จิตตปัญญาเวชศึกษา 70: 4-Barriers to Learn; Not to see what we do


4-Barriers to Learn; Revisit 4

Blindspot อันสุดท้ายของ 4-barriers to learn and change

 Think

 See

 not to recognize what we see

ไม่ตระหนักสิ่งที่เราประสบ 

 not to say what we think

ไม่พูดสิ่งที่เราคิด 

 Say

 not to see what we do

ไม่เห็นสิ่งที่เราได้ทำลงไป 

 not to do what we say

ไม่ทำสิ่งที่เราพูด 

 Do

Quadrant 4: not to see what we do

ในกระบวนทัศน์การศึกษาแบบเก่า ที่ใช้ downloading ความคิด ความรู้ การรับรู้เก่าๆ มาใช้แก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ทุกวันๆ เกิดเป็นความซ้ำซาก จำเจ เกิด false illusion ว่าวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นวิธีที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด หรืออย่างน้อยก็ดูเหมือนว่าจะใช้การได้ดี มีกรอบแห่งความกลัวความไม่แน่นอน (fear of uncertainty) ครอบงำอยู่อย่างแน่นแฟ้น ทำไปนานๆสิ่งที่เกิดขึ้นตำตา ก็ดูเหมือนจะพอยอมรับได้ พอไหว ทนไปได้อีกหน่อยอยู่เสมอ

False sense of security หรือความรู้สึกปลอดภัยหลอนนี้เป็นอุปสรรคใหญ่่ต่อการพัฒนา ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับองค์กรเลยทีเดียว

หนึ่งในสาเหตุแห่งความกลัวของมนุษย์ นอกเหนือจากที่ได้มาแต่ดั้งเดิม คือ กลัวเสียงดัง กลัวที่สูง ก็คือ "ความไม่รู้" ทำให้ความรู้สึกสบายใจว่าตนเองยังควบคุมสถานการณ์ได้นั้นหมดไป concept ของการใช้ความรู้จึงออกมาในรูปแบบของการศึกษา สังเกตปรากฏการณ์ หาปัญหา หาข้อสรุปในการแก้ไขป้องกันปัญหา ออกมาเป็น guideline ระเบียบปฎิบัติ เป็น evidence-based หรือความรู้เชิงประจักษ์

ฺBlindspot ชุดนี้ เป็นสาเหตุหลักของการเกิด stasis และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะการรับรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้น OK (หรือยังพอยอมรับได้) เมื่อพิจารณาว่า education คือ "การเปลี่ยนแปลง" ก็จะเห็นว่า การ downloading รับรู้ว่าเหมือนเดิม หรือไม่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จากพฤติกรรมเก่าๆ ก็จะเป็น anti-thesis ของการเกิดการเรียนรู้ ของการพัฒนา และการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ

ปัญหาอีกประการก็คือ ถ้าหากวิธีปฏิบัติเดิม ไม่เพียงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่อาจจะค่อยๆทำให้เกิดการสะสมหมักหมมของผลข้างเคียงทีละน้อยๆ ความเคยชินที่เราเพาะสร้างขึ้นมา จะทำให้เรา delay detection สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นช้าๆ กว่าจะรู้ตัวเราก็ยอมรับว่าความผิดปกตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของ normal situation ไปเสียแล้ว

พวกเราสามารถจะมี innocent actions ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่กลายเป็น "มีอะไร" ในภายหลัังได้มากมาย อาทิ

  • การจับกลุ่มนินทา
  • small sins หรือ ปาจิตตีย์ (บาปเล็กๆ)
  • แซงคิว
  • โกหกเล็กๆน้อยๆ
  • ขี้เกียจ
  • ปล่อยปละละเลยชีวิต
  • เอ้อระเหย
  • ดินพอกหางหมู
  • สุขนิยมจนไม่มีการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง
  • มักง่าย
  • ไม่มีระเบียบ

ใน concept ของ voice dialogues คุณสมบัติเหล่านี้แท้ที่จริงเป็น neutral และสามารถนำมาทำให้้เกิดสมดุลในชีวิต เพื่อไม่ให้เอียงไปอีกด้านหนึ่งมากเกินไป "จนกว่าอะไรบางอย่างเกิดเป็น demonic energy" ขึ้นมา

และ demonic energy ที่อาจจะงอกงามเติบโตจาก innocent sins เหล่านี้จะมีอะไรได้บ้าง?

  • one fact และกลายเป็น one us / one them
  • big sins, ปาราชิก
  • ความเห็นแก่ตัว
  • ไม่เห็นคุณค่าของความจริง การหลอกผู้อื่น สุดท้ายก็คือโกหกได้แม้แต่ตัวเอง
  • ไม่มีเจตนารมย์ ไม่มีเจตนคติ ไม่มี intention
  • ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ชีิวิตปราศจากความหมาย ไร้เครื่องยึดเหนี่ยว
  • ผลัดวันประกันพรุ่ง ฐานกายไม่แข็งแรง
  • มองไม่เห็นความทุกข์ของผู้อื่น ของคนรอบข้าง เกิดโลกหลอนเทียมของตนเอง
  • ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญ
  • หมดความทะเยอทะยาน ความมุ่งมั่น

สาเหตุและแรงผลักดันของจุดบอด

  • ความกลัวต่อการยอมรับความจริง: Voice of fear บางครั้งความจริงสามารถนำมาซึ่งความรู้สึกผิด ด้อยค่า ลดคุณค่าของตนเองลง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่น่ายินดีเลยแม้แต่น้อย แต่ความรู้สึกที่ว่านี้เอง กลับมีหน้าที่สำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้เราเกิดพลังงานเพื่อจะหลีกหนีออกห่างจากความรู้สึกเหล่านี้ การทำตัวไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทำไป ก็จะปิดกั้นโอกาสการปรับปรุงแก้ไข
  • ความต้องการหลอกตัวเองว่าทุกสิ่งทุกอย่าง OK: Voice of fear อีกรูปแบบหนึ่ง การกลัวการเปลียนแปลงบางครั้งทำให้เราพยายามทน พยายามเอออวยกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ได้อย่างมาก ต่างจาก acute stress ที่มีความต่างจาก "ปกติ" เยอะ ตรงนี้้เป็นการใช้ความคุ้นชินมากลบเกลื่อนสภาพความเป็นจริงเบื้องหน้า
  • มองเห็นความจริงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ไม่มองทุกด้าน: Voice of Judgment เรื่องราวทุกเรื่องมีหลายมิติมุมมอง แต่เพื่อความสบายใจ เราจะหามุมที่เราดูแล้ว OK มากที่สุด แม้ว่าเราจะทราบหรือไม่ทราบก็ตามว่าอีกมุมหนึ่ง หรือมุมที่เหลือทุกๆด้าน อาจจะสะท้อนด้านไม่ดี ด้านเลวร้าย เราก็ยังสามารถหันไปมองแต่ด้านดีๆเท่านั้น ไม่ยอม open mind
  • ไม่มี หรือไม่ให้เวลาหยุดคิดใคร่ครวญ: Voice of judgment ใช้ชีวิตแบบนั่งรถไฟด่วนตลอดเวลา ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน อยู่แต่อนาคต จะทำโน่น ทำนี่ เต็มไปด้วยแผนการ ไม่มีเวลาสะท้อนการกระทำของตนเอง ปัจจุบันขณะเป็นเพียงเงาจางๆ มองเห็นไม่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ต้องพูดถึงว่าผลกระทบวงกว้างเป็นอย่างไร บางทีแค่ผลกระทบเฉียบพลังก็ยังมองไม่เห็น เพราะมองหาแต่สิ่งที่ยังไม่่ได้เกิดขึ้น
  • กระบวนการ downloading: อีกรูปแบบของ Voice of Judgment ยืนยันจะมองแต่มิติเก่า คิดและเชื่อแต่ว่าทำเหมือนเดิมน่าจะได้ผลเหมือนเดิม ดีเท่าเดิมทุกครั้ง ซึ่งที่จริงนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • ไม่สามารถทำใจได้ว่าทำอย่างอื่นก็ได้ หรืออาจจะดีกว่า: นี่คือพยาธิกำเนิดมาจาก voice of cynicism บางครั้งเราบอกตัวเองตลอดเวลาว่า อย่างอื่นไม่ดีๆ อย่างของเราดีที่สุดเพียงอย่างเดียว พยาธิกำเนิดนี้ค่อนข้างอันตราย เพราะรวมๆแล้วจะเกิด One fact และ One Us / One Them ได้
  • กลัวว่าจะต้องทำอะไรใหม่ๆ: อาจจะฟังดูแปลก แต่เหตุผลนี้จริงแท้แน่นอน บางคนสาเหตุแห่งความกลัวก็มีเพียงเพราะมันแปลกใหม่เท่านั้น ของเก่าน่าเบื่อ mediocre เช่นไร ขอเพียงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงดูชีวิตจะ stable อยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเองอยู่ ก็เป็น Voice of Fear อีกแบบหนึ่ง

เมื่อเรานำเอาสาเหตุของอุปสรรคมาพิจารณา จะเห็นความเชื่อมโยงของพยาธิสรีระระหว่างการเกิด blindspot และอุปสรรคของ Open mind, Open heart และ Open will รวมไปถึงพยาธิสภาพของการเกิด inverted U, Mechanism of Tyrants ได้ชัดเจนมากขึ้น ตรงนี้ทำให้ง่ายต่อการหาทางแก้ไข

วิธีการป้องกันและแก้ไข

  • Open Mind: การเปิดรับความรู้ใหม่ๆ โอบกอดสิ่งใหม่ๆได้แม้ว่าจะทำให้เกิดความไม่เสถียรต่อสภาวะเดิม การเปิดรับเช่นนี้แน่นอนจะต้องเริ่มจากการฟังที่ห้อยแขวน การหน่วงช้าลง ไม่ด่วนตัดสิน
  • Open Heart: ในการทำงานระบบนิเวศ จะต้องยอมรับในความแตกต่าง จะต้องสามารถ embrace differences ได้ คำสอนของท่านธรรมาจารย์เจิ้นเหยียนที่ว่า "ไม่มีใครที่เราไม่รัก ไม่มีใครที่เราไม่ให้อภัย ไม่มีใครที่เราไม่ไว้วางใจ" เป็นหัวใจมนตราสำหรับ open heart และกำราบมาร cynicism หรือความแคลงใจ หวาดระแวงได้โดยตรง
  • Open Will: สุดท้ายถ้าจะเอาชนะความหวาดกลัวต่างๆ เราคงจะต้อง summon courage มาใช้ อะไรก็ไม่ดีเข้ากับการเข้าถึง will ของตนเอง ค้นหาจนพบว่าตนเองนั้นเกิดมาเพื่ออะไร ความรู้ ความชำนาญที่มีอยู่นั้น จะใช้ประโยชน์สูงสุดแก่เพื่อนมนุษย์ได้อย่างไร เมื่อไรก็ตามที่เรานำเอา moral courage มาใช้ได้ เมื่อนั้นอุปสรรคต่างๆก็จะหายไป ดวงตาเปิด จิตใจเปิด เจตจำนงเปิดตลอด พลังงานแห่งจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกับเจตจำนงของเรา
หมายเลขบันทึก: 188588เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท