คลื่นทะเลเมฆ


เราเคยเห็นแต่ ทะเลหมอก เมื่อเราขึ้นไปอยู่บนเขาที่สูงกว่าเมฆหมอก ... แต่คราวนี้เราก็อยู่บนเขา แต่เมื่อมองขึ้นไปบนฟ้า เรากลับรู้สึกเหมือนอยู่ใต้ทะเล เมื่อ เมฆ กลายเป็นคลื่นยักษ์ ... ต่อสู้กับมังกร

คลื่นทะเลเมฆ vs มังกร

คลื่นเมฆยักษ์ซัดชายฝั่ง

คลื่นเมฆสงบ

ฟ้าใส เมฆสวย (อีกครั้ง)

 

หมายเลขบันทึก: 293419เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวยมากมาก ครับ ท่าน

สวัสดีค่ะอาจารย์

     มาชมเมฆด้วยคนค่ะ

     สวยมากเลยค่ะ โดยเฉพาะคลื่นเมฆยักษ์ซัดชายฝั่ง เหมือนน้ำทะเลซัดเข้าหาฝั่งแล้วเกิดเป็นฟองสีขาวๆจริงๆเลยค่ะ ชอบๆๆๆ ..^__^..

    

ขอบคุณภาพสวยๆค่ะ

ช่วยให้คลายเครียดได้ค่ะ

ว้าวๆๆๆ .....มาชม

 ฟ้าใส .....เฆมสวย.......รวยจินตนาการ....

ขอบคุณค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะครูตุ๊กแก…ตัวดำๆ…


ขอบคุณสำหรับภาพดอกแก้วที่มีท้องฟ้าสวยอยู่เบื้องหลังนะคะ
ภาพเมฆที่เป็นเหมือนคลื่น ตอนแรกถ่ายภาพไปก็คิดว่าเหมือนคลื่นค่ะ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะมีใครมองเหมือนเรา รึปล่าว พอให้อาจารย์อีกท่านที่ไปดูกันดู ก็บอกว่าเหมือนคลื่นเลย ก็เลยสรุปว่า สมาชิกชาว G2K ก็น่าจะเห็นเหมือน แล้วคุณครูตุ๊กแก…ตัวดำๆ… ก็ จินตนาการเหมือนกันเลย...ขอบคุณมากค่ะ

แต่เมฆลักษณะนี้ ชื่อ อะไร ต้องไปถาม ดร.ชิว ดูก่อนนะคะ

สวัสดีค่ะคุณใบบุญ

ขอบคุณที่แวะมาชมภาพนะคะ...วันที่ 18 กย นี้ที่งาน Show & Share 2009 จะมีมอบรางวัลขวัญบล็อกเกอร์ดีเด่น (ไม่แน่ใจเรื่องชื่อรางวัล) ด้วยค่ะ ไปลุ้นน้องๆ ช่วยกันนะคะ ... งานนี้คงไม่เครียดค่าาา

สวัสดีค่ะคุณชาดา ~natadee

ช่วงนี้ดูเมฆแล้ว จินตนาการบรรเจิดค่ะ เห็นเป็นมังกร เป็นโน้นนี่ เยอะแยะไปหมดค่ะ เขาบอกว่าการมีจินตนาการจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ ... ฉะนั้นเราต้องฝึกให้มีจิตนาการอยู่เสมอค่ะ... อิอิ

สวัสดีค่ะอาจารย์ JJ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่แวะมาชมเมฆ และเอาเมฆมาแลกเปลี่ยน เมฆที่อาจารย์เอามาโชว์น่าจะชื่อ อัลโตคิวมูลัส อันดูเลตัส (Altocumulus Undulatus) หรือ อีกชื่อคือ เมฆลายปลาแมคเคอเรล ... ดร.บัญชา บอกไว้ที่ เมฆลายปลาแมคเคอเรล ที่เชียงใหม่ ฝีมือ พี่อึ่งอ๊อบ  ค่ะ

โห... สวยจริง ๆ

เสียดายมากเลยครับ ผมเคยเจอเมฆสวย ๆ หลายคร้ัง แต่ไม่ได้ถ่ายเก็บไว้

แต่นี้ต่อไปเจอเมฆงามไม่ว่ายามใด จะเก็บเกี่ยวเป็นภาพถ่ายมาฝากครับ

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาชมเมฆสวยๆ...จริงๆแล้วก็ชอบดูเมฆค่ะ แต่ดูสนุกขึ้นเมื่อเราได้เรียนรู้ด้วยว่า เมฆที่เราเห็นนั้นชื่ออะไร แล้วมีเมฆหน้าตาอย่างไรบ้าง ลองแวะไปชมเมฆและชื่อเมฆที่ http://gotoknow.org/blog/weather ดูนะคะ

คุณหนานเกียรติ มีภาพเมฆสวยๆเมื่อไหร่ มาชวนไปดูด้วยนะคะ...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์แป๋ว

          ภาพเมฆและท้องฟ้าของอาจารย์งามมาก ทุกๆ ภาพเลยครับ

          จริงๆ แล้วแค่มองเมฆแล้วสุขตา สบายใจ ก็กำไรชีวิตแล้ว แต่ถ้ารู้ลึกขึ้นอีกนิด ก็จะสนุกยิ่งขึ้น อย่างที่อาจารย์ว่าไว้ ^__^

           คลื่นทะเลเมฆ (ที่สู้กับมังกร) นี่ น่าจะเป็นเมฆซีร์รัส (cirrus) ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซีร์รัส ไฟเบรตัส (cirrus fibratus) ครับ

               

          เมฆซีร์รัส เป็นเมฆระดับสูงครับ ราว 8-12 กิโลเมตร (ระดับเดียวกับเพดานบินของเครื่องบิน คือ ราว 10 กิโลเมตร)

          ส่วนคำว่า ไฟเบรตัส (fibratus) หมายถึง มีลักษณะเป็นใย (fiber) นั่นเอง

          อาจารย์แป๋วกับเพื่อนๆ ที่สนใจ ลอง Google คำว่า cirrus fibratus ในเว็บสิครับ มีให้ดูเยอะทีเดียว สวยๆ ทั้งนั้นเลย

          สำหรับเมฆของอาจารย์ที่ดูเหมือนคลื่นนี่ ถ้ามีลอนคลื่นเห็นชัดๆ อย่างนี้ ก็จะมีคำว่า อันดูเลตัส (undulatus) ต่อท้ายด้วย คำๆ นี้หมายถึง มีลักษณะเป็นลอน เป็นคลื่น (ยังจำเมฆลายปลาแมคเคอเรล หรือ altocumulus undulatus ได้ไหมครับ)

   

                 ตรงกลางภาพนี้คือ cirrus fibratus undulatus

ภาพจาก : http://www.capetownskies.com/0944/20_cirrus_bandsc.jpg

 

                ที่น่าสนใจก็คือ หากลายเส้นมีลักษณะคล้ายก้างปลา ก็จะมีคำว่า vertebratus (นึกถึงคำว่า vertebrate = สัตว์มีกระดูกสันหลัง) ต่อท้าย  อย่างนี้ครับ

                            cirrus fibratus vertebratus

ที่มา : http://www.chemtrails-france.com/cirrus_fibratus_vertebratus/cirrus-fibratus-vertebratus-fr.jpg

 

           เห็นแค่ความหลากหลายอันงดงามของเมฆซีร์รัส ไฟเบรตัส (cirrus fibratus) เพียงเท่านี้ คิดว่าหลายๆ คนที่ยังไม่หลงรักเมฆ อาจจะรู้สึกอยากชำเลืองมองท้องฟ้าขึ้นมากกว่าเดิมแล้ว - จริงไหมครับ? ^__^

            ขอบคุณอาจารย์แป๋วมากครับสำหรับภาพเมฆแสนสวย :-D 

เพิ่มเติมอีกนิดครับ

  •  จะขอนำข้อมูลที่ให้ไว้ไปเปิดบันทึกใหม่ และอ้างอิงกลับมาที่บันทึกของอาจารย์ตรงนี้ครับ เพื่อนๆ ชาวมวลเมฆจะได้เห็นในวงกว้างขึ้นไปอีก

 

  • เมื่อวาน มะปราง โทรมาชวนผมไปจัดกิจกรรมพับกระดาษ (แบบสั้นๆ สัก 1 ชั่วโมง) ในงาน GotoKnow Forum สัญจร ที่ ขอนแก่น วันศุกร์ที่ 18 กันยายน นี้ - ถ้าได้ไปจริงๆ ก็จะได้พบอาจารย์เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้รู้จักผ่านบล็อกมาตั้งแต่ผมเริ่มใช้ใหม่ๆ - ดีใจจริงๆ ครับ

        ยังจำตอนที่อาจารย์เข้ามาอ่านเรื่องนี้ได้เลยครับ : คำถามจากชายนิรนาม  ^__^

 

สวัสดีครับ

วันนี้ดีมากเลย ได้บริหารสมองซีกขวาตอนเย็นๆ เลย แต่เสียดายที่นี่ฝนกำลังตกเลยไม่ได้มีโอกาสดูของจริง

"คลื่นยักษ์ต่อสู้กับมังกร"...ช่างจินตนาการนะคะ...แต่เหมือนจริงๆ ด้วยค่ะ :))

ขอบคุณภาพสวย ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.ดร.บัญชา

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ที่แวะมาให้ความรู้เรื่องชื่อเมฆ และตัวอย่างเพิ่มเติม ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องเมฆเพิ่มขึ้นอีก ขอบคุณมากค่ะ  /\

ดีจังเลยค่ะ มาให้ได้นะคะ เพราะวันนั้นก็จะไปร่วมงานเหมือนกันค่ะ ล็อคไว้แล้ว ... ^_____^

จำได้ค่ะ จำได้ สำหรับบันทึก คำถามจากชายนิรนาม  กลับไปอ่านอีกรอบยังขำอีกเลยค่ะ ขำมากๆๆๆ ยังเคยเอาไปเล่าให้เพื่อนฟังด้วยค่ะ ขำกันกลิ้งไปเลย...5555555

สวัสดีค่ะคุณบินหลาดง

ขอบคุณมากนะคะ ที่มาร่วมจินตนาการ ฝึกสองซีกขวา วันนี้ฝนตกไม่เป็นไรค่ะ ไว้วันฝนหยุด ท้องฟ้าสดใส ก็น่าจะมีเมฆสวยๆ ให้ถ่ายภาพมาอวดกันบ้างเน๊าะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ภาพคลื่นยักษ์กับมังกรนั้น เป็นมังกรที่โผล่ให้เห็นมาแต่หัวนะค่ะ  ... ขอบคุณมากนะคะ

ว้าว คลื่นยักษ์และมังกรสวยจริงๆนะคะ

สวยมากค่ะอาจารย์มองเเล้วสบายตาดี

สวัสดีครับ อาจารย์แป๋ว

      1)  เจ้าเดย์ 1980 ก็เจอเมฆตะขาบยักษ Cirrus Vertebratus ที่สนามบินอุดรครับ อยู่ในบันทึกนี้แล้ว

       172 : เมฆ ตะขาบยักษ์ บุกสนามบินอุดร - Cirrus Vertebratus

 

       2) กิจกรรม Origami (พับกระดาษ) ช่วงสั้นๆ ในงาน GotoKnow สัญจร นี่ผมได้ทำบันทึกเตรียมงานไว้แล้วครับ 

       กิจกรรม Origami ในงาน GotoKnow Forum สัญจร ครั้งที่ 1 (ขอนแก่น)

         เรียนเชิญอาจารย์แป๋วไปเล็งๆ โมเดลที่อยากพับได้เลยครับ มีน่ารักหลายตัวทีเดียวครับ :-)

        ตัวอย่างโมเดลแนะนำ (ทำยังกะเป็นเซลส์แมน...อิอิ)

                          

     

               

ไว้เจอกันในงานครับอาจารย์! :-D

 

กานดา-น้ำมันมะพร้าว

สวัสดีค่ะ

สวยจังค่ะ ตอนแรกไปดูที่ คุณบัญชา ย้งขอให้ส่งภาพงูเขียวบนผิวน้ำไปให้ดู รอนิดค่ะ ยังไม่ค่อยเป็น

ภาพเมฆ จะเก็บภาพบ้างแล้ว แล้วจะส่งให้ดูนะคะ โดยเฉพาะคุณบัญชา ยังบอกเลยว่าให้ทำภาพแมงป่อง 76 จังหวัด

จังหวัดละ 1 ตัว น่าติดตามทำนะคะ ไม่มีใครทำ พอดีบอกให้ถ่ายแมงป่อง จ.สุพรรณบุรีมาให้ดูบ้าง

ในท้องฟ้าเดียวกันก็จริง ทำเป็นความจำว่าไปอยู่ใต้ท้องฟ้า จังหวัดนี้มีแมงป่องแบบนี้ ไปกันใหญ่

วันหลังจะส่งของเชียงใหม่ ให้ดูนะคะ ไม่ทราบว่าจะตามหาแมงป่องเจอไหม อย่างอื่นดีกว่านะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์naree suwan
สบายดีนะคะ ไม่ได้เจอกันนานเลยนะคะ ขอบคุณที่แวะมาชมเมฆค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ

ต้องไปหัดพับกระดาษกับอาจารย์แน่ๆ ว่าแล้วไปหากระดาษเตรียมไว้ดีกว่า หรือว่าอาจารย์มีกระดาษสำหรับพับให้ด้วยค่ะ...อิอิ

สวัสดีค่ะคุณกานดา

ช่วงนี้ ฟ้าสวย เมฆสวยๆเยอะ เชื่อว่า คุณกานดาดูท้องฟ้าทุกวัน รับรองเจอเมฆสวยต่างจากปกติแน่ๆค่ะ ... วันนี้ก็มีเมฆสวยๆที่ขอนแก่นด้วยค่ะ

สวัสดีครับ อ.แป๋ว

         1. เรื่องพับกระดาษ : จะเตรียมกระดาษ & แบบพับไว้จำนวนหนึ่งครับ แต่ถ้าอาจารย์มีกระดาษสุดโปรด (สีสัน ลวดลาย ฯลฯ) ของอาจารย์เอง ก็แจ๋วไปเลย จะได้เลือกแบบพับเหมาะๆ ให้ครับ เช่น นกยูง

         2. เมฆแมงป่อง : มา "สู่ขอ" เมฆแมงป่องของอาจารย์ไปลงหนังสือดูเมฆครับ ถ้าอาจารย์ไม่ขัดข้อง คงรบกวนขอภาพ Hi-Res (ต้นฉบับไม่ย่อ) ด้วยครับ

         3. เรื่องเมฆซีร์รรัส (Cirrus) ที่อาจารย์ฝากคำถามไว้นี่สนุกมากๆ

             ผมลองไปค้นในหนังสือชื่อ The Cloudspotter's Guide : The Science, History, and Culture of Clouds พบว่าใน Cloud Classification Table ระบุไว้อย่างนี้ครับ (เฉพาะ Cirrus)

--------------------------------------------------------------

Genus          Species                       Varieties 
            (can only be one)       (can be more than one)
---------  ---------------------       ----------------------------

Cirrus        fibratus                    intortus
                uncinus                   radiatus
                spissatus                  vertebratus
                castellanus               duplicatus
                floccus

----------------------------------------------------------

          เรื่องนี้คงต้องเขียนเป็นบันทึกต่อเนื่องซะแล้วครับ มีหลายชนิดย่อยๆ จริงๆ ด้วย ^__^

 

             อาจารย์ลองแวะไปชมตัวอย่างภาพ Cirrus แบบต่างๆ ได้ที่นี่เลยครับ

             http://www.clouds-online.com/cloud_atlas/cirrus/cirrus.htm

 

         ไว้พบกันวันศุกร์นี้ครับ (แต่ผมจะไปกับทีม UsableLabs ตั้งแต่วันพฤหัสบดีแล้ว) ^__^

สวัสดีครับ อ.แป๋ว

        เห็นอาจารย์สนใจเรื่อง เมฆซีร์รัส (cirrus) อยู่พอดี เลยมาชวนไปมองเมฆนี้ในมุมอื่นครับ

        นี่ครับ เทพีฟริกกา (Frigga) ของนอร์ส กำลังปั่น 'เมฆสายไหม' หรือ ซีร์รัส นั่นเอง

                            

 

        ที่มาของเรื่องนี้ อยู่ใน comment ที่ 5 & 6 ของบันทึกอันนี้ครับ

                          179 : เมฆเสือกระโจน เหนือฟ้าฮาวาย ฝีมือ อุ๊

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท