สิ่งซ่อนเร้นอยู่ใน การวางแผนจำหน่าย (discharge planning)


เคยคิดไหมว่า การดูแลผู้ป่วยของเราบางครั้ง ขัดต่อความต้องการที่แทนจริงของผู้ป่วย

เคยคิดไหมว่า การดูแลผู้ป่วยของเราบางครั้ง ขัดต่อความต้องการที่แทนจริงของผู้ป่วย

อาทิตย์ก่อน น้องเล่าให้ฟังว่า คนไข้โทรมาถามว่า สายปัสสาวะ ที่ติดมาด้วย ต้องดูแลอย่างไร

 

หลายวันก่อน คุณหมอวิสัญญี บอกว่า คนไข้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้ เคยเล่าไว้ที่นี่ กลับมาโรงพยาบาลและยืนยันที่เอานิ่วออกให้ได้

 

เป็นแค่สองรายที่ฉันรับรู้ว่า เราวางแผนจำหน่ายไม่ได้ผลตามที่คาดหมาย

"การใส่ท่อไม่ได้ ไม่ใช่ปัญหาของเขา แต่เป็นปัญหาของหมอ" คุณหมอเปรยต่อ

ใช่ละ ปัญหาของคนไข้คือ ต้องไม่มีก้อนนิ่วในร่างกายของเขา ปัญหาอื่นๆเป็นเรื่องของหมอ

 

ฉันติดตามเยี่ยมคนไข้ และพูดคุยเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างและหากจะต้องผ่าตัดอีกต้องระวังอะไร ดูเหมือนคนไข้จะเข้าใจ แต่ ยังมีสิ่งที่ค้างคาใจเขาอยู่ คือ "ก้อนนิ่วจะหลุดออกเมื่อไร หากหลุดแล้ว คงหายปวดหลังปวดเอว ไม่อยากเอาไว้"

เขาไม่ได้สนใจเรื่องปัญหาอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง แต่เขาสนใจเรื่องเอานิ่วออกมากกว่า

คนไข้พูดตามเพียงเพื่อเอาใจฉันอย่างนั้นหรือ แต่เขาคิดตลอดว่า "นิ่วต้องออกไปๆๆ" อย่างนั้นหรือ

และแล้ว เราก็ต้อง ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของคนไข้ คือการผ่าตัดเอานิ่วที่ท่อทางเดินปัสสาวะออกให้คนไข้ แต่การผ่าตัดครั้งนี้ ง่ายขึ้น เพราะคนไข้ยังมีท่อช่วยหายใจจากเจาะคอ

 

ส่วนอีกราย ฉันไม่ได้ พูดคุยกับคนไข้หรือทำการวางแผนจำหน่าย เพราะมีอาการวิกฤต อยู่ในไอซียูเสียหลายวัน อยู่ๆก็สามารถถอดท่อช่วยหายใจย้ายไปยังตึกสามัญเคยเล่า ไว้ ที่นี่ และคุณหมออนุญาตให้กลับบ้านในวันต่อมา แล้วก็โทรกลับมาถามพยาบาลไอซียู ว่าต้องดูแลสายปัสสาวะอย่างไร

 

ฉันทบทวนเวชระเบียน ด้วยอยากรู้ว่า คนไข้กลับบ้านด้วยอาการอย่างไร น้องไอซียูที่ย้ายคนไข้ ไม่ขึ้นเวรในช่วงนี้ น้องตึกสามัญจำคนไข้ไม่ได้

ในเวชระเบียน คุณหมอสรุปว่า อาการดีขึ้น มียาบำรุงให้กลับไปกินที่บ้าน มีตราปั้มของพยาบาลสีจาง บอกอาการคนไข้เมื่อจำหน่าย

 

มีข้อสังเกตบางอย่าง

-ในแบบฟอร์มวางแผนจำหน่าย(METHOD) ถูกขีดว่า คนไข้รับทราบทุกเรื่อง และพร้อมที่จะกลับบ้านได้

-ไม่มีคำสั่งแพทย์ off สายสวนปัสสาวะ

-ลายมือพยาบาลอ่านยาก

 

 

วันนี้ ในวงสนทนาระหว่างมื้อกลางวันของ เหล่าหัวหน้าตึก จึงมีคนรับไปว่า จะปรับแบบฟอร์มวางแผนจำหน่ายให้สามารถสื่อกันได้มากขึ้น ตั้งแต่วันแรกรับจนถึงวันกลับบ้าน

 

แต่สิ่งสำคัญฉันคิดว่าไม่ได้อยู่แบบฟอร์ม แต่...อยู่ที่ การ empower คนไข้ได้ดีเพียงพอและแท้จริงแล้วหรือยัง ตรงใจตรงกับความต้องการของคนไข้หรือยัง คนไข้ยังแอบซ่อนเร้นอะไรไว้อีก เป็นสิ่งที่น่าค้นหา

 

และ....ฉันคิดว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องตามดู คือ ผลของการติดตามเยี่ยมบ้านของทีมเยี่ยมบ้าน ซึ่งฉันยังไม่เคยได้รับ feed back หรือผลสรุปการเยี่ยมบ้าน ที่ต้องปรับปรุงพัฒนากันต่อไปอย่างไร

 

เป้าหมายเรา อาจจะไม่ตรงกับเป้าหมายของคนอื่น เป็นสิ่งท้าทายที่จะให้คนอื่นมีเป้าหมายเดียวกันในเรื่องเดียวกัน และหาวิธีการร่วมกันไปสู่เป้าหมายเดียวกันนั้น และได้รับผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์กันทุกฝ่าย  

หมายเลขบันทึก: 429373เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2011 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นกำลังใจให้ ทั้ง หมอ คนไข้ พยาบาล และผู้ที่ให้กำลังใจท่านต่อไปครับ

การวางแผนการจำหน่าย

สำคัญที่คนไข้สามารถดูแลตนเองได้ตามแผน

มีคนดูแลต่อเนื่อง

มีคนที่สามารถให้คำแนะนำเขาได้เมื่อสงสัย

ถ้าเราให้โอกาสเขาโทรถามกลับในเรื่องที่เขาทำไม่ได้

ก็อาจปิด gap ของ DC planning ได้ค่ะ

  • ทีแรกงง ว่าป้าแดงขายอะไร
  • ฮ่าๆ
  • ก็บอกว่าจำหน่าย
  • ภาษาเหมือนโรงเรียนเลย มีครูบอกว่าจำหน่ายเด็กไปแล้ว
  • เด็กบอกว่า ครูขายผมไปแล้วหรือ ฮือๆๆ
  • การให้คนไข้ปรึกษาที่โรงพยาบาลได้ตลอดเวลาเป็น การดูแลด้วยหัวใจจริงๆๆ แต่เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักมากเลยนะครับ
  • ป้าแดงสู้ๆครับ
  • สวัสดีค่ะ อ.นิพัฒน์ อ.พี่แก้ว อ.ขจิต
  • ความจริง อยากบอกว่า การทำ discharge planning ยากมาก เลยอยากแลกเปลี่ยน
  • ขอบคุณพี่แก้วค่ะ  เรามีเบอร์ติดต่อให้คนไข้ค่ะ อีกอย่างคนไข้อยู่กัยเรานาน จนคุ้นเคยกัน
  • สู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท