APHN Diploma of Palliative Care ๒๓: The silver line


     ในชั่วโมง assessment practice เดียวกันกับบันทึกก่อน อยู่ดีๆ Rosalie ก็ถามว่า แล้วถ้าเกิดมี silver line ขึ้นมา เราจะทำอย่างไร
ผมซึ่งภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงที่สุดในห้อง แสดงอาการงุนงงออกนอกหน้า จน Rosalie จับได้ ย้อนถามผมว่า เคยเห็นมั๊ย silver line
    ผมตอบเธอตามตรงว่า ไม่รู้ ไม่เคยเห็น
    เธอก็แซวผมว่า สงสัยเพราะผมเป็นหมอรังสีรักษาจึงไม่เคยเห็น silver line แล้วก็ทำท่าเอานิ้วชี้ลากเป็นเส้นใต้ตาทั้งสองข้าง แล้วพูดว่า นี้ไง silver line
    มันหมายถึง..น้ำตาที่คลอเบ้า มองเห็นเป็นเส้นสายสีเงิน ระยิบระยับ
    
    รู้แล้วว่า มันคืออะไร คราวนี้ต้องช่วยกันตอบครับว่า จะรับมือกันยังไงดี
  •     หยิบกระดาษทิชชูที่เตรียมไว้ประจำห้องตรวจให้ทันที เพื่อแสดงการยอมรับอารมณ์นั้นของคนไข้ อันนี้เป็นพฤติกรรมประจำของผม
  •     เปลี่ยนเรื่องไปคุยเรื่องอื่นที่สะเทือนใจน้อยกว่านี้ซักหน่อย ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้น ถามอาการทางกายอื่นๆ แล้วกลบเกลือนเหมือนไม่เห็นช้างอยู่ในห้อง อุปมาอุปมัยนี้ก็เด็ดเหมือนกัน หมายถึงต่างคนต่างทำเป็นไม่สนใจสิ่งสำคัญที่สุดเบื้องหน้า
  •     ถามคนไข้เลยว่า อะไรที่ทำให้ป้าสะเทือนใจ แหม...ตรงจุดจังเลย

    ...  ...
    เราช่วยกันสรรหาคำตอบที่แปลกแหวกแนวสุดๆ เพราะเล่นถูกไล่ถามรอบห้อง
    แล้วก็มาถึงคำตอบของ Calorine คุณหมอชาวไต้หวันที่มาทำงานที่สิงคโปร์ เธอไม่ตอบยาว บอกสั้นๆว่า silence เงียบไว้ดีกว่า
    คำตอบของเธอ ทำเอา Rosalie หน้าบานหายเหนื่อย หลังจากต้องออกแรงอย่างหนักซักนักเรียนโข่งอย่างพวกเราแบบเอาเป็นเอาตาย ใช่ครับ เธอบอกว่า สิ่งที่ต้องทำตอนนั้น คือ เงียบ ปล่อยให้คนไข้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกมาเสียก่อน แล้วค่อยหาทิชชูให้หรือยิงคำถามอะไรต่อ

    ลองถามตัวเองดูนะครับว่า เวลาเห็นคนอื่นร้องไห้ คนรู้จักทั่วไปนี่แหละ ไม่ต้องเป็นคนไข้ก็ได้ สิ่งแรกสุด ที่เราทำคืออะไร

๖ ตุลาคม ๒๕๕๐

<<   APHN Diploma of Palliative Care ๒๒: รู้มั๊ย เวลามาหาหมอ ผู้ป่วยมีโอกาสพูดตอนเริ่มต้นนานเท่าไร  

APHN Diploma of Palliative Care ๒๔: Voices for Hospices 2007   >>

หมายเลขบันทึก: 157515เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2008 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

เป็นคำถามที่น่าสนใจมากค่ะ เมื่อเห็นคนอื่นร้องไห้ทำอย่างไร

ที่เคยทำและรู้ทันทีว่าทำผิดครั้งหนึ่ง คือ กอดคนร้องไห้ เขาขืนตัวทันที ....เลยรู้ว่าต้องประเมินระดับความสัมพันธ์และความไว้วางใจก่อนเลย..เรียนรู้จากความผิดพลาดค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์เต็ม

ผมเองเวลาเจอผู้ป่วยร้องไห้ในห้องตรวจ มีหลายครั้งพบว่า กำแพงที่กั้นระหว่างเรา-ผู้ป่วยทลายลง เป็นการเปิดใจที่ทำให้เรากับผู้ป่วยได้เข้าใจกัน

สิ่งที่ผมทำก็มักจะเงียบไปซักพัก เมื่อเขาดีขึ้นก็ตามเรื่องต่อว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต

ผมมักจะนัดคนไข้มา ติดตามอาการต่อจนกว่าปัญหาจะ solve หรือไม่ผู้ป่วยทุกข์น้อยลง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะไม่ต้องการที่จะมาหาเราอีก(อาจจะไม่ต้องการแล้ว หรือ คิดว่าเราช่วยอะไรเขาไม่ได้ก็ตามแต่) ผมรู้สึกว่าประเด็นนี้น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า case ทางการแพทย์อื่นๆ

  • ผมจะไม่ซัก
  • แต่จะให้กำลังใจ
  • รอเขาเล่าเอง
  • แต่อันนี้ความรู้ใหม่ครับ
  • silver line 
        
  • วันที่ 27 มกราคมไปไหนไหมครับ
  • อยากพบตัวเป็นๆๆ

P สวัสดีปีใหม่ครับ พี่สร้อย

  • จริงอย่างที่พี่ว่านะครับ พื้นที่ของคนเรา แตกต่างกันมากนะครับ บางคนมีพื้นที่ที่ไม่อยากให้ใครเข้าไปล่วงล้ำ ถึงจะเป็นเพราะความหวังดีก็ตาม
  • เรื่องหนึ่งที่ผมมีโอกาสเล่าให้เพื่อนในห้องเรียนฟังคือ วัฒนธรรมที่ต่างกัน
  • ของไทยเรา ไม่อยากให้ใครที่อายุน้อยกว่าเรามาเที่ยวลูบหลังลูบหัว ตบบ่าเหมือนฝรั่ง เวลาเราร้องไห้นะครับ
  • ขอบคุณตัวอย่างของพี่มากเลยครับ 

 

P น้องโรจน์ครับ

  • ในยุคที่นิยมตัวชี้วัด  ผมก็แอบใช้ อัตราการร้องไห้ของคนไข้ในห้องตรวจของผม เป็นตัวชี้วัดชี้วา ว่าเราถึงใจคนไข้ของเราได้กี่มากน้อย เป็นการส่วนตัวเหมือนกันนะครับ ​ฮา
  • มันแสดงว่า เราแตะถึงเรื่องจิตใจ และคนไข้ไว้ใจเราพอที่จะระบาย และเป็นโอกาสให้คนไข้ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่ค่อยมีโอกาสพูด แม้แต่กับญาติตนเอง
  • แต่ก็ไม่ใช่ประเภท บีบคั้นซํกถามคนไข้เอาเป็นเอาตาย จนคนไข้ทนไม่ไหวร้องไห้ออกมา แบบรายงานข่าวโทรทัศนที่พบเห็นก้นบ่อยๆ นั่นคนละเรื่องเดียวกันเลยครับ
  • การนัดติดตามอาการอย่างที่น้องว่า สำคัญจริงๆครับ ขอบคุณมาก

P สวสัดีปีใหม่ครับอาจารย์ขจิต

  • ผมเดาว่า อาจารย์คงจะมีประสบการณ์เรื่องนี้เยอะ โดยเฉพาะกับนักศึกษาสาวๆ
  • วันที่ ๒๗ ผมคงกลับมาจากปัตตานีช่วงบ่ายครับ แต่ถ้าอาจารย์จะมาแจกการ์ด ผมเปลี่ยนแผนได้ครับ อาจารย์มีคนไปรับและหาที่นอนได้หรือยัง
  • คงไปหาอาจารย์หมอตอนบ่ายครับ
  • ไปทำค่ายภาษาอังกฤษที่เทพาครับ
  • 27-30 มกราคม
  • คงไม่โดนระเบิดก่อนนะครับ
  • อิอิอิอิ
P ขอนัดเลี้ยงข้าวมื้อนึงละกันนะครับ

ผมคิดว่า silence เป็นภาพลักษณ์ที่ออกมา

ความหมายที่อยู่เบื้องหลัง ผมคิดว่าคือการ "ศิโรราบ" ยอมรับ เข้าใจ และเฝ้าสังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้น และอาจจะฉวยโอกาสเฝ้าดูอารมณ์ของเราเอง ณ​ ขณะนั้น ให้มีสติตื่นรู้เต็มที่ไปด้วย

คงไม่ใช่เพียง "นั่งให้เงียบ" เฉยๆกระมัง 

P  แม่นแล้วครับสกล

  • ไม่ใช่ นั่งเงียบ แต่อมยิ้มทำตาลึกลับ 

พี่มีประสบการณ์แบบนี้บ่อย

คุยกับคนไข้ทีไร คนไข้จะต้องมีน้ำตาคลอเบ้าทุกที

คุยกับน้องพยาบาล....เวลาเขามีปัญหาก็น้ำตาไหลบ่อยครั้ง

ต้องรอให้พูดไปเรื่อยๆก่อน เฝ้าดูด้วยสายตาอ่อนโยน และดูอารมณ์ของเขา ค่อยหาทิชชูให้จะดีกว่าใช่ไหมคะ

P  พี่อุบลครับ

  • รอ คงเป็นคำสำคัญ
  • ตอนนี้ผมได้กลเม็ดส่วนตัวในการรอ คือ หายใจเข้าออกยาวๆ ๑ หน ซึ่งจะกินเวลา ๑๕-๒๐ วินาที ดีทั้งได้เตือนกับปรับระดับความรู้สึกของตนเอง แล้วเป็นการรอไปในตัวครับ

ผมเคยสังเกตตอนชมภาพยนต์ต่างประเทศ และของไทย เห็นการตอบสนองต่อข่าวร้าย (ของคนอื่น) หรือตอบสนองต่ออารมณ์ของคนอื่นที่แตกต่างกัน น่าสนใจ อาจจะเป็นการ stereoptype เกินไป ก็ขออภัยด้วยนะครับ

 คำพูดที่ติดปาก อาทิ "ไม่เป็นไรหรอก" หรือ "อีกหน่อยก็ดีขึ้น" หรือ "อีกสักพักก็ลืม" หรือ "เรื่องแค่นี้ เธอทนได้แน่ๆ ฉันรู้" ฯลฯ บางทีเป็นคำที่ค่อนข้าง "ว่างเปล่า" และ "ignorant" หรือฟังดูเป็นเหมือนกับว่าเราไม่ใส่ใจ ไม่เห็น ไม่เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นกับเขาอยู่

ภาพยนต์บางเรื่อง พอเห็นคนร้องไห้ หรือคนกำลังทุกข์ ถ้าจะพูดอะไรออกมา (เพราะไม่อยากนิ่งเงียบๆ) ก็อาจจะมีการพูดแบบตั้งข้อสังเกต หรือแสดงว่าเรา "รับรู้ เข้าใจ" อาทิ

"หมอสังเกตเห็นว่าคุณกำลังเศร้าเสียใจมากเลย"

"ผม/ฉัน เข้าใจ เรื่องนี้เธอต้องรู้สึกเป็นทุกข์/สะเทือนใจมากเลย"

บางเรื่องพูดออกมาเลยว่าเขาเห็นอะไร

"I see that you are very upset. Would you like to talk about it?" เสนอความช่วยเหลือไป ถามว่าอยากจะพูดถึงเรื่องนี้ไหม

ก็คงจะมีเรื่อง culture differences นะครับ แต่เคยใช้วิธีนี้กับคนไทย ก็รู้สึกว่าใช่ได้นะครับ ประเด็นก็คือ การยอมรับ การที่อยู่ใน "สถานการณ์" ร่วม แต่ไม่ถึงกับ in หรือ เกิด sympathy ไม่แสดงอาการอิลักอิเหลื่อ uncomfortable ที่เห็นเขาร้องไห้ จะยิ่งเกิด distance การเดินถอยห่าง หรือสร้าง barrier มีความหมายหลายอย่าง แต่ไม่ค่อยดีสักอย่าง บางคนเลยถือโอกาสเป็นการสิ้นสุดการสนทนา นัยว่า ก็เธอพูดต่อไม่ได้ ฉันก็ลาล่ะนะจ๊ะ 

ผมเคยสังเกตตอนชมภาพยนต์ต่างประเทศ และของไทย เห็นการตอบสนองต่อข่าวร้าย (ของคนอื่น) หรือตอบสนองต่ออารมณ์ของคนอื่นที่แตกต่างกัน น่าสนใจ อาจจะเป็นการ stereoptype เกินไป ก็ขออภัยด้วยนะครับ

 คำพูดที่ติดปาก อาทิ "ไม่เป็นไรหรอก" หรือ "อีกหน่อยก็ดีขึ้น" หรือ "อีกสักพักก็ลืม" หรือ "เรื่องแค่นี้ เธอทนได้แน่ๆ ฉันรู้" ฯลฯ บางทีเป็นคำที่ค่อนข้าง "ว่างเปล่า" และ "ignorant" หรือฟังดูเป็นเหมือนกับว่าเราไม่ใส่ใจ ไม่เห็น ไม่เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นกับเขาอยู่

ภาพยนต์บางเรื่อง พอเห็นคนร้องไห้ หรือคนกำลังทุกข์ ถ้าจะพูดอะไรออกมา (เพราะไม่อยากนิ่งเงียบๆ) ก็อาจจะมีการพูดแบบตั้งข้อสังเกต หรือแสดงว่าเรา "รับรู้ เข้าใจ" อาทิ

"หมอสังเกตเห็นว่าคุณกำลังเศร้าเสียใจมากเลย"

"ผม/ฉัน เข้าใจ เรื่องนี้เธอต้องรู้สึกเป็นทุกข์/สะเทือนใจมากเลย"

บางเรื่องพูดออกมาเลยว่าเขาเห็นอะไร

"I see that you are very upset. Would you like to talk about it?" เสนอความช่วยเหลือไป ถามว่าอยากจะพูดถึงเรื่องนี้ไหม

ก็คงจะมีเรื่อง culture differences นะครับ แต่เคยใช้วิธีนี้กับคนไทย ก็รู้สึกว่าใช่ได้นะครับ ประเด็นก็คือ การยอมรับ การที่อยู่ใน "สถานการณ์" ร่วม แต่ไม่ถึงกับ in หรือ เกิด sympathy ไม่แสดงอาการอิลักอิเหลื่อ uncomfortable ที่เห็นเขาร้องไห้ จะยิ่งเกิด distance การเดินถอยห่าง หรือสร้าง barrier มีความหมายหลายอย่าง แต่ไม่ค่อยดีสักอย่าง บางคนเลยถือโอกาสเป็นการสิ้นสุดการสนทนา นัยว่า ก็เธอพูดต่อไม่ได้ ฉันก็ลาล่ะนะจ๊ะ 

P  สกลครับ

  • เห็นด้วยครับ คำพูดบางคำ บางประโยคของพวกเรา เป็นคำพูดที่พูดกันโดยความคุ้นชิน อย่างที่เขาเรียนกว่า มนตรา ซึ่งไม่รู้ว่าขลังจริง คือเป็นได้จริงหรือไม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท