การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น :รากฐานการปฏิรูปประเทศไทยด้วยพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง


ในระหว่างวันที่ 18 – 19 มิ.ย. 53 ผมกับทีมงานเรียนรู้กว่า 10 ชีวิตได้ไปร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง “ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น” ครับ  คนทั่วไปอาจจะเคยได้รับรู้แนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติหรือ จีเอนเอช(Gross National Happiness : GNH)  นั่นเป็นการวัดความสุขทั้งมวลของคนทั้งชาติ  ที่ประเทศภูฏาน ถือว่าเป็นต้นตำหรับสำหรับแนวคิดนี้เลยทีเดียว จึงทำให้ภูฏานมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก แต่เวทีครั้งนี้เป็นเวทีการเรียนรู้เรื่องความสุขมวลรวมระดับชุมชนท้องถิ่น (The Gross Local Community Happiness หรือGLCH) ครับ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติผ่านกระบวนการจัดการความรู้โดยกลุ่มนักปฏิบัติการด้านการจัดการความรู้ (COP) ของจนท.ในองค์กรร่วมกับขบวนชุมชนในพื้นที่ครับ  ทั้งนี้การเรียนรู้ครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนจาก “การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน” ของกรณีศึกษา ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี และการเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ 2 ตำบล คือ ต.คลองตัน อ.บ้านแพร้ว  จ.สมุทรสาคร และ ต.บ้านหาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรีครับ

                   

เราไปที่คลองตันก่อนครับ คลองตันเป็นตำบลที่มีคลองเก่าแก่ที่มีประวัติยาวนาน  และเป็นพื้นที่ที่มีคลองแห่งวัฒนธรรม ที่ชื่อว่า“คลองดำเนินสะดวก” โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดเชื่อมระหว่าง แม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง เป็นคลองที่ใช้คนขุด มีความยาวถึง ๓๒ กิโลเมตร ซึ่งเมื่อครบทุกระยะจะมีเสาหินปักเป็นหลักเขตมี แปดหลักโดยหลักที่หนึ่งเป็นพื้นที่ของสองตำบลคือตำบลคลองตันและตำบลสวนส้มซึ่ง อยู่ที่ประตูน้ำบางยางครับ แม้จะชื่อคลองตันก็จริงนะครับ แต่ที่กลับมีคลองเชื่อมโยงทะลุปุโป่งเชื่อมร้อยไหลผ่านหมู่บ้านทั้งตำบลคลองตัน จำนวนถึง  25 คลอง ผู้คนที่นี่ประกอบอาชีพการเกษตร ทำนาและปลูกผลไม้ที่หลากหลาย ผลไม้ที่นี่ขึ้นชื่อในรสชาติที่หอมหวานเป็นสุดยอด    และที่นี่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ตำบลที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นหนึ่งทั้งลำคลองสวย/น้ำใส ถนนสวยงาม มีต้นหมากรากไม้เขียวขจี อุดมสมบูรณ์

ชาวตำบลคลองตัน มีของดีที่คนทั่วไปเป็นที่รู้จัก คือ มีพระที่เป็นที่เคารพของคนหลายตำบล  ได้แก่ หลวงพ่อยิ้ม วัดคลองตันราษฎรบำรุง นอกจากนั้นยังมี  การรวบรวมศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ของชุมชน ศูนย์สภาวัฒนธรรมตำบลคลองตันเกษตรพัฒนา

ในด้านประเพณีสำคัญ ก็ได้แก่การสืบสานวัฒนธรรมประเพณี    “สงกรานต์” ที่ยิ่งใหญ่  ซึ่งจะจัดขึ้นในทุกวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี  ซึ่งวันสงกรานต์ของที่นี่ จะเป็นวันที่รวมญาติของคนในตำบล ว่ากันว่าสงกรานต์ที่นี่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้สงกรานต์พระประแดงก็แล้วกัน

สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองตัน ได้รับการเรียนรู้และประสบการณ์ “การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวม”จากการได้ฟังแนวคิดนี้จากท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เมื่อครั้งที่ท่านลงเยี่ยมสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี และหลังจากนั้นแกนนำตำบลคลองตันยังไปร่วมกระบวนการเรียนรู้เรื่องนี้ที่ ต.บ้านเลือกอีก 2 ครั้ง กลับจากเวทีการเรียนรู้ที่ตำบลบ้านเลือก  สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองตัน เห็นความสำคัญในแนวทาง “การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวม” จึงเป็นฝ่ายรุกประสานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มคนในตำบล ได้เข้ามาร่วมปรึกษาหารือที่จะบูรณาการงานพัฒนาในตำบล  เนื่องจากเห็นว่า การทำกิจกรรมของกลุ่มองค์กรต่างๆ ยังทำไปตามงบประมาณที่มีหรือตามที่หน่วยงานสนับสนุนกำหนดเท่านั้น ซึ่งทำให้ต่างคนต่างทำ และเกิดความซ้ำซ้อน

             

ผลจากการหารือกันสามฝ่าย คือ ท้องถิ่น  ท้องที่และสภาองค์กรชุมชน ก็ได้เห็นชอบให้มีการจัดทำเป้าหมาย และตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมายร่วมของคนทั้งตำบล โดยการจัดทำเรื่องนี้ ชาวตำบลได้เรียนเชิญนายอำเภอ มาร่วมงาน และเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอก มาช่วยสร้างความเข้าใจ และลงมือจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขของชาวตำบลด้วยกัน

                                       

จากกระบวนการจัดทำ เป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขซึ่งเริ่มจากการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนคนคลองตัน  ทำให้ชาวชุมชนมองเห็นโอกาสและต้นทุนของตนเองรอบด้านขึ้น และได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง พร้อมตัวชี้วัดความก้าวหน้าหรือตัวชี้วัดความสุข ร่วมกันได้  3 เป้าหมายก่อน  แต่ต่อมา สภาองค์กรชุมชนตำบลและ อปท. ก็ได้ร่วมกันเพิ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดขึ้นมาอีก 2 เรื่อง จนสามารถสรุปในปัจจุบันได้ 5 เป้าหมาย 

ครับตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 มีเจตนารมณ์สำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชน ซึ่งเป็นสังคมรากฐานมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น และเข้ามา  มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เช่น ปัญหาความยากจน  ปัญหาสังคม  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 

อ.อเนก  เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอว่า ควรสนับสนุนการสร้างชุมชน ให้เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างประชาธิปไตยในระดับชาติให้ยั่งยืนขึ้นมาด้วยสภาองค์กรชุมชน คือต้องสนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชนมีบทบาทในการสร้างประชาชนไทย ที่มีจิตสาธารณะมากขึ้น โดยใช้แนวคิดประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเอง(self – government democracy) มาช่วยชี้นำ กำกับ การขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนเพื่อให้สภาองค์กรชุมชนได้มีบทบาทฝึกชาวบ้านให้มีความภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้เขาตระหนักว่าตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาให้ชุมชน และแก้ไขปัญหาให้บ้านเมืองได้  ดังนั้นสภาองค์กรชุมชน จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง  สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน  รวมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  การสร้างระบบประชาธิปไตย  และระบบธรรมาภิบาล  ด้วยการเอื้ออำนวยให้ขบวนชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาตนเองตามความหลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น  กำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่น   แผนการพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ในระดับประเทศ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการติดตามการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ

                   

การที่สภาองค์กรชุมชนตำบลจะสามารถดำเนินงานตามภารกิจสำคัญดังกล่าวได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการหนุนเสริมให้สภาองค์กรชุมชนตำบลได้จะต้องมือชุดเครื่องมือการพัฒนาเพื่อการปรับเปลี่ยนบทบาทให้เป็นผู้รับภารกิจ “การเอื้ออำนวยกระบวนการ”งานพัฒนา ในลักษณะของการ “วิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่น การจัดทำเป้าหมายการพัฒนา การจัดวางยุทธศาสตร์ การจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนา การจัดทำแผนงาน การกำกับแผนงานและการติดตามสนับสนุน” ซึ่งกระบวนการโดยรวมเหล่านี้สามารถเรียกรวมกันว่า “การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”นั่นเอง 

                   

ตามกระบวนการ“การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”ดังกล่าว สภาองค์กรชุมชนตำบล จึงเป็นกลไกในการช่วยอำนวยการ(Facilitator)ให้เกิดความร่วมมือผนึกพลังจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่นทั้งขบวนองค์กรชุมชนในตำบล อปท. ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)สถาบันสำคัญในชุมชนท้องถิ่น(วัด โรงเรียน สถานีอนามัย ฯลฯ)ภาคประชาสังคมและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกัน จัดกระบวนการ“การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น” และเน้นการเสริมบทบาทองค์กรชุมชนหรือเครือข่ายองค์กรชุมชนทั้งหลายที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นให้มีทักษะความสามารถและให้มีพลังอำนาจ(Empowerment) ในการเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองผ่านกิจกรรมโครงการต่างๆอย่างมีคุณภาพและรอบด้าน โดยให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ได้กำหนดร่วมกัน ทั้งนี้ภายใต้การให้การสนับสนุนอย่างสอดคล้องเหมาะสมของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น 

ภายหลังจากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับขบวนชุมชน เราได้มาสรุปบทเรียนกันต่อ ที่ริมหาดรีสอร์ท หาดเจ้าสำราญ เพชรบุรีครับ นี่คือเสียงสะท้อนจากการได้เรียนรู้จากชุมชนครับ

                     

  • การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดทำให้ชุมชนมีความเข้าใจตนเองมากขึ้น มองว่าชุมชนเป็นคนกำหนดเอง วัดความก้าวหน้าด้วยตนเอง โดยไม่มองว่า จะคิดงานเพื่อมาตอบสนองงบประมาณของ องค์กรส่งเสริมงานพัฒนาเท่านั้น
  • เห็นชาวบ้านทำการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดได้ด้วยตนเองแล้ว ทำให้รู้สึกสนุกกับคนในชุมชนด้วย เพราะเห็นความก้าวหน้าของงานที่วัดได้ เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
  • หลักการสำคัญเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขของแต่ละตำบลที่ทำ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ละตำบลก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่กระบวนการจัดทำอาจคล้ายๆกันและเรียนรู้กันได้
  • ตัวชี้วัดที่องค์กรส่งเสริมงานพัฒนากำหนดมา ควรจะสัมพันธ์กับตัวชี้วัดที่กำหนดมาจากชาวบ้านเอง ไม่ใช่เรากำหนดแล้วไปใส่ชาวบ้าน ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นทิศทางในอนาคต
  • สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ โดยทั่วไปแล้วเราทำงานเพื่อตอบตัวชี้วัดขององค์กรเรา แต่เรายังทำไม่ลึกถึงการสนับสนุนขบวนชุมชนระดับตำบล ที่จะให้คนในตำบลทำเป้าหมาย และตัวชี้วัดของเขาเองขึ้นมา
  • บางทีเรื่องนี้  เราควรทำเป็นนโยบายที่จะทำให้เรื่องนี้ เป็นเรื่องจริง ด้วยความร่วมมือกันใน องค์กรจากทุกภาคส่วน  ไม่เช่นนั้น เรื่องนี้จะกลายเป็นงานใหม่ หรือเป็นโครงการใหม่อีกงาน
  • เรื่องนี้น่าสนใจ ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สนับสนุนงานในพื้นที่ แต่แรกๆก็งงเพราะคนตรงกลางลงมาทำ ซึ่งงานในพื้นที่ก็มากอยู่แล้ว คิดว่าคงเอางานใหม่ ลงมาอีก จะเป็นเพิ่มภาระให้เรารึเปล่า ? ด้วยตอนแรกคิดว่าเรื่องตัวชี้วัด เป็นงานใหม่ที่จะเอามาใส่ให้ชาวบ้าน ? อีกแล้ว เมื่อเข้าใจว่า ไม่ใช่ใส่ตัวชี้วัดมาให้ชาวบ้านแต่เป็นนวัตกรรมที่สนับสนุนงานในพื้นที่ จึงคิดว่า ต้องสร้างความเข้าใจกับ ปก. ในพื้นที่  หากคนเราในพื้นที่ถ้าไม่รู้ จะเคลื่อนต่อไม่ได้  ปก. คือทหารแถวหน้า ที่ต้องเข้าใจ สื่อสาร ตรงกัน
  • ที่ผ่านมาองค์กรยังไม่ได้ให้น้ำหนักกับเรื่องเครื่องมือสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ วิธีการส่งเสริมเหล่านี้  เราปล่อยให้เจ้าหน้าที่หากินกันเอง
  • เราควรใช้สถานการณ์งานปฏิรูปองค์กร และปฏิรูปสังคมไทย เป็นเวทีเปิดให้เรื่องนี้ ให้ทุกฝ่ายเข้าใจ และฝ่ายนโยบายต้องเปิดพื้นที่ทางนโยบายให้ท้องถิ่น ท้องที่ เข้ามาร่วมทำแต่แรก การจะเคลื่อนงานเรื่องนี้ ต้องรู้ว่า ส่วนไหนใครจะทำเป็นหลัก
  • สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ เป็นการมาช่วยจัดระบบงานที่ชุมชนทำอยู่ ให้สิ่งที่ชุมชนทำเป็นพลังที่ทุกฝ่ายได้เข้ามาร่วมจัดการด้วยตนเอง
  • ถ้าตราบใดที่งานตัวชี้วัด ในองค์กรเรายัง คิดแยกส่วนลงมา เราก็จะฉีกชาวบ้านเป็นท่อนๆอีก สุดท้ายเป็นการแยกชาวบ้านเอง

นี่คือทัศนะส่วนหนึ่งจากผู้ได้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าแต่ละท่านเรียนรู้เรื่องอะไรสนใจจะนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนขบวนชุมชนกันอย่างไรบ้าง?

                    

  • คุณเฒ่า_ ทองใบ สิงห์สีทา  บอกว่า “น่าสนใจที่ในเวทีพูดคุยชาวบ้านส่วนใหญ่พูดคุยความยุติธรรม” แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาการพัฒนายังมีความเลื่อมล้ำไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่รึเปล่า การทำเป็นหมายและตัวชี้วัดความสุขชุมชน ทำให้คนเห็นถึงความยุติธรรมมากขึ้นและทุกคนสามารถมีสิทธิมีเสียงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่น ถือว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ
  • คุณเดือน _ดวงเดือน พร้าวตะคุ เห็นว่าได้มองเห็นมิติการพัฒนาที่ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการลุกขึ้นมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุนความเชื่อว่ามิติการพัฒนาการเชื่อมโยงคนทุกระดับสตรีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง 
  • คุณสุเทพ ทองจีน  ให้ความคิดเห็นน่าสนใจว่า บทบาทการพัฒนาที่เห็นคนหนุ่มสาวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานที่หลากหลายและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คุณหมี_กมล ปุยยรุน  ให้ความคิดเห็นว่า กระบวนนี้เป็นการสร้างประชาธิปไตยชุมชนเรื่องการเคารพเสียงส่วนน้อย แต่มองภาพใหญ่ที่กุมทิศทางการพัฒนาที่เป็นเรื่องร่วมอย่างรอบด้านเห็นว่า คลองตันได้สร้างประชาธิปไตยฐานรากได้อย่างดีเยี่ยม บนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • คุณจารุวรรณ กสิพูล  ตั้งใจว่านำไปใช้ในการจัดกระบวนการจังหวัดชัยนาทที่ตนเองรับผิดชอบเต็มที่ และเห็นภาพการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ เกิดจากความร่วมไม้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในท้องถิ่น
  • คุณนารี วงศ์มานะกุล  ได้สะท้อนถึงการทำงานเชิงพื้นที่ที่การใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ในการพัฒนา ที่มีความแตกต่างในบริบทพื้นที่ มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งคลองตันได้ให้ภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการทำงานของเจ้าหน้าที่พื้นที่

               

 

ครับการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือการอภิวัฒน์สังคม เมื่อ  วันที่ 24  มิถุนายน 2475 นั้น ในบาทก้าวแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชั้นบนอย่างเดียว  และบาทก้าวต่อมาที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน คือ ระบบเศรษฐกิจ โดยวิธีการสหกรณ์ตามเค้าโครงเศรษฐกิจของท่านปรีดี ฯ (แต่ท่านเน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนบนในระดับชาติ)  หากแต่ว่าภารกิจการสร้างประชาธิปไตยและการสร้างความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ราษฎรในยุคสมัยนั้น แทบไม่มีโอกาสเป็นจริงได้เลย เพียงไม่กี่ปีคณะราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนภาคประชาชนก็ถูกช่วงชิงอำนาจไป เค้าโครงเศรษฐกิจถูกฉีกทิ้ง ภารกิจการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  จึงยังคงค้างคา รอการสืบสานปณิธานดังกล่าว  

                     

หากแต่การอภิวัฒน์สังคมในยุคต่อไป ซึ่งจะครบรอบ 40 ปี ในปี 2555 ที่หมอประเวศบอกว่า เป็นยุคการอภิวัฒน์โดยชุมชน หรือ ชุมชนาภิวัฒน์  ส่วน อ.ไพบูลย์บอกว่า เป็นยุคของการปฏิรูปประเทศไทยด้วยการจัดการตัวเองอย่างมีคุณภาพและรอบด้าน ของขบวนชุมชนท้องถิ่นนั้น(เน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากฐานราก) ผมเห็นว่าการอภิวัฒน์สังคมในยุคนี้  ในครั้งนี้ น่าจะเป็นการอภิวัฒน์ของคนทั้งมวล เป็นไปเพื่อความสุขของคนทั้งมวล เครื่องมือ “การจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”น่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งที่จะเอื้ออำนวยให้เกิด “การอภิวัฒน์โดยชุมชน” ด้วยการปฏิรูปการจัดการตัวเองของชุมชนท้องถิ่นให้เกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 401155เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ตามมาอ่าน
  • โอโหละเอียดมาก
  • ได้พูดคุยกับพี่ทวีสินแล้วครับ

สวัสดีครับ อ.ขจิตIco32

  • สอบตกวิชาเรียงความและย่อความครับ
  • น่าอายครับ...เอาบันทึกการเรียนรู้ของตัวเองแบบยาวๆมาให้ชาวบ้านเขาอ่าน
  • ยังสอบไม่ผ่านหลักสูตรการกระชับพื้นที่....การกระชับข้อความครับ

ตามมาอ่านด้วยคนค่ะ หลังจากกลับมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม cop ภาคใต้แล้วก้ตั้งใจจะเพิ่มบันทึกอยู่เหมือนกันคะ อยากแชร์ภาพบรรยากาศสวยๆ บนเกาะยอ (สถาบันทักษิณคดีศึกษา )ที่ได้เตรียมไว้ต้อนรับเพื่อน ๆจากภาคอื่น ๆแต่เอาเข้าจริงเพื่อนๆไปได้น้อย น่าเสียดายจัง และจะตามมาอ่านยกร่างของกลุ่มนี้ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

กลับมาแล้วนะคะหลังจากที่หายหน้าหายตาไปหลายวันค่ะ....วันนี้เลยมาแอบเรียนรู้ไปด้วยค่ะ...

  • ตามมาบอกว่าวิธีการทำ link ทำแบบนี้นะครับ
  • ไป copy URL บันทึกที่จะ link
  • ไปที่บันทึก กดแก้ไขบันทึกที่จะวาง link
  • คลุมดำข้อความที่จะlink
  • กดที่ลูกโซ่ติดกัน
  • เอา URL ที่ copy มา เอามาวางในช่อง URL
  • หลังจากนั้นก็กด insert
  • กดบันทึกเก็บครับ ลองดูนะครับ
  • เอามาฝาก
  • ตอนที่ 1
  • ตอนที่ 2
  • กำลังเขียนต่อครับ

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ เดินทางปลอดภัย มีความสุขกับการใช้จ่ายเวลาในครอบครัวนะคะ ส่งความระลึกถึงค่ะ

  • เอาตอนที่ 3
  • มาฝากพี่สุเทพครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ มีความสุขกับการสำรวจเวียงนะคะ เดินทางปลอดภัย จะรอเก็บตกภาพบรรยากาศค่ะ ;)

 

                                                      
                                                          MySpaceAnimations.com

                                        *** สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...คุณสุเทพ! ***
 
                                               ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง

  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...คุณสุเทพ
  • ขอบคุณค่ะ
     
                                  ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
  • ขอบคุณครับคุณบุษราIco32

    และคุณครูK.PuallyIco32

    • ไปลอยมาแล้วครับที่ลำพังพวย ใน กทม. บรรยากาศดีมากครับ
    • คืนนี้มีความสุขได้ขอขมาแม่คงคา
    • ลูกขอให้แม่คงคา   ชำระล้างมลทิล  สิ่งเลวร้าย จงมลายหายไป  สะอาดสดใส  แลเลิศวิไล  กายใจผูดผ่อง ด้วยผองแม่ไซร้รับไว้สิ้น

    สวัสดีค่ะท่านเทพฯ

    ดีจังเลยนะคะได้ไปลอยกระทงที่คลองลำพังพวย เมื่อก่อนช่วงพักแถวสุขา ๒ มักไปเดินเล่นตรงสวนสาธารณะฯ บ่อยๆ ค่ะ บรรยากาศคงงดงาม รอชมนะคะ สุขสันต์กับการงานค่ะ

    สวัสดีครับคุณปู

    • ลอยกระทงปีนี้ได้ไปลอยกระทงที่คลองลำพังพวยครับคุณปู
    •  สวยงามมาก ประทับใจมาก ลำพังพวยตอนนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน "ตอนนี้เขาปัดทะนาแล้ว"
    • เสียดายไม่ได้ติดกล้องไป
    • ผมบันทึกความประทับใจไว้ที่ "เทศกาลลอยกระทง .....เทศกาลแห่งการขอโทษ การให้อภัยและการขอบคุณ(ด้วยความรักและความขอบคุณ)"ในบันทึกถัดไปครับ
    • ขอบคุณครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท