวเอกของเรื่อง ที่ลำดับเหตุการณ์และการรับรู้ของเขาได้ดีมากๆ จนพลาดไม่ได้

อาจารย์ครับคือผมอยากได้หนังเรื่อง wit มากเลยครับ คือผมต้องการใช้ แต่ผมหาซื้อเท่าไหร่ก็ไม่มีเลยผมจะหาที่ไหนได้หรือเปล่าครับ ผมอยากทราบ ขอบคุณครับ

ทรงฉัตร

  • ทางหน่วย palliative care รพ.มอ. มีต้นฉบับภาษาอังกฤษ ต้องติดต่ออ.สกลนะครับ

อยากไปอบรมกับ อาจารย์จังเลยครับ

ผมเป็น family doctor อยู่จังหวัดกระบี่ครับ

เสียดายที่เอาไปฉายให้พยาบาล รพช. ไม่ได้ครับ

(มันเป็นภาษาอังกฤษ)

คุณหมอผู้เดินทาง

  • ผมมีที่มี subtitle ภาษาไทย แต่คุณภาพไม่ชัด เพราะอัดจากเคเบิ๊ล
  • แต่เท่าที่ใช้ คนทั่วไปและพยาบาลจะดูเข้าใจง่ายกว่า ต้นฉบับที่เป็น subtitle ภาษาอังกฤษ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท