แข่งขันสะพานเหล็กอุดมศึกษา ๒๕๕๐ - วิศวกรรมโยธา มจพ. ชนะเลิศ


วันนี้ดิฉันเข้าที่ทำงานไป พบเด็กปี ๔ ก็ได้รับข่าวดีว่า เมื่อวานน้องๆ ปี ๓ กับดร.พิสณฑ์เอาเจ้าโครงถักตัวที่วางอยู่หน้าป้ายคณะฯ ไปแข่งขันสะพานเหล็กอุดมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๑ ที่ม.ศรีปทุม แล้วได้รับรางวัลชนะเลิศ

เมื่อเย็นวันที่ ๒๒ มกราคมที่ผ่านมา ดิฉันเดินลงมาจากภาควิชาฯ กำลังจะกลับบ้าน ก็สะดุดตาเห็นเจ้าโครงถักตัวนี้วางอยู่หน้าตึก ก็เลยถ่ายรูปมาเป็นที่ระลึก

http://gotoknow.org/file/drkamie/trusses.jpg 

ส่วนเจ้ารูปโครงถัก ๓ รูปข้างบนนี้ สองภาพแรกเป็นภาพโครงถักหลังคาของสุวรรณภูิมิค่ะ ส่วนอีกรูปทางขวาเป็นโครงหลังคาสถานีรถไฟฟ้า BTS  เอามาประกอบให้ดูหลายๆ แบบค่ะ

 

พอหันไปมองในห้องปฏิบัติการ ก็เห็นนักศึกษาปี ๓ ปี ๔ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หลายๆ คน กำลังรุมกันจัดโครงถักอีกตัวหนึ่งให้เข้าที่ เพื่อกดทดสอบการรับน้ำหนัก

http://gotoknow.org/file/drkamie/steelbridge1.jpg

 

ก็เลยขอเด็กๆ ถ่ายภาพ เลยได้เห็น ดร.พิสณฑ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา กำลังก้มหน้าก้มตากันจัดโครงถักให้เข้าที่  แต่พอบอกว่าจะขอถ่ายภาพ ก็เลยได้ shot หันมายิ้มมองกล้อง เห็นหน้าเห็นตากันหน่อย ^ ^

 

วันนี้ (๒๖ มกราคม ๒๕๕๑) ดิฉันเข้าที่ทำงานไป พบเด็กปี ๔ ก็ได้รับข่าวดีว่า เมื่อวานน้องๆ ปี ๓ เอาเจ้าโครงถักตัวที่วางอยู่หน้าป้ายคณะฯ ไปแข่งขันสะพานเหล็กอุดมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๐ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ม.ศรีปทุม แล้วได้รับรางวัลชนะเลิศ 

 

ขอปรบมือดังๆ ให้กับทีมงานนักศึกษา และคณาจารย์ ของภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

วันที่ดิฉันถ่ายภาพ คิดอย่างเดียวว่า "เห็นเด็กๆ ได้ทำกิจกรรมก็ดีใจแล้ว"  เพราะเด็กๆ จะได้ประสบการณ์ ได้เรียนรู้การสร้าง การพัฒนาต่างๆ เตรียมตัวเป็นวิศวกร ...  แต่ถ้าได้รางวัลมานี้ถือเป็นกำไร เพราะนอกจากเด็กๆ จะได้ความรู้แล้ว ยังได้ความภาคภูมิใจ และ self esteem (คุณค่าของตน) ด้วยค่ะ

 

ท่านที่สนใจกฎกติกาการแข่งขัน สามารถดูได้ที่นี่ค่ะ (ที่มา ภาควิชาิวิศวกรรมโยธา คณะิวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม) 


<hr width="100%" size="2"><h4>ข้อมูลเพิ่มเิติม</h4>

เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับหัวหน้าภาควิชาฯ ดร.นิรันดร์ เลยได้รายละเอียดเบื้องหลังมาเสริมกันค่ะ ดร.นิรันดร์นอกจากเป็นหัวหน้าภาควิชาแล้ว เป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษาหลักๆ ให้กับนักศึกษาในการแข่งขันสะพานเหล็กในทุกๆ ปีด้วยค่ะ  แต่ไม่มีรูปเพราะอาจารย์เน้นเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ^ ^

อ.นิรันดร์เล่าว่า เิดิมมีนักศึกษามาขอทำโครงการนี้ ๔ กลุ่ม แต่ว่ากฎให้ส่งได้เพียง ๒ กลุ่ม ตามที่เห็นเป็นโครงถัก ๒ ตัว โดยกฎการแข่งขัน สรุปแบบง่ายๆ คือ

  • มีขนาดช่วงสะพาน หรือความสูงสะพานไม่เกินที่กำหนด

  • รับน้ำหนักได้อย่างต่ำ ๑ ตัน หรือ ๑๐๐๐ กิโลกรัม

  • น้ำ้หนักที่สะพานรับได้จะถูกนำไปเทียบกับน้ำหนักสะพาน

  • ถ้าสะพานตัวไหนได้ขนาด รับน้ำหนักได้อย่างต่ำ ๑ ตันและรับน้ำหนักได้มากที่สุดเทียบกับน้ำหนักตัวสะพานเองถือว่าชนะ

ตัวโครงถักที่วางอยู่หน้าป้ายคณะวิศวฯ (ตัวที่ชนะเลิศ) เรียกว่า K Truss (ตามลักษณะของการต่อโครงถักที่จะเห็นเป็นตัว K)  อ.นิรันดร์เล่าว่าโครงถัก K ตัวนี้โดยรวมมีน้ำหนักมากกว่าโครงถักที่กำลังถูกทดสอบอยู่ในรูปเท่าตัว  ดิฉันก็เลยถามว่าแล้วทำไมตัว K Truss ถึงชนะเลิศ ทั้งๆ ที่อีกตัวหนึ่งเบากว่าและรับน้ำหนักได้อย่างต่ำ ๑ ตันแล้ว ...

เห็นบอกว่ามีการเปลี่ยนกฎเกี่ยวกับขนาดความสูงของตัวสะพานเล็กน้อยตอนไปแข่ง ทำให้โครงถักตัวที่เบากว่าไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว  แต่อย่างไรก็ดีเจ้าโครงถัก K ก็ชนะเลิศมาอยู่ดี... ขอแสดงความชื่นชมทีมงานนักศึกษาและอาจารย์อีกครั้งหนึ่งค่ะ

หมายเลขบันทึก: 161561เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ครูแวะมาดูวิศวะครับ อาจารย์กมลวัลย์

ขอบคุณครับ ... :)

  • พี่ตุ๋ยจ๋า..
  • ยินดีกับเด็กๆด้วยจ้า
  • พรุ่งนี้จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
  • เด็กดี...มีความคิดสร้างสรรค์..มีทักษะ
  • อาจารย์ดี..ปลูกฝัง..ส่งเสริม...แนะนำ
  • สถาบันดี.....มีชื่อเสียง......เป็นแหล่งวิชาการ เป็นมันสมองของชาติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน

  • ขออภัยนะคะ  ที่ไม่ได้เข้าระบบ เนื่องจาก  วันนี้  G2K แปลกๆค่ะ
  • อาจารย์  ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ รุ่นใหม่  ต้องยอมรับนะคะ
  • ที่โรงเรียนประถมที่ครูอ้อยสอนก็เช่นกันค่ะ
  • มีอะไร ที่ซ่อนในตัวนักเรียน  ที่ครูอ้อย  อยากจะให้โชว์ออกมาน่ะค่ะ

อาจารย์ตุ๋ย  สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องรอง

  • ขอชื่นชมกับผู้บันทึกค่ะ  ที่มองเห็นส่วนลึกของกิจกรรมมากกว่าเป้าหมายเพียงเพื่อรางวัล 
  • น้องรองสบายดีมั้ยคะ  งานค้างเสร็จรึยัง....จวนได้เวลาไป ตปท.แล้วใช่ไหมคะ  ปาป๊ากับหม่าม้าท่านแข็งแรงดีนะคะ
  • คิดถึงน้องเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.Wasawat Deemarn

แวะมาเยี่ยมเยียนวิศวฯ   ^ ^ ขอบคุณนะคะ 

นานๆ ก็จะมีกิจกรรมแบบนี้ที่ภาควิชาเหมือนกันค่ะ ตัวเองไม่ได้เป็นคนดูแลตรงนี้ แต่ชอบที่เด็กๆ ทำกิจกรรมค่ะ เห็นปุ๊บก็เลยต้องถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกค่ะ 

สวัสดีค่ะจ้าน้องลูกหว้า

ตอนนี้คงมาถึงกรุงเทพแล้วมั้ง ทำงานหนักจังเลยนะคะ ยิ่งต้องเดินทางด้วยยิ่งหนักใหญ่ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ  

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมจ้า ^ ^ 

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมอาจารย์ค่ะ ยุ่งมากไหมคะเห็นหายๆไปค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับ กิจกรรมดีๆอย่างนี้ ด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

ช่วงนี้มีปรากฎการณ์แปลกๆ ใน G2K พอสมควร คงเป็นเพราะระบบยังไม่นิ่งเท่าใหร่ แต่ทางนี้ก็ยังใช้ได้ดีอยู่ค่ะ แต่เป็นไปได้ว่าเข้ามาใน G2K น้อยลงในช่วงนี้ แต่สบายดีค่ะ ^ ^

สำหรับเรื่องความสามารถของเด็กๆ นี้  เห็นด้วยกับครูอ้อยเลยค่ะว่า เด็กไทยของเราเก่งกันทุกคน เพียงแต่ซ่อนอยู่ข้างใน บางคนก็ไม่ค่อยพยายามนำออกมาแสดง หรือบางทีเราก็ไม่มีเวทีที่เหมาะสมให้เขาแสดงความสามารถ ก็เลยไม่มีโอกาส

เที่ยวนี้เป็นโอกาสดีค่ะ ที่เด็กๆ ได้ร่วมกันแสดงฝีมือ ได้คุยกับบางคน เขาสนุกและดีใจมากค่ะ ขนาดพี่ๆ ปี ๔ ที่ไม่ได้ไปในวันแข่ง แต่มีโอกาสได้ช่วยน้องๆ ทำโครงการนี้ก็ยังมีความสุขมากๆ ค่ะ 

ขอบคุณครูอ้อยที่แวะมาเยี่ยมนะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะ อ.พิสูจน์

ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้เด็กๆ และครูอาจารย์ที่สถาบันนะคะ

เวลาเห็นเด็กๆ ได้ออกความคิดเห็นดีๆ ทำกิจกรรมที่สร้างเสริมทักษะของเขา จะชื่นใจมากๆ ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาเยี่ยมนะคะ ^ ^ 

สวัสดีค่ะพี่ติ๋ว กฤษณา สำเร็จ

ขอบคุณสำหรับคำชมค่ะ ^ ^

งานค้างตอนนี้เหลือสอบนักศึกษาและตัดเกรดส่ง แล้วก็งานเขียน(รายงาน)อีก ๑ ชิ้น แล้วก็เตรียมตัวทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆ ค่ะ ยุ่งบ้าง แต่รู้สึกสบายๆ ค่ะ

ป๊ากับม๊า สบายดีค่ะ ขอบคุณที่ระลึกถึงนะคะ ^ ^  จะบอกพ่อกับแม่ให้ค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ เห็นพี่ติ๋วหายไปพักหนึ่งเหมือนกัน หายจนโดน tag คิด(ไม่)ถึงเลย ^ ^ 

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

ขอบคุณที่แวะมาแสดงความยินดีกับเด็กๆ นะคะ ^ ^

ตอนนี้อาจจะหายๆ ไปบ้างค่ะ มีเข้ามาอ่าน แต่มักจะไม่ได้มีเวลาให้ข้อคิดเห็นเป็นเรื่องเป็นราวค่ะ  กำลังเตรียมตัวทำโน่นทำนี่และเคลียร์งานไปเรื่อยๆค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนนะคะ ^ ^ 

สวัสดีครับ

โครงสร้างถ้าได้ลงมือทำแล้วทดสอบก็จะได้เห็นและประจักษ์กับตัวเองมากกว่าสูตรคำนวณนะครับ...

สมัยเรียน (นานมากแล้ว) ได้ดูการดึงเหล็กใน shop จนกระทั่งขาด รู้สึกได้ถึงแรง Tensile เลยครับ...

ยินดีกับนักศึกษาด้วยครับที่มีอาจารย์และกิจกรรมดีๆ...

โอชกร

สวัสดีค่ะ อ.โอชกร

อาจารย์หายไปนานเลยนะคะ สบายดีนะคะ ^ ^

เห็นด้วยนะคะว่าการได้ลงมือทำนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้จริงๆ  เพราะได้สัมผัส ได้เห็น ได้ยิน ได้คิดแก้ปัญหาจริงๆ แบบสร้างสรรค์ด้วยค่ะ

พออาจารย์พูดถึงการดึงเหล็ก ทำให้นึกถึงเสียงตอนเหล็กข้ออ้อย DB25 ขาดเลยค่ะ สะเทือนเลื่อนลั่นดีจริงๆ พลังงานถูกเปลี่ยนสภาพออกมาเป็นเสียงแบบฉับพลันจริงๆ ^ ^

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมา ลปรร และให้ข้อคิดดีๆ นะคะ ^ ^ 

สุดท้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีก็คว้าแชมป์ในปีนี้ไป นอกจากจะได้รางวัลที่หนึ่งแล้วยังทำลายสถิติอีกด้วย เก่งจิงเพื่อนผม

ยินดีด้วยนะคะคุณโยธา ราชมงคล

เมื่อเช้าเห็นเอามาออกรายการที่ ทีวีไทย อยู่ เก่งมากค่ะ เห็นบอกว่าเพิ่งเข้าแข่งเป็นปีแรกก็ชนะเลย

ตั้งใจทำงานกานเปงทีมดีเนอะ

^_^

............................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท