ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4-7) กฎหมายการศาลและเศรษฐกิจ


กฎหมายและการศาล

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4-7)
………………………….

กฎหมายและการศาล

            - สมัยรัชกาลที่ 4

               เป็นระยะที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาอาณานิคมลัทธิจักรวรรดินิยมและกำลังขยายเข้ามายังประเทศไทย รัชกาลที่ 4 ทรงตรากฎหมายและประกาศต่างๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับบ้านเมือง เช่น พ.ร.บ.มรดกสินเดิมและสินสมรส พ.ร.บ.พระสงฆ์และศิษย์วัด เป็นต้น

            - สมัยรัชกาลที่ 5

               1. ตั้งกระทรวงยุติธรรมให้ดูแลรับผิดชอบในเรื่องศาลทั้งหมด โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระราชโอรสในพระองค์กับเจ้าจอมมารดาตลับ ผู้ซึ่งได้ไปศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ เป็นผู้ช่วยเหลือ และได้แต่งตั้งให้กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พร้อมกับตั้งโรงเรียนสอนกฎฆมายขึ้นและดำเนินการสอนโดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายและศาลไทย)

               2. ตรวจชำระกฎหมาย เช่น กฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย ตรากฎหมาย พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ.120 กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ.2448

               3. ยกเลิกศาลตามกรมกองต่างๆ จัดระเบียบการศาลในกรุงเทพและหัวเมืองให้เป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศ แบ่งศาลเป็น 3 ชั้น คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

               4. เลิกวิธีการไต่สวนของตุลาการตามระเบียบเดิมที่ใช้จารีตนครบาล (การทรมานร่างกายให้ยอมรับผิด เช่น บีบขมับ ตอกเล็บ เป็นต้น) วางระเบียบไต่สวนแบบอารยประเทศคือให้มีการสืบพยานแทน

            - สมัยรัชกาลที่ 6

  1. ให้ดำเนินการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อจากสมัยรัชกาลที่ 5
  2. ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้น
  3. ตรากฎมณเทียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์

- สมัยรัชกาลที่ 7

               ระบบการศาลและกฎหมายยังคงดำเนินตามสมัยที่ผ่านมา

การเศรษฐกิจ

            - สมัยรัชกาลที่ 4

               1. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ

               2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้

                        2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง

                        2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา  

                        2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ

                        สนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนดเวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ

               3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น

               4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก

               5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา

            - สมัยรัชกาลที่ 5

               1. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างๆ ของแผ่นดิน

               2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

               3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบร้อย

               4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้างที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน

               5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล

               6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)

               7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

               8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ

            - สมัยรัชกาลที่ 6

  1. ตั้งธนาคารออมสิน 
  2. ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
  3. ตั้งกรมสรรพากรและกรมตรวจเงินแผ่นดิน 

  ในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลงเนื่องจากสาเหตุการเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

            - สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)

  1. ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1
  2. รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้

      2.1     ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก

     2.2     ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม

     2.3     ปลดข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย 

จงตอบคำถามต่อไปนี้

            1. การปฏิรูปกฎหมายและการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดผลดีหรือผลเสียต่อประเทศอย่างไร

           2. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หมายถึงอะไร ใครได้ใครเสียจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนี้อย่างไร

            3. จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ส่งผลกระทบต่อชีวิตความ

                  **ข้อมูลเพิ่มเติม**

        *เศรษฐกิจ สังคมศาสนาสมัย ร.1-ร.3* คลิกอ่านได้ครับ
        *ศิลปกรรมและความสัมพันต่างประเทศสทัย ร.1-ร.3* คลิกอ่านได้ครับ
        *การศึกษาและการเลิกทาส สมัย ร.4-ร.5* คลิกอ่านได้ครับ
        *การปกครอง ต่างประเทศและเสียดินแดนสมัย ร.4-ร.7* คลิกอ่านได้ครับ
        *ประวัติศาสตร์สมัยร.7-ปัจจุบัน(การปกครอง)* คลิกอ่านได้ครับ 
        *ประวัติศาสตร์ไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง(การปกครอง)* คลิกอ่านได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 305257เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท