จิตเดิมแท้ จิต "ดีงาม..."


ปุจฉา...?

อ่านแล้วอยากทำแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ลุ่มหลงกับสิ่งที่พาให้หัวใจหม่นหมอง

แล้วทุกสิ่งที่งดงามจะกลับมาสู่ "กายและใจ" ของเราเอง ใช่หรือเปล่าคะ

ที่มาจากบันทึก บ้านที่แท้แห่ง "ดวงจิต..."


 

วิสัชนา...

จิตเดิมแท้ของเรานั้น "บริสุทธิ" จิตเดิมแท้ของเรานั้น "ดีงาม"
เมื่อกายและใจของเรากระทำอยู่ ตั้งอยู่ด้วยความดีงาม นั่นเป็นสะพานทอดใจเข้าสู่ "จิตเดิมแท้"

จิตเดิมแท้ที่ประภัสสรนั้นเฝ้ามองการกระทำของเราอยู่เสมอ

เมื่อไหร่หนออัตภาพอันประเสริฐที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้จักทำความดี เพื่อขจัด ปัดเป่า เมฆหมอกอันคลุมดวงจิตเดิมออกไปเสียทีหนอ

ครั้นเราได้กระทำความดี ก็เปรียบได้ดั่งมีไม้กวาดมากวาดคราบที่แปะเปื้อน ปกคลุม และกุมดวงจิตของเราอยู่

กวาดหนึ่ง พึ่งมีสองให้บรรจบ
กวาดให้ครบ คือ ทำดี ละกรรมชั่ว
กวาดให้ใส กวาดใจทั่ว พ้นเมามัว
ไม่ต้องกลัว เจอสุขแท้ แน่นอนเอย...

หมายเลขบันทึก: 268827เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มีคำถาม?

รบกวนเรียนถาม

ว่า

หากในประจำวัน เราเห็น ว่าใจเรากำลังเข้าไปแตะความอยากปั๋บ นี่มัน ทุรนทุราย

ไม่ว่าเรื่องอะไร เล็กน้อย

เห็นบ่อยมาก

แต่ก็มีสู้กันนิดๆ ระหว่าง

1. ดุอยู่เฉยๆ อันนี้ยาก แต่ก็เริ่ม เห็นทาง มีบ้างที่สามารถนิ่งๆดูความอยากไป อันนี้รู้สึกเบากว่า มันแบบว่า อยู่วงนอกดี

2. กับ ความพยายามที่จะเข้าไปคลุกเคล้าเป็นอันเดียวกะไอ้ความอยากนั้นจนกลายเป็นฉันอยาก อันนี้ทรมานมาก

แล้วไงอีก

ไอ้ความอยากนี่เอง ตัวปัญหา เจ้าแห่งประเด็น

ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก – Tanha :craving)

1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือ สิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า – Kama-tanha : craving for sensual pleasures ; sensual craving)

2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้ จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใครอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสตทิฏฐิ – Bhava-tanha : craving for existence)

3. วิภาวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากให้ดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ – Vibhava-tanha : craving for non-existence ; craving for self-annihilation)

หากในประจำวัน เราเห็น ว่าใจเรากำลังเข้าไปแตะความอยากปั๋บ นี่มัน ทุรนทุราย


ถูกต้อง ๆ
ความอยากได้ อยากมีนั้นเป็นทุกข์
ความไม่อยากได้ ไม่อยากมีนั้นก็เป็นทุกข์
เมื่อได้แล้ว อยากผลักสิ่งนั้นออกไปก็ยิ่งเป็นทุกข์
เมื่อใดที่เกิดความอยาก เมื่อนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

ความอยากนั้นเป็น “อารมณ์” เป็น “อารมณ์ที่อยาก”
ถ้าหากเรายังใช้อารมณ์เป็นจิต ใช้จิตเป็นอารมณ์อยู่
เมื่อเกิดอารมณ์อยาก จิตก็จะทุกข์...

เมื่ออยากแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง หรือตอบสนองช้าไปเมื่อเพียงเศษเสี้ยววินาที ชีวิตนี้ย่อม “ทุรน ทุราย”
ความทุกข์นี้เป็นของธรรมดา ความอยากนั้นก็ย่อมเป็นของ “ธรรมดา” เช่นเดียวกัน

แต่มีสิ่งพิเศษสิ่งหนึ่ง ที่ท่านมี ท่านเป็น คือ ท่าน “เห็น” ความอยาก เห็นความทุกข์ เห็นความทุรน ทุราย
เฝ้าดูอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น เฝ้าดูบ่อย ๆ เฝ้าดูมาก ๆ
เมื่อทุกข์ก็นั่งดูซิว่ามันจะทุกข์ขนาดไหน
เมื่ออยาก เมื่อดิ้น ก็ดูซิว่ามันจะดิ้นทุรน ทุรายขนาดไหน
ธรรมชาติของจิตเดิมแท้นั้น ย่อมปลดเปลื้องความอยากได้เมื่อเรา “เห็น” ความอยากนั้น
เห็นบ่อย ๆ เห็นจนชิน เห็นจน “เซ็ง”
เซ็งแล้ว เดี๋ยวก็เบื่อไปเอง

สู้มัน อย่าหนีมัน
มันอยาก มันทุกข์ ก็สู้มันไปอย่างนี้แหละ
ถ้ากรรมมันเคยตายเพราะ “ความอยาก” ก็ให้มันตายไป...

1. ดุอยู่เฉยๆ อันนี้ยาก แต่ก็เริ่ม เห็นทาง มีบ้างที่สามารถนิ่งๆดูความอยากไป อันนี้รู้สึกเบากว่า มันแบบว่า อยู่วงนอกดี


ถูกต้อง ถูกต้อง ดูอยู่เฉย ๆ อันนี้ยากแน่ เพราะการดูอยู่เฉย ๆ นี้แน่แท้เป็นอุปนิสัยแห่ง “พระอรหันต์”

 

พระอรหันต์ คือ ผู้มีมีจิตอยู่เหนือความสุขและความทุกข์
พระอรหันต์ เป็นผู้ที่มีจิตอยู่เหนือความอยากและความไม่อยาก
เรา “ปุถุชน” ทั้งหลาย ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่คลุกอยู่ รวมกันอยู่
แต่ “พระอรหันต์” นั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่หลุดออกจากสังเวียนหรือ “วัฏฏะ” แห่งความทุกข์ได้แล้ว


เราทั้งหลาย พึงสู้ พึงปฏิบัติ พึง “ภาวนา” พัฒนาจิตของตนเองให้ก้าวหน้าอย่างน้อยในชาตินี้ให้ได้เป็นพระอริยเจ้าในชั้นต้น (พระโสดาบัน) เถิด
เพราะอย่างน้อย การเดินทางในวัฏฏะสงสารนี้นับได้ไม่เกิน ๗ ชาติ เราย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่อยู่ “วงนอก” คือ สามารถเดินพ้นเสียจาก “วัฏฏะ” ที่น่าสงสารนี้ได้อย่างแท้จริง...

2. กับ ความพยายามที่จะเข้าไปคลุกเคล้าเป็นอันเดียวกะไอ้ความอยากนั้นจนกลายเป็นฉันอยาก อันนี้ทรมานมาก


แน่นอน แน่นอน
นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิคนั้น กว่าจะถึงวันนี้ได้ย่อมต้องออกแรง ฝึกซ้อม ฝึกฝน ต้องอด ต้องทน บากบั่น พากเพียร พยายาม และความพากเพียรนั้นก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เหรียญทองมาคล้องคอ...!
บางคนก็ได้เหรียญเงินบ้าง เหรียญทองแดงบ้าง...


แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อย ถึงน้อยมากที่ได้ “เหรียญรางวัล”
คนส่วนใหญ่ไม่ได้เหรียญรางวัลกลับบ้าน แต่ไม่ได้หมายความว่า “เขาไม่ได้อะไรเลย...!”


ร่างกายที่แข็งแรง แข็งแกร่ง ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อนสนิท มิตรสหาย มีอะไรอีกมากต่อมากที่เขาได้จากการฝึกฝนและความพยายามนั้น


ขอจงนำ “ความอยาก” นั้นเป็นฐาน เป็นพื้น
ขอจงนำ “ความอยาก” นั้นเป็นขั้น เป็นบันได เพื่อความก้าวสู่ “ความไม่อยาก…”

ทรมานเสียจนไม่ทรมาน
ทุกข์เสียจนไม่ทุกข์
ความทุกข์ ความทรมาน ย่อมผันผ่านเป็นความสุขแท้ สงบพลัน...

กราบขอบพระคุณ อ่านแล้วดีจริงๆ ซึ้งใจ

เหมือนมีเพื่อน

ขอบพระคุณ อย่างสูง

-------------------------

จริง ปัญหาคือเมื่อก่อน เราไม่รู้จักสมัครลงสนามนี้ด้วยซ้ำ

ตอนนี้รุ้ด้วยตัวเองว่า ลงสนามมาแล้ว จะได้เหรียญอะไรหรือไม่ไม่สำคัญ

-------------------------

อ่านแล้วน้ำตาจะร่วง

บางทีมันอยากจะร้องไห้ บางทีเพราะทรมาน

บางทีมันก็อยากจะร้องไห้ บางทีเพราะตื้นตันใจ ความทรมานมาให้เรียนรู้อีกแระ

บางทีมันรู้สึกขอบคุณ

บางทีมันวิงวอน ช่วยมาอย่าบ่อยได้มะ ฉันเห็นแล้วฉันทรมาน

----------------------------------

-.เห็นว่า โอ้my god ความอยากแทรกทุกอนูแห่งความคิดการกระทำ การเคลื่อนไหวเลย (อย่าถามเรื่อง) เพราะหากดูดีดี มันแทรกซึม ในชีวิตประจำวัน ทั้งเจอสุขและทุกข์

-.เห็นว่า บางเรื่องที่มันชัด มันรุ้สึก ทรมาน เหมือนความอยากเป็นตัวอะไรสักตัวก่อตัวเป็นก้อนจากเล็กๆก็ค่อยๆใหญ่ขึ้น วิ่งทั่วตัว กล้ามเนื้อปวดเกร็ง ร้าว ทรมาน พอมากๆก็วิ่งขึ้นหัว ปรุงแต่งโน่นนี่เยอะไปหมด ทรมานตัวเองมาก

.- แต่พอทรมานมากๆ พอเห็นๆๆๆ พอมันสงบ มันเห้นความต่างราว เดินกลางแดด แล้วมาเข้าใต้ร่มเงาใต้ต้นไม้เย็นๆ หรือห้องแอร์ สบาย จนเปรียบเทียบได้

-----------------------------------

"ใช่อย่างท่านว่า ถ้าหากเรายังใช้อารมณ์เป็นจิต ใช้จิตเป็นอารมณ์อยู่ "

“ทุรน ทุราย” ทุรน ทุราย จริงๆ ลองยืนนิ่งๆดูเห็นเลย

มันมาเหมือนพายุก่อตัว แล้วค่อยๆ มาพัดมาโอบตัวเราไป

เดี๊ยวนี้มีบ้างทียืนดุเฉยๆ พายุพัดมาโอบรอบตัววิ่งอยู่งั้น เจ็บทรมาน (ร่างกาย จิตใจ)อยู่แต่มันไม่พัดเข้าไปรวมเป็นเนื้อเดียวกับพายุความคิด อารมณ์นั้นมากๆเหมือนก่อน

--------------------------

พยายามทำอยู่ จิรงอย่างท่านว่า แต่ยาก ทรมานเหลือเกิน

"เมื่อทุกข์ก็นั่งดูซิว่ามันจะทุกข์ขนาดไหน"

"เมื่ออยาก เมื่อดิ้น ก็ดูซิว่ามันจะดิ้นทุรน ทุรายขนาดไหน"

ธรรมชาติของจิตเดิมแท้นั้น ย่อมปลดเปลื้องความอยากได้เมื่อเรา “เห็น” ความอยากนั้น

เห็นบ่อย ๆ เห็นจนชิน เห็นจน “เซ็ง”

"เซ็งแล้ว เดี๋ยวก็เบื่อไปเอง

ขอจงนำ “ความอยาก” นั้นเป็นฐาน เป็นพื้น

ขอจงนำ “ความอยาก” นั้นเป็นขั้น เป็นบันได เพื่อความก้าวสู่ “ความไม่อยาก…”

ทรมานเสียจนไม่ทรมาน

ทุกข์เสียจนไม่ทุกข์

ความทุกข์ ความทรมาน ย่อมผันผ่านเป็นความสุขแท้ สงบพลัน..."

คำแนะนำท่าน ชัดเจนเป้นรูปธรรมแห่งใจจริงๆ

จะดำเนินตามนี้ต่อไป

บางทีคงต้องเอ็นดุความอยาก ให้มากขึ้น ไม่ยินร้าย ยินดีที่ได้เห็น

โถมาอีกแระ ขอบใจนะ รีบมารีบไปนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท