บรรยากาศ : เสวนา "หนังสือวิทย์ที่เด็กไทยควรอ่าน" จัดโดย มติชน


 

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2551

สำนักพิมพ์มติชน

จัดเสวนา  "หนังสือวิทย์แบบไหนที่เด็กไทยควรอ่าน?"

ที่ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์วิทยาศาสตร์ปีนี้

 

ลองมาดูบรรยากาศทั่วๆ ไปกันก่อนครับ

 

 

ก่อนการเสวนา ผมไปเดินรอบๆ ดูบูธต่างๆ คึกคักดีเหมือนกัน

 

นี่เด็กๆ กำลังเล่น "น้ำพุ" หลอกเพื่อนๆ ที่มาร่วมงาน

 

 

แวะบูธของมติชนซะหน่อย จัดอยู่ในพื้นที่ของ สสวท. ติดกับท้องฟ้าจำลอง

มีคนสนใจพอสมควร

 

ก่อนการเสวนา มีรำไทย โปงลาง เพลงลูกทุ่ง งานวิทย์แบบไทยๆ จริงๆ ;-)

 

การเสวนาเริ่มประมาณ 2:10pm

ผม (ทางซ้าย) กับ ดร.พิเชษฐ กิจธารา (ขวา)

รับหน้าที่มาคุยกับเด็กๆ

ขอบันทึกเหตุผลของการตอบรับมาร่วมเสวนาครั้งนี้ไว้สักหน่อย

(แม้ผมเองยังไม่เคยทำงานร่วมกับ สนพ.มติชน เลย) ดังนี้

1) ผมมีความนิยมชมชอบ ดร.พิเชษฐ กิจธารา โดยส่วนตัว
เพราะอาจารย์พิเชษฐ เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่ได้มีส่วนสร้างผลงานสำคัญ
นั่นคือ วิชาการด็อตคอม ร่วมกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์อีก 2 ท่าน
ได้แก่ ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ และ ดร.อรรถกฤติ ฉัตรภูติ

2) ผมชื่นชม สำนักพิมพ์มติชน ที่ได้ลงทุนสร้างสรรค์หนังสือแนววิทยาศาสตร์
อย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
โดยเฉพาะ 2 เล่มล่าสุด ได้แก่ ควอนตัมจักรวาลใหม่ (ซึ่งแปลจาก The New Quantum Universe)
และ ประวัติย่อของหลุมดำ (ซึ่งแปลจาก Black Holes and Time Warp : Einstein's Outrageous Legacy)
ซึ่งเป็นสุดยอดหนังสือวิทยาศาสตร์สำหรับสาธารณชนในมุมมองของผม

3) ในขณะที่ผมเอง กำลังทำงานเผยแพร่วิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน (Public Understanding of Science)
มาอย่างต่อเนื่องกว่า 7 ปี และต่อต้านวิทยาศาสตร์เทียม หรือวิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน (เช่น กรณีตัวอย่างนี้ และกรณีอื่นๆ ที่เคยทำมาก่อนหน้าหลายกรณี)
ผมก็คิดเสมอว่า หากมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์คนใด หรือองค์กรใด
กำลังพยายามทำงานในลักษณะเดียวกัน ผมก็จะช่วยอย่างเต็มที่ เท่าที่จะทำได้

 

 กลับมาที่งานกันต่อครับ....

 

คุยบนเวทีได้พักเดียว ก็ลงมาเล่นกับเด็กๆ ข้างล่างดีกว่า

อันนี้เป็นภาพที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยาเกสตอลท์ (Gestalt Psychology)

 

น้องสุภาพสตรีคนนี้ตั้งใจฟัง ตั้งใจตอบตั้งแต่ต้นทีเดียว

 

เห็นเด็กๆ สนุกแบบนี้ แล้วก็ชื่นใจครับ

 

ส่วนนี่...ก็เล่นกลหลอกเด็ก...ตามสไตล์ผม...อิอิ

 

เป็นกลวิทยาศาสตร์ "เหรียญแม่เหล็ก" ครับ ;-)

 

ช่วงใกล้เลิก เด็กๆ มารุมล้อมของลายเซ็นอาจารย์ ดร.พิเชษฐ กันใหญ่

 

นี่แหละครับ เด็กไทย ต้องกล้าคิด กล้าแสดงออก อย่างถูกต้อง

ถึงจะเป็นความหวังมาแทนคนรุ่นปัจจุบันได้!!

 

ขอขอบคุณ สำนักพิมพ์มติชน ที่จัดกิจกรรมดีๆ อย่างนี้ให้เกิดขึ้น

คนจะมาก จะน้อย ไม่ใช่ปัญหา

 

แต่หากกิจกรรมมีคุณภาพ เด็กมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

แค่นี้ก็ชื่นใจ คุ้มกับเวลาที่ใช้ไปแล้วครับ ^__^


หมายเลขบันทึก: 202084เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • ชอบใช้กลหลอกเด็กๆๆ
  • ว่างๆจะเอาไปใช้บ้าง
  • ถ้าผมเป็นเด็ก
  • จะขอลายเซ็นพี่ชิว
  • อิอิๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับพี่ชิวเด็กฉลาดชาติเจริญ นะครับ

อ่านหนังสือแล้วขอชวนเด็กมาที่ค่ายนี้ต่อเลยนะครับ http://gotoknow.org/blog/kelvin/201684  ;)

มีถึงวันไหนคะ อาจารย์

ลูกชายชอบวิทยาศาสตร์มาก ๆ ค่ะ

พลอย (ผู้ช่วย บ.ก.มติชน)

สำนักพิมพ์มติชนถือเป็นเกียรติค่ะที่ได้ร่วมงานกับอาจารย์ในครั้งนี้

สนุกมากมาย หวังว่าครั้งหน้าอาจารย์จะรับเชิญอีกนะคะ :)

เพราะยังมีอีกสองเล่มที่รอเปิดตัวอยู่

1. A Matter of Time ของ Scientific American

2. The Fabic of Cosmos ของ Brian Green

งานเมื่อวานสนุกมาก อาจารย์มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในครั้งนี้มากๆ ค่ะ

ขอบคุณอีกครั้ง และดีใจที่ได้ร่วมงานกันเป็นครั้งแรกนะคะ

สวัสดีครับ

     อ.แอ๊ด : เจอกันคราวหน้า ระวังพี่ (จะใช้กล) หลอกเข้าให้นะครับ :-P

     น้องกวิน : เด็กๆ ที่มาร่วมกิจกรรมที่ฉลาดเอาเรื่องทีเดียว บางคนได้หนังสือรางวัลไปตั้ง 2 เล่ม! (จนเพื่อนค้อน...)

     คุณหมอจริยา : เข้าใจว่าจะจัดถึงวันที่ 22 ครับ แต่ต้องเช็คดูอีกที งานหลักอยู่ที่ BITEC บางนา ส่วนที่ท้องฟ้าจำลองนี่ อาจต้องเข้าไปดูเว็บของท้องฟ้าจำลองครับ

สวัสดีครับ คุณพลอย

       ด้วยความยินดีครับ พอดีเคยผ่านงานแนวนี้มาเยอะ ทำให้ต้องเตรียมต้วไปหลายๆ แบบ พวกเด็กๆ อายุไม่มากนี่ ต้องชวนเล่นเยอะๆ  คุยอย่างเดียวไม่ได้ครับ เดี๋ยวเผ่นหมด ;-)

       เอาไว้ถ้ามีอะไรพอช่วยได้ก็แจ้งมาล่วงหน้าได้เลยครับ

       จะขอ URL ที่ทางมติชน link มาที่บันทึกนี้ด้วยครับ จะได้มีเนื้อหาเชื่อมต่อกัน

ขอบคุณครับ

ผมดีใจจังเลยที่ได้เห็นกิจกรรมแบบนี้ มีการนำวิทยาศาสตร์เข้าไปสัมผัสชุมชนมากขึ้นหน่อย

แต่ขอเสนอเพิ่มเติมเล็กน้อยหน่อยได้มั๊ยครับ

คือ เท่าที่เคยไปสัมผัสในต่างประเทศ (ทางนิวซีแลนด์ หรือยุโรป)

ผมมักจะพบว่า พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตรื ของประเทสเค้าเป็นอะไรที่น่าเที่ยวมาก และอัพเดตมากๆ (ชนิดที่ท้องฟ้าจำลองบ้านเราแทบจะเทียบอะไรไม่ได้เลย...ผมไปกี่รอบ ก็คล้ายๆ เดิม)

และที่สำคัญเค้าจัดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ไว้ในส่วนที่ (เกือบ) จะเป็นใจกลางเมืองเลย (อย่างที่ เวลลิงตั้น) ซึ่งทำให้คนเข้าเยอะมากๆ ไม่เพียงแค่คนในประเทศ แต่รวมถึงนักท่องเที่ยวก็ถวิลจะเข้าด้วย

เลยอยากจะรู้ว่า เราพอจะมีทางทำอะไรกับสภาพพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ไทยได้หรือเปล่า (ท้องฟ้าจำลอง เคยไปครั้งหนึ่ง อย่างก๊ะเมืองร้าง)

คือ ผมคิดว่า เราควรจะทำให้พิพิธภัณฑ์มันเป็นอะไรที่มากกว่า "ที่ให้ความรู้" และ "เหนือกว่า search engine" ของ internet น่ะครับ ไม่งั้นด้วยนิสัยแล้ว การเข้าพิพิธภัณฑ์นับจะยิ่งน้อยลง ตราบเท่าที่มันยังไม่สามารถหาอะไรมาทดแทนพื้นที่ส่วนที่ถูก internet ชิงไปได้

และอีกประเด็นหนึ่งที่ผมพบว่าน่าเศร้ามากก็คือ นิสัย "ขี้เห่อ + ขี้เบื่อ" คือ ที่จังหวัดอุบลฯ (บ้านเกิดผม) หลายปีก่อน ...ประมาณ 10 ปี ได้แล้ว ตอนสร้างใหม่ (ช่วงปีแรก) คนจังหวัดอุบลฯ เห่อกันมาก

ผ่านเข้าปีที่ 2 คนหายไปอย่างก๊ะ มันไม่มีอยู่...อาศัยเป็นสนามเด็กเล่นให้ลูกไปด้วยซ้ำ

ปัญหาของมัน นอกจากนิสัยคน อย่างว่าไปแล้ว ผมว่า มันไม่พยายามอัพเดตด้วยหนึ่ง และพออัพเดตแล้วก็ไม่ยอมประชาสัมพันธ์อีกหนึ่ง

บอกตรงๆ ครับ ผมคิดไม่ตกจริงๆ ว่าทำยังไงถึงจะสามารถทำให้ "แหล่ง/ชุมชน ทางวิทยาศาสตร์" เป็นที่ที่คน walk in ได้โดย "ไม่ลำบากใจ และมีความสุข ได้โดยตลอด" ได้

ด้วยความเคารพ

กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

สวัสดีค่ะพี่ชิว

บรรยากาศงานน่าสนุกจังค่ะ..สนพ.มติชนเข้าใจจัดนะคะ วินวินทุกฝ่าย..อยากให้มีกิจกรรมดีๆอย่างนี้ให้เด็กๆบ่อยๆ วิทยาศาสตร์ของไทยจะได้มีกำลังสำคัญมาช่วยกันเยอะๆ..

..พี่ชิวคะ...แล้วกลวิทยาศาสตร์ "เหรียญแม่เหล็ก" เป็นยังไงหรือคะ..ผู้ใหญ่ก็อยากรู้เหมือนกันค่ะ.. :)

โอ้.. อยากไปร่วมกิจกรรมจังเลย นึกถึงสมัยเด็กๆ

ยังจำได้ว่าเคยไปร่วมงานวิทยาศาสตร์ ตอบคำถาม รับรางวัลจนเพื่อนค้อนเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเก่งอะไร แต่กล้ากว่าคนอื่น เด็กๆ สมัยก่อนขี้อาย ไม่ค่อยกล้ายกมือ

เห็นเด็กสมัยนี้แล้วน่าชื่นใจ อยากสนับสนุนให้มีงานอย่างนี้เยอะๆ ค่ะ

ไม่มีลูกค่ะ แต่รักหนังสือ มีความสุขทุกครั้งที่ได้ซื้อหนังสือให้คนที่รักอ่าน น้ำตาคลอตลอดเวลาเมื่อเห็นเด็กๆนั่งอ่านหนังสือ อยากร่วมกิจกรรมกับสำนักพิมพ์มติชนบ้างนะคะ แม้ว่าวันนี้จะแก่แว้ว ฮิ ฮิ

สวัสดีครับทุกๆ ท่าน

      ขออภัยที่ตอบช้านะครับ พอดีช่วงนี้วุ่นๆ กับการเคลียร์เรื่องเล็กเรื่องน้อย เพราะต้นสัปดาห์หน้าจะไม่อยู่ครับ

      คุณ fallingangels : เรื่องการปรับปรุง + หากิจกรรมใหม่ๆ มาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องนี่สำคัญครับ ทำให้เหมือน "มีชีวิต" ถ้าไม่ทำ ก็เหมือน "ตาย" ไปแล้ว

            อีกอย่างคือ คนอธิบาย ครับ อันนี้สำคัญมากเลย คือ ถ้าในพิพิพิธภัณฑ์มีคนอธิบายสนุกๆ ผมว่าคนจะไปมุงกันตรึม  อีกอย่างเคยทราบมาว่าในต่างประเทศนี่ บางแห่งมีอาสาสมัครไปช่วยงาน บางทีก็เป็นผู้สูงอายุที่ชอบคุยกับเด็กๆ หรือคนที่ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เป็นการออกกำลังสมอง และทำให้ไม่เบื่อด้วย

       น้องอุ๊ : เรื่อง กลเหรียญแม่เหล็ก นี่เดี๋ยวจัดให้ครับ ขอเวลาแป๊บหนึ่ง ;-)

       คุณแม่น้องธรรม์ : สำหรับเด็กๆ ที่ผมเจอนี่ ชอบคิด ชอบร่วมกิจกรรมทั้งนั้นเลย สนุกดีจริงๆ ครับ

       คุณ Mae : เรื่องหนังสือนี่ เดี๋ยวนี้มีหนังสือดีๆ เพียบ (แต่หนังสือไม่ดีก็ปนๆ ไปดัวยเหมือนกัน...บางเล่มดันขายดีติด bestseller อีกต่างหาก)

           ปัญหาก็คือ อ่านหนังสือแตกหรือเปล่า เพราะตอนนี้มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากๆ เลยว่า คนที่อ่านหนังสือไม่แตก แต่เขียนหนังสือขายดิบขายดีอย่างเหลือเชื่อ...แปลกไหมครับ เมืองไทย ;-)

เรียน อ.บัญชาที่นับถือ กิจกรรมดีๆ แบบนี้น่าจะมีจัดที่ต่างจังหวัดด้วยนะคะ เด็ก ๆตจว.จะได้มีโอกาสบ้าง ..ขอให้พิจารณาจัดอีกครั้งที่จ.ขอนแก่นนะคะ..ลูกชายชอบวิทยาศาสตร์มากค่ะและก็สอบได้ในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯของ สสวท.ปี2549 ระดับช่วงชั้นที่ 1(ป.3)ด้วยค่ะและก็ได้รับสื่อหนังสือดีๆจาก สสวท.จนถึง ม.3 ค่ะขอบคุณค่ะ

หนังสือเล่มใหนที่ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเป็นนักหุ่นยนตร์วิทยาครับ

สวัสดีครับ คุณ ฐิตินันท์

       เรื่องการจัดกิจกรรมนี่แล้วแต่นโยบายของ สนพ. ครับ ไว้ถ้าผมมีโอกาสคุยกับคนที่เกี่ยวข้อง ก็จะแจ้งให้เขาทราบความต้องการนะครับ

       ผมเป็นนักเรียนทุน พสวท. ครับ ก็เลยผูกพันกับ สสวท. มากเช่นกัน ดีใจมากครับที่น้องเขาชอบวิทยาศาสตร์ ท่าทางจะเรียนรู้อย่างสนุกสนานทีเดียวนะครับ

จะรีบไปซื้อมาอ่านเองเลยค่ะ โดยเฉพาะเล่ม ควันตั้ม

สวัสดีครับ พี่แต๋ง

       เล่ม ควอนตัมจักรวาลใหม่ นี่ ดร.พิเชษฐ เป็นผู้แปลครับ มีเนื้อหาน่าสนใจมาก แต่เต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคเยอะทีเดียว

       ผมอ่านเล่มภาษาอังกฤษ The New Quantum Universe แล้วพบว่า บางครั้งการอ่านจากต้นฉบับง่ายกว่า เพราะในภาษาไทยหาคำสื่อยากทีเดียวครับ

กำลังจะไปซื้อพรุ่งนี้เชียว ไม่เป็นไรจะลองไปยืนอ่านดูก่อนค่ะ

สวัสดีครับ พี่แต๋ง

       ลองอ่านดูก่อนก็ดีครับ แต่ถ้าสนใจเรื่องแนวควอนตัม ยังมีอีก 2 เล่ม เล่มหนึ่งแปลจาก Introducing Quantum Theory อีกเล่มเป็นวรรณกรรมเยาวชนในชุด Uncle Albert (ในมุมมองของผม 2 เล่มนี้อ่านสนุกทั้งคู่)

ชอบเรื่องควอมตัมฟิสิกส์มากค่ะ แต่ยังไม่ได้ศึกษาลงไปให้ลึกกว่านี้

หนูว่ายิ่งนักวิทยาศาสตร์ศึกษาควอนตัมลึกเท่าไหร่ ความรู้ที่ได้ยิ่งใกล้กับคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้นไปเรื่อยๆนะคะ ยิ่งอ่านยิ่งตื่นเต้น

สวัสดีครับ ข้าวตู

        ฟิสิกส์ควอนตัมนี่มีเสน่ห์มากครับ

        ส่วนเรื่องพุทธศาสนานี่ จริงๆ แล้วมีฟิสิกส์สาขาอื่นที่พอเทียบเคียงได้เช่น กลศาสตร์เชิงสถิติ (statistical mechanics) - พี่เห็น "อนิจจัง" ในศาสตร์นี้ครับ แถมยังคำนวณได้ด้วย ^__^

อ่านสนุกมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท