เด็กหัวใส...ฉลาดใช้ไอซีที ตอนที่ 2


เรื่องของการที่ต้องมีผลงานอันเป็นรูปธรรมเสียก่อน ผู้ใหญ่หรือโรงเรียนจึงค่อยให้การสนับสนุน โดยเฉพาะถ้าประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลต่างๆ ก็จะยิ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่เป็นอย่างดี พวกเขาไม่เข้าใจว่าทำไมต้องดูที่ผลลัพธ์เสมอไป เพียงแค่พวกเขาตั้งใจทำอะไรดีๆ ที่เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์นั้นไม่เพียงพอล่ะหรือ

บรรยากาศงานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ต่อ)

ห้องต่อมาของการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ห้องพื้นที่เข้าถึงสื่อไอซีทีเชิงสร้างสรรค์ ภายในห้องนี้ว่ากันด้วยเรื่องของพื้นที่จริง (Real Space) และพื้นที่เสมือน (Virtual Space) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมพูดคุยประมาณ 10 กลุ่ม โครงการที่ได้นำมาพูดคุยกันเช่น weareimpact.com / dekyim.org / sema.go.th: SMTV / onlinestation / Icafe / ระบบฐานข้อมูลผู้ให้บริการในร้านเกม (Ozone) ฯลฯ

โครงการระบบฐานข้อมูลผู้ให้บริการในร้านเกมโอโซน (Ozone) นั้นเป็นระบบฐานข้อมูลที่ทางเจ้าของร้านจากจังหวัดเชียงใหม่คือ คุณเทวัญและคุณฐิติสุข ได้ร่วมกันพัฒนาระบบขึ้นมาเพื่อใช้ภายในกิจการร้านเกมและอินเทอร์เน็ตของตน ซึ่งจัดเป็นระบบที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง (รายละเอียดของระบบฯนี้ ผู้เขียนจะเขียนเล่าให้ฟังอีกครั้ง)

พื้นที่ร้านเกมและอินเทอร์เน็ตนั้นจัดได้ว่าเป็นพื้นที่รูปธรรมแบบหนึ่ง เป็นพื้นที่จริงที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ พื้นที่จริงยังมีความหมายรวมไปถึงพื้นที่ในโรงเรียน บ้าน ฯลฯ ที่สามารถให้เด็กและเยาวชนเข้าใช้งานไอทีได้อีกด้วย ส่วนพื้นที่เสมือนนั้น เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย และเป็นพื้นที่ที่เด็กและเยาวชนสามารถนำผลงานมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนกันดูได้ (ไม่เว้นแม้แต่ผู้ใหญ่หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถใช้พื้นที่เหล่านี้ได้เช่นกัน) ตัวอย่างของพื้นที่เสมือนนี้ อาทิ sema.go.th / dekyim.org / fuse.in.th ฯลฯ หรือแม้กระทั่ง youtube เองก็ตาม

จะเห็นว่าหัวใจของการบริหารพื้นที่ทั้งสองลักษณะนี้อยู่ที่เรื่องของ "การเข้าถึง" และ "การใส่ข้อมูล" โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานประเภท "ความรู้ในการใช้" "อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้" และ "การประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก" เป็นตัวขับเคลื่อน

ส่วนในห้องย่อยถัดมาคือ ห้องเด็กหัวใส...ฉลาดใช้ไอซีที ห้องนี้จะว่าด้วยน้องๆ เยาวชนรุ่นใหม่ไฟแรงกันทั้งห้อง ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเยาวชนที่ผลิตภาพยนตร์สั้น โดยใช้สื่อไอซีทีเพื่อประชาสัมพันธ์งานของตน ตลอดจนใช้สื่อไอซีทีเพื่อการนัดพบปะสังสรรค์ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนของคนคอเดียวกันขนานแท้

เรื่องเล่าของเด็กหัวใสฯ ห้องนี้ มีเรื่องเล่ากันเยอะแยะ แต่มีเรื่องที่สามารถเล่าให้ฟังได้ทัน กับเวลาที่มีอยู่เพียง 11 เรื่อง แบ่งเป็นการใช้งานไอซีทีได้ 3 ลักษณะคือ ใช้สื่อไอซีทีเพื่อผลิตสื่ออื่นๆ เช่น ภาพยนตร์สั้น เว็บไซต์ เพลง ฯลฯ / การใช้สื่อไอซีทีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ เช่น การค้นหาวิธีการทำแอนิเมชั่น หรือการใช้งานโปรแกรมแต่งภาพอื่นๆ และ การใช้สื่อไอซีทีเพื่อ "สร้างตัวตน" ในสังคมออนไลน์ เช่น การเขียนบล็อก การบันทึกไดอารี่ออนไลน์ ฯลฯ

ปัจจัยความสำเร็จของห้องนี้นั้นส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า อยู่ที่ "ความตั้งใจในการทำงาน ความมุ่งมั่น และอดทน" โดยมีเรื่องของ "ความภาคภูมิใจ" มาเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยการสะสมความรู้ในด้านต่างๆ / การบริหารจัดการเวลา / การได้รับความสนับสนุนจากผู้ใหญ่ และการมีผลงานเป็นที่ประจักษ์จับต้องได้

ส่วนอุปสรรคในการใช้ไอซีทีเชิงสร้างสรรค์ที่น้องๆ เยาวชนเห็นว่าเป็นอุปสรรคในการทำงานมากๆ ก็คือ เรื่องของการที่ต้องมีผลงานอันเป็นรูปธรรมเสียก่อน ผู้ใหญ่หรือโรงเรียนจึงค่อยให้การสนับสนุน โดยเฉพาะถ้าประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลต่างๆ ก็จะยิ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่เป็นอย่างดี พวกเขาไม่เข้าใจว่าทำไมต้องดูที่ผลลัพธ์เสมอไป เพียงแค่พวกเขาตั้งใจทำอะไรดีๆ ที่เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์นั้นไม่เพียงพอล่ะหรือ

นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคหรือสิ่งบั่นทอนกำลังใจอื่นๆ อีก เช่น การถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ในลักษณะแอบอ้างเอาผลงานไปเป็นของตนเอง / การปิดกั้นข่าวสารหรือการปิดกั้นการใช้งานสื่อไอซีที ในลักษณะการเซ็นเซอร์หรือการปิดเว็บ บล็อกเว็บ (Block Web) / กรอบความคิดของคนรอบข้าง รวมไปถึงค่านิยมของคนในสังคมที่มีมุมมองด้านลบต่อเรื่องที่พวกเขากำลังตั้งใจทำ ฯลฯ เรื่องของความไม่พร้อมด้านอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อไอซีทีนั้น กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่พวกเขาคิดว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่เรื่องทัศนคติและมุมมองของคนในสังคมต่างหากที่เขามองว่า สิ่งนี้จำเป็นต่อการทำงานของพวกเขา

ตัดกลับมาที่ฟากฝั่งของผู้ใหญ่กันบ้าง ในห้องเครือข่ายผู้ใหญ่...ใส่ใจไอซีทีนั้น ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายและออกรส โครงการที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยกันในครั้งนี้มีประมาณ 7 โครงการ เช่น โครงการค่าย Keen Camp เป็นโครงการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและสัมผัสธรรมชาติจากมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ / โครงการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย / โรงเรียนทางเลือกหรือมหาวิทยาลัยทางเลือก / โครงการเฝ้าระวังภัยทางเทคโนโลยี ของมูลนิธิกระจกเงา และอีกหลากหลายโครงการ 

ปัจจัยความสำเร็จของการทำโครงการเหล่านั้น กลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองให้ความเห็นว่า มักเกิดจาก "ความนึกสนุก" ในการลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเป็นมิตร การร่วมมือร่วมใจกันทำงาน และความรู้สึกสบายใจในการพูดคุยกันผ่านบล็อกหรือเว็บ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจในการติดต่องานกันมากกว่า ที่สำคัญสะดวกสุดๆ

ส่วนอุปสรรคในการทำงานของผู้ใหญ่นั้นเห็นว่า ครอบครัวที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกนั้นยังไม่มีความหลากหลายและฐานสมาชิกยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ สมาชิกส่วนใหญ่ต้องอาศัย "การมีใจที่จะทำ" เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องมุ่งทำมาหาเลี้ยงชีพ ทำให้ไม่มีเวลามาร่วมกิจกรรมของสมาคมได้บ่อยๆ นอกจากนี้ยังติดขัดในเรื่องสถานที่ในการประชุม สถานที่ในการทำงานรวมถึงขาดเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์อื่นๆ ตามการใช้งานไอซีทีที่จำเป็น ที่สำคัญในบางครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถใช้งานไอทีได้อย่างถนัด

จากการได้พูดคุยกับเครือข่ายทั้งเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ (โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง) ในเรื่องการใช้ไอซีทีเชิงสร้างสรรค์นี้จะพบว่ามีสิ่งที่ทับซ้อนกัน 3-4 ประเด็น เช่น เรื่องของความตั้งใจที่ต้องมีในการทำงานเหมือนๆ กัน / เรื่องของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยไม่รีรอการสนับสนุนที่ต้องฝากความหวังไว้กับผู้อื่น / การสร้างจิตสำนึกในเรื่องจรรยาบรรณและการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์งานผู้อื่น และทัศนคติของคนรอบข้างที่มีต่อการใช้ไอซีที โดยเฉพาะสังคมของเด็กที่โรงเรียน หรือที่บ้าน

ประเด็นเหล่านี้ล้วนถูกกล่าวถึงในทุกห้องย่อย ถ้ามองในภาพรวมก็สามารถพูดได้ว่า สิ่งที่ทับซ้อนกันใน 3-4 ข้อดังกล่าว คนทำงานทุกกลุ่มต่างพบเจอกันเป็นเบื้องแรกทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าเรามองว่านี่คือก้าวที่หนึ่งของการทำงาน KM ก้าวต่อไปของการทำงาน ก็คือ การเลือกทิศทางว่าเราจะเดินไปทางไหน เพื่อถอดองค์ความรู้และเรื่องเล่าของการทำงานไอซีทีเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ และนำออกมาใช้ประโยชน์เพื่อก้าวข้ามไปสู่บันไดความรู้ขั้นต่อไป

มาเพิ่มเติมรูปให้ดูกันค่ะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 217232เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ตามมาดูเรื่องดีๆ ค่ะ โลกของkrutoi กว้างขึ้น ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ Krutoi ไว้ในรายละเอียดของแต่ละห้อง แนทจะพยายามรวบรวมมาเผยแพร่ให้ได้อ่านกันให้มากที่สุดค่ะ แต่ละคนเส้นทางเดินน่าสนใจทั้งนั้น ทั้งมันส์ ฮา และทุกข์โศก ^_^

มาเป็นแฟนคลับของแนทอีกคน

เสียดายไม่มีโอกาสไปทุกห้อง ติดอยู่ในห้องที่สอง ไปไหนไม่ได้ อย่างน่าเสียดายครับ ขอบคุณครับที่เล่าห้องอื่นให้อ่าน

สวัสดีค่ะอ.แหวว และอ.ขจิต

ฉบับหน้าแนทจะลงภาพเต็มๆ ดูบรรยากาศกันให้เต็มอิ่มกันไปเลยนะคะ

น้องฮงจะได้มาสำรวจเรตติ้งด้วย 555

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ ^^

ข้อมูลที่ได้ พอตะเป็นวิจัยขนาดย่อมได้เลยนะคะ

มีหลายมุมมอง ของคนที่ทำงานแต่ละส่วน

ดีมากเลยค่ะ ^^

ขอบคุณค่ะคุณจ๋า

และหากท่านใดอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรืออยากอ่านรายละเอียดในแต่ละประเด็นสามารถติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ

http://gotoknow.org/blog/ict4me/222238

http://gotoknow.org/blog/ict4me/222234

http://gotoknow.org/blog/ictyouthconnect/222199

http://gotoknow.org/blog/ictyouthconnect/222111

ขอบคุณค่ะอ.ขจิต

แนทก็กะลังสงกะสัยว่า ทำไมมันไม่ขึ้นคลิ๊ก Link ให้

กดผิดนี่เอง ขอบคุณอีกครั้งค่ะอาจารย์ ^_^

มาแระคับอ.แนท

มาสำรวจเรทติ้งแล้วคับ 555+

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท