มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

พุทธรรม คนศิวิไลซ์ และ ความวุ่นวายในโลกนี้ | Prof. Robert Thurman


อีกหนึ่ง lecture series ที่ทางมหาวิทยาลัย UBC จัดมาให้ฟรีๆไม่ต้องเสียค่าเข้าฟัง 

Prof. Robert หรือ Bob Thurman เป็น

  • อาจารย์อยู่ภาควิชาศาสนา มหาวิทยาลัย Columbia
  • เป็นนักวิชาการชั้นนำที่เผยแผ่ศาสนาพุทธในอเมริกา
  • เป็นคนอเมริกันคนแรกที่เคยคนขาวคนแรกที่ได้บวชเป็นพระธิเบต
  • เป็นศิษย์และเพื่อนสนิทของดาไล ลามะองค์ปัจจุบัน
  • เป็นคนที่ TIME magazines ยกให้เป็น 25 most influential Americans in 1997
  • เป็นพ่อของนักแสดงหญิง Uma Thurman

        http://dalailamamatters.com/bobandhhdl.jpg

       [http://bobthurman.com]

วันนี้มาพูดในหัวข้อ "Buddhism as a Civilization Matrix and the Current Global Crisis"

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/Thurman_at_ubc.png

 ท่านให้คำนิยามของคำว่าคนศิวิไลซ์ (อารยชน) คือคนที่

  •      มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathetic)
  •      มีความรู้สึกพอ (content)
  •      มีความสามารถที่จะมองความสุขอย่าง critical คือไม่หลงไปกับความสุข

และสิ่งที่จะทำให้คนศิวิไลซ์คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า

แต่ในยุคนี้เราความควรเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าในรูปแบบของระบบการศึกษา (system of education) ที่เข้าได้กับคนทุกศาสนา ไม่ควรไปเผยแผ่ในรูปแบบของ"ศาสนา"พุทธ

สรุปประเด็นสำคัญๆอื่นๆได้ประมาณว่า

  • การที่สรรพสิ่งเป็นไปอย่างนี้ ถ้าเราไม่พอใจ แล้วคิดว่าตายแล้วจะพ้น คือการมองที่ไม่ทำให้พ้นทุกข์ แต่ถ้ามองว่า ก็นี่และสรรพสิ่งมันก็เป็นไปแบบนี้ ไม่ต้องหนีไปไหนหรอกแต่เราพ้นทุกข์ได้ทั้งๆที่อยู่ในโลกนี้แหละถ้ามองให้ถูก ปฎิบัติให้ถูก มองว่าก็ที่มันเป็นอยู่อย่างนี่แหละไม่เลวร้ายซักหน่อย เป็นอยู่อย่างนี้แหละมีความสุขได้ (reality is bliss) ไม่ต้องหนีไปไหน
  • นีี่แหละคือสิ่งที่ศายมุนี"เห็น" แต่ว่าสอนแค่นี้เข้าใจยาก ท่านก็สอนว่า ทุกข์หน่ะมันมีเหตุเพราะอะไร เราพ้นทุกข์ได้นะ มีทางออก
  • คนตะวันตกที่มักจะคิดว่าศาสนาพุทธมองโลกในแง่ร้ายเพราะไปเน้นแต่อริยสัจข้อแรกว่าชีวิตนี้ทุกข์ แต่ไม่ศึกษาต่อข้อสามว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าเราพ้นทุกข์ได้
  • Buddhism is realism
  • you think you are real, I think I am real, people in this room are real
  • แต่ที่สำคัญคือคุณมอง reality นี้อย่างไร
  • ทุกข์เกิดจากการมองที่ผิด คือมองว่า ฉันอยู่นี่ หัวใจฉันเต้นตุ๊บๆอยู่นี่ ฉันสำคัญ ฉันชอบไม่ชอบไอ้โน่นไอ้นี่ ฉันเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
  • มองแบบพุทธคือมองว่า หัวใจฉันเต้นตุ๊บๆอยู่นี่ แต่คนอื่นที่นั่งในห้องนี้เค้าก็มีหัวใจเต้นตุ๊บๆอยู่เหมือนกัน เค้าก็สำคัญเหมือนกัน เมื่อใดที่คุณเห็นอย่างนั้น เห็นว่าเราเชื่อมโยงต่อกับคนอื่นสิ่งอื่นได้ คุณก็จะลด ความเป็นตัวคุณเดี่ยวๆแต่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่า (oneness
  • การที่คุณเป็นอย่างนี้ก็เพราะการกระทำ (action) ของคุณ ... ทุกครั้งที่คุณ act ไอ้ action นั้นมี consequence ต่อสิ่งรอบตัวคุณ และในขณะเดียวกันมันก็มีผล transform ตัวคุณเองด้วย
  • ความก้าวร้าว ความรุนแรง และ militarism เป็นปัญหาทำให้คนไม่ศิวิไลซ์
  • เราตอบโต้ได้ด้วยความไม่รุนแรง เอาจริง แต่ไม่รุนแรง
  • ถ้ารุนแรงแล้วคู่ต่อสู้อ้างได้ เค้าเลยรุนแรงกลับได้
  • ถ้าไม่รุนแรงเค้าไม่มีข้ออ้าง
  • ในเหตุการณ์ที่ธิเบต อย่างหมดหวัง ให้มีความหวังไว้ สู้อย่างไม่รุนแรง (non-violence) ไว้ แค่ในใจก็เจริญสติ ให้ใจอยู่ในความสงบใสสว่างพร้อมสู้ ถึงเค้าจะฆ่าเราตาย เราก็ตายอย่างพร้อมและมีความสุข ขอให้สู้แบบนี้
  • Prof. Thurman เขียนหนังสือเล่มใหม่ เป็น scenario building ว่าจีนแก้ปัญหาความยุ่งเหยิงนี้ได้ แทนที่จะทำแบบนี้ต่อไป ให้มาเป็นมิตรกับดาไลลามะซะ ปกครองธิเบตแบบฮ่องกงก็ได้ เอาคนจีนที่ส่งไปคุมที่ธิเบตกลับซะเพราะจะได้ประหยัดงบ คนพวกนั้นไม่ได้อยากอยู่ในที่สูงๆร่างกายเราเกิดมาผิดกัน คนธิเบตมี Nitric Oxide ในเลืิอดสูง เป็น evolution มาหลายชั่วอายุคน ถ้าจีนปล่อยให้คนธิเบตดูแลการท่องเที่ยวซะ มีการจัด meditation retreat มีการแสดงพื้นเมือง เงินก็ไหลเข้าประเทศ ดาไลลามะก็เดินทางไปได้ทั่วเมืองจีน สอนคนได้อีก มีข้อดีมากมาย Hu Jintao เองจะได้ nobel peace prize ซะด้วยซ้้ำถ้าทำแบบนี้ จะฝืนไปทำไม่ ทำมากี่สิบปีแล้ว 

สรุปวันนี้ท่านพูดเรื่องเดิมๆที่รู้แล้ว ทั้งประวัติศาสตร์ ทั้งธรรมะ แต่ท่านเป็นคนพูดเก่ง เล่าเรื่องสนุก ฟังไม่เบื่อ ส่วนนึงที่ทำให้คนหัวเราะคือท่านบ่นและประชดเรื่องการเมืองโดยเฉพาะการเมือง republican อเมริกัน ซึ่งคนที่ liberal หรืออยู่ข้าง democrat  ก็จะชอบ แต่ส่วนตัวรู้สึกว่ามัน Cliche ไปหน่อย  โดยรวมชอบ lecture นี้แต่ไม่ได้ประทับใจหรือมีแรงบันดาลใจอะไรล้นหลาม และรู้สึกว่าท่านบ่นประชดประชันได้สนุกดีแต่ไม่ compassionate ฟังแล้วไม่ได้  positive energy เหมือนกับเวลาไปฟังท่านดาไลลามะ ท่าน Desmond Tutu หรือ Prof. Yunus

หมายเลขบันทึก: 179208เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เย่ อ่านจนจบ
  • สะดุดกับประโยคที่ว่า
  • เราพ้นทุกข์ได้ทั้งๆที่อยู่ในโลกนี้แหละถ้ามองให้ถูก ปฎิบัติให้ถูก มองว่าก็ที่มันเป็นอยู่อย่างนี่แหละไม่เลวร้ายซักหน่อย เป็นอยู่อย่างนี้แหละมีความสุขได้ (reality is bliss) ไม่ต้องหนีไปไหน
  • ขยันเขียนจังนะครับ
  • รัชกาลที่ 6 ท่านใช้ ศรีวิไล= Civilization
  • คำว่า วิไล แปลว่างาม แต่พ้องกับคำว่า วิลัย ที่แปลว่า ..ลองเปิดพจนานุกรมดูยังไม่เฉลย

ขอบคุณค่ะคุณกวินทรากร

เปิดพจนานุกรมดูแล้วคะ

ทำให้ไปเปิด dictionary ต่อด้วยว่าจริงๆที่แปลคำว่า civilization ว่า อารยธรรม ก็เข้าใจง่ายกว่าเขียนทับศัพท์ว่า ศิวิไลซ์ อีก!

"คนมีอารยะ" หรือ "อารยชน" นั่นเอง

ขยันเขียนเพราะมีเรื่องเขียนพอดีค่ะ แล้วคนที่ไปฟังด้วยบ่นๆกันว่าฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เลยเขียนสรุปไว้กันลืมด้วย ให้คนอื่นอ่านด้วย

เดี๋ยวจะหายไปไม่เขียนบันทึก ซัก 2 อาทิตย์ค่ะ เพราะจะส่งงาน แต่คงยังเขียนอนุทินอยู่เรื่อยๆ

สวัสดีค่ะคุณหมอมัท

แม้จะเป็นเรื่องเดิมๆ ที่หมอมัท รู้แล้ว

แต่ก็เป็นการสรุปให้คนที่ไม่ได้ไปฟังด้วยเข้าใจได้ง่ายด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะมาอ่านอีกแล้ว...อิอิ

เห็นเกี่ยวกับธรรมและโลก เลยแว๊บเข้ามา อ่านแล้วช่วยเตือนสติดีค่ะ ส่วนตัวมักจะศึกษาธรรมของท่านพุทธทาสอยู่ประจำ แต่ก็ขาดสติประจำเวลาออกสู่โลกภายนอก ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังค่ะ :-)

[เคยเขียนไว้ในอนุทิน | ขอเอามาแปะไว้ที่นี่ด้วยค่ะ]

Prof. Bob Thurman เล่าให้ฟังว่าท่านดาไล ลามะ เป็นคนมีอารมณ์ขันมาก เคยขอ Bob ว่าอยากไปเข้าร่วมงานพิพากษาที่ฝ่าย creationist กับ  evolutionist ขึ้นศาลเถียงกัน เมื่อปีก่อนที่ต้องตกลงว่าจะสอน evolution ในรร.ของรัฐในอเมริกาหรือไม่อย่างไร

ท่านดาไล ลามะบอกว่าจะไปให้การว่า คนธิเบตเชื่อว่ามี god เพราะพวกเค้าเกิดมาจาก god แต่ god ของพวกเค้าเป็นลิง (พ่อเป็นลิงที่เป็นอวโลติเกศวรอวตาร แม่เป็นนางยักษ์)

เฮอะๆ จบ หมดเรื่องหมดราว

  • ไม่ต้องมาเถียงกันว่าคนมาจากลิงรึเปล่า
  • ไม่ต้องเถียงว่ามี god รึเปล่า
  • ถูกทั้งคู่

"The legends say that before the advent of human beings, Tibet was a place where the ogress (female giant) of the rocks ran amok.  Seeing the distress of the living creatures that lived there the Bodhisattva of Mercy (Avalokiteshvara) transformed into a macaque monkey and mated with the ogress (an emanation of the goddess Tara). Six baby monkeys were born that bred to make 500 monkeys and who, in the course of time, lost their tails and began to speak. Gradually they evolved into human beings and were, according to legend, the first Tibetans."

[จาก http://www.tibetan-buddhism.com]

ปล. สังเกตว่าพิมพ์ว่า god ไม่ใช่ God

ขอบคุณ พี่แจ๋ว (jaewjingjing) และ คุณมาริสา (พยูน ชีวิตงงๆ) มากๆค่ะ

Prof. Thurman พูดยาวมาก เกือบ 2 ชม. มัทแปลแต่แกนๆที่ท่านเน้น จริงๆมีอะไรมากกว่านี้ ไว้ถ้านึกอะไรน่าสนใจได้เมื่อไหร่จะมาเขียนเพิ่มนะคะ อย่างเรื่อง ลิงที่เป็น god god ที่เป็นลิง เป็นต้น

  •  ปล. สังเกตว่าพิมพ์ว่า god ไม่ใช่ God
  • เพราะอะไรเหรอครับ

สวัสดีค่ะคุณ กวินทรากร

คิดอยู่เชียวว่าจะมาเขียนเรื่องที่เกี่ยวกันนี้ต่อ

God คือ พระผู้เป็นเจ้าหนึ่งเดียวผู้นั้นที่สร้างโลกและกำหนดความเป็นไปของสรรพสิ่ง

god คือ เทพเจ้า หรือ  spiritual existence อะไรบางอย่างแล้วแต่จะตั้งชื่อ มีได้หลายองค์

Prof. Thurman พูดว่า พุทธรรม ไม่ได้ปฏิเสธว่ามี spiritual existences แต่ว่าปฏิเสธว่ามีเทพหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ของศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่คุมทุกสิ่ง และที่สำคัญคือศาสนาพุทธสอนว่า เทพเหล่านั้นก็ยังไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ ยังอยู่ในวงจรของกรรม

สรุปว่าศาสนาพุทธไม่ใช่ Ahteist แต่เป็น Non-theist คือ ไม่เชื่อว่าการพึ่งเทพใดๆเป็นทางหลุดพ้น

 

 

แต่ในขณะเดียวกันเราต้องเข้าใจว่า

คำว่า God (G ตัวใหญ่) นั้นลึกซึ้งกว่า god มาก

Prof. Thurman พูดว่าคนศาสนา monotheist บางคนที่"เข้าถึง" ก็อธิบายคำว่า God ของเค้าได้ใกล้เคียงกับคำว่า Truth (T ตัวใหญ่) หรือ สัจธรรม มาก

การพยายามอธิบายว่า God ของเขา (ของใครของมัน) คืออะไร ก็คล้ายการอธิบายว่า Oneness หรือ สูญญตา หรือ อะไรบางอย่างที่"เข้าใจและเห็น"ได้จากการปฏิบัติ แต่พูดออกมาเป็นคำๆได้ยากมาก

ไอ้ความยากนี่แหละที่ทำให้นิยามของคำว่า God ถูกบิดไปจนหลายเป็นสิ่งจับต้องได้ยึดได้ไปซะมาก หลายคนคิดว่า god คือ God เป็นต้น ท่านมีไว้ให้ขอพร เป็นต้น (อย่าว่าคนศาสนาอื่นเลยค่ะ คนที่เรียกตัวเองว่าพุทธก็เหมือนกัน)

ผมชอบนิยามของท่าน ที่กล่าวถึง ศิวิไลซ์

แล้วก็เห็นว่า ท่านดู เรียลลิตี้ดีครับ ใช่เป๊ะ ที่บอกว่าการเผยแผ่ศาสนาพุทธออกไป ควรเป็นในรูปแบบการศึกษา ไม่ใช่ ศาสนา

แต่ที่ชอบมากกว่าคือบันทึกของอาจารย์ ที่ย่อยมาให้อ่านได้ดีครับ มีความเห็นส่งท้ายไว้ ดีเยี่ยมครับ

แต่แปลก ๆ ว่า บางตัวหนังสือที่ผิดทำไมอาจารย์ใช้ขีดขวาง อะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท