บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๑๕: คำแนะนำจากกลุ่มสามพราน


สืบเนื่องจากบันทึก ที่แล้ว ที่ อ.สกล กับผมได้มีโอกาสนำเรื่องการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายไปนำเสนอให้ กลุ่มสามพราน ที่มี อาจารย์ประเวศ ..นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ เมษายน ที่ผ่านมา 

ในบันทึกนี้ จะเป็นข้อคิดเห็น คำแนะนำจากท่านอาจารย์ประเวศ และ อาจารย์ท่านอื่นๆหลายท่าน ในที่ประชุมวันนั้น

เรื่องระบบการดูแลคนไข้ ระยะสุดท้าย

  • การนำภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น โพชฌงคปริตร คิลิมานนทสูตร
  • การขับเคลื่อนสังคมในปัจจุบันต้องใช้ ชีวิตและการอยู่ร่วมกัน เป็นตัวตั้ง จึงจะอยู่รอด ไม่ใช่ใช้แต่ด้านเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง
  • การดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย เป็นประตูสู่การดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด เห็นได้จากโรงพยาบาลที่ได้รางวัล SHA award ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย
  • ควรเน้น ความงามของปัจฉิมวัย การสร้างเสริมสุขภาพในปัจฉิมวัย เช่น spiritual eldership วัยแห่งคุณค่า ความละเอียดอ่อน วัยแจกของส่องตะเกียง มากกว่ามุมมองในแง่ลบที่เคยชิน เช่น วัยแห่งความเสื่อมถอย โดยอาจใช้ศิลปะ ศิลปินมาช่วย
  • ควรสร้างศักยภาพและกลไกสนับสนุนทุกระดับของ INN: individual-node-network
  • ควรเน้นและให้ความสำคัญกับระบบการดูแลคนไข้ที่บ้าน วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค เช่น ข้อจำกัดการเบิกจ่ายยาและวัสดุอุปกรณ์กลับไปใช้ที่บ้านตามระบบหลักประกัน สุขภาพ
  • ระบบควรต้องคิดถึงผู้ดูแลหลัก ทั้งเรื่องความรู้ เช่น การกำจัดขยะติดเชื้อ การเก็บวัสดุเครื่องใช้ทางการแพทย์ที่บ้าน รวมไปถึง การป้องกันผู้ดูแลทำร้ายคนไข้ การได้พักบ้าง respite care
  • เน้นผลิตและสนับสนุนพยาบาลชุมชนที่ปฏิบัติงงานในพื้นที่ ถึงบ้าน
  • ความต่อเนื่องของการดูแล continuity of care ต้องรวมถึงเรื่องข้อมูลของคนไข้ที่ส่งต่อถึงกันระหว่างสถานพยาบาล ชุมชนด้วย


เรื่องการ จัดการเรียนการสอน

  • ปรัชญาการศึกษา ต้องเอาชีวิตและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เป็นตั้วตั้ง ไม่ใช่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง
  • ๙๕% เราเรียนรู้ผ่านการเห็นผู้อื่นทำ หรือร่วมทำ มีเพียง ๕% เท่านั้นเรียนรู้ผ่านการสอน
  • ควรบูรณาการเรื่องการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และต้องครอบคลุมตลอด trajectory phase ตั้งแต่ระยะแรก ระยะสุดท้าย และระยะหลังคนไข้เสียชีวิต


เรื่องการ จัดการประชุม APHC 2013

  • การเป็นเจ้าภาพของไทย อาจเชิญประเทศที่อยู่นอกกลุ่มเดิมมาเข้าร่วมประชุมได้ผ่านกลไกขององค์การ อนามัยโลก เช่น การให้ทุนมาร่วมประชุม เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมาย
  • มีการเยี่ยมชมพื้นที่หรือหน่วยงานที่ให้บริการของประเทศไทย นำเสนอรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์หรือจุดแข็งของไทย อาจจะเรียกเป็น Thai Day หรือใช้รูปแบบ Hospice Visit เหมือนเจ้าภาพครั้งก่อนๆทำก็ได้
  • การมีคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน จะทำให้รู้ว่า เรามีจุดแข็งตรงไหนบ้าง
  • อาจดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ของแต่ละประเทศในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ร่วมกัน แล้วมาร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยนตอนจัดประชุม
  • ต้องพิจารณาว่า จะต้องมีความรู้ส่วนไหนบ้าง แล้วดำเนินการ สร้างและรวบรวมก่อนจัดงานประชุม 
หมายเลขบันทึก: 354593เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2010 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • ชื่อเรื่อง..คำว่าระยะสุดท้าย เป็นของทุกคนนะคะ  แม้ว่าไม่ป่วย
  • คือชีวิตที่เหลืออยู่  ต้องทำความดีอะไรบ้าง
  • บันทึกนี้ผู้ไม่ป่วยก็นำไปปฏิบัติได้
  • ตกลงพี่คิมมาร่วมงาน gotoknow ค่ะ เพราะเห็นใจเขาซึ่งมีผู้เข้าร่วมน้อยมาก
  • จากพี่คิมขึ้นบันทึกก็ทำให้ได้สมาชิกมาเพิ่มอีกบ้าง 2-3 คน
  • ได้เจอคุณหมออีกครั้งค่ะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านอาจารย์หมอเต็ม

อ่านแล้วทำให้เกิดปิติ เห็นความงามของการใช้ชีวิตตลอดช่วงวันวัย

ประเด็นเรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับปู หากแต่เป็นสิ่งที่ทุกผู้คนต้องพบเจอ

สำหรับงานการประชุม หากมีอะไรที่พอให้ช่วยเหลือได้รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติค่ะ

 

P

  • ดีใจครับที่พี่จะมา อย่างนี้เรียกว่า รักกันจริง ไม่ใช่แต่ลมปาก นะครับ
  • พูดกันเล่นๆว่า สถานการณ์อย่างนี้ ภาคใต้ดู..น่าอยู่..กว่าแล้ว ไม่มีใครมาตั้งด่านศาลเตี้ยขวางไม่ให้เราเดินทางลำบากเหมือนหลายแห่ง
  • ด่านที่มีอยู่ก็คือ ทหารที่ดูแลความสงบ ผมไม่เคยรู้สึกว่า ทำให้การเดินทางของเราช้า ถ้าเป็นไปได้ เราก็จะมีขนมของกินฝากทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบให้เราด้วยครับ

P

  • เรื่อง ความงามของปัจฉิมวัย นี่ จุดประกายโดย พี่สุวิทย์..นพ.​สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ ครับ ผมว่าเป็นมุมมองที่เรามองข้ามกันมานาน แล้วสำคัญมาก เพราะต่อไป เราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ นะครับ ผลสำเร็จของการวางแผนครอบครัว จริงๆเลย
  • สอดคล้องกับทาง สช. ที่อยากจะให้เรื่องนี้ เป็นเรื่อง มีชีวิตดี และตายดี คู่กันไปครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หายไปนานพอดีกำลังเขียนเรื่องเล่า เสร็จแล้วเหลือปรับปรุงนิดหน่อยจะส่งไปให้อาจารย์อ่านนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท