แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

กายวิภาค ของ หฐโยคะ ; บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว (1/7)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


กายวิภาค ของ หฐโยคะ

 

แปลจาก Anatomy of Hatha yoga
แปลโดย ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี และ ศันสนีย์ นิรามิษ

 

บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว

หลักการแรกที่เป็นพื้นฐานการเคลื่อนไหวและท่าทางต่างๆของมนุษย์นั้นอยู่ ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ลองจินตนาการถึงนักบินอวกาศที่อยู่ภายในยานอวกาศขณะที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง พวกเขาจะอยู่ได้โดยมีสายรัดยึดไว้ขณะที่อยู่ภายในยาน และมีสายลากจูงเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเมื่อ อยู่นอกยาน เพื่อไม่ให้ล่องลอยออกไป พวกเขาต้องออกกำลังกายซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ ป้องกันไม่ให้สูญเสียแคลเซียมของกระดูกขณะที่เดินทางเป็นเวลานาน ด้วยการเคลื่อนไหวตัวแต่มีสายรัดยึดไว้กับพื้น มี 3 สิ่งที่นักบินอวกาศทำไม่ได้คือ การวิ่ง, การเดิน และการยกตัว ถ้าพวกเขาออกกำลังกายเป็นคู่ สิ่งที่ทำได้คือการผลักคู่เล่นอีกคนกลับไปกลับมา และถึงแม้ท่าของหฐโยคะจะไม่มีประโยชน์ในสถานการณ์นั้น แต่ก็ควรจะตระหนักถึงเพื่อการผ่อนคลาย

กลับมาสู่พื้นโลก เราควรตระหนักถึงว่าแรงโน้มถ่วงของโลกมีอำนาจต่อการฝึกโยคะอย่างไร บางครั้งพวกเรามองข้ามไป โดยลืมไปว่าแรงโน้มถ่วงช่วยให้เราอยู่บนพื้นดินได้ เมื่อเรายกตัวขึ้นในท่างู, ท่าดอกบัว หรือท่าธนู เราได้ยกบางส่วนของร่างกายให้สูงขึ้นเหนือจากพื้นซึ่งเป็นการต้านแรงโน้ม ถ่วง ในท่ายืนด้วยไหล่ แรงโน้มถ่วงจะช่วยให้หัวไหล่ต้านอยู่กับพื้น ในท่ายืน เราอาจจะล้มได้ถ้ากล้ามเนื้อเราไม่ทำการต้านแรงโน้มถ่วงหรือล็อคข้อต่อเพื่อ ให้ยืนขึ้น หรือแม้แต่ในท่านอนที่ถึงแม้ไม่ต้อการจุดสมดุลหรือกล้ามเนื้อเพื่อต้านแรง โน้มถ่วง เราก็ยังใช้แรงโน้มถ่วงในทางอื่น เช่น ขณะจับหัวเข่าดึงเข้าประชิดอก กลิ้งตัวไปมาเพื่อให้น้ำหนักของเรานวดหลังกับพื้น

เมื่อเราตระหนักถึงว่าแรงโน้มถ่วงของโลกมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว ทุกอย่าง บทนี้จะมุ่งความสนใจไปที่แรงโน้มถ่วงต่อกลไกต่างๆที่ทำให้สามารถเคลื่อนไหว และอยู่ในท่าทางต่างๆได้ เริ่มจากดูว่าโครงสร้างของกล้ามเนื้อทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างไร จากนั้นจะชี้ให้เห็นถึงระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของโครงสร้างกล้ามเนื้อ และสุดท้ายจะศึกษาถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆที่กำหนดการเคลื่อนไหวของเรา ถ้าเราเข้าใจว่าถึงการทำงานร่วมกันของทั้งสามส่วนนี้ภายใต้แรงโน้มถ่วง เราจะเริ่มเข้าใจพื้นฐานบางอย่างของหฐโยคะ สุดท้ายบทความจะอธิบายการทำงานร่วมกันจากท่าอาสนะ 3 ท่า

 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 368105เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท