ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 5 ระยะที่ 3


        ผมจะเดินทางร่วมกับคณะผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 5 ไปปักกิ่ง คืนวันอังคารที่ 31 นี้

        ดีใจที่ได้สร้างผู้นำอีก 50 คน

        ไปครั้งนี้ ผมไปร่วมแค่ 2 วัน ต้องรีบกลับมาช่วยกลุ่มอีสาน มุกดาหาร แต่ก็คิดว่า เป็นโอกาสที่ดีที่จะอยู่ร่วมกับทุกๆท่าน ซึ่งเป็นรุ่น 5 และใกล้ชิดกับผมมากขึ้น

        การสร้างผู้นำคือเน้น 5E –E ที่จะใช้ก็คือ Experiences

        ขอให้ทุกๆคนเตรียมเขียน Blog ว่า

        ประเทศจีนกับไทย ในอนาคต จะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร

        -สหกรณ์ของเขากับเราแตกต่างกันอย่างไร

        -ประทับใจอะไรบ้าง

        -มีบทเรียนกับตัวเอง เรื่องอะไร

        -ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

                                                                                   ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 389596เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงาน ณ ประเทศจีน เมื่อวัน 1 - 4 กันยายน 2553

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆผนส.5ทุกคน

ตั้งแต่กลับจากปักกิ่งยังไม่มีเวลาประมวลผลหน่วยความจำและหน่วยบันทึกในสมองเลยค่ะ

เลยยังไม่ได้ส่งการบ้าน

แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาว่าจะส่งก่อนวันที่ 17 กันยานี้แน่นอนค่ะ

 

ศิริวรรณ

ขอขอบพระคุณ อาจารย์จีระ ที่ได้เปิด Block ใหม่ให้พวกเรา มั่นใจว่าจะได้ใช้ประโยชน์ตลอดไป

ขอให้เพื่อน ผนส.5 เข้ามาสื่อสารกันบ่อยๆ นะครับ ตอนนี้หายเหนื่อยแล้ว แต่งานเยอะน่าดู มีประชุมมากๆๆๆๆ

คิดถึงทุกท่านเสมอ

ศิริชัย ออสุวรรณ ผนส.5

ส่งการบ้าน อ.จีระ ข้อ 1. ประเทศจีนกับไทยในอนาคตจะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร 1.1 การลงทุนทำธุรกิจการค้าส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร จีนน่าจะเป็นตลาดใหญ่ของการส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร/ผลิตผลการเกษตรเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ผลไม้ต่างๆ 1.2 ความร่วมมือกันทางด้านการผลิต เทคโนโลยีใหม่ๆ ข้อ 2. สหกรณ์ของเขากับเราแตกต่างกันอย่างไร ได้เห็นบรรยากาศการประชุมสมัชชาใหญ่ผู้แทนสมาชิกขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (International Cooperative Alliance,Asia and Pacific - ICA AP)ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมนานาชาติปักกิ่ง (Beijing International Convention Center - BICC)และมีการจัดงานแสดงสินค้าสหกรณ์ด้วย 2.1 สังเกตเห็นได้ว่า รัฐบาลจีนให้การสนับสนุน และให้ความสำคัญกับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์เป็นที่รู้จักของหน่วยงานและเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป 2.2 แบรนด์สินค้าสหกรณ์เป็นที่ยอมรับ ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี 2.3 ความเป็นเมืองที่มีการปกครองระบบพรรค บริหารงานแบบรวมศูนย์ ทำให้นโยบายต่างๆได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เห็นผลได้ชัดเจน ทุกคนยอมรับ เชื่อฟังและปฏิบัติตาม ข้อ 3. ประทับใจอะไรบ้าง 3.1 เท่าที่ได้สัมผัสเมืองหลวงของประเทศจีนอยู่สามวัน สังเกตได้ว่าแม้การจราจรจะหนาแน่นแต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีควันพิษจากท่อไอเสีย ได้ทราบจากไกด์ท้องถิ่นว่า จีนมีนโยบายให้ใช้เฉพาะรถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันดีเซล 3.2 สนับสนุนประชาชนใช้รถจักรยาน มีทางสำหรับการใช้รถจักรยานชัดเจน 3.3 ความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ / ความเพียรพยายามในการเอาชนะอุปสรรค-ปัญหาต่างๆ 3.4 อารยธรรมและสิ่งก่อสร้างที่ได้ไปเยี่ยมชม เช่น กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้าม สุสานเหมาเจ๋อตุง ข้อ 4. มีบทเรียนกับตัวเอง เรื่องอะไร การจัดการประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ / การจัดการในการอำนวยความสะดวกผู้เข้าสัมมนา เช่น ชุดหูฟัง(แปลภาษา) / การรักษาความปลอดภัย / การจัดนิทรรศการแสดงสินค้าสหกรณ์ ข้อ 5. ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้ารับทั้งผิดและชอบ การจะพัฒนาคนให้เป็นผู้นำต้องมีการปลูกฝัง ให้ความรู้ ให้โอกาสในการตัดสินใจ ควรต้องเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชน ให้ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ เอาจริงเอาจัง เรียนรู้ ฝึกฝน ดังเช่นที่ประเทศจีนเป็นหนึ่งในกีฬาหลายๆด้าน ก็มีการคัดและฝึกเยาวชนแต่ยังเด็ก

ส่งการบ้าน อ.จีระ

ข้อ 1. ประเทศจีนกับไทยในอนาคตจะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร

1.1 การลงทุนทำธุรกิจการค้าส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร จีนน่าจะเป็นตลาดใหญ่ของการส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร/ผลิตผลการเกษตรเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ผลไม้ต่างๆ

1.2 ความร่วมมือกันทางด้านการผลิต เทคโนโลยีใหม่ๆ

ข้อ 2. สหกรณ์ของเขากับเราแตกต่างกันอย่างไร

ได้เห็นบรรยากาศการประชุมสมัชชาใหญ่ผู้แทนสมาชิกขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (International Cooperative Alliance,Asia and Pacific - ICA AP)ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมนานาชาติปักกิ่ง (Beijing International Convention Center - BICC)และมีการจัดงานแสดงสินค้าสหกรณ์ด้วย

2.1 สังเกตเห็นได้ว่า รัฐบาลจีนให้การสนับสนุน และให้ความสำคัญกับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์เป็นที่รู้จักของหน่วยงานและเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป

2.2 แบรนด์สินค้าสหกรณ์เป็นที่ยอมรับ ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี

2.3 ความเป็นเมืองที่มีการปกครองระบบพรรค บริหารงานแบบรวมศูนย์ ทำให้นโยบายต่างๆได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เห็นผลได้ชัดเจน ทุกคนยอมรับ เชื่อฟังและปฏิบัติตาม

ข้อ 3. ประทับใจอะไรบ้าง

3.1 เท่าที่ได้สัมผัสเมืองหลวงของประเทศจีนอยู่สามวัน สังเกตได้ว่าแม้การจราจรจะหนาแน่นแต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีควันพิษจากท่อไอเสีย ได้ทราบจากไกด์ท้องถิ่นว่า จีนมีนโยบายให้ใช้เฉพาะรถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันดีเซล

3.2 สนับสนุนประชาชนใช้รถจักรยาน มีทางสำหรับการใช้รถจักรยานชัดเจน

3.3 ความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ / ความเพียรพยายามในการเอาชนะอุปสรรค-ปัญหาต่างๆ

3.4 อารยธรรมและสิ่งก่อสร้างที่ได้ไปเยี่ยมชม เช่น กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้าม สุสานเหมาเจ๋อตุง

ข้อ 4. มีบทเรียนกับตัวเอง เรื่องอะไร

การจัดการประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ / การจัดการในการอำนวยความสะดวกผู้เข้าสัมมนา เช่น ชุดหูฟัง(แปลภาษา) / การรักษาความปลอดภัย / การจัดนิทรรศการแสดงสินค้าสหกรณ์

ข้อ 5. ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้ารับทั้งผิดและชอบ

การจะพัฒนาคนให้เป็นผู้นำต้องมีการปลูกฝัง ให้ความรู้ ให้โอกาสในการตัดสินใจ ควรต้องเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชน ให้ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ เอาจริงเอาจัง เรียนรู้ ฝึกฝน ดังเช่นที่ประเทศจีนเป็นหนึ่งในกีฬาหลายๆด้าน ก็มีการคัดและฝึกเยาวชนแต่ยังเด็ก

เจนวิทย์ อภิชัยนันท์

ผมขอส่งการบ้าน อ.จีระ

ข้อ 1. ประเทศจีนกับไทยในอนาคตจะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร

ประเทศไทยและจีนมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และในอนาคต ไทยและจีนควรมีความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ดังนี้

1.1 ส่งเสริมความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ยั่งยืน ลดข้อกีดกันทางการค้า

1.2 ไทยควรส่งออกหรือพัฒนาผลิตผลที่เพิ่มมูลค่าในการไปจำหน่ายยังประเทศจีน

1.3 ส่งเสริมด้านการศึกษา ระหว่าง 2 ประเทศ โดยฉพาะภาษาจีน

ข้อ 2. สหกรณ์ของเขากับเราแตกต่างกันอย่างไร

เท่าที่ไปสังเกตการประชุม ICA และชมการแสดงสินค้าเกษตร พบว่า ระบบสหกรณ์ของจีนนั้นเข้มแข็งมาก ในการติดต่อกับสหกรณ์ของจีน ต้องติดต่อผ่านหน่วยงานที่คล้ายๆ สันนิบาตบ้านเรา มีการรวมตัวกันที่เข้มแข็ง สมาชิกส่วนใหญ่มีความจริงใจในการเป็นสมาชิก รวมถึงรัฐบาลมีอำนาจในการควบคุม ทำให้สหกรณ์มีความเป็นเอกภาพ ส่วนของไทย เท่าทีรับฟังข้อมุลจากพี่ๆ พบว่าสหกรณ์ของเราค่อนข้างสมัครใจ จนบางทีสมาชิกไม่ค่อยเห็นคุณค่า และคอยจะมารับแต่ประโยชน์จากสหกรณ์ พอที่อื่นขายได้ราคาดี ก็ไปขาย แต่พอราคาไม่ดีก็มาให้สหกรณ์ช่วยเหลือ น่าจะมีการพัฒนาให้สมาชิกเห็นถึงคุณค่าของสหกรณ์

ข้อ 3. ประทับใจอะไรบ้าง

- รูปแบบธุรกิจที่รัฐบาลส่งเสริม เป็นตัวทำรายได้เข้าประเทศได้ดี มีการสร้างเรื่องเล่าที่น่าสนใจเพื่อเป็นจุดขายในแต่ละส่วน ตั้งแต่ที่ไกด์ปูเรื่องราวบนรถ จนถึงการไปซื้อที่สถานที่จริง ที่มีความน่าสนใจ

- ความยิ่งใหญ่ของประเทศจีน ที่มีขนาดที่ใหญ่และประชากรที่มาก จนไม่น่าเชื่อว่าเราจะเป็นหนึ่งในประเทศที่จีนใกล้ชิดและรู้จักมากที่สุดประเทศหนึ่ง พนักงานขายหลายๆแห่งพูดไทยได้

ข้อ 4. มีบทเรียนกับตัวเอง เรื่องอะไร

- การได้ไปดูงานและฟังบรรยายที่สถานทูตไทย ได้พบกับทักษะการพูดและการตอบปัญหาแบบนักการทูต เป็นบทเรียนและแง่คิดในการใช้ชีวิตในอนาคต

- การต่อราคาสินค้า บางทีก็เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการต่อรอง รวมถึงความภูมิใจเล็กๆ ที่ได้ต่อราคาสินค้าได้

ข้อ 5. ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

- มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมากขึ้น ในการมาประเทศจีนได้เห็นสิ่งใหม่ๆ

- ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพี่ๆ ผนส.5 ทุกคน ซึ่งแต่ละคนก็มีเรื่องราวและมุมมองต่างๆ ที่ถ้าไม่ได้มาใช้ชีวิตร่วมกัน คงไม่ได้มีประสบการณ์แบบนี้

ขอบคุณครับ

ดูสรุปเนื้อหาการบรรยาย 17 ก.ย.ได้ที่ลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/382550

 

สรุปการบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำในโลกที่เปลี่ยน โดย Mr. Peter Bjork ในวันที่ 17 กันยายน 2553

  • วัฒนธรรมการทำงานสวีเดน
  • การทำงานแบบทุกคนมีส่วนร่วม
  • ทำงานเสมอภาค
  • เน้นพัฒนาคนรายบุคคล
  • แยกเรื่องส่วนตัวจากเรื่องงาน
  • ในองค์กรสวีเดน ถ้าจะตัดสินใจ ก็ต้องวิคราะห์อย่างละเอียด โดยพยายามให้มีฉันทานุมัติลงคะแนนเสียง ใช้ข้อเท็จจริงคุยกัน ไม่วิพากษ์ถึงตัวบุคคล เจรจาประนีประนอม
  • สวีเดนถือว่า ความโปร่งใสทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ
  • ในสวีเดน ไม่เน้นแบ่งชนชั้น คนอาวุโสน้อยก็เป็นผู้นำได้
  • รูปแบบภาวะผู้นำ เป็นคุณลักษณะภายในและการพัฒนามากกว่าตำแหน่ง ผู้นำกับผู้จัดการไม่เหมือนกัน
  • ภาวะผู้นำมีความสำคัญขึ้น
  • มันไม่ง่ายที่จะเป็นผู้นำในปัจจุบัน
  • คุณสามารถพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของตัวคุณเองได้
  • หลายปัจจัยส่งผลให้เราสามารถแสดงภาวะผู้นำออกมาได้ เช่น บริบทองค์กร ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน วัฒนธรรม
  • งานวิจัยภาวะผู้นำจากอเมริกา พบว่า ผู้นำที่ดีต้องให้ความสำคัญกับทั้งคนและประสิทธิภาพงาน นั่นคือ Team Management Style
  • ตัวอย่างผู้นำที่ให้ความสำคัญกับทั้งคนและประสิทธิภาพงาน เช่น นายกรัฐมนตรีไทยที่ผ่านมา ประธานาธิบดีคลินตัน ผู้นำบริษัทปูนซิเมนต์ไทยและซีพี

 

ช่วงแสดงความคิดเห็น

ทำไมความเปลี่ยนแปลงจึงมีความสำคัญต่อภาวะผู้นำ

ตอบ

  • ต้องการอะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิม
  • ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้าเราจะแข่งขันได้ ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและตัดสินใจรวดเร็ว
  • เพื่อเสี่ยงหาความสำเร็จ

 

เนื้อหา (ต่อ)

  • ข้อมูลฟาแรกซ์ได้นำเสนอภาวะผู้นำโดยนำมิติด้านความเปลี่ยนแปลงมาเกี่ยวข้อง เป็นการให้คะแนนผู้จัดการจากบุคคลรอบข้างที่ทำงานด้วยกัน 360 องศา
  • การพัฒนาภาวะผู้นำเป็นเรื่องสำคัญ ต้องใช้กระบวนการและวางแผนเป็นอย่างดี

Workshop

กลุ่ม 1

  • ผู้นำที่เรามีเป็นแบบ transaction เพราะมันติดระเบียบกฎหมาย ทำให้เปลี่ยนแปลงอะไรได้ยาก
  • ผู้นำที่เราต้องการ visible ชัดเจน ถ้าเราสามัคคี เราจะเปลี่ยนระเบียบต่างๆได้ และดูแลโครงสร้างได้เหมาะสม
  • ความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นการให้บริการสมาชิก
  • ตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติพร้อมคือ ในหลวง

กลุ่ม 2

  • ผู้นำที่มีคือ Entrepreneur เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ เช่น ใช้เครื่องมือใหม่บริหารสหกรณ์ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
  • ผู้นำที่เราต้องการ visible ชัดเจน บริหารการเปลี่ยนแปลง ใช้โครงสร้างให้เหมาะสม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหลายฝ่ายรวมทั้งบุคลภายนอก
  • ตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติพร้อมคือ โอบามา เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 3

  • ผู้นำที่มีคือ ผู้นำเป็นทางการ
  • ผู้นำที่เราต้องการ visible ชัดเจน
  • ตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติพร้อม
  • ในหลวงใช้เศรษฐกิจพอเพียง
  • เติ้งเสี่ยวผิง บริหารการเปลี่ยนแปลงดี

กลุ่ม   4

  • ผู้นำที่มีคือ relationship และ nice guy
  • ผู้นำที่เราต้องการ visible ชัดเจน
  • ตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติพร้อมคือ พลเอกชาติชาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า

กลุ่ม 5

  • ผู้นำที่มีคือ nice guy หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ไม่กล้าตัดสินใจ
  • ผู้นำที่เราต้องการ visible ชัดเจน ครบทุกอย่าง มีประสิทธิภาพ
  • ตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติพร้อม คือ ตัน ภาสกรนที สร้างแบรนดโออิชิ เน้นการเปลี่ยนแปลง สร้างความสัมพันธ์ลูกค้า รักษาโครงสร้างองค์กร

Mr. Peter Bjork

  • ทุกคนพูดถูก
  • ผมพยายามทำให้คุณนำไปเชื่อมโยงกับความเป็นจริง
  • หลายคนพูดถึงหลายรูปแบบของภาวะผู้นำ เช่น ผู้นำทางการ คนดี Transaction
  • ทุกคนต้องการผู้นำ visible
  • บางกลุ่มพูดถึงโอบามาซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี

คลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านบทความดร.จีระ

http://www.naewna.com/news.asp?ID=228457

สรุปการบรรยายเรื่อง การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์องค์กร โดย รศ.ดร.ยุบล เบญจรงค์กิจ ในวันที่ 18 กันยายน 2553

  • ประชาสัมพันธ์คือ การสร้างความสัมพันธ์กับประชาชน
  • สาธารณชนคือ ผู้คนทุกกลุ่มที่หน่วยงานจำเป็นต้องติดต่อด้วย ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงาน สื่อมวลชน ชุมชน รัฐบาล นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน
  • การประชาสัมพันธ์คือความพยายามวางแผนเพื่อให้เกิดความคิดเห็นและพฤติกรรมโดยการสื่อสารสองทางทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมและมีความพอใจร่วมกัน
  • องค์กรต้องมีธรรมาภิบาล เพราะสังคมก็มีสิทธิ์ตรวจสอบความโปร่งใส
  • ข่าวต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับองค์กรและข่าวต่างประเทศสำคัญมาก อาจทำให้องค์กรประสบภาวะวิกฤติได้
  • การประชาสัมพันธ์ต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบอกอะไรเกี่ยวกับเราให้สาธารณชนทราบ เช่นเราอยากให้สหกรณ์เป็นที่พึ่งของสมาชิก ในการที่จะทำให้สมาชิกทราบว่าสหกรณ์เป็นที่พึ่งของเขาได้โดยสื่อให้เห็นว่าสหกรณ์ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร แต่คนในสหกรณ์ต้องมีความคิดตรงนี้ก่อน จะได้แสดงออกได้ตรงกัน
  • การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่การสร้างภาพ เพราะการสร้างภาพหลอกคนได้ชั่วขณะเท่านั้น
  • การประชาสัมพันธ์ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดจากคนในหรือขอความร่วมมือจากคนนอกก็ได้
  • วิธีการการประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องรวบรวมข้อมูลจากคนนอกด้วย
  • กระบวนการประชาสัมพันธ์ (RPIE)
  • R=Research วิจัยแล้วนำผลมาแบ่งปันให้รับรู้ร่วมกันว่าชอบและเกลียดองค์กรเราตรงไหน เกลียดเพราะอะไร จะได้แก้ปัญหาถูก
  • P=Planning วางแผน ต้องวางแผนร่วมกัน จะได้รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน
  • I=Implement ปฏิบัติ
  • E=Evaluation ประเมินผล
  •  นักประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่ผลักดัน ส่งเสริม
  • ผู้บริหารต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ด้วย เป็นนักสื่อสารที่ดี
  • ถ้าผู้บริหารสื่อสารไม่เก่ง ก็ตั้งโฆษกมาช่วย
  • องค์กรต้องทำประโยชน์ต่อสังคมด้วย ทำให้สื่อสารกับสาธารณชนได้ง่าย
  • กลยุทธ์
  • ใช้สื่อให้เหมาะสม
  • ใช้ข้อมูลและการจูงใจให้เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนทัศนคติคน
  • ควรจัดสมาชิกเป็นกลุ่มๆ ตามอายุ
  • กลุ่มเก่า มีเงินมาก สนใจการลงทุนให้ได้สิทธิประโยชน์
  • กลุ่มใหม่ ยังไม่รู้มาก ต้องให้ข้อมูล และต้องถามว่าชอบการสื่อสารแบบไหน ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ต
  • องค์กรที่ไม่ public ไม่ควรใช้สื่อโทรทัศน์ เพราะแพง และไม่ได้เจาะถึงกลุ่มเป้าหมาย
  • นักประชาสัมพันธ์ต้องพูดความจริง มีจริยธรรม

 

สรุปการบรรยายเรื่อง การบริหารอารมณ์ (EQ Development) โดย อาจารย์แสงอุษา โลจนานนท์ ในวันที่ 18 กันยายน 2553

คน EQ ดีจะใช้ปัญญาอยู่เหนืออารมณ์

 

กิจกรรม เลือกระหว่าง ความร่ำรวย ความสุข สุขภาพดี

ผลการเลือก

ความร่ำรวย 0%

สุขภาพดี 90

ความสุข 10%

 

บทเรียน

ผลสุดท้ายเราก็ได้ 3 อย่าง มีทั้งสามอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน

แต่ถ้าสามตัวต่างคนต่างอยู่ สุดท้ายคนก็เลือกความสุข

 

กิจกรรม วาดแก้วความสุข เติมน้ำลงไปตามปริมาณความสุขที่มี

บทเรียน ศักยภาพในการเติมน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น แก้วก็ใหญ่มากขึ้นเติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม วิธีทำให้เต็ม ก็ลดขนาดของแก้วลง (ลดเงื่อนไขในชีวิตลง)

 

Workshop ปัญหาและอุปสรรค ในเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน ที่ทำให้เราไม่มีความสุข

สรุปผลคะแนนที่ top hit

ส่วนตัว

งานสหกรณ์

ไม่มีเวลาให้ครอบครัว

สุขภาพ

อนาคตลูก

ผลงาน

ลูกน้องไม่ได้ดังใจ

ความคิดเห็นขัดแย้ง

บางข้อก็ถือว่าวิกฤตสำหรับบางคน

 

บทเรียน

ถ้าเรามองว่าเป็นปัญหา ใจจะไม่สบาย  ถ้าแก้ปัญหาเสร็จ ก็หายเครียด

คนที่ประสบความสำเร็จสามารถมองปัญหาให้เป็นโอกาสได้

 

ทดสอบความเครียด    ดูรูปแล้วหาความแตกต่าง

พบว่า   คนที่มองแล้วพบความแตกต่างมาก จะเครียดมาก

 

เนื้อหา (ต่อ)

ความเครียดเกิดจากการมองไปในอนาคตและคิดถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

 

ในการทำงาน  กลัวว่าผลงานไม่เป็นไปตามแผน  ต้องใช้เครื่องมือคือ

องค์ความรู้ในเรื่องที่จะต้องทำ

ใส่ทักษะเข้าไป

เปลี่ยนพฤติกรรม

การฝึกคนแบบนี้ได้ผลเร็วแต่อยู่ไม่นานเพราะไม่ได้ใช้ ทำให้ลืม ต้องทำให้เชื่อมโยงกับความเป็นจริงได้

 

วิธีบริหารสุขภาพใจ

ต้องรับความเครียดให้น้อยลง

ขจัดความเครียด

เพิ่มภูมิคุ้มกันทำให้เครียดยากขึ้น

 

สมองเป็นพรสวรรค์ของมนุษย์ มีความคิดมากกว่าสัตว์ จำสิ่งที่เกิดมาแล้วหลายปีได้ นำอดีตบวกปัจจุบันและสร้างกลยุทธ์ในอนาคตได้

 

ทฤษฎี SMILE

 

S=Self Awareness ต้องรู้จักศักยภาพตัวเอง มีทักษะอะไรที่ทำได้บ้าง แต่ไม่ใช่ว่าทุกทักษะที่คุณทำได้โดยเป็นธรรมชาติ ศักยภาพคือสิ่งที่คุณทำได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก นอกจากนี้ต้องชื่นชมศักยภาพในตัวเรา แม้บางทีเราไม่ชอบมันก็ตาม ถ้าแก้ไม่ได้ แต่ควรนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อาจจะเปลี่ยนภาวะแวดล้อมให้เอื้อและเห็นคุณค่าศักยภาพนั้น  เรามีความต่างกัน มีเอกลักษณ์ในตัวเอง แต่มักไม่ได้ใช้ ต้องนำเอกลักษณ์ตัวเองมาใช้ให้ได้

 

ระหว่างความเชื่อกับศักยภาพ อะไรมีอานุภาพมากกว่ากัน ความเชื่อสามารถจุดประกายฝันได้และอาจดับฝันได้

 

แต่ละคนอาจประสบความสำเร็จได้เหมือนกันแต่กระบวนการไปสู่ความสำเร็จอาจต่างกัน

 

กิจกรรม คิดถึงรีโมทคอนโทรล

บทเรียน ภาวะแวดล้อมไม่ได้เอื้ออำนวยให้ใช้ได้ทุกปุ่ม ก็เหมือนศักยภาพคนเราที่ไม่ได้ใช้ครบ

 

M=Manage emotion บริหารอารมณ์ด้วยปัญญา

คนเรามักมีแรงต้านอยู่ข้างใน บางทีก็มีแรงดันในตัวเรา

เมื่องานเป็นหน้าที่ ก็สนุกยาก

พัฒนาทักษะทำได้ง่ายกว่าพัฒนาให้ชอบ ถ้าทำในสิ่งที่ชอบ จะทำได้นานกว่า

 

I=Innovate Inspiration สร้างสรรค์เป้าหมายและปลดปล่อยศักยภาพในตนเอง

เอกลักษณ์ของคุณ (Limited edition) จะทำให้งานของคุณน่าอภิรมย์มากขึ้นและเพิ่มคุณค่าของงานได้ แม้ว่างานจะเป็นงานเดิมก็ตาม

 

L=Listen with head and heart เข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่งรอบข้าง

ทุกคนเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ แต่ต้องใช้ศักยภาพที่แตกต่างของเขาให้เกิดประโยชน์

 

E=Enhance social skill

อยู่กับธรรมชาติรอบข้างอย่างมีความสุข

 

การบริหารอารมณ์เหมือนการบริหารบัญชีออมทรัพย์ ก็จะมีดอกเบี้ย

 

ถ้าเราอยู่ในที่ที่ไม่ได้ใช้ศักยภาพของคุณ คุณก็จะมองหาเสาร์อาทิตย์ทุกครั้ง

คลิกที่นี่อ่านเนื้อหาบรรยาย 24 ก.ย. 53

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/372489?page=11

การบรรยายเรื่อง ผู้นำในระบอบประชาธิปไตย โดย อาจารย์โคทม อารียา ในวันที่ 25 กันยายน 2553 

  • ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน
  • วิถีชีวิตประชาธิไตย
  • ใจกว้าง
  • คิดอย่างสุขุมและวิพากษ์ ฟังก่อนตัดสินใจ
  • พร้อมฟังและแลกเปลี่ยน
  • ประนีประนอมผ่อนปรน
  • ไม่วางใจอำนาจสมบูรณ์
  • ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
  • สันติวิธี
  • ผู้นำเกี่ยวกับอำนาจ ผู้นำมักจะครอบงำ นำทาง ตัดสินใจแทน
  • ผู้นำที่เป็นผู้รับใช้ เข้าใจผู้อื่น ไม่บีบคั้น มีอำนาจจากภายในและร่วมกับคนอื่น และตัดสินใจจากการเห็นพ้องต้องกันให้มากที่สุด

 

วีดีโอ แมนเดลล่า

บทเรียน ผู้นำต้องรู้จักให้อภัย

 

วีดีโอ ทีมรักบี้ สปริงบอก ของแอฟริกาใต้

บทเรียน มองคนผิวขาวเป็นเพื่อนร่วมชาติ ไม่ใช่ศัตรู ภาวะผู้นำต้องมีการปรองดอง

แมนเดลล่าใช้รักบี้หลอมรวมชาติ สนับสนุนทีมสปริงบอก

 

วีดีโอ แมนเดลล่า (ต่อ)

บทเรียน ผู้นำต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้คนผิวดำคุ้นเคยกับกติกา

 

เนื้อหา (ต่อ)

  • ผู้นำอย่าทำให้คนอื่นกลัว
  • เทคนิคการเป็นผู้นำ
  • ฟังก่อน แล้วพูดทีหลัง
  • ตั้งใจฟัง
  • อดทนต่อความเห็นต่าง
  • ไม่พูดเชิงกล่าวโทษโดยเฉพาะกล่าวโทษเจตนา เพราะทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ
  • แม้สงสัย ให้เฝ้าสังเกตต่อไป
  • สอบถามความเห็นมากกว่าสั่งการ
  • รู้จักแสวงหาโอกาส
  • ทำเรื่องยากให้ได้ผล
  • รู้จักดูคน ใช้คน ชนะใจเขา
  • แสวงหากัลยาณมิตร
  • หมั่นประชุมหารือเพื่อตัดสินใจร่วมกัน
  • มีความโปร่งใส
  • พร้อมรับผิด

 

ช่วงแสดงความคิดเห็น

ถาม การที่บ้านเมืองมีปัญหาเป็นเพราะนักการเมืองใช่ไหม

ตอบ ไม่ใช่ นักการเมืองก็มาจากประชาชน

 

เนื้อหา (ต่อ)

  • ปัจจุบัน เรารู้ความจริงที่ต่างกัน มีข้อมูลคนละชุดกัน
  • ในการไปสู่ความสมานฉันท์ อินโดนีเซีย เน้นชาติ ศาสนา ประชาธิปไตย
  • การเปลี่ยนแปลง ต้องใช้ประชาธิปไตย
  • รัฐต้องร่วมกับสังคมมาช่วยกันแก้ปัญหายากๆ สังคมต้องมีจิตสาธารณะด้วย

กำหนดการ

งานฉลองจบโครงการ ผนส.5

18.00 น. เริ่มงาน / ฉายวิดีทัศน์กิจกรรมผนส.5 / รับประทานอาหารว่าง+เครื่องดื่ม

19.00 น. พิธีกรเชิญประธานฯ กล่าวเปิดงาน

ผนส.5 มอบของที่ระลึกแด่อาจารย์และทีมงานสสท.

รับประทานอาหาร (โต๊ะจีน)/นักร้องขับกล่อมเพลงไพเราะ

20.00 น. การแสดงละครเวที (ผนส.2)

20.30 น. ประธานฯเปิดฟลอร์ / เชิญผู้ร่วมงานร่วมรำวง

การแสดง รำวงย้อนยุค (ผนส.5)

21.30 น. การขับร้องหมู่ เพลง......... (ผนส.1-4)

22.00 น. ปิดงาน

เพื่อนๆช่วยดูด้วย ใครคิดเห็นอะไรต่างจากนี้ช่วยเสนอแนะด้วยค่ะ

ศิริวรรณ 081 9263632

การบรรยายเรื่อง ผู้นำกับการพัฒนาระบบความคิด โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในวันที่ 25 กันยายน 2553

  •  ผู้นำสามารถพัฒนาได้
  • เช่นเดียวกัน ในการพัฒนาบุคลากรสายการบิน ต้องนำคนไปไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม คือ ต้องเลือกคนที่มีจิตใจบริการมาเป็นแอร์โฮสเตส สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้พัฒนาบุคลากรให้บริการดีขึ้น
  • การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ อย่าสั่งคนอื่นมาก
  • เล่าจื๊อบอกว่า
  • การปกครองโดยคนอื่นไม่รู้สึกว่าถูกปกครอง ดีที่สุด
  • ปกครองแบบคนสรรเสริญ ดีรองลงมา
  • การปกครองที่ทำให้คนกลัว แย่
  • การปกครองที่ประชาชนแล้วประชาชนรังเกียจ เช่น ใช้ปืน ใช้นักเลง แย่ที่สุด
  • การใช้อำนาจโดยตำแหน่งนำมักไม่ได้ผล
  • การวางคนให้ถูกตำแหน่งเป็นเรื่องสำคัญ
  • การนำทางความคิดคือการเป็นผู้นำที่แท้จริง เพราะโลกชนะกันด้วยความคิด
  • การเปลี่ยนผู้นำทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนหมดเลย
  • การมีความรู้และประสบการณ์มากทำให้คิดได้ดีขึ้น
  • การไปศึกษาดูงานเป็นเรื่องดี แต่การจัดยังไม่ค่อยดี ควรมีการเตรียมตัวก่อนไปดูงานว่า ต้องทำอะไรบ้าง ระหว่างดูทำอย่างไร กลับมาแล้วนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร
  • เมื่อทักษะการคิดดี การนำก็จะดี
  • ธาเลส บอกว่า คำถามที่ดีนำไปสู่การคิดที่ยิ่งใหญ่
  • โซคราติส สอนลูกศิษย์โดยตั้งคำถามและสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนำวิธีนี้มาใช้ในการสอน
  • การเป็นผู้นำทางความคิด ต้องอยากรู้ อยากเห็น ถามคำถามที่ลึกซึ้ง มีการคิดวิเคราะห์
  • ต้องหาจุดที่องค์กรอื่นสู้ท่านไม่ได้มาเป็นจุดแข่ง
  • แนวโน้มโลก
  • จะมีแต่บริษัทที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ส่วนบริษัทขนาดกลางจะไม่รอด
  • แรงงานราคาถูกทักษะน้อยจะลำบาก
  • คนชราจะมีมากขึ้น
  • ผู้นำต้องหาทางออกได้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม และคิดวางแผนเป็นยุทธศาสตร์
  • ต้องรู้จักคิดเชิงบูรณาการ คิดวิพากษ์ คิดเชื่อมโยง มองอย่างเป็นระบบ สามารถสกัดนำสิ่งจำเป็นเกี่ยวข้องมาหล่อหลอม นำมาประยุกต์ใช้ได้
  • ผู้นำต้องเห็นภาพใหญ่เหมือนมองลงมาจากระเบียงแต่ผู้นำก็ยังไม่ค่อยได้มองภาพกว้าง
  • ผู้นำต้องบ่งชี้ปัญหาได้อย่างแม่นยำ

 

สรุปการนำเสนอโครงการ วันที่ 5 ตุลาคม 2553

 

1.              อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์

โครงการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพผลไม้ผ่านกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

  • สหกรณ์ให้ความสำคัญการดำเนินธุรกิจตอบสนองความต้องการของสมาชิก

 

เป้าหมาย

  • พัฒนาเศรษฐกิจ ผลไม้มีการส่งออกมูลค่าหลายแสนล้านบาท
  • ทำให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลิต
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

ผลที่จะได้

  • สมาชิกนำผลผลิตมีคุณภาพมาจำหน่ายให้สหกรณ์
  • สหกรณ์รวบรวมผลผลิตได้มากขึ้น
  • แก้ปัญหาราคาตก
  • เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

 

กิจกรรม

  • จัดรวบรวมข้อมูลสมาชิก
  • ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้
  • รวบรวมผลผลิต
  • สรุปและประเมินผล จากรายได้เกษตรกร

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • มีความตั้งใจมาก
  • เตรียมตัวดี
  • เปิดประเด็นกับสรุปมันกลืนกันไปหน่อย
  • เป็นโครงการที่เขียนมากระชับ
  • ในการเขียนหลักการและเหตุผล อาจกล่าวถึงความเป็นมาของสหกรณ์
  • ตัวเลขที่นำเสนอต้องมีการนำเสนอที่มา

ดร.สุวิชัย

  • คล้ายกับงานที่ทำทั่วไป
  • มีตัวชี้วัดชัดเจน ควรมีการประเมินความเสี่ยงของโครงการด้วย
  • ควรเปิดตัวโครงการให้น่าสนใจขึ้น เช่นชี้ว่า ต่างจากโครงการอื่นๆอย่างไร

 

คุณอำไพ

  • เป้าหมายโครงการชัดเจน นำหลักสหกรณ์มาใช้
  • ประเมินผลชัดเจนดี

 

2.              คำนึง โสตถิอุดม

โครงการนำขบวนการสหกรณ์สู่ชุมชน

  • สร้างเครือข่าย
  • สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการด้านสวัสดิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำขบวนการสหกรณ์ไปใช้ในการบริหารจัดการ
  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการนำขบวนการสหกรณ์ไปใช้

 

ดร.สุวิชัย

  • เรื่องนี้ดี เป็นการทำให้สังคม
  • ควรเขียนชื่อเรื่องให้ลงรายละเอียดลงลึกกว่านี้ และเฉพาะเจาะจงกว่านี้
  • ในเรื่องการประเมินผล ตัวชี้วัดควรเพิ่มตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่ชัดเจน
  • ควรเพิ่มตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ขณะดำเนินการด้วย

 

คุณอำไพ

  • เห็นหัวข้อโครงการนี้ ก็ดีใจ

 

ดร.ยม

  • ชื่นชมการเชื่อมโยงในชุมชน
  • เมื่อจบโครงการแล้ว ควรจะมีความต่อเนื่อง
  • ใช้งบมากในการประชุมเชิงปฏิบัติการ
  • มีความตั้งใจดี

3.              พ.ต.อ.บุญชัย ฤาชัยสา

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ

 

ปัญหา

  • ใช้เวลานานในการอนุมัติเงินกู้ ทำให้สมาชิกต้องไปกู้นอกระบบ

 

เป้าหมาย

  • ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการบริการ
  • มีระบบการบริการที่เสมอภาคเท่าเทียม
  • จัดสภาพแวดล้อมอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม

 

การประเมิน

  • ออกแบบสอบถามสมาชิก

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ดีใจที่มีการพัฒนาการบริการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ
  • ชื่อเรื่องไม่ค่อยตรงกับวัตถุประสงค์ ควรเปลี่ยนชื่อเป็น “การพัฒนาการบริการ”
  • ดีมาก ที่มีการประเมินผลระหว่างและหลังการปฏิบัติงาน
  • ควรจะมีการประเมินความเสี่ยง

 

คุณอำไพ

  • จุดดีของโครงการนี้คือมีการประชาสัมพันธ์ด้วย

 

ดร.ยม

  • การทำ Power point น่าสนใจ
  • ทำเอกสารชัดเจน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ
  • จุดแข็งคือ ตัวชี้วัดชัดมาก

 

4.              วีรศักดิ์ สงเคราะห์

โครงการสินค้าเพื่อการพัฒนาผลผลิต

  • จำหน่ายปุ๋ยยาปลอดดอกเบี้ยให้สมาชิก 9 เดือน
  • ทำให้สมาชิกมีหนี้ค้างชำระน้อยลง
  • กระตุ้นยอดขายสินค้าสหกรณ์

 

คำถาม

1.ใช้เทคนิคอะไรให้ทำ 0% ได้

ตอบ เลือกคุย 4-5 บริษัทที่คุ้นเคยเพื่อลดก่อน ถ้าลด บริษัทอื่นๆก็ลดตาม

2. มั่นใจได้ว่าอย่างไรว่า สมาชิกจะมารับออร์เดอร์ได้หมด

ตอบ ให้สั่งได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาท ถ้าไม่หมด สหกรณ์ต้องตั้งเป็นสินค้าค้างระหว่างปิดบัญชี

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • โครงการนี้ดีตรงกับวิสัยทัศน์
  • ชื่อโครงการควรเปลี่ยนเป็น สินเชื่อเพื่อความเข้มแข็งของสมาชิก
  • การติดตามและประเมินผล ตามเงินกู้เป็นระยะถูกแล้ว

 

5.              ศิริวรรณ ปัญญาธรรม

โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เจ้าหน้าที่สหกรณ์

  • พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรอบรู้
  • พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีแรงผลักดันเพื่อพัฒนาตัวเอง

 

การดำเนินการ

  • ให้เจ้าหน้าที่ได้รับการสัมมนาภายนอก
  • จัดทุนการศึกษาต่อในระดับสูงให้เจ้าหน้าที่
  • จัดฝึกอบรมร่วมกับสหกรณ์ภาคี
  • เชิญวิทยากรมาบรรยายในเรื่องที่ต้องการ
  • จัดให้มีการแข่งขันทักษะความสามารถและความรู้

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • นำเสนอได้ดี น่าสนใจ เข้าใจง่าย
  • การลำดับการนำเสนอดี เป็นขั้นตอน
  • หัวข้อตรงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ
  • เป็นโครงการที่ดี
  • ในการจัดทำแผนการศึกษาอบรมเจ้าหน้าที่ ควรจะมีการวิเคราะห์มากขึ้น

 

คุณอำไพ

  • จุดเด่น คือนำหลักมาสโลว์มาใช้ คือจัดประกวดทักษะ ควรรักษาจุดนี้ไว้

 

ดร.ยม

  • โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรครอบคลุมบุคลากรทุกระดับ
  • ต้องหาความจำเป็นในการฝึกอบรม อบรมอะไรเพื่อให้สหกรณ์ไปสู่วิสัยทัศน์
  • วิทยากรต้องพูดภาษาชาวบ้าน
  • ควรต้องมีการพัฒนาเรื่องคุณธรรมด้วย
  • รูปแบบการนำเสนอดีมาก
  • อย่าลืมเรื่องความต่อเนื่อง อบรมแล้วต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้สหกรณ์

 

6.              พ.อ.ยุทธเดช พุฒตาล

โครงการสัมมนาวิชาการ การบริหารงานสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อเรื่องชัดเจน
  • ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์
  • วัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจน
  • ประโยชน์ที่ได้รับก็ตรง
  • ควรเพิ่มเวลาการสัมมนาให้มากขึ้น สมาชิกจะได้ประโยชน์มากขึ้น
  • ควรเพิ่มกิจกรรมและตัวชี้วัด

 

ดร.ยม

  • ใช้ไอทีได้คล่องแคล่ว
  • เทคนิคนำเสนอน่าสนใจ
  • ทำเอกสารดี
  • โครงการสัมมนาเวลายังน้อยอยู่
  • โครงการสัมมนาต้องทำให้ได้รับความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีขึ้นต่อองค์กร
  • หลังสัมมนา ควรมีกิจกรรมจูงใจ ประกวดบุคลากรและหน่วยงานดีเด่นด้านธรรมาภิบาล

 

7.              สมชาย

โครงการโรงเรียนต้นแบบร้านสหกรณ์

  • การทำร้านสหกรณ์ในโรงเรียนเป็นการพัฒนาความรู้ด้านสหกรณ์

 

กิจกรรม

  • ใช้เวลา 12 เดือน เพราะมีขั้นตอนมาก

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อโครงการสื่อได้ดี
  • วัตถุประสงค์และหลักการตรงกับความเป็นจริง ต้องมีการเพิ่มร้านสหกรณ์ในขบวนการสหกรณ์
  • เป็นโครงการดี
  • ผลประโยชน์ก็เขียนได้ชัดเจน
  • อาจใช้งบประมาณได้มากกว่านี้ จะได้ขยายพื้นที่ในการทำ
  • ตัวชี้วัดอาจเพิ่มเติม ว่าแต่ละร้านทำได้ดีเท่าใด ให้มองยาวขึ้น
  • ความต่อเนื่องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
  • การนำเสนอเข้าใจง่าย

 

ดร.ยม

  • มีความมานะพยายามดีมาก
  • อยากให้เช็คเรื่องสีและขนาดตัวอักษรใน Power Point
  • งบอาจจะน้อยเกินไป ควรจะมีงบสำรองระยะที่ 2
  • จบระยะที่ 1 จะทำโครงการต่อเนื่องได้ไหม เช่นเป็นแหล่งศึกษาดูงาน
  • ควรเป็นต้นแบบด้านอื่นด้วย เช่นธรรมาภิบาลและการสร้างคน

 

8.              ชโลทร สุวรรณลาภเจริญ

โครงการแก้ปัญหาหนี้สมาชิกสหกรณ์

  • กระตุ้นให้คนมีเงินมาก มาฝากเงินและทำธุรกิจกับสหกรณ์มากขึ้น
  • พัฒนาการเรียนรู้ให้สมาชิกมีวินัยทางการเงินมากขึ้น
  • ทำให้สมาชิกที่มีปัญหาหนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

การดำเนินการ

  • ทำบัญชีครัวเรือน
  • ส่งเสริมการทำอาชีพเสริม
  • หลักสูตรธรรมะ
  • คณะกรรมการเงินกู้พิจารณาพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของสมาชิกก่อนให้กู้

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • เป็นโครงการที่ดีมาก
  • หลักการและเหตุผลครอบคลุมทั้งหมด
  • ชื่อโครงการเป็นกระบวนการ โจทย์คือหนี้ ถ้าเขียนกระบวนการให้มากขึ้น จะเข้าใจง่ายขึ้น
  • Output การประนอมหนี้ออกมาเป็นแบบไหน ต้องชี้แจงให้ชัดเจน
  • ประโยชน์เป็น Outcome

ดร.ยม

  • นำหลักอริยสัจ 4 มาจับการแก้ปัญหา
  • ดีใจที่นำหลักธรรมมาใช้
  • วิสัยทัศน์ควรเพิ่ม การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้สมาชิก
  • การแก้ปัญหาหนี้สินสมาชิกทำได้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

9.              เกษม

การระดมเงินทุนเพื่อลดการพึ่งพาเงินทุนภายนอก

  • พัฒนาเศรษฐกิจ
  • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของสหกรณ์
  • ระดมทุนเป็นหุ้นและเงินฝาก

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ลงท้ายดี มีคำคม
  • ชอบ โครงการนี้ดีมาก ทำให้สหกรณ์เข้มแข็ง
  • เขียนได้กระชับ เข้าใจง่าย
  • ชอบวิธีการ คือใช้หลักกการตลลาดมาใช้ มีโปรโมชั่นสร้างแรงจูงใจ คูปองชิงโชค มีการประชาสัมพันธ์
  • มีความต่อเนื่องของโครงการ ทำ 3 ปี

ดร.ยม

  • ทุกสหกรณ์ควรตรวจดูวิสัยทัศน์ ต้องเป็นสิ่งที่อยากจะเป็นในอนาคต

10.              ภราดร สื่อมโนธรรม

โครงการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการหลังเกษียณ

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • ถ้ามีโครงการรายได้หลังเกษียณ ควรมีโครงการออมก่อนเกษียณและโครงการสุขภาพและจิตใจด้วย
  • ควรมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ควรมีการติดตามประเมินผลโครงการ

ดร.สุวิชัย

  • เป็นโครงการที่ดีมากเพราะเข้าใจง่าย
  • กิจกรรมอยู่ในระยะที่ประเมินผลได้
  • ตัวชี้วัดเชิงปริมาณชัดเจน
  • มีการนำเสนอโดยรูปภาพชัดเจน

คุณอำไพ

  • ควรมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุพบปะกันด้วย

 

11.              ภาวัต ศุภสุวรรณ

โครงการทัศนศึกษาและร่วมงานวันเครดิตยูเนี่ยนสากลประจำปี 2553

  • สถานที่ จังหวัดขอนแก่น
  • เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของภูเก็ตแก่สมาชิกเครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • โครงการทัศนศึกษามีการไปดูงานและเที่ยวด้วย ถือว่าดี
  • ไปดูงานต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัด

 

12.              ศรชัย วิจิตรพร

โครงการสร้างความมั่นคงสมาชิกสหกรณ์ ว่าด้วยเรื่องที่อยู่อาศัย

  • พัฒนาให้สมาชิกออมมีเป้าหมาย
  • เพื่อให้สมาชิกมีบ้านและที่ดิน

ข้อเสนอแนะ

คุณอำไพ

  • วัตถุประสงค์ชัดเจน
  • มีแผนดำเนินงานชัดเจน

ดร.ยม

  • บริหารตนเองได้ดี
  • กิจกรรมครอบคลุม PDCA ชัดเจน ทำให้ทำตามได้ง่าย
  • มีการทำโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

13.            อารี ภู่สกุล

โครงการสวัสดิการเพื่อสมาชิก (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)

พัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกในด้านสังคมโดยเฉพาะสวัสดิการเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย

 

ข้อเสนอแนะ

คุณอำไพ

  • เป็นโครงการที่ครบวงจร มีระเบียบรองรับ
  • ในการทำกิจกรรม ควรยกตัวอย่างกิจกรรมให้ชัด
  • ควรมีตัวแทนกลุ่มติดตามผล

ดร.ยม

  • เป็นโครงการที่ครบสมบูรณ์แบบ
  • ชื่อโครงการชัดเจน เห็นภาพ
  • ตัวชี้วัดชัดเจน
  • งบประมาณไม่แน่ใจว่าพอหรือเปล่า

14.             สมคิด ศรีพยัคฆ์

โครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรในสหกรณ์

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • เป็นโครงการที่ดี
  • ชื่อโครงการเข้าใจง่าย
  • หลักการและเหตุผลเข้าใจง่าย
  • อยากเพิ่มเติมกิจกรรมให้มีรายละเอียดมากขึ้น
  • ควรมีตัวชี้วัดเชิงคุณภาพให้มีรายละเอียดมากขึ้น
  • การประเมินโครงการชัดเจน

คุณอำไพ

  • โครงการนี้แตกต่างจากโครงการอื่น ไม่ได้เน้นเจ้าหน้าที่อย่างเดียว
  • มีการเน้นกลุ่มเป้าหมายชัดเจน

ดร.ยม

  • ต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพเพื่อคุณภาพหน่วยงานและนำไปสู่คุณภาพผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจของสมาชิก

 

15.             สันติ

โครงการวางแผนกลยุทธ์

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • เวลาทำแผนนานเกินไปหน่อย
  • การเขียนโครงการ ตัวชี้วัดดี

ดร.สุวิชัย

  • ลดเวลาลงได้อีกมาก
  • เวลาทำแผนกลยุทธ์ ฝึกอบรมไม่นานก็ทำได้เลย
  • ควรมีแผนกลยุทธ์ระยะกลางด้วย

 

16.          วิเชียร พวงศรี

โครงการเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ด้านบริการ

  • ทำให้พนักงานขับรถมีความรู้ความเข้าใจในการให้บริการ
  • ทำให้พนักงานขับรถ สมาชิก มีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • เป็นโครงการที่ดี
  • การนำระบบพี่เลี้ยงไปสอนต่อถือเป็นระบบที่ดี ควรมีระบบติดตามว่า จะได้ความรู้เท่ากันจากการสอนต่อจากพี่เลี้ยง

ดร.ยม

  • การใช้พี่เลี้ยงดูแล ก็ต้องพัฒนาพี่เลี้ยงก่อน มีการติวเข้มเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

 

เมื่อเช้านี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้โทรมาแจ้งว่า ท่านที่ปรึกษากฤษฎาติดภารกิจไปราชการด่วนที่ภาคใต้ จึงไม่สามารถมาร่วมเป็นผู้วิพากษ์ได้ในวันที่ 8 ต.ค. 53

จึงเหลือแค่ผู้วิพากษ์ 2 คนคือ ท่านเอ็นนูและอาจารย์ประเสริฐค่ะ

สรุปการนำเสนอโครงการ วันที่ 6 ตุลาคม 2553

1.            วัฒนศักดิ์ จังจรูญ

โครงการระดมทุน

  • ดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือ
  • พัฒนาความรู้ในการออม

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • เสียงดังฟังชัด
  • เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ตรงวัตถุประสงค์
  • ชื่อโครงการควรเพิ่มเป็น ระดมทุนเพิ่มเงินออมจากสมาชิก
  • สาระของงาน
  • ควรเขียนกิจกรรมให้ละเอียด จะสามารถชักชวนสมาชิกมาร่วมมือให้ได้

ดร.ยม

  • ชอบสไตล์
  • ตั้งใจทำดีมาก

2.            ศิริชัย ออสุวรรณ

โครงการเชื่อมโยงธุรกิจสหกรณ์แบบครบวงจร

 

คำถาม

1.             มีนโยบายทำธุรกิจอย่างไร

ตอบ ไม่มุ่งเน้นกำไร ไม่ทำธุรกิจแข่งสมาชิก แต่รวบรวมผลผลิตไปจำหน่ายในราคายุติธรรม ทำแผนธุรกิจทุกปี ค่าเฉลี่ยกำไรสุทธิไม่เกิน 2%

 

2.            ควบคุมปุ๋ยปลอมอย่างไร

ตอบ เรื่องนี้มีผลกระทบตรงสกต. มาตรการกฎหมายเข้มข้น เราต้องปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย เราพยายามหามาตรการประกันให้สมาชิกเรา เราเป็นหน่วยงานที่ปกป้องประโยชน์ จึงต้องมีปุ๋ยของเราเองในกรณีบริษัทใหญ่ฮั้วราคา เราก็เป็นกลไกไปแทรกแซงราคาได้

3.            มีแนวคิดอย่างไรให้สกต.ทุกแห่งเป็นสมาชิกชุมนุมให้ได้

ตอบ ในกฎหมายสมาชิกชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยต้องเป็นชุมนุมสหกรณ์จังหวัด เนื่องจากสหกรณ์การเกษตรมีรายได้ยากจน โอกาสมาเป็นสมาชิกยาก เราก็จะเข้าไปดูแลฟื้นฟูขึ้นใหม่

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อดี มีความแตกต่าง เป็นโครงการระดับประเทศ
  • รายละเอียดดีมาก เข้าใจง่าย
  • เห็นด้วยกับโครงการที่ทำมา
  • อยากให้เพิ่มเติมชื่อโครงการ การเชื่อมโยงธุรกิจสหกรณ์การเกษตรครบวงจร

ดร.ยม

  • การเชื่อมโยงแบบนี้ดี แต่ควรมีการเชื่อมโยงด้านการวิจัยและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์การเกษตรและการพัฒนาบุคลากรสหกรณ์ แล้วแบ่งปันความรู้กัน
  • รายละเอียดดีมาก มีความตั้งใจดี

ดร.ปรีชา

  • โครงการนี้ดูเหมือนใหม่ อาจเป็นการนำหลายๆภารกิจที่ต้องทำมารวมกัน
  • อาจจะเพิ่มรายละเอียดกิจกรรมย่อยๆเพิ่มขึ้น
  • หลักการและเหตุผลใช้ได้
  • ถ้าเป็นแผนงานที่มีเป้าหมายเชิงธุรกิจแบบนี้ ในอนาคตควรคิดถึงแผนธุรกิจ

3.    รุ่งโรจน์ วรชมพู

โครงการพัฒนาสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

  • ส่งเสริมการออมสมาชิก
  • ส่งเสริมให้สมาชิกปลอดภาระหนี้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • ชอบสไตล์
  • อยากให้ดูวัตถุประสงค์ ควรเพิ่ม ความรู้ทักษะ ทัศนคติที่ดีต่อองค์กร

 

ดร.ปรีชา

  • ให้ความรู้ใหม่เป็นเรื่องที่ดี
  • ควรใส่กิจกรรมส่งเสริมการออมให้ชัดเจน
  • ตัวชี้วัดการไม่มีหนี้หลังเกษียณ ขาดตอนเกินไป ค่อนข้างทำยาก

4.                                อัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล

     โครงการพัฒนาข้อมูลในการบริหารงานสหกรณ์

  • ปัญหา สมาชิกได้รับเงินกู้ล่าช้า ทำให้ผิดนัด และไม่เชื่อมั่นระบบสหกรณ์

    

     กิจกรรม

  • Workshop ให้ความรู้

      

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • อยากให้ทบทวนกิจกรรมว่าครบ PDCA หรือไม่

ดร.ปรีชา

  • จากวัตถุประสงค์ดูเหมือนรวบรวมข้อมูล
  • สารสนเทศที่ใช้ในการให้สินเชื่อสมาชิกอาจจะเป็นที่ใช้ในองค์กร
  • ทำเป็นกฎเกณฑ์ได้แต่เป็นสารสนเทศย่อยลงไปยาก
  • ขอให้เพิ่มประเด็น Workshop

 

5.                                อานุภาพ กระจ่างแจ้ง

    โครงการพัฒนาสินเชื่อธุรกิจสหกรณ์

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา

อยากให้แยกโครงการนี้เป็น 4 โครงการ

1.การสำรวจความต้องการด้านสินเชื่อ

2.โครงการพัฒนาสินเชื่อ คิดเป็นระบบ

3. หาแหล่งสินเชื่อต้นทุนต่ำ

4. แก้ปัญหาหนี้ค้าง

จะได้ทำได้ชัดเจนกว่านี้

6.                          รท.สุวรรณ แป้นเพชร

     โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิกสหกรณ์

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • ถ้าพัฒนาแล้วนำมาใช้ ควรมีการประเมินผลเป็นระยะ

การนำเสนอโครงการ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2553

 

1.            ถาวร

โครงการส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพ

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อโครงการทำให้คิดไปไกล
  • เขียนรายละเอียดได้ดีมาก
  • ดีมากที่มีการเชื่อมโยงไทยเข้มแข็งและกรมส่งเสริมสหกรณ์
  • กิจกรรมมีรายละเอียดดี
  • ชอบการประเมินผลมาก มีการลงลึกในรายละเอียด เช่นตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ดร.ยม

  • หลักการและเหตุผลควรใส่ตัวเลขกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองต่อปัญหา

 

2.            มานะ สุดสงวน

โครงการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสู่สถานศึกษา

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • เป็นโครงการที่ดี
  • ในหลักการและเหตุผล ควรจะเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการเดิม
  • ตัวชี้วัดอาจมีการปรับแต่งจากของเดิมได้ ปรับตัวชี้วัดให้เหมาะกับแต่ละปี
  • ผลประโยชน์ที่ได้รับควรจะไปถึงผู้ปกครอง

ดร.ยม

  • ควรแผ่ขยายไปถึงวัดด้วย

 

3.            ศิริพงษ์ มีประเสริฐ

โครงการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์สู่ความยั่งยืน

  • มีศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงปลา
  • แก้ปัญหาหนี้ค้าง

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อดีมาก มองไกลไปสู่ความยั่งยืนและมีความตรงประเด็น
  • หลักการและเหตุผลมีตัวเลขประกอบดีมาก ชี้แนะได้ดีมาก
  • วัตถุประสงค์อาจแย้งกับโครงการ การแก้ปัญหาหนี้สินอาจยังไม่ตอบโจทย์การพัฒนาธุรกิจ
  • มีกิจกรรมมาก
  • ตัวชี้วัดยังไม่ชัดเจน
  • โครงการยาวควรยืดระยะเวลาออกไปอีก
  • เอกสารดีมาก

ดร.ยม

  • ดูกระบวนการแล้วพัฒนาสหกรณ์ไปสู่ความยั่งยืนได้เลย
  • อาจเติมเนื้อหากิจกรรมให้เพิ่มขึ้น
  • มีความตั้งใจมาก

4.            สุมาลัย รักเขตรการ

โครงการปั๊มชุมชน

  • ต้องมีปั๊มชุมชนสาขาย่อย เพราะปั๊มอยู่ห่างไกล
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ขยายจุดบริการน้ำมันแก่ลูกค้าอย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • โครงการนี้เป็นเจตนาที่ดี
  • หลักการและเหตุผลดี
  • กิจกรรมควรเขียนให้ไกลและกว้างกว่านี้
  • ควรมีการประเมินความเสี่ยง
  • ยังขาดความต่อเนื่องของโครงการ

ดร.ยม

  • เราลืมเรื่องคนไป
  • ควรให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
  • ควรศึกษาจุดแข็งแฟรนไชส์แล้วนำมาประยุกต์ใช้

ดร.ปรีชา

  • โครงการนี้ให้ประโยชน์แก่ชุมชนแต่ไม่ควรคาดหวังเรื่องราคา
  • สหกรณ์ท่านจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายเบนซิน
  • ควรมีเงื่อนไขว่าทำไมปั๊มหลอดแพงกว่าปั๊มใหญ่ ต้องสร้างกลไกให้ผูกพันกับสหกรณ์

5.            ภาวิณี

โครงการเสริมสร้างความพึงพอใจเพื่อแก้ปัญหาการลดจำนวนลงของสมาชิกสหกรณ์

  • ศึกษาว่าทำไมบางสหกรณ์มีธุรกิจเฟื่องฟูแต่มีสมาชิกลดลง พบว่า สวัสดิการสมาชิกไม่ได้ผลทำให้สมาชิกลดลง
  • นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจอุดมการณ์สหกรณ์และคนเสื่อมศรัทธาในระบบสหกรณ์ทำให้สมาชิกลดลง

การดำเนินการ

  • ให้ความรู้แก่คนรุ่นใหม่

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อโครงการชัดเจน
  • หลักการและเหตุผลดี มีการนำวิจัยเชิงสำรวจมาประกอบ

ดร.ยม

  • อยากให้นำหลักอริยสัจ 4 ในการวิเคราะห์

ดร.ปรีชา

  • ต้องระวังเงื่อนไขข้อเท็จจริง
  • บางทีสาเหตุการลาออกอาจจะไม่เกี่ยวกับความพอใจหรือไม่พอใจก็ได้

 

การนำเสนอโครงการ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 (ต่อ)

6.   สุรพล ชัยมาลา

โครงการ

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • โครงการมีแนวคิดและการปฏิบัติ เขียนดี
  • วัตถุประสงค์ดี
  • การนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติหายไป แต่โผล่ตอนจบ

ดร.ปรีชา

  • ขั้นตอนกิจกรรมควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

7.    ณฐกร แก้วดี

โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์จังหวัดชลบุรี

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อโครงการเข้าใจง่าย
  • กิจกรรมดูง่าย
  • ตัวชี้วัดกิจกรรม จำนวนสหกรณ์ที่จะเป็นสมาชิกควรเพิ่มขึ้นอีกหน่อย
  • ควรมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ

ดร.ยม

  • ควรเชื่อมโยงการพัฒนาบุคลากร ไอซีที การวิจัยและพัฒนาด้วย

ดร.ปรีชา

  • กิจกรรมให้ความรู้ สามารถมีกิจกรรมย่อยได้

 

สรุป

โครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง ขบวนการสหกรณ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างไร

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2553

ณ ห้องประชุมศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

 

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

  • สหกรณ์บางประเภทพัฒนาไปไกลมาก เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์ มีระบบดำเนินงานได้มาตรฐาน มีเงินทุนสูงมาก
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นเรื่องสังคมก็ประสบความสำเร็จ
  • สหกรณ์การเกษตรมีปัญหามาก เช่นไม่มีที่ดินทำกิน
  • ปัจจุบันนี้ มีการเปิดเสรีการค้า จะมีปัญหามากระทบสหกรณ์การเกษตรอย่างรุนแรง
  • เมื่อตลาดเป็นทุนนิยมเข้มแข็ง สหกรณ์ก็จะถูกเอาเปรียบมาก
  • ระบบสหกรณ์ต้องปรับตัว โดยเฉพาะสหกรณ์การเกษตร
  • จากการระดมสมองผนส. 5 การบริหารสหกรณ์ขาดความต่อเนื่อง ล่าช้า
  • สหกรณ์ขาดเงินทุน แต่มีอัตราดอกเบี้ยสูง อยากให้เปิดเวทีเสวนาระหว่างแหล่งเงินทุนกับสหกรณ์
  • ต้องดูแลภาพลักษณ์สหกรณ์และประชาสัมพันธ์
  • ควรต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถสหกรณ์ สื่อให้ภาครัฐทราบผ่านระบบสหกรณ์ สหกรณ์ไทยยังส่งออกน้อยอยู่

 

คุณภาวัต ศุภสุวรรณ

  • เมื่อปี 2540 ไทยประสบวิกฤติแต่ผ่านมาได้เพราะสหกรณ์
  • แต่สหกรณ์ยังขาดโอกาสจากภาครัฐ
  • สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศมีมากแต่ยังยากจน
  • ร้านค้าต่างประเทศมาขยายกิจการทำให้ร้านสหกรณ์อยู่ไม่ได้
  • เครดิตยูเนี่ยนเป็นภาคประชาชนอย่างแท้จริง
  • สหกรณ์ควบคุมระบบเศรษฐกิจ
  • ควรมีนักการเมืองเป็นปากเสียงให้สหกรณ์บ้าง
  • ควรบุกเบิกสหกรณ์ให้ไปสู่ระดับโลก
  • คนสหกรณ์อดทน อดออม และมุมานะ ควรจะกระตุ้นให้ภาครัฐให้สนใจ
  • สหกรณ์ให้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เครดิตยูเนี่ยนเกิดจากศาลาเล็กๆ แต่วันนี้ใหญ่โตเพราะการสร้างคน

 

คุณ สุรพล ชัยมาลา

  • รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 บอกว่า สหกรณ์เป็นอิสระ แต่รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุน
  • ในภาคสหกรณ์ก็กำลังผลักดันให้สหกรณ์เป็นอิสระ ถ้าทำได้ ขบวนการสหกรณ์จะก้าวหน้า
  • ขบวนการสหกรณ์เป็นสันติวิธี ต้องเริ่มต้นจากการช่วยเหลือตนเอง แล้วนำไปสู่การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

  • คุณศิริชัยพยายามแยกแยะความสำเร็จเป็นสหกรณ์แต่ละชนิด
  • สัดส่วนต่อเกษตรต่อจีดีพี มีแค่ 10% แต่จ้างงานถึง 45%
  • อยากให้มององค์รวมว่าสหกรณ์คืออะไร
  • สหกรณ์ร้านค้าแย่กว่าสหกรณ์เกษตรเพราะเชยมาก
  • ควรรวมตัวคิดร่วมกัน
  • คุณภาวัตพูดดีเรื่องเครดิตยูเนี่ยน
  • เครดิตยูเนี่ยนเป็นกระบวนการการเงินยิ่งกว่าไมโครไฟแนนซ์ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่ในมุมเล็กๆ
  • สมัยก่อน สหกรณ์ยังขาดการมองโลกในแง่ดี
  • แต่ 5 รุ่นนี้ มีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
  • ความสำเร็จคือรุ่น 1-5 ต้องกลับไปช่วยสหกรณ์
  • คุณสุรพลพูดถึงการบริหารจัดการซึ่งเป็นจุดอ่อนสหกรณ์
  • สหกรณ์ยังอ่อนเรื่องการพัฒนาคน
  • ควรลงทุนเรื่องทุนมนุษย์ในวงการสหกรณ์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  • อดีตรมช.ชาติชายเคยเสนอให้มีการตั้งสถาบันกรรมาธิการสหกรณ์
  • ควรช่วยกันหาเส้นทางเดินและสร้างศักยภาพของรัฐบาล
  • หลักสูตรของสันนิบาตสหกรณ์ดี แต่เป็นดาวกระจาย ต้องมีการบริหารจัดการด้วย

 

รศ.ดร. ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

  • ขอชื่นชมอาจารย์จีระที่มาช่วยวงการสหกรณ์
  • ท่านเอ็นนูก็มาช่วยขบวนการสหกรณ์มากมาย
  • ในการนำเสนอ ทั้ง 3 ท่านมีความรู้ความเข้าใจในสหกรณ์แต่ละประเภทดี
  • เศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องกับสหกรณ์อยู่มาก
  • สหกรณ์ไม่ใช่แค่องค์การที่เป็นนิติบุคคลอย่างเดียว
  • กลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆก็ใช้วิธีการสหกรณ์ด้วย
  • ในเรื่องสังคม โดยเฉพาะประชาธิปไตย สหกรณ์ช่วยเผยแพร่ประชาธิปไตยได้มาก
  • อย่ามัวแต่รอรัฐบาล ต้องดูแลว่าจะทำอะไรเองได้บ้าง
  • สหกรณ์ต้องขับเคลื่อนโดย 4S
  • System สหกรณ์ยังขาดระบบหลายเรื่อง เช่นร้านสหกรณ์กับร้าน modern trade มันต่างกันมาก มาตรฐานแต่ละสหกรณ์ต่างกันมาก
  • Space
  • Study การศึกษาวิจัย ยังขาดมาตรฐานการฝึกอบรมผู้บริหาร ยังขาดงานศึกษาวิจัยและพัฒนาบุคลากร
  • Solidarity เรามีขบวนการสหกรณ์มาก ต้องมีการทำให้มีเอกภาพ จะพัฒนาร่วมกันอย่างไร ต้องมีกรรมาธิการบางเรื่อง

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้าแบ่งปันความรู้กัน ก็จะเกิดความรู้ที่ดี
  • ต้องเน้นการบริหารจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์
  • ผมจะปรับหลักสูตรหลังจากนี้
  • การพูดถึงเรื่องอะไร ทำเป็น Panel Discussion ดีที่สุด

 

คุณ เอ็นนู ซื่อสุวรรณ

  • เห็นด้วยกับทุกท่านที่พูดไป
  • ปัญหาเรื่องนี้ เราพูดกันมานาน
  • ทุกปัญหาไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้
  • การทำหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องที่ดี
  • ผนส.ที่จบไปอยู่จังหวัดใดมากที่สุดแล้วจับกลุ่มเครือข่ายทำโครงการแก้ปัญหา ต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน มีคุณธรรม
  • ปัญหาต้องมาจากชุมชน ต้องร่วมกันคิด
  • จะแก้ปัญหาอย่างไร ต้องร่วมกันคิด
  • ทำให้เป็นแผน มีเจ้าภาพดำเนินการ นำผู้ชำนาญมาช่วย
  • ทำให้
  • เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
  • เกิดกระบวนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
  • เกิดกัลยาณมิตรและ กลไกเตรียมพร้อมในยามมีปัญหา
  • ควรเริ่มจากเครือข่ายเล็ก (รุ่นผนส.) แต่เปิดกว้างให้คนนอกเข้าได้
  • เปลี่ยนวิธีคิดแล้วจะเกิดการเปลี่ยนวิธีทำ
  • ควรนำเรื่องเศรษฐกิจมาคิดร่วมกันเป็นประเด็นสังคม

 

  • ต้องคิดบวก

 

ความเห็น

 

อาจารย์เต็มใจ

  • กระบวนการสหกรณ์ทำให้กระจายรายได้
  • ในเรื่องสหกรณ์ ต้องดูความเป็นจริงในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมก็ลงโทษเราเหมือนกัน
  • สภาพการเงินที่จะวัดเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์ก็เปลี่ยนไป
  • จากการที่เป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ธรรมศาสตร์ ก็ได้ศึกษาสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ต้องดึงเงินฝากจากคนมีรายได้ ให้ดอกเบี้ยให้เหมาะสมแล้วนำมาจุนเจือคนยาก มีการปันผลสูงสุด
  • สหกรณ์ออมทรัพย์เราได้มหาศาล เพราะไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องหมุนเงินเป็น เช่นหมุนเงินไปตราสารหนี้อีกรอบ
  • สหกรณ์ต้องมองว่าจะทำอะไรให้ประเทศ เพราะประเทศให้เรามามากแล้ว

 

ดร. ชาญชัย เพชรประพันธ์กุล ภาควิชาการสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • วงการสหกรณ์เป็นสิ่งที่โชคดี เรามีบางอย่างเหนือระบบเศรษฐกิจ
  • เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับสหกรณ์ สหกรณ์เป็น not-for-profit organization ต้องมีกำไรบ้าง ไม่ใช่องค์กรภาครัฐ
  • ทำให้กำหนดนโยบายและแผนที่ผิด
  • อีกเรื่องคือ ธรรมาภิบาล

 

เชิดศักดิ์

  • ที่ท่านพูดมาถูกทั้งนั้น
  • เห็นใจเกษตรกรมานานแล้ว
  • เมื่อเราเกษียณแล้ว เราก็ยังมีหุ้นอยู่ แต่เราก็ยังจน
  • ถ้าองค์กรต่างๆโตขึ้น แต่ปันผลก็ไม่ได้มากตาม
  • เราต้องเป็นที่พึ่งของเราเอง
  • สหกรณ์ 7 ประเภทร่วมกันเสนอรัฐบาล ตั้งเป็นสหกรณ์กิจการแห่งชาติ ให้ชาวบ้านเป็นสมาชิก เช่น ในโคราช ก็ตั้งสหกรณ์แบบนี้ให้คนมาใช้สหกรณ์กิจการแห่งชาติ เมื่อโตก็ขยายมาจังหวัดอื่น ทำให้สหกรณ์อยู่ได้
  • สหกรณ์ต้องเชื่อมโยง share และต่อยอด
  • ปัจจุบันนี้ คนลงทุนในสหกรณ์ไม่ถึงร้อยละ 2

 

รองประธานเครือข่ายสหกรณ์ฯ (ชายเสื้อฟ้า)

  • ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจใช่ไหม
  • สัจจะล้วนๆใช้ในการแก้ปัญหาชนบท
  • ควรไปจัดการหนี้ของสมาชิกโดยนำมาใช้ที่สหกรณ์ สหกรณ์ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพัฒนาสมาชิก
  • ต้องทำให้ครอบครัวสมาชิกออมให้ได้ก่อน
  • ความสุขที่แท้จริงคือ สมาชิกรู้จักพอ บริหารตนเองเป็น คิดล่วงหน้า
  • ควรมีการพัฒนาความรู้สมาชิกให้เขารู้จักบริหารหนี้สิน การให้ความรู้ต้องมีการกำกับถึงที่

 

ประสิทธิ์ บุญสม (ผนส. 4)

  • ทุกท่านพูดถูกหมด
  • ในฐานะที่เป็นเกษตรกร ส่วนต่างกำไรควรจะส่งกลับคืนให้เกษตรกร
  • เกษตรกรก็พึ่งหน่วยงานรัฐ แต่รัฐต้องจริงใจช่วยให้อยู่ดีกินดี

 

รอบสรุป

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

  • บางส่วนสหกรณ์ประสบความสำเร็จ บางส่วนมีปัญหา
  • เราสร้างกระแสสหกรณ์ จากการฟังทุกท่าน ท่านก็อยากช่วยสหกรณ์เพื่อให้กลับไปช่วยสังคม
  • ควรมีเวทีความคิดแบบนี้บ่อยๆ
  • ควรสร้างเวทีการมีส่วนร่วมในขบวนการสหกรณ์ จะเชิญผนส. 1-5 มารวมตัวกัน และบุคลากรแต่ละระดับมาช่วยกัน จะนำความรู้ไปเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ขอให้เชื่อมั่นระบบและขบวนการสหกรณ์ ทำงานด้วยความรักและสามัคคี

 

คุณ ภาวัต ศุภสุวรรณ

  • อยากเห็นสหกรณ์เราเหมือนประเทศอื่น
  • สหกรณ์เรารวมตัวแล้วจะเป็นหนึ่งใหญ่โตได้

 

คุณ สุรพล ชัยมาลา

  • ธุรกิจทุกประเภทมันต้องมี cost ต้องมีการหารายได้มาปันผลสมาชิก
  • สมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ผลักดันจรรยาบรรณสหกรณ์
  • อยากให้ภาครัฐกำหนดนโยบาย โดยสหกรณ์ดำเนินงานเอง
  • อยากเห็นขบวนการสหกรณ์ไทยรวมกันเป็นหนึ่งเดียวก่อน 100 ปี

 

รศ.ดร. ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

  • เราต้องขับเคลื่อนโดยใช้หัวขบวนของสหกรณ์ แต่เรามีหลายหัว ต้องมีการสร้างเวทีมาทำงานร่วมกัน อาจมีกรรมการร่วม

 

คุณ เอ็นนู ซื่อสุวรรณ

  • ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ตามที่ดี ต้องสร้างความเข้าใจ ความรู้
  • การให้ความรู้ ควรเน้นให้ทำบัญชีครัวเรือน
  • ควรจัดเป็นกลุ่มอาชีพแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยกัน
  • ทำตามคำสอนศาสนาที่ตนนับถือ
  • คนไทยต้องเชื่อในหลวงแล้วจะประสบความสำเร็จ

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

  • หัวข้อนี้ ถ้าเราพูดถึงกระบวนการ ถือว่ายังไม่สำเร็จ เรารวมกันแค่หลวมๆ การเรียนผนส.เป็น informal network
  • ถ้าเรามีค่านิยมคล้ายๆกัน เราก็ร่วมมือกันทำได้
  • หลักสูตรรุ่น 6 จะมี panel discussion มากขึ้น
  • ควรนำวิทยากรที่มาพูด มาวิเคราะห์ว่ารุ่น 6 มีพัฒนาการอะไรบ้าง
  • การสร้างภาพลักษณ์ของสหกรณ์เป็นเรื่องสำคัญ
  • สิ่งสำคัญขององค์กรคือความพอใจของลูกค้า ไม่ใช่แค่กำไร
  • ผนส.ควรรวมตัวกันทำงาน
  • ควรร่วมกันทำงานเป็นภูมิภาค
  • ต้องสำรวจศักยภาพในการทำงานร่วมกัน
  • วงการสหกรณ์ต้องคิดให้ลึก

 

 

สวัสดีผู้นำรุ่น 5 ทุกคน

เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้วที่จบหลักสูตรนี้ไป ผมยังจำบรรยากาศการทำงานของรุ่นนี้ได้ดี จะฝากไว้ 2 เรื่อง

  1. ช่วยกรุณาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้ blog ของเราด้วย
  2. การใช้ Facebook มีประโยชน์ แต่จะรู้กันเฉพาะพวกเรา เพราะ blog เราเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม

ปัจจุบัน blog รุ่น 5 รวมกัน 3 blog ได้ 6,000 คลิก ต่ำกว่ามาตรฐานของรุ่น 1-4 มาก

ทางสันนิบาตสหกรณ์ได้ริเริ่มที่จะมีหลักสูตรรุ่นที่ 6 จะขอให้รุ่นที่ 5 เป็นพี่เลี้ยง

วันอาทิตย์ที่ 26 ธ.ค.53 สันนิบาตสหกรณ์ฯ กำหนดประชุมใหญ่สามัญ ที่ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส กทม.

หลังจากประชุมแล้ว ขอเชิญเพื่อน ผนส.ทุกท่าน ทุกรุ่น ร่วมหารือโครงการคืนสู่เหย้าผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง

(สันนิบาตฯตั้งงบประมาณไว้แล้วจะจัดในเดือนมีนาคม 2554 ครับ)

Sirichai Orsuwan

Friday at 10:07pm ·

เจริญศรี โสระมัด ขอบคุณค่ะท่านประธานศิริชัย พวกเราจะได้พบกัน

Friday at 11:24pm ·

เรียนอาจารย์ยม ทางสันนิบาตฯจะมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ (ในตำแหน่งที่ปรึกษาสันนิบาตฯ) ในวันที่ 26 ธ.ค.53

กรุณาวางแผนงานคืนสู่เหย้า ผนส. ด้วยครับ

หลังประชุมหากมีเวลาจะได้ปรึกษากัน

Yesterday at 11:34am ·

สวัสดีวันปีใหม่จีน

 

万事如意 ว่านซื่อหยูอี้ ....สมความปรารถนา

恭喜发财 กงสี่ฟาไฉ..ขอให้ร่ำรวย

财源广进 ไฉเหยียนกว่างจิ้น...เงินทองไหลมา

财进宝 เจาไฉ่จิ้นเป่า..เงินทองไหลมา

年年有余 เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋..เหลือกินเหลือใช้

事事顺利 ซื่อซื่อซุ่นลี่..ทุกเรื่องราบรื่น

金玉满堂 จินยวี้หม่านถัง..ร่ำรวยเงินทอง

一本万利 อิ้เปิ่นว่านลี่...กำไรมากมาย

大吉大利 ต้าจี๋ต้าลี่...ค้าขายได้กำไร

年年发财 เหนียนเหนียนฟาไฉ...รำรายตลอดไป

龙马精神 หลงหม่าจินเสิน..สุขภาพแข็งแรง

吉祥如意 จี๋เสียงหยูอี้..สมปรารถนา

好运年年 เห่ายวิ่นเหนียนเหนียน..โชคดีตลอดไป

四季平安 ซื่จี้ผิงอัน..ปลอดภัยตลอดปี

一帆风顺 อี้ฝันฟงซุ่น..ทุกอย่างราบรื่น

.*.
คำอวยพรตรุษจีน .*.
คำอวยพร : ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวกใช้
คำแปล : ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

คำอวยพร : ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ
คำแปล : ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

คำอวยพร : เจาไฉจิ้นเป้า
คำแปล : เงินทองไหลมาเทมา ทรัพย์สมบัติเข้าบ้าน

คำอวยพร : ฟู๋ลู่ซวงฉวน
คำแปล : ศิริมงคลเงินทองอำนาจวาสนา

คำอวยพร : จู้หนี่เจี้ยนคัง
คำแปล : ขอให้คุณสุขภาพแข็งแรง

คำอวยพร : จู้หนี่ฉางโส่ว
คำแปล : ขอให้คุณอายุยืนยาว

คำอวยพร : จู้หนี่ซุ่นลี่
คำแปล : ขอให้คุณประสบความสำเร็จ

คำอวยพร : จู้เห้อซินเหนียน
คำแปล : การอวยพรปีใหม่

 

 

เรื่องเล่าของเอี๋ยนหุย

 
     เอี๋ยนหุยเป็นศิษย์รักของขงจื้อ   เป็นคนใฝ่ศึกษา มีคุณธรรมงดงาม วันหนึ่ง เอี๋ยนหุยออกไปทำธุระที่ตลาด เห็นผู้คนจำนวนมากห้อมล้อมอยู่ที่หน้าร้านขายผ้า จึงเข้าไปสอบถามดู จึงรู้ว่าเกิดการพิพาทระหว่างคนขายผ้ากับลูกค้า ได้ยินลูกค้าตะโกนเสียงดังโหวกเหวกว่า “3x8ได้ 23 ทำไมท่านถึงให้ข้าจ่าย 24 เหรียญล่ะ!”
     เอี๋ยนหุยจึงเดินเข้าไปที่ร้าน หลังจากทำความเคารพแล้ว ก็กล่าวว่า “พี่ชาย 3x8 ได้ 24 จะเป็น 23 ได้ยังไง? พี่ชายคิดผิดแล้ว ไม่ต้องทะเลาะกันหรอก”
คนซื้อผ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ชี้หน้าเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า “ใครให้เจ้าเข้ามายุ่ง! เจ้าอายุเท่าไหร่กัน! คนที่จะตัดสินได้ก็มีเพียงท่านขงจื้อเท่านั้น ผิดหรือถูกมีท่านขงจื๊อผู้เดียวที่ข้าจะยอมรับ  ไป ไปหาท่านขงจื้อกัน ”
     เอี่ยนหุยกล่าวว่า “ก็ดี หากท่านขงจื้อบอกว่าท่านผิด ท่านจะทำอย่างไร?”
     คนซื้อผ้ากล่าวว่า“หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมให้หัวหลุดจากบ่า! แล้วหากเจ้าผิดล่ะ?”
     เอี๋ยนหุยกล่าวว่า “หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมถูกปลดหมวก(ตำแหน่ง)”
ทั้งสองจึงเกิดการเดิมพันขึ้น
     เมื่อขงจื้อสอบถามจนเกิดความกระจ่าง ก็ยิ้มให้กับเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า “3x8ได้ 23 ถูกต้องแล้วเอี๋ยนหุย  เธอแพ้แล้ว  ถอดหมวกของเธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย”
     เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่านอาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น
ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไป
     ต่อคำวินิจฉัยของขงจื้อ ต่อหน้าแม้เอี๋ยนหุยจะยอมรับ แต่ในใจกลับไม่ได้คิดเช่นนั้น
เอี๋ยนหุยคิดว่าท่านอาจารย์ชรามากแล้ว ความคิดคงเลอะเลือน จึงไม่อยากอยู่ศึกษากับขงจื้ออีกต่อไป
     พอรุ่งขึ้น เอี๋ยนหุยจึงเข้าไปขอลาอาจารย์กลับบ้าน ด้วยเหตุผลที่ว่าที่บ้านเกิดเรื่องราว ต้องรีบกลับไปจัดการ ขงจื้อรู้ว่าเอี๋ยนหุยคิดอะไรอยู่ ก็ไม่สอบถามมากความ  อนุญาตให้เอี๋ยนหุยกลับบ้านได้
     ก่อนที่เอี๋ยนหุยจะออกเดินทาง ได้เข้าไปกราบลาขงจื้อ ขงจื้อกล่าวอวยพรและให้รีบกลับมาหากเสร็จกิจธุระแล้ว พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”      เอี๋ยนหุยคำนับพร้อมกล่าวว่า “ศิษย์จะจำใส่ใจ” แล้วลาอาจารย์ออกเดินทาง
     เมื่อออกเดินทางไปได้ระยะหนึ่ง เกิดพายุลมแรงสายฟ้าแลบแปลบ เอี๋ยนหุยคิดว่าต้องเกิดพายุลมฝนเป็นแน่ จึงเร่งฝีเท้าเพื่อจะเข้าไปอาศัยอยู่ไต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ฉุกคิดถึงคำกำชับของท่านอาจารย์ที่ว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”  เราเองก็ติดตามท่านอาจารย์มาเป็นเวลานาน ลองเชื่ออาจารย์ดูอีกสักครั้ง คิดได้ดังนั้น จึงเดินออกจากต้นไม้ใหญ่
     ในขณะที่เอี๋ยนหุยเดินไปได้ไม่ไกลนัก บัดดล สายฟ้าก็ผ่าต้นไม้ใหญ่นั้นล้มลงมาให้เห็นต่อหน้าต่อตา เอี๋ยนหุยตะลึงพรึงเพริด คำกล่าวของพระอาจารย์ประโยคแรกเป็นจริงแล้ว หรือตัวเราจะฆ่าใครโดยไม่รู้สาเหตุ? เอี๋ยนหุยจึงรีบเดินทางกลับ กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว แต่ไม่กล้าปลุกคนในบ้าน เลยใช้ดาบที่นำติดตัวมาค่อยๆเดาะดาลประตูห้องของภรรยา
     เมื่อเอี๋ยนหุยคลำไปที่เตียงนอน ก็ต้องตกใจ ทำไมมีคนนอนอยู่บนเตียงสองคน! เอี๋ยนหุยโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงหยิบดาบขึ้นมาหมายปลิดชีพผู้ที่นอนอยู่บนเตียง เสียงกำชับของอาจารย์ก็ดังขึ้นมา “อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง” เมื่อเขาจุดตะเกียง จึงได้เห็นว่า คนหนึ่งคือภรรยา อีกคนหนึ่งคือน้องสาวของเขาเอง
     พอฟ้าสาง เอี๋ยนหุยก็รีบกลับสำนัก เมื่อพบหน้าขงจื้อจึงรีบคุกเข่ากราบอาจารย์และกล่าวว่า “ท่านอาจารย์ คำกำชับของท่านได้ช่วยชีวิตของศิษย์ ภรรยาและน้องสาวไว้ ทำไมท่านจึงรู้เหมือนตาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับศิษย์บ้าง?”
     ขงจื้อพยุงเอี๋ยนหุยให้ลุกขึ้น และกล่าวว่า “เมื่อวานอากาศไม่ค่อยสู้ดีนัก น่าจะมีฟ้าร้องฟ้าแลบเป็นแน่ จึงเตือนเธอว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ และเมื่อวาน เธอจากไปด้วยโทสะ แถมยังพกดาบติดตัวไปด้วย อาจารย์จึงเตือนเธอว่า อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง ”
     เอี๋ยนหุยโค้งคำนับ “ท่านอาจารย์คาดการดังเทวดา ศิษย์รู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านเหลือเกิน”
ขงจื้อจึงตักเดือนเอี๋ยนหุยว่า “อาจารย์ว่าที่เธอขอลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน ไม่อยากศึกษากับอาจารย์อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 23 เธอแพ้ ก็เพียงแค่ถอดหมวก หากอาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 24 เขาแพ้ นั่นหมายถึงชีวิตของคนๆหนึ่ง เธอคิดว่าหมวกหรือชีวิตสำคัญล่ะ? ”
     เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ แล้วกล่าวว่า “ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็กๆน้อยๆ   ศิษย์คิดว่าอาจารย์แก่ชราจึงเลอะเลือน  ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด”
จากนั้นเป็นต้นไป ไม่ว่าขงจื้อจะเดินทางไปยังแห่งหนตำบลใด เอี๋ยนหุยติดตามไม่เคยห่างกาย
      จากตำนานเรื่องเล่านี้ ทำให้นึกถึงเพลงๆหนึ่งของอิวเค่อหลี่หลิน(นักร้องดูโอของไต้หวัน) ที่ร้องว่า “หากสูญเสียเธอไป ต่อให้เอาชนะทั้งโลกได้แล้วจะยังไง?
     เช่นกัน.......บางครั้งคุณอาจเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลของคุณ แต่อาจจะสูญเสียสิ่งที่สำคัญที่สุดไป...

เรื่องราวต่างๆ แบ่งเป็นหนักเบารีบช้า   อย่าเป็นเพราะต้องการเอาชนะให้ได้ แล้วทำให้เสียใจไปตลอดชีวิต     เรื่องราวมากมายที่ไม่ควรทะเลาะกัน   ถอยหนึ่งก้าวทะเลกว้างฟ้างาม
       ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก)
       ทะเลาะกับเจ้านาย   ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ประเมินผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก)
       ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)
       ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)

ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก   ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า   จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นตำนานให้ได้เล่าขานน่าตามติด
ผู้ที่รู้สำนึกคุณอยู่เสมอ จึงเป็นผู้มีวาสนามากที่สุด...........................

ถ้า
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

มีค่าเท่ากับ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26


แล้วจะพบว่า......
1) H+A+R+D+W+O+R+K = 8+1+18+4+23+15+18+11 = 98%
HARD WORK หรือ ทำงานหนัก มีค่าเท่ากับ 98 %

2) K+N+O+W+L+E+D+G+E = 11+14+15+23+12+5+4+7+5 = 96%
KNOWLEDGE หรือ ความรู้ มีค่าเท่ากับ 96 %

3) L+O+V+E=12+15+22+5 = 54%
LOVE หรือ ความรัก มีค่าเท่ากับ 54 %

4) L+U+C+K = 12+21+3+11 = 47%
LUCK หรือ โชค มีค่าเท่ากับ 47 %

Q : ไม่มีสิ่งใดที่มีค่า 100 % เลยหรือ !!! แล้วสิ่งใดที่มีค่าเท่ากับ 100 %
- ใช่เงินหรือเปล่า ?......... .... .....ไม่ใช่ !!!!!
- ความเป็นผู้นำหรือเปล่า ?.........ไม่ใช่ !!!!!

Q : แล้วอะไรล่ะ ?
Ans. : A+T+T+I+T+U+D+E = 1+20+20+9+20+21+4+5 = 100%
ATTITUDE หรือ ทัศนคติ นั่นเอง ที่มีค่าเท่ากับ 100 %

ท่านคิดเช่นนั้นหรือไม่ ทุกปัญหามีทางออก . .
บางทีแค่เพียงแต่เราเปลี่ยน 'ทัศนคติ ' ของเราเสียใหม่เท่านั้นเอง
มีเพียงแต่ 'ทัศนคติ' ของเราเท่านั้น ที่จะเป็นตัวนำทาง ไปสู่ความสำเร็จในชีวิต และงานที่ทำ 

.... ความคิด & ทัศนคติ .... และสุดท้าย .... การลงมือทำ ....   

บทวิเคราะห์วิจารณ์ที่ตีพิมพ์ในมติชน เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ย. ๒๕๕๓ (น่าสนใจ)

ญี่ปุ่น สังคมที่กลืนกินตัวเอง

ในแวดวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้น
บ่อยครั้งตามพลังพลวัตทางเศรษฐกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่งทั่วโลก ในยามที่ประเทศครึ่งหนึ่งของโลกเกิดปัญหาเศรษฐกิจระดับวิกฤต ศัพท์คำหนึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่า พยายามศึกษาทำความเข้าใจ ไม่ใช่ด้วยความคาดหวัง ไม่ใช่ด้วยอารมณ์คึกคัก ทะเยอทะยาน แต่เปี่ยมด้วยความหวั่นกลัว หวาดผวาว่าสภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับสังคมของตนเอง

"แจแปนิฟิเคชั่น-Japanification"
เป็นอย่างญี่ปุ่น? ฟังดูเรียบง่าย ไม่มีพิษภัย ทำไมต้องหลีกหนี ทำไมต้องไม่เป็นอย่างที่ญี่ปุ่นกำลังเป็นอยู่ในเวลานี้?

ญี่ปุ่น คือตัวอย่างของประเทศหนึ่งซึ่งเกิดการพลิกผันของชะตากรรมเชิงเศรษฐกิจอย่าง รุนแรงและยาวนานชนิดที่น้อยประเทศนักจะพบพานในประวัติศาสตร์โลกร่วมสมัย ครั้งหนึ่ง ญี่ปุ่น คือตัวอย่างของ "ความสำเร็จแห่งเอเชีย" ผู้คนจากดินแดนแห่งอาทิตย์ยามอุทัยแห่งนี้มีวิถีและรูปแบบของการใช้ชีวิต เป็นที่อิจฉา ริษยาของผู้คนทั่วโลก

ทศวรรษ 1980 คือทศวรรษที่ญี่ปุ่นกลายเป็นชาติแรกจากเอเชียที่มีศักยภาพเกินพอต่อการท้าทายการครอบงำทั้งโลกที่อยู่ในกำมือของชาติตะวันตกมายาวนาน

แม้กระทั่ง ในปี 1991 นักเศรษฐศาสตร์หลายคนยังพากันคาดการณ์ว่า ภายในทศวรรษแรกของศตวรรษใหม่ นั่นคือในปี 2010 ญี่ปุ่นจะผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกแทนที่สหรัฐอเมริกา นักธุรกิจญี่ปุ่นยืดอก

อย่างทะนงรับรู้นิยามที่ผู้คนในแวดวงเดียวกันจากทั่วโลกพาดพิงถึงว่า ยะโส โอหัง

คำว่า "สัตว์เศรษฐกิจ" ไม่เพียงปรากฏอย่างดกดื่นแฝงนัยประชดประเทียดเท่านั้น ยังซุกงำความยกย่อง ชมเชย และประหลาดใจไว้ในตัวอีกด้วย

ในความเป็นจริง ญี่ปุ่นในปีนี้ ไม่เพียงมีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงอย่างยิ่งกับเมื่อ 10 หรือ 20 ปีก่อนเท่านั้น สัตว์เศรษฐกิจตัวนี้ยังสูญเสียจิตวิญญาณของตัวเองไปโดยสมบูรณ์แบบอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในปี 2010 มีมูลค่า ณ อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันอยู่ที่ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่จีดีพีของสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกันเป็น 14.7 ล้านล้านดอลลาร์

เดือนสิงหาคมปีนี้ ญี่ปุ่นไม่เพียงหยุดนิ่งอยู่กับที่ ยังถูกจีนแซงหน้าขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 แทน

สังคมญี่ปุ่นเต็มไปด้วยปัญหาการเมือง ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาตกอยู่ในสภาวะ "อัมพาต" ในห้วงเวลาดังกล่าวนี้ ญี่ปุ่นมีนายกรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้น 14 คน ไม่มีผู้ใดสามารถแม้เพียงแค่ "จุดประกาย" ให้ความหวังและแรงบันดาลใจกับสังคมญี่ปุ่นได้

บริษัทธุรกิจในญี่ปุ่นเรื่อยไปจนถึงปัจเจกบุคคล สูญเสียคิดเป็นมูลค่านับล้าน

ล้านดอลลาร์ในตลาดหุ้น ที่ตอนนี้มีมูลค่ารวมเหลือเพียงแค่ 1 ใน 4 ของที่เคยมีเมื่อปี 1989

ราคาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเคยเบ่งบานสุดขีด ชนิดที่มีการตีมูลค่าพระราชวังอิมพีเรียลไว้สูงถึงขนาดซื้อรัฐแคลิฟอร์เนียได้ทั้งรัฐ หลงเหลือเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ของระดับราคาที่เคยทะยานขึ้นไปสูงสุดเมื่อปี 1974 และในความเป็นจริง ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่เคยขยับขึ้นอีกเลย นับตั้งแต่ปี 1983 เป็นต้นมา

 




รัฐบาลญี่ปุ่นทำได้เพียงแค่การกระตุ้น กระตุ้นและกระตุ้นเศรษฐกิจ หว่านและอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบครั้งแล้วครั้งเล่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแทบเป็น 0 เปอร์เซ็นต์มานานปีดีดัก ผลลัพธ์ที่ได้คือ ญี่ปุ่น กลายเป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูงที่สุดในโลก

สูงถึง 200 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี!


สังคมเล่า? ประชากรญี่ปุ่นหดตัวลงอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก ระดับ "คนยากจน" เพิ่มขึ้นตามอัตราว่างงาน เช่นเดียวกับอัตราการฆ่าตัวตาย

โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้กระทำอัตวินิบาตกรรมในญี่ปุ่นมากกว่า 30,000 คนต่อปี มากถึงขนาดตามเส้นทางรถไฟในกรุงโตเกียว จำเป็นต้องติดไฟสีน้ำเงินนวลตาเอาไว้เรียงรายตลอดแนวราง

โดยหวังว่ามันจะช่วยปลอบประโลม หรือเปลี่ยนการตัดสินใจใครก็ตามที่มาที่นี่เพื่อปลิดชีวิตตัวเอง


*****

สังคมญี่ปุ่นชราลงอย่างรวดเร็ว เป็นสังคมที่ "ชราภาพ" มากที่สุดในโลก ในข้อเท็จจริงเรื่องนี้มีอีกข้อเท็จจริงซุกงำอยู่อย่างชวนตกตะลึง

"โซเง็น คาโตะ"
มีชื่ออยู่ในบันทึกของเทศบาลนครโตเกียวว่าเป็นชายที่มีอายุยืนที่สุดในเขตเมืองหลวงของประเทศแห่งนี้ นับถึงตอนนี้ เขา "ควร" อายุ 111 ปี เจ้าหน้าที่พบเขาอยู่ในสภาพแห้งกรัง มวลเนื้อของร่างกายสูญสลายเหลืเพียงหนังหดแนบแนวกระดูก อยู่บนเตียงนอน มองปราดแรกชวนให้เข้าใจว่าเป็นมัมมี่

บุตรีวัย 81 บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า โซเง็น ทะเลาะกับหลานๆ แล้วก็สะบัดหน้าเดินเข้าห้องนอน ไม่ยอมออกมาอีกเลยนับตั้งแต่วันนั้น

นั่นไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าหากว่า เหตุการณ์ตามคำบอกเล่าไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน! ลูกๆ หลานๆ ทำอะไรอยู่ในช่วงเวลานานนักหนานั้น?

คำตอบคือ ครอบครัวคาโตะเก็บงำเรื่องทั้งหมดไว้ เพียงเพื่อให้ได้รับบำนาญและเงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับผู้สูงอายุเกิน 100 ปีของทางการได้ต่อไป


นั่นยังไม่ชวนให้ช็อคเท่ากับอีกกรณีของสุภาพสตรีชาวญี่ปุ่นอีกราย เธอ "ควร" มีอายุ 104 ปี ในปีนี้ ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่ตรวจสอบพบเพียงแค่ "กะโหลก" ของเธอ เก็บไว้เป็นอย่างดีในเป้สะพายหลัง ที่บุตรชายอายุ 64 ปี เป็นเจ้าของ

คำให้การของผู้ลูกสูงวัยก็คือ เมื่อมารดาเสียชีวิต เขาชำระศพอย่างดี จากนั้นชำแหละอย่างระมัดระวังเป็นชิ้นๆ สตัฟฟ์เก็บไว้ในเป้ใบนี้ เหตุผลง่ายๆ สั้นๆ ที่เขาให้กับเจ้าหน้าที่ก็คือ

"ผมไม่มีเงินค่าจัดการศพ"!


เหตุการณ์น่าแตกตื่นทำให้รัฐบาลไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องสั่งตรวจสอบ ส่งเจ้าหน้าที่ไป "พบหน้า" ผู้สูงอายุที่อายุยืนกว่า 100 ปีทุกคนทั่วประเทศ ยิ่งค้น ยิ่งพบ ยิ่งหายิ่งชวนแตกตื่นตกใจ

รวมทั้งหมดทั่วประเทศ รัฐบาลญี่ปุ่นพบว่า มีผู้ที่สูงวัยเกิน 100 ปี มากกว่า 234,000 คนที่อยู่ในทะเบียนผู้สูงวัยพิเศษที่ควรได้รับเงินสนับสนุนพิเศษจากรัฐ ไม่มีตัวตนอยู่จริง

หากไม่พบเป็นศพ ก็พบว่าหายตัวไปและควรถูกระบุว่า เสียชีวิตแล้ว เมื่อเนิ่นนานมาแล้ว


*****

ความเป็นจริงของเหตุการณ์น่าตระหนก แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนั้น เกิดอะไรขึ้นกับสังคมญี่ปุ่น?

เหตุผลประการแรกที่ทำให้คนตายกลายเป็น "แหล่งรายได้" ของคนเป็น ก็คือ "ไม่รู้" พวกเขาอยู่ห่างกันไกลเกินไปเพราะความ

จำเป็นในการทำมาหาเลี้ยงชีพ จนจำเป็นต้องทิ้งผู้เฒ่าผู้แก่ไว้เพียงลำพังในอีกเมืองหนึ่ง อีกอำเภอหนึ่ง

เหตุผลประการถัดมาก็คือ "หายไป" มีบ้างที่ไร้ร่องรอยให้เสาะหา มีบ้างที่ลูกๆ หลานๆ ไม่ต้องการเสาะหา

แต่เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้พวกเขาทั้งหมดไม่รายงานการหายตัวไป หรือการเสียชีวิตของผู้เฒ่าในครอบครัวก็คือ "เงิน"

เงินเพียงไม่กี่พันบาท ที่มีความหมายอย่างยิ่งต่อคนเป็นมากกว่าจะคำนึงถึงประเพณีและวัฒนธรรมความเหนียวแน่นในครอบครัวและการเคารพผู้อาวุโสอีกต่อไปแล้ว

"ความยากจน" ที่ว่านี้เป็นเพียง "อาการ" หนึ่งที่สะท้อนถึง 2 ทศวรรษแห่งความว่างเปล่าทางเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่น อากิระ เนโมโตะ เจ้าหน้าที่ประจำแผนกดูแลผู้สูงวัยของเขตอาดาชิ ในกรุงโตเกียว สะท้อนอีกอาการหนึ่งออกมา

"ไม่มีใครสนใจเพื่อนบ้านกันอีกต่อไป" เขาบอก ไม่แม้แต่บ้านที่รั้วติดกัน

หรืออพาร์ตเมนต์ที่ช่องประตูห่างกันเพียงไม่กี่เมตร

ยิ่งนับวัน คนญี่ปุ่นยิ่งหดตัวเองแคบลง แคบลงเรื่อยๆ เหลือเพียงรัศมีโดยรอบตัวเองไม่กี่ตารางเมตร เริ่มจากผู้สูงอายุ แล้วลุกลามต่อไปยังลูกๆ หลานๆ ทั้งหมดพยายามอยู่ได้ด้วยตัวเอง ใช้จ่ายให้น้อยที่สุด เพื่อดำรงตนให้อยู่ได้นานที่สุด


ทำอย่างไร เงินบำเหน็จบำนาญของตัวเอง หรือของผู้เป็นพ่อ-แม่ ที่ได้รับในแต่ละเดือนจึงจะสามารถยังชีพต่อไปได้

"ทุกคนคิดถึงแต่เงิน เงินที่ไม่มากมายเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว"
เนโมโตะ บอกอย่างนั้น

มันเริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคงและแน่วแน่อย่างยิ่ง เริ่มจากซัพพลายเออร์ในอาดาชิ หดหายไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ล้มละลายก็โยกย้ายไปยังจีนพร้อมๆ กับบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ถัดมาร้านรวงในย่านนั้นก็เริ่มปิดตัวลง สุดท้ายแหล่งพบปะของชุมชนคน

ย่านเดียวกันที่มีอยู่แห่งเดียวก็ร้างราตามไปด้วย

หลังจากนั้น อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นอุตสาหกรรมแล้วอุตสาหกรรมเล่า ยกธงขาวยอมแพ้ให้กับคู่แข่งกระหายชัยชนะและส่วนแบ่งการตลาดจากเกาหลีและจีน

ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีอนาคต คือสิ่งที่วนเวียนอยู่ในหัวของผู้คนในญี่ปุ่น

ความเชื่อมั่นทะยานอยาก หดหายไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป


*****

เมื่อมาตรฐานการครองชีพลดน้อยถอยลง ประเทศชาติที่เคยมั่งคั่งและยังมั่งคั่งอยู่ในบางแง่มุมในเวลานี้ ก็เริ่มเสื่อมทรุด ค่านิยมใหม่เริ่มชัดเจนมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว "ความมัธยัสถ์" กลายเป็นเรื่องที่ต้องทำ "ความเสี่ยง" อย่างองอาจและกล้าหาญ คือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

คนรุ่นใหม่ เจเนอเรชั่นใหม่ในวัยยี่สิบคิดเห็นเช่นนี้ เพราะในชีวิตของพวกเขาไม่เคยพานพบอหังการของญี่ปุ่น ไม่เคยลิ้มลองความรุ่งโรจน์ของอาทิตย์ยามอุทัย พวกเขารับรู้และมีประสบการณ์อยู่แต่กับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ และภาวะเงินฝืด หาได้ยากเย็นอย่างยิ่ง

ไม่แปลกที่พวกเขาปฏิเสธที่จะซื้อรถยนต์หรือโทรทัศน์ ไม่แปลกที่มีน้อยมากที่

ตัดสินใจไปศึกษาต่อในต่างแดนชนิดไปตายดาบหน้า

ชาติที่เคยเปี่ยมด้วยพลวัต ท้าทายทุกอุปสรรค กลายเป็นสังคมที่คับแคบ วัฒนธรรมที่คับแคบอย่างน่าสะพรึงกลัว


ภาวะเงินเฟ้อมีอันตรายอยู่ในตัวเอง แต่ภาวะเงินฝืดก็เปี่ยมอันตรายอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน เพราะมันทำให้ปัจเจกและบริษัทธุรกิจไม่อยากจับจ่าย เพราะราคาของทุกอย่างถูกลงจนสิ่งที่เพิ่มค่าขึ้นเรื่อยๆ มีเพียงอย่างเดียวคือ "เงินสด" การถือเงินสดๆ ไว้ในมือคือการลดความเสี่ยงทุกอย่างลงจนหมด

ถ้าภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นชั่วครู่ชั่วยาม ผลสะเทือนจะไม่ลึกซึ้งอย่างในญี่ปุ่น ที่ซึ่งภาวะเงินฝืดจำหลักจนกลายเป็นจิตใต้สำนึก โลกที่ชาวญี่ปุ่นเห็นเป็นโลกในแง่ร้ายที่หดหู่ น่าหวาดหวั่น ไร้ความหวังจนกลัวที่จะเสี่ยง เกาะกินสัญชาตญาณดั้งเดิมให้ลังเลที่จะควักกระเป๋า หรือ ลงทุน

แต่ยิ่งกลัว ยิ่งผลักดันให้อุปสงค์ในประเทศลดลงมากยิ่งขึ้น และราคาของทุกอย่าง

ยิ่งหดหายไปมากยิ่งขึ้นไปอีก

ฮิซากาซุ มัตสึดะ
ประธานสถาบันวิจัยการตลาดบริโภคแห่งญี่ปุ่น (เจซีเอ็มอาร์ไอ) เรียกเจเนอเรชั่นใหม่ในวัย 20 เศษเหล่านี้ว่า "คนยุครังเกียจบริโภค" เขาประเมินเอาไว้ว่า เมื่อคนยุคนี้อายุถึง 60 ปี นิสัยมัธยัสถ์ร่วมสมัยของพวกเขาจะส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องสูญเสียมูลค่าการบริโภคไปราว 420,000 ล้านดอลลาร์

"ในโลกนี้ไม่มีเจเนอเรชั่นที่ไหนเหมือนที่นี่อีกแล้ว" มัตสึดะบอก

คนพวกนี้คิดว่าการควักกระเป๋าจ่ายคือความโง่เขลาเบาปัญญาไปแล้ว


*****

ในทรรศนะของนักเศรษฐศาสตร์ ญี่ปุ่นคือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า "ทุนนิยม" กลืนกินตัวเองได้อย่างไร และผู้นำทางการเมืองของญี่ปุ่นล้มเหลวคนแล้วคนเล่าได้อย่างไร

"แจแปนิฟิเคชั่น" คือการตกลึกลงไปใน "กับดักภาวะเงินฝืด" ที่เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์ล่มสลายจากการที่ผู้บริโภคปฏิเสธที่จะใช้จ่าย ส่งผลต่อไปยังบริษัทธุรกิจที่ขยาดกับการลงทุน และบรรดาธนาคารทั้งหลายนั่งอยู่บนกองเงินออมก้อนมหึมา


มันกลายเป็นวัฏจักรของความเลวร้าย ที่อยู่ได้ด้วยตัวเองและกลืนกินตัวเองไปเรื่อยๆ ยิ่งไม่มีการจับจ่าย ยิ่งกดดันให้ราคาข้าวของลดลงมากขึ้น งานหายไปมากขึ้น เงินในกระเป๋าผู้บริโภคยิ่งลดลงและยิ่งมัธยัสถ์มากยิ่งชึ้น ซึ่งยิ่งทำให้ธุรกิจยิ่งตัดทอนรายจ่ายมากยิ่งขึ้น ชะลอแผนขยายตัวออกไปอีกเรื่อยๆ และดูเหมือนยังไม่มีที่สิ้นสุด

ผู้นำญี่ปุ่นผิดพลาดตั้งแต่ปฏิเสธความหนักหนาสาหัสของปัญหาที่ประเทศเผชิญในตอนแรก และยิ่งผิดซ้ำซากด้วยการใช้เวลาเนิ่นนานอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อการสร้างงาน

ผ่านโครงการใหญ่โตของรัฐ ที่ทำได้ก็เพียงแค่เลื่อนระยะเวลาของการ "ปรับโครงสร้าง" เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่เจ็บปวดกว่า ยากเย็นกว่า ออกไปเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

จนอาจบางที อาทิตย์อุทัย อาจไม่หลงเหลือให้คาดหวังอีกต่อไปในญี่ปุ่น!

อ่านเรื่องนี้แล้วช็อค!!

ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเป็นเรื่องจริง

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

เรียนทุกท่าน

ขอเชิญเข้าร่วมหลักสูตร “พัฒนาผู้นำ ... การบริหารภายใต้วิกฤตและความเสี่ยง” มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/446835

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/464540

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท