ของฝากจากที่ประชุม : กรอบการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์


มาดูกันครับว่า ในเอกสารประกอบการประชุมนั้น คณะกรรมการฯท่านได้กำหนดกรอบการเขียนรายงานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ไว้อย่างไร และที่สำคัญผมว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักสังคมสงเคราะห์หรือผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยตรงต่อผู้รับบริการ สำหรับการใช้เป็นกรอบในการบันทึกปฏิบัติงาน


บันทึกก่อนหน้านี้ ชื่อ "ของฝากจากที่ประชุม : การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์"  ผมเขียนไว้ด้วยว่า

๔. เอกสารประกอบการประเมินนอกเหนือจากแบบประเมินตนเองของนักสังคมสงเคราะห์ ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน (โดยใช้แบบประเมินที่มีตัวชี้วัดเดียวกัน) แล้ว  นักสังคมสงเคราะห์จะต้องยื่นเอกสารรายงานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์/ผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคมไปด้วย

โดยรายงานการปฏิบัติงานนี้ จะใช้ในการทำงานกับผู้รับบริการรายบุคคล กลุ่ม ชุมชน ก็ได้ ซึ่งจะสามารถเรียบเรียงจากการทำงานกับผู้รับบริการในปัจจุบันหรือในอดีตได้ (ไม่เกิน ๓ ปี) โดยกรณีที่ยกมาควรสะท้อนถึงแนวทาง กระบวนการ หรือบทเรียนที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ต่อการทำงานของวิชาชีพ ทั้งนี้ เป้าหมายของเอกสารรายงานการปฏิบัติงานนี้ จะเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาในประเด็นการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ที่สะท้อนถึงความรู้ กระบวนการ วิธีการปฏิบัติงานต่อผู้รับบริการ การทำงานเป็นทีม และการสรุป การวิเคราะห์บทเรียนที่ได้จากการทำงาน เป็นต้น

เอกสารรายงานการปฏิบัติงาน ถือเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงถึงผลการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคมที่ขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งคณะกรรมการประเมินภายนอกจะพิจารณาประกอบกับผลการประเมินภายใน อันจะนำไปสู่การประเมินที่รอบด้าน เป็นธรรม

จากคำอธิบายบนเวที ทราบว่าแต่เดิมทีได้ออกแบบระบบประเมินให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ผู้ขอรับการประเมิน ผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ โดยใช้แบบประเมินชุดเดียวกันทั้ง ๔ ด้าน  แต่เนื่องจากข้อจำกัดของผู้รับบริการจึงออกแบบให้เขียนบันทึกรายงานการปฏิบัติงานแทนการประเมินโดยผู้รับบริการ


มาดูกันครับว่า ในเอกสารประกอบการประชุมนั้น คณะกรรมการฯท่านได้กำหนดกรอบการเขียนรายงานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ไว้อย่างไร และที่สำคัญผมว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักสังคมสงเคราะห์หรือผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยตรงต่อผู้รับบริการ สำหรับการใช้เป็นกรอบในการบันทึกปฏิบัติงาน

เชิญทัศนา...


เอกสารรายงานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์/ผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคม : กรณีการทำงานเฉพาะราย (Casework)

ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
๑. ปัญหาแรกรับ/การรับแจ้งเบื้องต้น
๒. การแสวงหาข้อเท็จจริง
๓. การประเมินสภาวะ (กายจิตสังคม, ครอบครัว, ความเสี่ยง, การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา, การประเมินความเข้มแข็ง/ทรัพยากรของผู้ใช้บริการ)
๔. การกำหนดเป้าหมายการให้บริการ
๕. การวางแผนบริการ
๖. การดำเนินงาน (วิธีการที่ใช้ในการดำเนินงาน)
๗. ผลที่เกิดขึ้น/ผลที่ตามมา
๘. การทำงานสหวิชาชีพ/การประสานทรัพยากร
๙. การติดตาม/การส่งต่อ
๑๐. ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
๑๑. การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (จุดแข็ง/จุดอ่อน)
๑๒. สรุปบทเรียนที่ได้จาการทำงาน


เอกสารรายงานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์/ผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคม : กรณีการทำงานกลุ่ม (Groupwork)

ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
๑. ปัญหาและความจำเป็นของกลุ่มผู้ใช้บริการ
๒. วัตถุประสงค์ของการทำงานกลุ่ม
๓. การกำหนดเป้าหมายและการดำเนินงาน
๔. รูปแบบการดำเนินงานกลุ่ม
๕. เทคนิคในการทำกลุ่ม
๖. ผลที่เกิดขึ้น/ผลที่ตามมา
๗. การทำงานสหวิชาชีพ/การประสานทรัพยากร
๘. การติดตาม/การส่งต่อ
๙. ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
๑๐. การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (จุดแข็ง/จุดอ่อน)
๑๑. สรุปบทเรียนที่ได้จาการทำงาน


ลองนำไปปรับใช้กับงานที่ปฏิบัติกันดูครับ

 

หมายเลขบันทึก: 314157เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท