แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

กายวิภาค ของ หฐโยคะ ; บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว (7/7)


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ
 


กายวิภาค ของ หฐโยคะ

แปลจาก Anatomy of Hatha yoga
แปลโดย ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี และ ศันสนีย์ นิรามิษ

 บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว .

@ กล้ามเนื้อโครงกระดูก_

@ จุดเกาะต้น (Origins) และจุดเกาะปลาย (Insertions)_

@ กล้ามเนื้อทำการ (Agonist) และกล้ามเนื้อต้าน (Antagonist)_

@ กล้ามเนื้อหดสั้น (Concentric Shortening) และกล้ามเนื้อเหยียดยืด (Eccentric Lengthening) _

 

@ กิจกรรมแบบ Isotonic และ Isometric

ผู้อ่านส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคำว่า Isotonic และ Isometric แล้ว ให้กล่าวอย่างชัดเจนคือคำว่า Isotonic หมายถึงการหดสั้นของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียวภายใต้การกระทำคงที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วจะไม่เคยเกิดขึ้นยกเว้นว่ามีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคำว่า Isotonic จึงถูกนำมาใช้กับการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวทั่วไป โดยปกติแล้วจะอยู่ภายใต้การต้านแรงโน้มถ่วงเล็กน้อยถึงปานกลาง ในขณะเดียวกันการออกกำลังกายแบบ Isometric หมายถึงการทำบางอย่างที่แน่นอนกว่า อยู่นิ่งกว่า ภายใต้ความแข็งแรงหรือแรงต้านทานมากที่สุด การยกหนังสือขึ้นลงซ้ำไปซ้ำมาเป็นการออกกำลังแบบ Isotonic ที่กล้ามเนื้อ Biceps Brachii และกล้ามเนื้อที่ส่งเสริม แต่ถ้าถือหนังสือนิ่งๆไว้ไม่ให้มันตกลงหรือว่ายกขึ้นไปอีกจะเป็นการออกกำลังแบบ Isometric ให้กับกล้ามเนื้อส่วนเดียวกัน นักกีฬาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการออกกำลังแบบ Isotonic เพราะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว นักกีฬาซูโม่ญี่ปุ่นเป็นข้อยกเว้นกรณีพิเศษเพราะมีการจับคู่ที่เท่ากัน, จับกันอย่างแน่น, และไม่เคลื่อนไหวคู่แข่งขันชั่วขณะหนึ่ง และการออกกำลังแบบ Isometric จะเป็นตัวอย่างให้เห็นจากการฝึกในท่าโยคะ ซึ่งคุณจะอยู่นิ่งคงที่ด้วยแรงน้อยและสบาย

@ การผ่อนคลาย, การเหยียดยืด และการเคลื่อนไหว

ถ้าเส้นประสาทกระตุ้นน้อยหรือไม่กระตุ้นมาที่เส้นใยกล้ามเนื้อเลย กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายดังเช่นคุณฝึกในท่าศพ แต่ถ้ากล้ามเนื้อผ่อนคลายถูกเหยียดยืด เหตุการณ์จะซับซ้อนขึ้น การฝึกคู่กันจะอธิบายได้ชัดขึ้น ถ้าคุณนอนลงและเหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ และให้เพื่อนช่วยดึงข้อมือคุณเหยียดขึ้นเบาๆ คุณจะสังเกตเห็นว่าคุณเหยียดตัวออกไปได้ง่ายขึ้นด้วยการยืดหยุ่นที่ดี แต่ถ้าเพื่อนดึงมือทันทีหรือทำให้รู้สึกเจ็บมาก ระบบประสาทจะต่อต้านการผ่อนคลายและทำให้กล้ามเนื้อตึง หรืออย่างน้อยคุณจะรู้สึกต่อต้านการเหยียดยืดนั้น ในที่สุด ถ้าคุณปล่อยตัวคุณให้อยู่นิ่งเฉยๆด้วยการเหยียดยืดอย่างสบายซักครู่ คุณจะรู้สึกถึงกล้ามเนื้อผ่อนคลายอีกครั้งและยอมให้เพื่อนคุณดึงออกไปได้มากขึ้น

จะมีปฏิกิริยาเช่นเดียวกันนี้ตอบสนองให้เห็นถ้าคุณเหยียดยืดภายใต้เงื่อนไขเดียวกันด้วยตนเอง อย่างเช่นเมื่อคุณยกมือขึ้นเหนือศีรษะพิงกำแพงและเหยียดตามแขน อย่างไรก็ตามนี่จะเป็นการฝึกด้วยความตั้งใจมากกว่าการผ่อนคลาย เพราะคุณจะสนใจในสิ่งที่ทำ 2 อย่างพร้อมกัน นั่นคือการสร้างการเหยียดยืดไปพร้อมกับการทำให้รู้สึกอยู่ในท่าด้วยความผ่อนคลาย แต่ถ้าคุณทำมากเกินไปด้วยความรวดเร็ว จะทำให้เกิดอาการเจ็บ ต่อต้านการผ่อนคลาย และทำให้เกิดการเสียหายได้

@ การกระทำของกล้ามเนื้อในท่าที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

เพื่อให้คุณค้นพบด้วยตัวเองว่าระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูกทำงานอย่างไรเมื่อฝึกโยคะ ให้คุณลองฝึกในท่านักรบ (Warrior I) ด้วยการแยกเท้าออกให้กว้าง เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ และประกบฝ่ามือเข้าด้วยกัน (ตามรูป) ให้คุณจับความรู้สึกขณะที่ยกแขนขึ้นไปด้านหลังช้าๆและทิ้งน้ำหนักตัวลงมาด้านล่าง เพื่อดึงแขนขึ้นไปด้านหลังกล้ามเนื้อทางด้านหลังต้องหดสั้นลง ในขณะที่กล้ามเนื้อต้านจะอยู่ด้านหน้าเพื่อต้านการเหยียดยืดและทำให้อยู่ในท่าสมบูรณ์ ขณะที่คุณทิ้งน้ำหนักตัวลงมา กล้ามเนื้อ Quadriceps femoris ที่อยู่ต้นขาด้านหน้าจะช่วยต้านแรงโน้มถ่วงและเหยียดยาวขึ้น ในที่สุดขณะที่คุณคงนิ่งอยู่ในท่า กล้ามเนื้อทุกส่วนจะเกร็งตัวแบบ Isometric

ทฤษฎีที่สำคัญหลายอย่างเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูกไม่สามารถอธิบายได้จนกว่าเราจะพิจารณาถึงระบบประสาทและรายละเอียดของเนื้อเยื่อต่างๆที่เชื่อมต่อ จากนี้ไปก็เพียงพอที่ทำให้เราตระหนักถึงการทำงานของกล้ามเนื้อว่ามีการหดตัวทีละส่วนหรือไม่, เป็นการออกกำลังแบบ Isotonic หรือ Isometric, กล้ามเนื้อทำการหรือกล้ามเนื้อต้าน, กล้ามเนื้อหดสั้นหรือกล้ามเนื้อยืดออก และเกิดขึ้นด้วยแรงกระตุ้นของเส้นประสาทอย่างไร

 


  

 
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 368186เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกดีดี มีความรู้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ Natcha Chalermklang

ขอบพระคุณมากนะคะที่แวะเข้ามาทักทาย

กำลังทะยอยนำงานจากจดหมายโยคะสารัตถะมาลงให้อ่านกันนะคะ

(@^______________________^@)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท