ภาษาพม่าสบายๆ สไตล์เรา (ตอน 8 - ขอเข้าห้องน้ำหน่อย)


 

...

ภาพที่ 1: ภาพโฆษณายาแก้หวัดตอกไว้กับต้นไม้ที่พุกาม พม่า (มิถุนายน 2551)

  • คนพม่าก็คล้ายคนไทยคือ ชอบอะไรที่เป็นเรื่องแสดงความรักและความห่วงใย

...

  • ภาพนี้ไม่ทราบได้รับแรงบรรดาลใจจากโฆษณายาแก้หวัดของไทยหรือเปล่า... ของไทยเราก็แสดงเป็นเรื่องหนุ่มขี่จักรยานตากฝน นำยาแก้หวัดไปฝากสาว
  • โฆษณาพม่าก็มีเรื่องแสดงถึงความใส่ใจ และความห่วงใยคล้ายๆ กัน

...

ภาพที่ 2: ภาพนักเรียน ("เจาตา") ปั่นจักรยานไปโรงเรียน พุกาม พม่า (มิถุนายน 2551)

  • ชีวิตชาวพม่า... เช้าๆ ก็ต้องออกแรงกันหน่อย โปรดสังเกตว่า คนที่ปั่นจักรยานส่วนใหญ่จะมีหุ่นดี
  • เด็กนักเรียนชาย... ภาษาพม่าเรียกว่า "เจาตา" ชุดนักเรียนโตเกินประถมศึกษาปีที่ 2 คือ โสร่งสีเขียวแบบไม่มีลาย สะพายย่าม ข้างในย่ามน่าจะมีปิ่นโตด้วย เพื่อประหยัดให้มากที่สุด

...

  • คำว่า "เจา" ตรงกับวัดในภาษาภาคเหนือ "จอง" พม่านิยมออกเสียงให้ตัวสะกดหายไปตั้งแต่หายไปหมด หายไปครึ่งหนึ่ง และเหลือไว้ ทำให้คนไทยงงนิดหน่อย 
  • ชีวิตชาวพม่าผูกพันกับวัดมาก สมัยก่อนก็คล้ายกับคนไทยคือ จะเรียนหนังสือก็ต้องไปเรียนที่วัด ต่อมามีโรงเรียนก็มักจะอาศัยที่วัด หรืออยู่ติดกับวัด ชื่อนักเรียนพม่า... ถ้าจะเรียกว่า เป็นชื่อของเด็กวัดก็ได้ เพราะชื่อมาจากวัด

...

ภาพที่ 3: ภาพนักเรียนหญิง ("เจาตมี") ปั่นจักรยานไปโรงเรียน พุกาม พม่า (มิถุนายน 2551)

  • เด็กนักเรียนชาย... ภาษาพม่าเรียกว่า "เจาตา"

...

  • ภาษาพม่า... ถ้าจะทำให้เพศของคำกลายเป็นเพศหญิง ให้เติมคำ "มะ" หรือ "มี" เข้าไป เด็กนักเรียนหญิงเรียกว่า "เจาตมี"
  • โปรดสังเกตว่า นักเรียนพม่าของแท้ต้องนุ่งโสร่งหรือผ้าถุง สะพายย่าม พกปิ่นโต รองเท้าแตะแบบคีบ ทาตะนาคาที่แก้ม (แม่ทาให้) และปั่นจักรยาน ทำให้คนพม่าแข็งแรง อดทน ทำงานหนักๆ ได้ (โสร่งผู้ชายปมใหญ่ทำให้ไม่ค่อยหลุด ผ้าถุงผู้หญิงปมเล็กอาจทำให้หลุดได้ง่ายกว่า ผ้าถุงเด็กนักเรียนหญิงจึงมักจะมีห่วงเล็กๆ ไว้คล้องกันผ้าถุงหลุด)

...

ภาพที่ 4: ภาพนักเรียนชาย ("เจาตา") ปั่นจักรยานไปโรงเรียน พุกาม พม่า (มิถุนายน 2551)

  • เด็กนักเรียนชาย... ภาษาพม่าเรียกว่า "เจาตา"
  • เด็กนักเรียนหญิง... ภาษาพม่าเรียกว่า "เจาตมี"

...

ภาพที่ 5: ภาพป้ายเรียนชาย เครื่องหมาย "ผู้หญิง" พม่า (มิถุนายน 2551)

  • โปรดสังเกตตัวอักษร "มะ" ของพม่าให้ดี จำได้หรือจำไม่ได้ไม่เป็นไร เดี๋ยวดูภาพของผู้ชายก็จะพอแยกได้ว่า ห้องน้ำไหนควรจะเป็นของผู้หญิง ห้องไหนควรจะเป็นของผู้ชาย

...

ภาพที่ 6: ภาพป้ายเรียนชาย เครื่องหมาย "ผู้ชาย" พม่า (มิถุนายน 2551)

  • โปรดสังเกตคำนี้ดีๆ จำได้หรือจำไม่ได้ไม่เป็นไร ลองดูเทียบกับภาพตัวอักษร "มะ (= ผู้หญิง)" และจินตนาการนิดหน่อย (ว่าคล้ายของผู้ชายหรือของผู้หญิง) จะพอแยกได้ว่า ห้องน้ำไหนควรจะเป็นของผู้หญิง ห้องไหนควรจะเป็นของผู้ชาย

...

ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 6) เราคุยกันเรื่องวิธีบอกให้ได้ว่า "ผม(หรือดิฉัน)เป็นคนไทย" เป็นภาษาพม่าให้ได้ ตอนนี้เราจะคุยกันเรื่องวิธีบอกให้ได้ว่า "ขออนุญาตเข้าห้องน้ำ"

...

ทบทวนศัพท์ตอนที่ 6 > [ Click ]

  • จะหน่อ = ผม
  • จะมะ = ดิฉัน
  • พยิ่ด = เป็น

...

  • ต๊ะปิดอ = ลูกศิษย์ โยม
  • พญา = ขอรับ

...

  • แด = ปัจจุบัน / ใช้กำกับเวลาประโยคบอกเล่า หรือปฏิเสธ
  • แหม่ = อนาคต (= จะ) / ใช้กำกับเวลาประโยคบอกเล่า หรือปฏิเสธ

...

ทบทวนสำนวนตอนที่ 6 > [ Click ]

สำนวนไทย สำนวนพม่า
ผมเป็นคนไทย จะหน่อ โยเดีย ลูเมียว พยิ่ด แด
ดิฉันเป็นคนไทย จะมะ โยเดีย ลูเมียว พยิ่ด แด
โยมเป็นคนไทย(พูดกับพระ) ต๊ะปิดอ โยเดีย ลูเมียว พยิ่ด แด พญา

...

พวกเราคงจะจำกันได้ว่า ภาษาพม่านั้น... ส่วนใหญ่จะใช้คำขยายไว้ด้านหน้าคล้ายๆ ภาษาอังกฤษ ตรงข้ามกับภาษาไทย ตัวอย่างเช่น คนไทยพูดว่า "ผมเป็นคนไทย" ภาษาพม่าจะเป็น "ผม + ไทย + พลเมือง(คน) + เป็น + ปัจจุบัน"

สำนวนไทย สำนวนพม่า
ผมเป็นคนไทย จะหน่อ โยเดีย ลูเมียว พยิ่ด แด
เรียงคำ ผม + ไทย + พลเมือง + เป็น + ปัจจุบัน

...

ตอนนี้ (ตอนที่ 8) เราจะมาคุยกันเรื่องขอเข้าห้องน้ำให้ได้โดยใช้สำนวนว่า "ขอ(อนุญาต)เข้าห้องน้ำ" โดยเริ่มจากศัพท์ที่จำเป็นก่อน

  • ห้องน้ำ = เองตา
  • ไป = ตัว
  • ขออนุญาต = เคว่นพิ่วบ่า

...

ต่อไปเป็นสำนวนที่ใช้บ่อย ผู้เขียนขอยกสำนวนที่ใช้เวลาพูดกับพระมาด้วย เนื่องจากสำนวนพม่าที่สุภาพจะแยกคำที่ใช้กับพระออกไปจากชาวบ้านทั่วไป

คนไทยพูดว่า "ขอเข้าห้องน้ำ" ภาษาพม่าจะเป็น "ห้องน้ำ + ไป + ขออนุญาต"

  • ภาษาพม่า > เองตา + ตัว + เคว่นพิ่วบ่า
  • ภาษาไทย > ห้องน้ำ + ไป + ขออนุญาต

...

คนไทยพูดกับพระว่า "ขออนุญาตเข้าห้องน้ำครับ(ค่ะ)" ภาษาพม่าจะเป็น "ห้องน้ำ + ไป + ขออนุญาต + ขอรับ"

  • ภาษาพม่า > เองตา + ตัว + เคว่นพิ่วบ่า + พญา
  • ภาษาไทย > ห้องน้ำ + ไป + ขออนุญาต + ขอรับ

...

สำนวนที่ควรจำได้แก่

สำนวนไทย สำนวนพม่า
 ขอเข้าห้องน้ำ เองตา ตัว เคว่นพิ่วบ่า 
 ขออนุญาตเข้าห้องน้ำ(พูดกับพระ) เองตา ตัว เคว่นพิ่วบ่า พญา

...

เคล็ดไม่ลับ         

  • ถ้าจำสำนวนขอเข้าห้องน้ำไม่ได้ ให้พูดคำว่า "เองตา เองตา" หลายๆ ครั้งก็เป็นที่เข้าใจกัน ภาษาพม่านิยมกล่าวคำเดิมซ้ำกัน 2 ครั้ง เพื่อให้คำนั้นฟังดูยาวขึ้น สุภาพขึ้น หรืออ่อนโยนลง 

...

ศัพท์ในตอนนี้                                           

  • ห้องน้ำ = เองตา
  • ไป = ตัว
  • ขออนุญาต = เคว่นพิ่วบ่า

...

สำนวนในตอนนี้                                        

สำนวนไทย สำนวนพม่า
 ขอเข้าห้องน้ำ เองตา ตัว เคว่นพิ่วบ่า 
 ขออนุญาตเข้าห้องน้ำ(พูดกับพระ) เองตา ตัว เคว่นพิ่วบ่า พญา

...

แบบฝึกหัด          

จงแปลภาษาไทยเป็นภาษาพม่า

  • ห้องน้ำ
  • ไป
  • ขออนุญาต
  • ขออนุญาตไปห้องน้ำ
  • ขอรับ (พูดกับพระ)
  • ขออนุญาตไปห้องน้ำขอรับ (พูดกับพระ)

...

เฉลย                 

  • ห้องน้ำ = เองตา
  • ไป = ตัว
  • ขออนุญาต = เคว่นพิ่วบ่า
  • ขออนุญาตไปห้องน้ำ = เองตา ตัว เคว่นพิ่วบ่า
  • ขอรับ (พูดกับพระ) = พญา
  • ขออนุญาตไปห้องน้ำขอรับ (พูดกับพระ) = เองตา ตัว เคว่นพิ่วบ่า พญา

...

เครื่องหมายกำกับเสียง

  • 'ญ' > ออกเสียงนาสิก หรือเสียงขึ้นจมูกแบบตัว "ญ" บาลี เสียง "ญ" ทางเหนือหรืออีสาน
  • '.' > จุดแสดงสระเสียงสั้นมากๆ ประมาณ 1 ใน 3 ของสระอะภาษาไทย

ขอแนะนำ                                               

  • ขอแนะนำให้อ่านตอนต่อไป (ตอนที่ 9)
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำเว็บไซต์ "ศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร"
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำเว็บไซต์ "มอญศึกษา"
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำหนังสือ "เรียนรู้ภาษาพม่าด้วยตนเอง" พิมพ์ครั้งที่ 11. ราคา 55 บาท เขียนโดยท่านอาจารย์วินมิตร โยสาละวิน โทรศัพท์ 055-545.257 ตู้ ปณ.62 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110.

...

  • ขอแนะนำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อการสื่อสารและธุรกิจ(ภาษาพม่า) ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง ค่าเรียน 70 บาท โปรดติดต่อท่านอาจารย์สมเกีรยติ เอาจี่มิค โทรศัพท์ 077-823.326 หรือ 086-686.9766 อีเมล์ [email protected]

...

  • ขอแนะนำให้อ่านตั้งแต่ตอนที่ 1
  • [ Click ]

...

ที่มา                                                                 

  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (สมณศักดิ์พม่า) และท่านพระอาจารย์ชนกะ วัดท่ามะโอ ลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ นักเรียนภาษาพม่า > 29 พฤศจิกายน 2551.

...

  • สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และ "บ้านสาระ"
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

...

คำสำคัญ (Tags): #burmese#myanmar#ภาษาพม่า
หมายเลขบันทึก: 226192เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2008 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กราบอาจารย์ค่ะ

อาจารย์คะ คำว่า บ่าเล่าช่อ แปลว่าอะไรคะ

แล้วถ้าเราจะบอกเขาว่า แพงเกินไป จะพูดว่าอย่างไรคะ

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณมะนาวหวาน

  • ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ
  • เคยอ่านมาแล้ว... ลืมไปแล้ว

เพิ่งเรียนภาษาพม่า เรียนบ้างหยุดบ้าง จำก็ไม่ค่อยได้ เลยขออนุญาตพระอาจารย์นำมาทำเป็นบทเรียน แล้วพิมพ์ไปให้พระอาจารย์ตรวจ เป็นการเพิ่มชั่วโมงบิน

  • ขอให้ทนอ่านตอนต่อไปก่อน...

สวัสดีค่ะคุณหมอ

แวะมาเที่ยวพม่าด้วยนะคะ

เมื่อวาน..หลงเข้าไปเดินตลาดนัดที่ศูนย์อพยพพม่าบ้านแม่หละอ.ท่าสองยางจ.ตาก

พบเห็นอะไรแปลกเยอะมากๆ

นึกกลัวย้อนหลังด้วยนะคะ..หลงเข้าไปได้..เออ..

ขอขอบคุณอาจารย์ add มากๆ สำหรับประสบการณ์ตรง ซึ่งจริงๆ แล้ว คนพม่ากับคนไทยใกล้กัีนนิดเดียว...

เจ๋งไปเลยค่ะ จริงๆแล้วอ้อเอกภาษาฝรั่งเศส แต่รู้ไว้ก็เท่ดีค่ะ

ประดับความรู้มากๆเลย เผื่อมีโอกาสไปพม่า จะได้พอมีติดๆไว้บ้าง :)

ฺBonsoir คุณครูอ้อ...

  • ผมนี่ก็เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสมา 2 เืทอม จำได้ว่า สอบได้ที่โหล่ของห้องด้วย
อาจารย์เรียนด้านภาษามา การฝึกภาษาที่ 3 น่าจะง่ายกว่าภาษาที่ 2 มากๆ ครับ

อยากทราบคำว่า "ยินดีต้อนรับ" ภาษาพม่า เขียนยังไง และอ่านว่าอย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ะ

น้องมะนาวหวาน

อันแรกน่าจะ ลดได้เท่าไหร่

เซ จี้ ป้อ แพงเกินไป

ครับผม

อยากทราบภาษาเขียนคำว่า( ยินดีต้อนรับ ) ภาษาพม่าจะเอาไปทำป้ายติดที่ร้านค้า เพราะแถวบ้านชาวพม่าเยอะมาก

ผมอยากได้เด็กพม่าคนนึงเป็นลูก ผมต้องพูดกับเค้ายังไงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท