ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อการเปลี่ยนแปลง


     ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2553 ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และการพัฒนาคุณภาพงาน  ณ  โรงแรมลองบีช ชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนการศึกษาและบริการที่ปฏิบัติงานสำนักงานบริการการศึกษา สำนักงานภาควิชาพยาบาลศาสตร์ และสำนักงานของแต่ละงานการพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เมื่อสิ้นสุดการอบรมผู้เข้าอบรมสามารถ 1) เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของตนเองในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน 2) เกิดความตระหนักรู้และจุดประกายความคิดในการปรับปรุงและพัฒนางานที่รับผิดชอบ 3) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาและแก้ไขปัญหาได้จากต้นเหตุ 4) เห็นคุณค่าของงานบริการโดยเชื่อมโยงความสำคัญที่มีต่องานส่วนอื่นๆ ขององค์กรและมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการให้แก่ผู้รับบริการ เขียนโครงการโดยคุณพี่จุ๋ม ภคมน สัมมาเทศน์

     นอกจากนั้น ได้รับเกียรติจากกระบวนกรหลายท่าน ดังรายนามต่อไปนี้ อาจารย์เปิ้ล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกวรรณ กิตตินิยม จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์บิ๊ก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิทธิโชติ จักรไพวงศ์    

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์เดียร์ ดร. ภัทรียา กิจเจริญ จากภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล   อาจารย์จุ้ย คะทาวุธ   

แวงชัยภูมิ และอาจารย์ปอ ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

     วิธีดำเนินการอบรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันก่อนเริ่มกิจกรรมที่ทุกคนต้องเปิดใจตัวเอง กระโดดลงเล่นกิจกรรม ปิดโทรศัพท์มือถือ ถอดหัวโขน(วางบทบาทและหน้าที่) วางตัวตนลงทุกตำแหน่ง ตรงต่อเวลา และเปิดใจรับฟังคนอื่นและให้คนอื่นได้พูดคุยแลกเปลี่ยนโดยแท้จริง ซึ่งในแต่ละกิจกรรมหากได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเราและเกิด “คุณค่าภายใน”

     ในฐานะผู้ร่วมสังเกตการณ์ขอสะท้อนความคิดของแต่ละกิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น กิจกรรมลมหายใจแห่งความสุข และการฟังอย่างตั้งใจ ที่กระบวนกรแนะนำว่า คนเราควรปล่อยวาง กำหนดลมหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ไม่กังวล ไม่คาดหวัง สะท้อนการเรียนรู้ รับฟังแบบไม่ตัดสินใจ เปิดใจว่าแต่ละกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้อะไร

 

 

     การสื่อสารอย่างสันติ ทำให้เราเห็นคนอื่นและเห็นตัวเราเอง เป็นการทำงานเพื่อทำให้ตัวเราและคนอื่นมีความสุข เป็นการสื่อสารอย่างกรุณา ใส่ใจ ให้คุณค่า กับความต้องการของทุกคน

     การเล่าเรื่องแบบกระจกเงาเพื่อสะท้อนความคิด ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ “มีคนอื่นอยู่ในตัวเรา และมีตัวเราอยู่ในคนอื่น”

 

 

     การฟังแบบเป็นกระจกเงา จะต้องฟังให้ครบถ้วนกระบวนความ ฟังโดยไม่ตีความและตัดสินใจ ฟังโดยไม่พูดแทรก ไม่ขัดขังหวะ ฟังเสียงภายในตัวเองขณะที่พูดและขณะที่ฟังผู้อื่น ฟังแล้วสะท้อนกลับทบทวนสิ่งที่ได้ฟังกลับไปอีกครั้ง

     ส่วนทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นเทคนิคการฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจโดยไม่พูดแทรกขณะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูด ทำให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งจากการฟังนั้น เห็นสีหน้า แววตา มีความสุขร่วมและเข้าใจในสิ่งที่กำลังพูดโดยไม่มีอคติหรือยึดติดกับกรอบความคิดของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจความหมายจากการตีความคำพูดนั้น คลิกที่นี่  และ ที่นี่

 

     ความแตกต่างระหว่างคำ เช่น ความรู้สึก / ความคิด ความต้องการ/วิธีการ สังคมไทยจะมีความเกรงใจสูง แต่มิได้แสดงออกถึงความต้องการอย่างตรงไปตรงมา การสังเกต/ตีความและตัดสิน การขอร้อง/คำสั่ง หากสังเกตหรือตีความให้ดีแล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

  

     บันไดความสัมพันธ์ เปรียบคนเราอยู่ในสภาวะปกติที่ตัวเราอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย ตัวเราปลอดภัย ไว้วางใจ มีความผูกพันกัน เกิดแรงบันดาลใจแล้วลงมือปฏิบัติ หากตัวเราอยู่ในสภาวะปกป้อง จะทำให้เกิดความกลัว หวาดระแวง ห่างเหิน ท้อแท้และต่อต้านในที่สุด

 

     “เปิดใจตัวเอง” สะท้อนความคิดความรู้สึกของผู้เข้าอบรมว่าได้เรียนรู้อะไรจากแต่ละกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและเกิดอะไรขึ้น เช่น เกิดความสามัคคี ความร่วมมือกัน มีความสุข  สนุกสนาน ปลื้มใจ เข้าใจกันมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตจริงได้

 

 

อยากจะบอกกับทุกคนว่า “รักนะจุ๊บจุ๊บ”

     คลายความเครียด รู้จักกันมากยิ่งขึ้น สร้างรอยยิ้ม น้ำตา ความทรงจำดีดี การนึกย้อนหลัง 9 ปีแห่งความทรงจำที่เป็นความทุกข์กับชีวิตปัจจุบันที่มีความสุข ประทับใจ ทำให้รู้ความต้องการของตัวเรามากขึ้น

 

     จะเห็นได้ว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมทำให้ผู้เข้าอบรมได้แนวคิด วิธีการ หลักการ และแนวทางการปรับกระบวนทัศน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง

 

     ขอขอบพระคุณกระบวนกรทุกท่าน ศนพร. คุณพี่จุ๋ม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้มีการจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น และเห็นสมควรมีการจัดอบรมอีก เพื่อต่อยอดและปัดฝุ่นตัวเอง ขยายวงกว้างออกไป ทำให้เกิดความสมานสามัคคีกันภายในองค์กรเพื่อนำสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนต่อไป

สุเทพ ธุระพันธ์

4 เมษายน 2553  

หมายเลขบันทึก: 349548เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยู่กับตัวเอง อยู่กับใจตัวเอง ทำตัวสบายๆ

สวัสดีครับ คุณแม่ใหญ่

  • อยู่กับตัวเอง อยู่กับใจตัวเอง ทำตัวสบายๆ
  • รู้สึกตัวดีมี "สติ" พระมหาสมปองท่านบอกว่า สติมา ปัญญาเกิด
  • ขอเป็นกำลังใจให้กับ "คุณแม่ใหญ่"
  • มีความสุขกับการทำงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท