ทำดีน้อยได้ "ดี" น้อย...


คติเตือนใจใหม่ต้องเปลี่ยนไปเป็น "ทำดีน้อยได้ดีน้อย" น้อยจนไม่มีนัยยะสำคัญทาง "สถิติ..."

จะท้อทำไม จะบ่นทำไม เอาเวลาท้อ เวลาบ่นไป "นอนหลับ" เสียดีกว่า...!
อย่างน้อยถ้าเราไม่ได้ทำความดี คือ เอาความรู้ ความสามารถของเราไปทำประโยชน์ให้กับคนอื่น เราก็ไม่ได้ "ทำร้ายตัวเอง" ไปนอนหลับก็ยังดีกว่าเอาเข็มทิ่มแทงตัวเอง

นอนหลับถึงแม้นว่าจะไม่ได้ทำประโยชน์ ก็ไม่ได้เกิดโทษทางด้าน "ความคิด..."

การทำความดี และการเสียสละนั้น จุดสำคัญอยู่ที่ "ได้ทำ" ส่วนใครจะได้อย่างไรนั้นสุดแล้วแต่เวร แต่กรรมที่เขาทำมา...

แต่กรรมของเรา กรรมดีของเรา เราต้อง "กระทำ" ต้องมี ต้องสร้างไว้ให้มาก
"ธรรมทาน" เป็นทานที่มีอานิสงส์ใหญ่ มีผลใหญ่ เพราะการให้ธรรมเป็นทานนั้นมีผลมากหลายกว่า "ทาน" ทั้งปวง...

ในขั้นทานก็เป็นอย่างนี้แล คนให้ทานมากแค่ไหนก็ไม่สามารถพัฒนาจิตใจได้เท่ากับการรักษาศีล และเจริญภาวนา
ในมนุษย์ปุถุชน "ทาน ศีล และ ภาวนา" เป็นลำดับขั้นแห่งการพัฒนาตน

บางคนติดอยู่ที่ "ทาน" ทำทานทั้งชีวิตเลย แต่ไม่ได้รักษาศีล ทำทานจนเท่าภูเขาไม่เทียบเท่ากับการรักษาศีลเพียงชั่ว "นกกระพือปีก"
คนเดี๋ยวนี้ติดหลงอยู่กับ "ทาน" มาก อะไรก็ทำทาน ทำทาน และเป็นการทำทานโดยใช้ "เงิน" เพียงอย่างเดียว
อะไร ๆ ก็สักใช้แต่ "เงิน"
เอาเงินฟาดหัวพระ แล้วก็บอกพระให้ทำโน่น ทำนี่...

จิตไม่ได้พัฒนาจิต ให้ทานร้อยก็หวังจะได้กลับมาสักล้าน คนเราถึงได้หลงทิศ หลงทางอยู่อย่างนี้
พอทำทานไปมาก ๆ ไม่ได้อะไรมาก็บอกว่า "ทำดีไม่ได้ดี"
ก็จริงของเขา เพราะสิ่งที่ดีกว่านี้ไม่ทำ มัวแต่เสียเวลา "ทำทาน"
การกระทำดีที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นไม่ทำ อ้างโน่น อ้างนี่
ทำทานแค่นี้ก็ได้บุญแค่นี้แหละ  ถูกต้องแล้ว "สมควร" แล้ว...

คติเตือนใจใหม่ต้องเปลี่ยนไปเป็น "ทำดีน้อยได้ดีน้อย" น้อยจนไม่มีนัยยะสำคัญทาง "สถิติ..."

แล้วยิ่งไม่ทำอะไรดี ๆ เลย มัวแต่ไปฟังเทศน์ แห่กันไปฟังเทศน์อย่างเดียว แล้วจะเอาใจที่ไหนไปใส่ "ความดี..."

ตอนนี้เป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่อะไรต่ออะไรใคร ๆ ก็เข้าถึง "ธรรมะ" นั้นก็เช่นเดียวกัน
คำเทศน์คำสอนของครูบาอาจารย์มีเยอะ เยอะมาก เยอะมาก ๆ
ซีดี MP3 Internet ฟังกันไม่หวาดไม่ไหว แต่ด้วยฟังมาก รู้มากก็หลายเป็นพวกนักวิชาการขี้สงสัยไป ฟังไป ฟังไปสุดท้ายก็เอาไปเถียงกัน
ฟังแล้วไม่เอาไปปฏิบัติหรอก ฟังไปเพื่อแข่งกันว่าใครรู้มากกว่ากัน
คนนี้ก็พูดอย่างนี้ พระองค์นี้ก็พูดอีกอย่างหนึ่ง แล้วก็จับมาเถียงกัน เถียงกันไป เถียงกันมา "ตาย" เสียก่อนที่จะได้ "ปฏิบัติ"

นี่แหละวงจรของ "คนฉลาด" ฟังมาก ดูมาก อ่านมาก แล้วก็นำความมากทั้งหลายให้ลากลงไปสู่ "นรกภูมิ"
คนโง่นี่เขาเลิกฟัง เลิกอ่าน "เลิกคิด" ทำอย่างเดียว ใครจะว่าอย่างไง พูดอย่างไง ไม่รู้ ไม่ฟัง ขี้เกียจฟัง เบื่อฟัง กูจะทำของกูอย่างนี้แหละ  เสียเวลาปฏิบัติ เอาแต่เวลามานั่งถกเถียงกัน คนโง่เขาเป็นอย่างนี้นะ...

คนฉลาดอะไร ๆ ก็จะไปฟังแต่ "เทศน์" ฟังแล้วก็ไม่ปฏิบัติ
เทปก็มี ซีดีก็มี ครูบาอาจารย์ดี ๆ ทั้งนั้นไม่ฟัง โน่น หอบสังขารไปฟัง "นักวิชาการ" บรรยายเรื่อง "ธรรมะ..."

พระพุทธศาสนานั้นอยู่ที่การ "ปฏิบัติ"
ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ "รู้ได้ด้วยตนเอง"
พูด สอน ก็ให้พอดี ถ้ามากไปเดี๋ยวก็กลายเป็น "ธรรมเมา"
เมาธรรมไปเรื่อย เมาฟังไปเรื่อย

ต้องพาเขานั่งสมาธิ เดินจงกลม ทำความดีและเสียสละให้มาก
ทำไปมาก ๆ ปฏิบัติไปมาก ๆ เดี๋ยว "ธรรมะ" ก็เกิดขึ้นในจิตในใจของเขาเอง

ศีล และภาวนานั้นเป็นบุญให้ยิ่งใหญ่นะ
ถ้าเขารักษาศีลและเจริญภาวนามากแล้ว เขาจะเลิกคิดถึงคำว่า "ทำดีได้ดี" เขาจะรู้ซึ้งถึงคำว่า "ทำชั่วได้ชั่ว"
พาเขาทำให้มาก ๆ และตนเองก็ทำให้มากกว่าเขา แล้วตัวเราจะรู้ถึงซึ่ง "ธรรม..."

(ที่มาจากบันทึก เสียสละสอนทำไม?)

หมายเลขบันทึก: 303555เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 06:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นะ...ปัญญาน่ะ...

มันต้องมาจากลงมือทำเอง .. สร้างเอง...

เรียนรู้เอง...เครื่องมือแห่งการเรียนรู้นี่มากมายนะท่าน ...

และเครื่องมือที่ดีที่สุด ก็ไอ้เจ้าร่างกายเรานี่แหละ... ตัวเรานี่แหละ..ที่มักนำพาก้าวเดินออกไปจากความมืดแห่งความไม่รู้... พอก้าวเดินออกมาได้บ้างนี่ หันหลังกลับไปดูนี่ ... อืม ... มันยากแต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่มนุษย์จะพึงทำ...

ท่านพูดถึง คำว่า "เมาธรรม" นี่ทำให้เห็นภาพเลยนะท่าน ทำให้นึกถึงการทำทานอย่างไร้ปัญญา ... เห็นมากเลย ...

อ่านหนังสือธรรมะ มากมาย...ยิ่งได้อ่านของครูบาอาจารย์แล้วล่ะก็ ยิ่งหลงไปใหญ่เลยว่า หลงว่าตนนั้นบรรลุธรรมอย่างครูบาอาจารย์ ... มันก็น่าสงสารเขาอยู่นะท่าน... ใครเล่าจะเป็นผู้นำพเขาเหล่านั้นไปได้ หรือจะปล่อยไปตามห้วงแห่งสายน้ำแต่ละคนล่ะท่าน ... ยิ่งปล่อย สังคมยิ่งเละนา... เห็นผิดเป็นชอบ ไปเสียนั่น

หากพอนำพาได้ ก็พึงนำพาไป...

พ่อแม่ครูบาอาจารย์...เน้นย้ำยิ่งว่า "อย่าเห็นแก่ตัว เสียสละให้มาก สงสารเขาให้มาก เมตตาเขาให้มา"... มันซึ้งลงใจเลยนะท่าน ได้แต่ตั้งจิตตั้งใจอธิษฐานว่า... ขอนำพาอาศัยร่างกายนี้ถวายแก่ความเสียาสละอย่างประมาณหาที่สุดไม่ได้...

เท่านั้นเอง...เสียสละตามกำลังที่ตนเองมี

มีมากก็เสียสละมาก มีน้อยก็เสียสละน้อยตามแรง แรงอันที่แท้จริงที่ไม่ใช่จากการถูกครอบงำจากอารมณ์ชอบหรือไม่ชอบใจ...

ไอ้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ มันก็มีปรากฏอยุ่ในใจเราอยู่หรอก...

แต่เราไม่นำพามันมาอยู่เหนือความคิดและการกระทำของเรา...

ความอดทน...การภาวนาอย่างรู้ตัวนั้น จะนำพาให้คิดได้อันเป็นความคิดที่มาจากปัญญา ไม่ใช่ความคิดที่มาจากใจเน่าเน่า...

ทำไป...ทำไป...

การเห็นผลนั่นน่ะ ก็จะปรากฏชัดแก่ใจเราเอง...

อืม... หากว่าพอมีแรงทำการเสียสละ ช่วยผู้อื่นได้...ก็พึงนำพา ให้ก้าวเดินไปด้วยกัน ...

เดินอย่างไรเล่า... ?

อาจจะเดินเทียบเคียงกัน หรือด้าวเลื่อมกันบ้าง...

ก็ไม่เป็นไร... เพียงแค่ขอให้เดินไป เดินไป ในทิศทางแห่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาชี้ทาง บอกทางได้ ก็เท่านั้นเอง...

ก็นี่แหละ...เราก็ได้โอกาสจากการกระทำนี้ด้วย

โอกาสที่ว่านั่นน่ะ คือ โอกาสแห่งการเรียนรู้การเสียสละ... เสียสละอย่างไม่มีขีดจำกัดหรือคำว่าสิ้นสุด

อ่านแล้ว รู้สึกเหมือนไม่อยากตอบ

เพราะดูจะเกินภูมิรู้เจ้าค่ะ

เท่าที่ผ่านมา หันกลับไปดู อืม ก็เมามาเยอะ

หลงมันมาแทบทุกอย่าง ทั้งหลงทำทาน

หลงอ่านหนังสือธรรมะ

อ่านมาเยอะ

ฟังมาเยอะ แต่ก็ไม่เคยได้

เข้าอกเข้าใจสักที

ตอนนี้เลยได้แต่อดทน ภาวนาเจ้าค่ะ

อื้ม เริ่มฉลาดอีกและ มี "หน้าที่" ตอบก็ตอบไป ตอบไปอย่างนั้นแหละ

เวลาที่ไม่อยากตอบนี่ "คิด" อะไรอยู่บ้าง ไหนลองตอบหน่อยซิ...?

ตอนนั้นคิดอย่างไรถึงไม่อยากตอบ "กลัวเขาหาว่าโง่เหรอ...?"

เคยเห็นคนซื่อ ๆ ไหม...?

พอเวลาเขาหิว เขาก็บอกว่าหิว ตอนเวลาเขาเจ็บ เขาก็บอกว่าเจ็บ

ไอ้พวกเรานี่ หิวก็ไม่กล้าบอก เจ็บก็ไม่กล้าบอก ไม่รู้ก็ไม่กล้าบอก "อาย" กลัวคนอื่นเขาจะ "ดูถูก..."

ไม่บอกแล้วจะรู้ไหมเนี่ย...!!!

มีหน้าที่ตอบก็ตอบไป ตอบไปเรื่อย

อย่างเรานี่นะ ก็ไม่รู้หรอก ตอบไปอย่างงั้น อ่านแล้ว คิดอะไรได้ก็ตอบไป ตอบไปเรื่อย...

สิ่งสำคัญนั้นมันไม่ได้อยู่ที่คำตอบ คำตอบเป็นเพียงหนึ่งส่วนจากร้อยส่วน

อีกเก้าสิบเก้าส่วนนั้นเป็น "กระบวนการ" ระหว่างที่เราคิด เราหาคำตอบ...

กระบวนการนั้นเองเป็นสิ่งที่สำคัญและมีค่ามากกว่าคำตอบ

และเมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่า คำตอบที่ออกมาจะผิดหรือถูก จะดีหรือไม่ นั้นก็ไม่ได้อยู่ในองค์ประกอบของคำตอบเลย

ผิดถูกนั้นเราก็ปรุงแต่งมันขึ้นมาเอง ดีหรือไม่ดีนั้นเราก็ "พิพากษา" กันไปเอง...

ตอบไปเรื่อย คิดไปเรื่อย สบาย ๆ

คิดมันเป็นอย่างนี้แหละ สมองมันฟุ้งอะไรออกมาก็พิมพ์ไปเรื่อย

ค่อย ๆ ดึง พยายามไม่ไปปิดกั้นความคิดด้วย "ความกลัว..."

เมื่อกลัวปุ๊บก็คิดไม่ออกปั๊บ เมื่อกลัวปุ๊บก็ไม่กล้าตอบปั๊บ

ใครจะว่าเราโง่ก็ช่างเขา อย่างน้อยเราก็ไม่โง่ที่จะ "ไม่ตอบ..."

ตอนไม่อยากตอบนี่คิดอะไรเหรอเจ้าค่ะ?

 

กลัวเจ้าค่ะ กลัวว่าจะตอบผิด

กลัวเจ้าค่ะ กลัวจะอวดรู้อีก

กลัวเจ้าค่ะ กลัวว่าที่ตอบไป จิตชั่ว ๆ มันพาให้ทำเพราะขาดสติ

 

สุดท้ายก็ทำตามหน้าที่เจ้าค่ะ

หน้าที่ ณ นาทีนี้ สำคัญที่สุด

ไม่มีสิ่งใดสำคัญกว่า หน้าที่ ณ นาทีนี้เจ้าค่

 

 

วันนี้ หนู ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ที่ G2K

เท่าที่พอมีช่องว่างของเวลามาน้อมรับคำสอน

กราบขอบพระคุณความเมตตาเจ้าค่ะ

 

ต่อก็ตอบเจ้าค่ะ

 

ความกลัวมันหน้าตาอย่างไรน๊อ...?

ความกลัวมันมาจากที่ไหนน๊อ...?

ถ่ายรูปมาให้ดูหน่อยได้ไหม อยากรู้จังมาใครส่งเทียบเชิญเจ้า "ความกลัว" นี้มา...!!!

ถ้ามันมาแล้วก็ส่งมันกลับบ้านไปนะ ให้เขากลับไปเถิด อย่าไปคิดถึงเขาเลย อย่าไปส่งเทียบเชิญเขามา

ถ้าเราไม่เชิญเขามา เขามาไม่ได้หรอก

เราเชิญเขามาด้วยความคิด คิดมากก็กลัวมาก

คิดปุ๊บ ความกลัวก็มาปั๊บนะ

ดีมาก ๆ ทำหน้าที่นะ

มีหน้าที่อะไรก็ทำนะ ทำไป ทำไป มีหน้าที่ทำก็ "ทำ" ไป...

ทำดีมากไม่ได้อะไรเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท