กรณีศึกษา: ป้าสงบ


 แนะนำให้อ่าน บันทึกนี้ ของผมก่อน


ป้าสงบอายุ ๗๒ ปี มาเจอผมที่ห้องตรวจรังสีรักษาด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก พร้อมกับลูกชายและลูกสาว

ผม: ป้าเป็นยังไงมา เล่าให้หมอฟังหน่อย

ผมตั้งหลัก ไม่ถามนำ ไม่ซัก กะจะให้คนไข้เล่าอาการให้ฟังแบบอยากเล่าอะไรก็เล่า

ป้า: ไม่เป็นไร ไม่เจ็บไม่ปวด

ถ้าอยากได้อารมณ์ ต้องจินตนาการว่า คุณป้าแหลงใต้ด้วยนะครับ

ผม: อ้าว ป้า แล้วป้ามาโรงพยาบาลทำไมหละ

ป้า: หมอบอกว่าเป็นมะเร็ง

ผม: เอ แล้วไอ้มะเร็งของป้า อาการมันเป็นยังไง

เสียงผมเริ่มสูงขึ้น

ป้า: ก็ไม่เห็นเป็นอะไร

ผม: ป้ามีตกเลือด ตกขาว ปวดท้องบ้างหรือเปล่า

เสียงผมเริ่มห้วน เริ่มยิงคำถามเป็นชุด สายตาก็กวาดไปมองลูกสาว ลูกชายของป้า กะจะเอามาเป็นพวก

ป้า: ก็มีตกเลือดนิดนึง

ผม: ไอ้นิดนึงของป้าหนะ แค่ไหน แล้วเป็นมานานแล้วยัง

ป้า: มันออกเป็นน้ำ เปื้อนผ้าถุง

ผม: !?!


ข้างบนเป็นแค่บทสนทนาตอนเริ่มต้นของผมกับป้าสงบ หลังจากนั้นผมก็ต้องทำหน้าที่เหมือนเสมียนซักประวัติ ไล่ไปทีละอาการ แล้วคุณป้าก็แทบจะมีทุกอาการเสียด้วย ทำเอาผมก็ชักไม่แน่ใจว่า ป้าแกจะมีอาการจริงหรือเปล่า หรือ ตอบเออออไปเพื่อเอาใจหมอ เพราะ บรรยากาศก็เริ่มตึงเครียดขึ้น ราวกับการสอบสวนผู้ต้องหา

พอผมปฏิบัติการซักประวัติเสร็จเป็นที่พอใจ..ของผมแล้ว ก็ปิดท้ายด้วยคำถามยอดฮิต

ผม: แล้วป้ามีอะไรอยากบอกหมออีก

ป้า: ม่าย    (ไม่มี)

ปากผมมันก็เลยคันยิบๆ.. แล้วก็หลุดประโยคเด็ดออกไป

ถ้าป้าไม่บอกหมอ หมอจะรู้มั๊ยเนี่ย ว่าป้าเป็นยังไง

น้ำเสียงทั้งเหน็บแนม ทั้งคุกรุ่น

 


คนไข้อย่างคุณป้าสงบ ที่ไม่ถนัดพูดภาษากลาง ไม่รู้จะพูดอะไรกับหมอ กลัวพูดผิด หรือ อาจจะอยู่ในระยะปฏิเสธว่า ฉันเป็นไม่มาก

เรามีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ คนไข้ยอมเล่าอาการของตนเอง โดยไม่ต้องถูกซักอย่างเอาเป็นเอาตายแบบนี้ ในช่วงเวลาที่จำกัด

หมายเลขบันทึก: 265526เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ชีวิตก็อย่างนี้แหละท่านอาจารย์

คิดว่า คุณป้ากลัวคุณหมอค่ะ ไม่กล้าพูด กล้าบอก กลัวโดนดุ เพราะคุณหมอส่วนใหญ่ ไม่ค่อยยิ้มมากนัก รีบๆพูด เพราะไม่มีเวลามาก คนไข้มาก เวลาน้อย
เคยมีเด็กทำความสะอาด ไม่สบายไปหาหมอ กลับมา ก็ถามเขาว่า คุณหมอว่า เป็นอะไร เขาบอกว่า หมอบอกว่า เป็นไข้...
เขาไม่ทราบว่า ไข้เป็นอาการบ่งบอกว่า  ร่างกายมีความผิดปกติ แตไม่ใช่โรค
หรือบางคน ก็กลับมาบอกว่า หมอไม่ได้พูดว่าอะไร ให้แต่ยามากิน

สรุปว่า คนไข้ไม่กล้าเล่า กล้าถามหมอในทุกสิ่งที่สงสัยค่ะ...ทางออกคือ ควรให้มีญาติมาด้วยค่ะ

เป็นผมก็ไม่ค่อยจะกล้าเล่ามากๆ หรอกครับ กลัวหมอวินิจฉัยว่าเป็นหลายโรค (ขอสักโรค สักอาการก็พอ)

สวัสดีค่ะอาจารย์

บรรยากาศที่รีบๆมันคิดไม่ออกค่ะ

ไม่รู้จะเรื่มอย่างไร...สงสารเนาะ...

 

คนไข้ที่แถวบ้านพี่ พบหมอทีไร ไม่เป็นไรทุกที แต่อยู่กับพยาบาลเจ็บปวดตรงนั้น ตรงนี้ อยากได้อะไรบอกพยาบาลได้หมด

พี่แนะนำคนไข้  ให้คิดหรือจดไว้ เวลาพบหมอ ถ้าพูดไม่ออกให้ส่ง note ให้หมอไปเลย

พี่คิดออกแล้ว วันหลังเวลามา รพ ให้คนไข้เขียนอาการสำคัญใส่กระดาษไว้ มาหาหมอยื่นกระดาษให้หมอ แล้วหมอก็ซักประวัติเพิ่มดีไหมคะ

ขอขอบพระคุณทุกท่านนะครับ

P P PP P

 

ขอสรุปแปะไว้ตรงนี้ก่อน

  • เอาญาติมาช่วย
  • จดอาการในกระดาษ
  • ตามมาเยี่ยม และก็เลยไปบันทึกก่อนแล้ว...

เจริญพร

มาเยี่ยมครับ มีผลงานดีๆได้อ่านเสมอครับ

P P P

  • กราบนมัสการและขอขอบพระคุณทุกท่านนะครับ

ส่วนใหญ่คนไข้เจอหมอจะเป็นเเบบนี้ค่ะ เเต่หลังจากนั้นอาการต่างๆก็จะตามมาเป็นคณะ

ถ้าอีสานก็คณะหมอลำค่ะอาจารย์ เเต่ว่าคนที่จะรับฟังหมอลำคือพยาบาลค่ะ

  • สงสัยคงกลัวว่าเขาจะรังเกียจ
  • ถ้ามีอาการมากๆ
  • หรือเปล่า  อิอิ
  • คุณหมอสบายดีนะคะ
  • คิดถึงนะคะ

P P

ขอขอบพระคุณทุกท่านนะครับ

  • ครับ พยาบาลเข้า..ใจ.. เข้าไปอยู่ในใจคนไข้กว่า
  • แล้วจะช่วยให้คนไข้ไม่รู้สึกถูกรังเกียจได้อย่างไร
                                                                     

สรุปบทเรียน

  • เอาญาติมาช่วย
  • จดอาการในกระดาษ
  • ข้อมูลจากหลายทาง: พยาบาล อาสาสมัคร

มาอ่านและกำลังเดาในใจค่ะ อาจารย์

ลุ้นด้วยค่ะ

P

  • สวัสดีครับ
  • ความรู้สึกของผมขณะนั้น คือ สงสัย เพราะ ใช้เวลา ซัก..ประวัติ อยู่ตั้งนาน แล้วก็ไม่แน่ใจว่า ไอ้ข้อมูลที่ได้มันถูกต้องหรือเปล่า ตรงกับปัญหาจริงๆของคนไข้ที่มาหาเราหรือเปล่า
  • จึงอยากหาทางปรับแก้ครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาดูคุณหมอและคุณพยาบาลคุยกันค่ะ
  • ชอบตรงที่ว่า..คนไข้ไม่รู้สึกถูกรังเกียจได้อย่างไร
  • เป็นกำลังใจให้คุณหมอค่ะ

พี่คิมครับ ไม่อยากให้เป็นเฉพาะหมอพยาบาลคุยกันนะครับ คนสำคัญที่อยาก

ป้าสงบคงจะมีอะไรลึก ๆ ที่ไม่อยากเล่าให้ฟังถึงเรื่องโรค ถ้ามีเวลาประมาณซัก 15 นาที........ผมอาจเปลี่ยนเรื่องเป็นถามว่าผู้ป่วยเป็นใครมาจากไหน  (ดูเขาคือใคร)การรู้จักตัวตนของป้าอาจช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้ดีขึ้น ผมเคยมีคนไข้เงียบจนนึกว่าแกเป็นใบ้หรือเป็น hypoactive delirium เมื่อความเงียบคือคำตอบ ตอนที่ 1 จนได้คำตอบที่สำคัญและรู้จักคนไข้คนหนึ่งได้ดี

การใช้ narrative therapy (ให้คนไข้เล่าเรื่อง)ช่วยทำให้คนไข้ได้ทบทวนตัวเอง เข้าใจตัวเอง เข้าใจสถานการณ์ และหาทางออกให้ตัวเองได้ ....ถ้าคนไข้ไม่ยอมพูดอาจถามได้ว่า...ทำไมถึงเงียบมีอะไรในใจหรือไม่.......ถ้าไม่พูดจริง และไม่ป่วยทางสมอง/ทางใจ..คงต้องให้คนไข้ได้ใช้สิทธิ์นั้น (การเงียบเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย...ฮา.......)

ถ้าอาจารย์พบคนไข้คนนี้อีกอย่างลืมมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ น่าสนใจมาก 

ป้าสงบคงจะมีอะไรลึก ๆ ที่ไม่อยากเล่าให้ฟังถึงเรื่องโรค ถ้ามีเวลาประมาณซัก 15 นาที........ผมอาจเปลี่ยนเรื่องเป็นถามว่าผู้ป่วยเป็นใครมาจากไหน  (ดูเขาคือใคร)การรู้จักตัวตนของป้าอาจช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้ดีขึ้น ผมเคยมีคนไข้เงียบจนนึกว่าแกเป็นใบ้หรือเป็น hypoactive delirium เมื่อความเงียบคือคำตอบ ตอนที่ 1 จนได้คำตอบที่สำคัญและรู้จักคนไข้คนหนึ่งได้ดี

การใช้ narrative therapy (ให้คนไข้เล่าเรื่อง)ช่วยทำให้คนไข้ได้ทบทวนตัวเอง เข้าใจตัวเอง เข้าใจสถานการณ์ และหาทางออกให้ตัวเองได้ ....ถ้าคนไข้ไม่ยอมพูดอาจถามได้ว่า...ทำไมถึงเงียบมีอะไรในใจหรือไม่.......ถ้าไม่พูดจริง และไม่ป่วยทางสมอง/ทางใจ..คงต้องให้คนไข้ได้ใช้สิทธิ์นั้น (การเงียบเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย...ฮา.......)

ถ้าอาจารย์พบคนไข้คนนี้อีกอย่างลืมมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ น่าสนใจมาก 

อาจารย์ต้องแหลงใต้ไปด้วยแล้วหล่ะครับ

และก้อต้องเอาพยาบาลสวย ๆ หรือไม่ก้อพูดเพราะ ๆ มาเลียบ ๆ เคียง ๆ แก

แต่ที่จริงแล้ว ญาติ ๆ น่าจะช่วยอาจารย์บ้างนะครับ

แต่เท่าที่ผมเจออาจารย์มา ผมไม่เคยเป็นอาจารย์ขึ้นเสียงสูงเลยนี่ครับ

โทนเสียงก้อนุ่มนวลดี

สงสัย ป้าแกคงเนี๊ยบจริง ๆ

สู้ ๆ นะครับอาจารย์

P P

ขอขอบพระคุณทุกท่านนะครับ

  • ครับ ผมก็คิดว่า ป้าแกกำลังคิดเรื่องอื่นอยู่ โดยเฉพาะเรื่องโรค ซึ่งเป็นธรรมดาของคนไข้โรคมะเร็งช่วงแรกๆ ใจจะลอย หูฟังแต่คิดอีกเรื่อง ผมก็ให้ความสำคัญเรื่องญาติ บอกให้คนไข้พาญาติมาด้วยทุกคนในวันแรกที่เจอผมแบบนี้
  • ครับ ญาติในกรณีป้าสงบ..ชื่อจัดตั้ง นี้ เป็นตัวช่วยสำคัญครับ
                                                                     

สรุปบทเรียน

  • เอาญาติมาช่วย
  • จดอาการในกระดาษ
  • ข้อมูลจากหลายทาง: พยาบาล อาสาสมัคร
  • ถามเรื่องอื่น ให้คนไข้คลายความกลัวก่อน

 

เราต้องมีเมตตาให้มากกกกค่ะ(แต่เรามักจะหงุดหงิดเมตตาเลยแตก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท