แอบวางแผนถ้าจะจัดอบรมกระบวนกรสไตล์เฮฮาศาสตร์ครั้งต่อไป


   ไปร่วมกิจกรรมอบรมกระบวนกรที่สวนป่ามหาชีวาลัยอิสานมาก็เกินสัปดาห์แล้ว ก็คิดว่าน่าจะเขียนสิ่งที่แอบคิดไว้ในใจ คือคิดว่าจะเขียนสักหน่อยถึงแผนไปข้างหน้าถ้าจะจัดการอบรมสไตล์เฮฮาศาสตร์อีก..(ซึ่งคิดว่าคงมีแน่ๆ)   และคิดว่าต้องเขียนก่อนจะถูกอาจารย์ใหญ่จากพิษณุโลกค้อนว่าไม่ช่วยทำมาหากิน...555

โจทย์ที่ทำให้คิดอยากเขียนคือ ถ้าจะจัดอบรมบล็อกเกอร์ Gotoknow สไตล์เฮฮาศาสตร์ จะมีข้อที่ควรนำไปใคร่ครวญในเรื่องใดบ้าง  และจะออกแบบอย่างไรดี

เท่าที่ได้ไปร่วมกิจกรรมก็พบว่า หลายๆ กิจกรรมของการจัดอบรมคราวนี้ มีความน่าสนใจหลายประการ และเขียนไปบ้างแล้วใน ก๊วยเจ๋งเรียนการจัดการตัวเอง

.....หลักการที่สัมผัสได้จากการอบรมคราวนี้ คือ การทำอย่างไรให้เกิดการตื่นรู้ เข้าใจตัวเอง แล้วโน้มนำไปสู่การพัฒนาความละเอียดลึกซึ้งของ "จิต" ที่จะส่งผลให้เกิดพลังของการที่จะดำเนินชีวิตไปบนความเข้าใจในความหลากหลายของการอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล (ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยนะคะ)

ด้วยหลักการอย่างนี้ ก็คิดว่าการแตกย่อยกิจกรรมหลักๆ ที่จะนำไปสู่หลักการคงต้องอาศัยศิลปะและทักษะของวิทยากร(กระบวนกร) รวมทั้งความตั้งใจจริงของผู้เข้าร่วมการอบรมด้วย

คิดว่าการออกแบบกิจกรรมน่าจะเริ่มตั้งแต่ "คิด" จะทำโครงการ ซึ่งอาจจะแตกย่อยเป็น 3 ระยะคือ

  1. ระยะเริ่มต้น
  2. ระยะระหว่างการอบรม
  3. ระยะหลังการอบรม

ในระยะเริ่มต้น...จะเห็นได้ว่าการจัดอบรมให้กับชาวเฮฮาศาสตร์นั้น ไม่อาจจะไปกำหนดอาชีพ อายุ ประสบการณ์ของผู้เข้าอบรมได้และอาจจะ มีการเปลี่ยนแปลงได้จนวินาทีสุดท้าย เพราะการอบรมสไตล์นี้คือการจัดอบรมแบบธรรมชาติ คิดว่าถ้าจะทำให้การอบรมนั้นก้าวเร็วขึ้น ก็คือ การเรียนรู้จักผู้เข้าร่วมการอบรมล่วงหน้าบ้าง...รวมทั้งวิเคราะห์สถานที่ๆจะจัดอบรม เพื่อดึงศักยภาพของสถานที่หรือบุคคลมาใช้ประโยชน์ให้สูงสุด

ระยะระหว่างการอบรม....ถ้าพิจารณาทบทวนดูจะเห็นว่าบรรดาบล็อกเกอร์ที่ตัดสินใจไปร่วมงานเฮฮาศาสตร์อย่างน้อยก็ "ใจเปิด" และพร้อมจะไปเจอผู้คนอื่นๆ อยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ไม่ใช่บล็อกเกอร์นั้น อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการทักทายด้วยการ "กอด" และอาจจะทึ่ง อึ้ง เสี่ยว?? ไปกับภาพที่เห็น...แต่นั่นเป็นธรรมดาของการทำให้เกิดความสงสัย อยากรู้ และอยากติดตาม...เป็นการจุดประกายการเรียนรู้แบบทึ่งๆ (555)

ถึงตรงนี้ อยากจะใคร่ครวญว่า จะเป็นความยากของกระบวนกรหรือไม่ ที่เจอความหลากหลายของผู้เข้าอบรม...หรือว่าจะเป็นความง่ายมากขึ้นที่ไม่ต้องไปใช้เวลาสำหรับการ "ละลายพฤติกรรม" ??

การปรับเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างการอบรม น่าจะเป็นอีกเรื่องที่ต้องอาศัยศิลปะขั้นสูงทีเดียว เพราะบรรดาบล็อกเกอร์ส่วนหนึ่งเมื่อเจอกันต้องการฉกฉวยเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน บางครั้งพูดคุยกันเกินเวลาที่วิทยากรตั้งใจ หรือว่ามีกิจกรรมอื่นแทรกได้ตลอดเวลา กิจกรรมจึงต้องยืดหยุ่นเลื่อนไหลให้ได้ตลอดเวลา

ถึงตรงนี้อยากใคร่ครวญว่า การยืดหยุ่นในกิจกรรมน่าจะสอดคล้องกับธรรมชาติของการจัดการความรู้ในตัวบุคคล??

ระยะหลังการอบรม...เท่าที่สังเกตจะพบว่าเป็นระยะที่ผู้เข้าอบรมส่วนมากจะลึกซึ้งกับการเข้าใจตัวเองและซึมซับวัฒนธรรมของการ "ให้" มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น และมีความอ่อนน้อมอ่อนโยนต่อผู้อื่น (หลายๆคนเริ่มคุยกับมดบ้าง ไก่ต๊อกบ้าง...555) ...ระยะนี้น่าจะเป็นระยะที่กระบวนกรสามารถเสริมศักยภาพของผู้เข้าอบรมให้เพิ่มขึ้น และเปิดช่องทางให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่นการเปิดบล็อก เขียนบล็อก เพื่อการติดตามต่อยอดและให้กำลังใจกันและกันในระยะยาว

คิดว่า การอบรมที่ใช้เวลา 3-4 วัน อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนผ่านของหลายชีวิต ขณะที่บางรายอาจจะเป็นแค่จุดเริ่มต้น การอบรมระยะสั้นแบบนี้ก็เหมือนการที่ต้นไม้เริ่มแตกรากและรู้วิธีการหาปุ๋ย การเสริมแรงใจระหว่างกันและกัน ก็เหมือนการเพิ่มปุ๋ยให้เป็นระยะๆได้อีกวิธีหนึ่ง ...

แต่ก็อยากจะใคร่ครวญด้วยว่า อาจจะต้องใช้ศิลปะในการติดตามพอควรเช่นกัน....เพราะบางรายอาจจะต้องการเวลาสำหรับการย่อยความคิดและตัดสินใจอยู่บ้าง

สุดท้ายก็มองเห็นว่า อบรมให้กับชาวเฮฮาศาสตร์น่าจะเป็นการจัดอบรมรูปแบบใหม่ที่น่าจะแตกต่างกับวิถีอบรมระบบเดิมๆ เพราะอบรมแบบเฮฮาศาสตร์นั้นทั้งกระบวนกรและผู้เข้าอบรมต่างก็ได้พัฒนาตัวเองขึ้นไป แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันไป มีความช่วยเหลือกัน เปิดใจกันคุยกันได้ กิจกรรมไม่แน่นเกินไป เพิ่มช่องว่างของเวลาให้แต่ละคนได้ "ย่อย" ความคิด และกลับมารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้ อาจจะใช้พื้นที่ธรรมชาติเช่นตามสุมทุมพุ่มไม้เป็นแหล่งเรียนรู้ไปตามโอกาสด้วย

ก็แอบวางแผนไปแบบนี้อย่างไม่มีทฤษฎีอะไรรองรับหรืออ้างอิงค่ะ แถมยังไม่ต้องเชื่อถือก็ได้ค่ะเพราะว่าตัวเองยังไม่เคยเป็นวิทยากรกระบวนการอะไรเลย...(เอิ๊กๆ)

เป็นแค่การแอบวางแผนบนฐานความเชื่อและความรู้สึกถึงใจที่ผ่อนคลายและเปิดรับของบรรดาบล็อกเกอร์ที่ไปร่วมกิจกรรมในคราวนี้ และชื่นชมในความสามารถของวิทยากรที่สามารถสร้างความลงตัวให้กับการเรียนรู้ในคราวนี้นั่นแหล่ะค่ะ

ยืมคำคุณเม้งมาปิดท้ายหน่อยนะคะว่า อ่านแล้วก็เชิญท่านผู้อ่านบรรเลงตามสะดวกใจเลยค่ะ...

(ปล. ช่วยทำมาหากินแล้วนะคะอาจารย์ใหญ่พิษณุโลก...555)

 

 

หมายเลขบันทึก: 184380เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2008 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ปุจฉาความท้าทายสำหรับ "ห้องเรียน" ก็คือ "นักเรียน" เรียนรู้ได้ไม่เท่ากันครับ ทั้งด้านความลึกซึ้ง และความเร็วซึ่งเกิดปัญหาว่าชั้นเรียนต้องไปด้วยจังหวะเดียวกัน ยิ่งมีพื้นฐานแตกต่างกันแล้ว ยิ่งลำบาก (แต่ก็อาจจะยิ่งสนุกท้าทาย)

ผมจึงเห็นว่าลักษณะของการบรรยายนั้น ยากจะนำคนหมู่มากไปสู่ปัญญาครับ

น้องสร้อยครับ ก่อนอื่นเอารูปมาฝาก

พี่เห็นด้วยครับต่อข้อคิดของน้องสร้อย

  • มันจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างแบบเก่ากับใหม่ อย่างประสบการครั้งนี้ช่วยบ่งชี้ถึงรูปแบบใหม่ในการจัดฝึกอบรมได้ดี
  • พี่ยังคิดว่าหากจัดเต็มรูปของ ขวัญเมืองมากขึ้น หรือผสมผสานระหว่าง ขวัญเมือง+เฮฮาศาสตร์ น่าที่จะเกิดมิติใหม่ของการพัฒนาการฝึกอบรมนะครับ

อย่างไรก็ตามพี่มีข้อคิดสำหรับทัศนคติพี่ต่อการจัดการบ้าง เรื่องดีดีพูดกันมากแล้ว เอามุมอื่นบ้างนะครับน้องสร้อย

  • ทัศนคติพี่ยังเห็นว่ารูปแบบการจัดการใน ชั่วโมงปฏิบัติการ เช่นช่วงทำ Deep listening นั้นจำเป็นต้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อด้วย เช่น ไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนสมาธิ ที่กำลังดำดิ่งสู่ก้นบึ้ง ไม่ว่าการถ่ายรูปที่มีเสียง แสงแฟลช เสียงคนทำงานอื่นๆ เสียงเด็ก ฯลฯ อาจจะรบกวนสำหรับท่านที่หวั่นไหวต่อสิ่งเหล่านี้ง่ายน่ะครับ
  • จากข้อแรกพบว่า บางช่วงพี่ไม่เข้าใจว่าวิทยากรกล่าวอะไร หรือสั่งให้ทำอะไร ฟังไม่ชัด ไม่เข้าใจ ยิ่งวิทยากรพูดเบาๆ ยิ่งต้องการสมาธิในการฟังมากขึ้น  เมื่อไม่เข้าใจก็ขาดความสมบูรณ์ในการติดตามและลิ้มรสการเลื่อนไหล (อิอิ ภาษาใหม่คือ พลังแห่งมณฑล) อย่างเต็มๆ
  • ส่วนตัวพี่พบว่าการนั่งเข่านานๆมีปัญหาเพราะตัวเองมีน้ำหนักมาก หากจะทำนานๆก็กระทบต่อร่างกายเจ็บปวด  ควรจะมีผ้ารองนั่ง (เคยเห็นหลักสูตรนี้ที่ SCG ทำมีฟูกและหมอนสามเหลี่ยมจัดให้ทุกคนเลย)
  • สถานที่แคบไปนิดหนึ่ง  ไม่ว่ากันเพราะเดิมรับแค่ 25 เอาจริง 40 เศษ แต่ก็ส่งผลการดำเนินการในช่วงการเดินระหว่างกิจกรรม
  •  เนื่องจากวิทยากรใช้ศัพท์แสงที่ใหม่ต่อการรับรู้ จึงพยายามเงี่ยหูฟังว่า มันคืออะไร หมายความว่าอย่างไร  เช่น พื้นที่... มณฑลแห่งพลัง.. ไข่แดง..ไข่ขาว.. ภาวะแขวนลอย.. แม้แต่สุนทรียสนทนา... Voice dialogue... ฯลฯ บางคำเคยใช้ เคยได้ยิน เคยเข้าใจความหมาย แต่ไม่ตรงกันหมดกับความหมายในวงนี้.... เมื่อมาอ่านหนังสือ มณฑลแห่งพลังและ กระบวนกร ก็ค่อยเข้าใจมากขึ้น...  อย่างนี้ทำไงดี..เอาหนังสือไปอ่านมาก่อน  เขียนคำอธิบายติดข้างฝาห้องประชุมไว้ หรือปล่อยให้เป็นไปตามนั้นเพราะมีวัตถุประสงค์บางอย่าง ???
  • พบว่าการคุยส่วนตัวนอกรอบกับวิทยากรทำให้เราลึกซึ้งมากขึ้นมากกว่าใน session  บังเอิญคุณมนตรีกับพี่รู้จักกันมาก่อน เราเคยทำงานใกล้ชิดกันมาก่อน จึงเพิมเติมความเข้าใจกันอย่างถึงแก่น  พี่จึงได้เปรียบกว่าคนอื่นๆในบางเรื่องครับ

เอาแค่นี้ก่อนนะครับน้องสร้อยครับ

เอาดอกไม้มาฝากอีก

อุย นึกว่าพิมพ์ไปแล้วจะแสดงหมด แต่ไหนไปเท่านั้น เอาใหม่ครับ

เอ้าเป็นเหมือนเดิม งง วันพรุ่งนี้มาเขียนใหม่แล้วกัน ระบบท่าจะเหนื่อยและรวน ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณ conductor  P

  • รูปใหม่สีสวยนะคะ ^^
  • ค่ะ เห็นด้วยเลย...ตัวเองก็คิดว่ามันท้าทายและพัฒนาวิทยากรได้นะคะ....และไม่น่าจะเป็นการจัดการที่ดีถ้าจะยังใช้วิธีเดิมๆ คือวิทยากรมาบรรยายในห้องหรือ Talk show ตลอดเวลา เพราะลักษณะของคนเฮฮาศาสตร์ต้องการ Two way communication ถึงจะมีความอดทนกันสูงก็เถอะ...ถ้าไม่ให้ได้พูดหรือทำกิจกรรมอื่นบ้าง...ก็จะไม่ครบเครื่องของการจัดการความรู้ในตัวเอง....เหมือนที่ฟังพระอาจารย์ท่านหนึ่งเทศนาว่า ...ท่านที่ฟังเสียงอาตมากลับบ้านไป ถ้ายังคงได้ยินแต่เสียงอาตมาแสดงว่าท่านยังไม่ได้เรียนรู้อะไร แต่เมื่อท่านปฏิบัติจนได้ยินเสียงตัวเองในธรรมแล้วจึงนับว่าเป็นการเรียนรู้ของตัวท่านเอง
  • แต่ก็พยายามใคร่ครวญหาความลงตัวว่า อาจจะต้องมีจัดเวลาสำหรับการจะอธิบาย หลักการบางอย่าง  แนะนำในสิ่งใหม่ หรือว่าการสรุปบทเรียนบางเรื่องที่ต้องอาศัยห้องหับที่จะตัดสภาวะรบกวนหรือการกระจายตัวกันเกินไป....ก็เป็นศิลปะของวิทยากรที่จะประเมินสถานการณ์เป็น....ตรงนี้ครูอึ่งบอกว่า วิทยากรที่เก่งคือคนที่ไม่ต้องพกกระบี่ตลอดเวลา...หมายถึงว่า ไม่ต้องไปเคร่งครัดกับกิจกรรมที่ตัวเองวางว่าจะต้องนับจาก 1-2-3-4 บางทีอาจจะต้องปรับนับจาก 3-2-1-4 ก็ได้...เลื่อนไหลให้ได้ทุกสภาวะ....ใช้"ใจ" แทนกระบี่ ก็จะดูแลสถานการณ์ได้ดีขึ้น
  • ส่วนเรื่อง Dialogue น่ะ ก็มองว่าเมื่อมีพื้นของหลักการแล้ว(จากวิทยากร) การฝึกน่าจะทำได้กับทุกช่วงเวลาของการอบรม ไม่ต้องเฉพาะแค่ตอนอยู่ในห้องเรียนน่ะค่ะ ไม่ว่าจะกลุ่ม 2 คน 4 คน หรือไปทำกับข้าว เดินชมสวนฯลฯ ...กิจกรรม Deep listening ที่สังเกตคราวนี้จะเห็นว่า หลายคู่กระโดดไป dialogue ได้เลยด้วยซ้ำน่ะค่ะ
  • พื้นที่ทางใจไม่มีขอบเขตแล้ว พื้นที่ทางกายก็ต้องไม่จำกัดก้วยสถานที่นะคะ.... ก็คงขึ้นกับลักษณะผู้เรียนด้วย...แบบนี้ถึงว่าท้าทายดีนะคะ...ที่ว่า student center ก็จะได้เอามาใช้กันจริงๆ ได้ตรงนี้ละมังคะ

สวัสดีค่ะ น้องออต P

กรุณากลับมาใหม่ค่ะ...และคุยยาวๆด้วยนะคะ ^^

กราบขอบพระคุณค่ะ พี่บางทรายP

  • เห็นด้วยค่ะพี่ ..เราคุยถึงสิ่งดีๆ ที่เราควรจะเก็บไว้สำหรับการอบรมพัฒนาไป น้องก็คิดว่าเราก็ต้องมองให้รอบด้านว่า ในสภาวะของการจัดกิจกรรม มีอะไรที่เป็นจุดอ่อนของการจัด...ส่วนหนึ่งอาจจะถูกปรับไประหว่างการอบรม บางสิ่งยังจะต้องนำมาใคร่ครวญ เพื่อที่ว่าถ้าจะต้องจัดอีกครั้ง มีอะไรที่เราเรียนรู้และควรบันทึกไว้ สำหรับการจัดอบรมที่อาจจะมีขึ้น หรือแม้แต่ถ้าจะนำไปพิจารณาในการจัดอบรมอีก
  • ที่คุยกับคุณหมอชอบวิ่งคือ ...บนพื้นที่ของ Gotoknow ที่กำลังจะขยายตัวไปข้างหน้า วิถีการจัดอบรมอาจจะมีหลายรูปแบบ ก็บนความหลากหลายของบล็อกเกอร์ ...สิ่งหนึ่งที่น้องมองคือ บนความหลากหลายนั้นเราได้หยิบยืมใช้ "พลัง" ของความหลากหลายเพื่อต่อยอดให้เกิดเกลียวความรู้หรือยัง และเราได้ "วิเคราะห์" ผู้เข้าอบรมอย่างจริงจังหรือเปล่า...อย่างเช่นที่พี่บอกว่า การนั่งพื้นนั้นไม่เหมาะกับวัยและสภาวะกาย...น้องเห็นด้วยเลยค่ะ...หลายคนอาจจะเสีย "พลัง" เพื่อข่มความเจ็บปวดอยู่ก็ได้...
  • น้องมีข้อสงสัยว่า เราอาจจะปรับเปลี่ยนกิจกรรมไปทิศทางไหนอย่างไรดี เมื่อมีปรากฏการณ์นอกเหนือจากที่คาดไว้ขึ้น....อย่างเช่นคืนที่ 18 กลุ่มกำลังมีพลังพุ่งสูง หลังจากการ "กอดส่ง" ผู้ลาไปชุดแรก...พลังอย่างนี้สำหรับน้องแล้วคิดว่า น่าจะสำคัญค่ะ...สงสัยว่า ถ้าเราอาจจะออกแบบกิจกรรม แทนที่จะนั่งล้อมวงกลุ่มใหญ่ขนาดนั้น คืนนั้น น่าจะฉกฉวย ให้เกิดสุนทรียสนทนา เช่น อาจจะมีกลุ่มย่อย กลุ่มหลากหลาย ใครสนใจคุยประเด็นไหนอย่างไร...แบ่งกลุ่มไปตามความสนใจหรืออาจจะรวมกลุ่ม โดยมีผู้นำทาง...เช่นอาจจะเป็นพี่บางทรายนำการสนทนา ...ความอิ่มเต็ม จะทำให้ผู้คนมีพลังจาก interpersonal ที่ไปเชื่อมโยงกับพลังจาก intrapersonal ที่ฝึกกันมาทั้งวันแล้ว... หรือเปล่า
  • สำหรับน้องนะคะ เฮฮาศาสตร์เป็นมิติหนึ่งบน Gotoknow ที่กำลังจะบอกกล่าวเรื่องราวของตัวเอง คนเฮฮาศาสตร์อาจจะไม่ใช่ "คนพิเศษ" จนน่าหมั่นใส้ แต่คนเฮฮาศาสตร์กำลังจะนำมิติของ ความเชื่อมโยง ความลึกซึ้งภายในของแต่ละคนออกมาทำให้เกิด "พลัง" ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  • น้องมองว่า ความอ่อนน้อมบวกกับความตั้งใจจริงของผู้คน จะมีส่วนนำพาให้เกิดความยั่งยืนของเฮฮาศาสตร์ด้วยค่ะ
  • ขอบพระคุณพี่บางทรายที่จุดประกายให้เห็นสิ่งเหล่านี้และชี้ประเด็นถึงสิ่งที่ควรใคร่ครวญสำหรับการจัดอบรมด้วยค่ะ....
  • มีความสุขที่ได้พบเจอพี่ และได้คุยกันแบบนี้ด้วยซิ

แว๊บบบบบบบบ

แล้วจะมาอ่านต่ออย่างละเอียดนะคะพี่สร้อยขา

น่าสนใจ...น่าสนใจค่ะ...

ขะแว้ปตามพี่หนิงมายกมือเชียร์ค่ะ...เดี๋ยวมาใหม่นะคะ

(^___^)

ความอ่อนน้อมบวกกับความตั้งใจจริงของผู้คน

..............................

พอดี อ่านมาเรื่อยๆ น่าสนใจคะ และ ประโยคนี้ ที่ คุณจันทรรัตน์ แสดงความเห็น

ก็ ประทับใจคะ

สองอย่างนี้ เป็น คนที่น่ารัก จริงๆคะ

วิ่งปรู๊ดเข้ามาอมยิ้ม และต๊ะไว้ก่อนนะคะ ^ ^

ตอนที่เบิร์ดนั่งรถมากับอาจารย์ อาจารย์ก็กังวลกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยเหมือนกันค่ะพี่สร้อย และรายชื่อแต่ละท่านก็ไม่ธรรมดา แถมยังหลากหลายสาขาอีกเป็นโจทย์ที่ยากที่สุดโจทย์หนึ่งของวิทยากรเชียวค่ะ

แต่เราก็พบว่าภายใต้ความยากนั้น มีจุดร่วมหนึ่งคือ " ใจที่อยากจะมา " ...เพราะไม่มีการบังคับให้เข้าอบรม ไม่มีการกะเกณฑ์ ( แม้คุณหมอฯ +พ่อครู ฯ จะช่วยกันโฆษณาก็ตาม อิ อิ )..แถมยังมีจำนวนมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะจริงๆไม่ควรเกิน 25 แต่อาจารย์ก็คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันกับหลากหลายสาขานี่แหละ ทำให้โปรแกรมการอบรมเปลี่ยนไปหมดเลยค่ะ อาจารย์บอกกับทีมนักการว่า ฯ ปรับตามสถานการณ์ เพราะมีทั้งผู้ที่เข้ามาในช่วงหลังๆและจากไปก่อนการอบรมจะสิ้นสุดอีก แหมพูดเข้าตัวเอง ^ ^  ...

เสน่ห์ของกลุ่มนี้คือ ใจที่อ่อนน้อมถ่อมตน และความตั้งใจจริงที่จะเรียนรู้แบบที่พี่สร้อยกล่าวมานั่นแหละค่ะ ทำให้ฟันฝ่ามาได้จนถึงผลลัพธ์ที่แม้นแต่วิทยากรก็คาดไม่ถึงเช่นเดียวกัน อิ อิ

ข้อควรระวังแบบที่พี่บางทรายกล่าวมาเ็ป็้นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงเนาะคะ เพราะการที่จะให้ได้ผลการอบรมเต็มที่ก็ควรมีการจัดการที่ดีี่ร่วมด้วย.. แหม ถ้าลานไผ่หน้าบ้านร่มกว่านี้แบบไผ่สานเป็นซุ้มนี่เบิร์ดชวนไปลานไผ่แล้ว อิ อิ อิ

เด็กๆอาจให้มีกิจกรรมอะไรสำหรับเค้าที่แยกออกไปอย่างเช่นเดินจ่ายตลาดในสวนป่า  หรือการช่วยกันหาไข่ไก่ต๊อก การช่วยกันเลี้ยงเหมยซาน การเรียงอิฐ ฮี่ ฮี่ ฮี่ ฯลฯ

อาทิตย์หน้าจะเข้ามาคุยด้วยแบบจริงจังนะคะ เพราะคิดว่าควรจะมีหลักสูตรหลายๆแบบ อย่างเช่น " อ่าน เขียน แปล " ของสถาบันขวัญเมืองนี่ก็น่าสนใจค่ะ อิ อิ เสียดายที่สุดที่ไม่ได้เจอพี่สร้อย พี่อึ่งและรามที่โดนคุณหมอคนชอบวิ่งฉุดมา ชร. :(

คิดถึงจริงๆค่ะ กอดอุ่นๆข้ามฟ้ามา

  • มาใหม่แล้วครับ หลังจากติดใจกับการแสดงความคิดเห็นสามครั้งเมื่อคืนแต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งที่เขียนแสดงความคิดเห็นเอาไว้ซะยืดยาว แบบนี้ท่าจะต้องใช้คำว่า เอาชีวิตไปผูกติดสิ่งอื่นคนอื่นไม่ได้ ต้องนิ่งในตนเองให้มาก
  • ออตจะมายกมือไหว้ ขออนุญาตนำ ตกตะกอนในบันทึกนี้ ลงไปไว้ในข้อมูลปรากฎการณ์ของเฮฮาศาสตร์ซึ่งกำลังทำในรูปแบบเวบของสวนป่าครับ ความจริงจองพื้นที่ไว้นานขาดแต่ว่าเวลาไม่อำนวย เนื้อหาจึงไม่มากเลยยังไม่ได้เผยแพร่ครับ แต่บันทึกนี้ควรค่าในการอยู่ในฐานข้อมูลที่ชี้ให้เห็นการตกตะกอนในปรากฎการณ์ครับ
  • อยากจะใคร่ครวญ ดูเหมือนจะเป็นคำที่เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมความเป็นจริงของการจัดการอบรมกับความจริงใจที่อยากให้รูปแบบการอบรมไปในแนวที่งดงาม ดีงาม จริงงาม โดยแท้ในอนาคต
  • ขอคาวระในรูปแบบตกกะตอนแบบนี้ สำนวนที่เรียบง่ายออกไปทางธรรมดาแต่ทว่าละเมียดละไม งานง่ายและเข้าถึงส่วนลึกของคนร่วมในเหตุการร์และพอจะเป็นยากระตุ้นจินตนาการให้คนไม่ได้ไปร่วมคิดตามได้
  • ขอมอบตัวเป็นศิษย์ กับรูปแบบการเขียนแบบนี้ครับ ง่ายแต่ยังคงมีกลิ่นไอวิชาการที่สามารถอ้างอิงได้
  • ตามมาดูก่อน มายิ้มๆๆที่พี่เราบอกว่าช่วยกันทำมาหากิน ฮ่าๆๆๆ นี่ขนาดพี่เราไม่เคยอบรมนะยังพลิ้วได้ขนาดนี้ อบรมจริงๆๆจะขนาดไหน ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

    เรียนอาจารย์ที่เคารพ

    ฝีมือขนาดอาจารย์นี่น่าจะเป็นคนจัดได้นะครับ  เห็นแอบวางแผนจัด  ยกมือสนับสนุนสองมือเลยครับ

    การบ้านยังส่งไม่หมดเลย

    มีคำถามที่ถาม อ. วิศิษฐ์ไว้  ยังไม่ได้เล่าเลยว่า อ. วิศิษฐ์  ตอบว่ายังไง 

    ที่จำได้ก็มีคำถามที่ว่า
                  -  ที่ ทีมงานวงน้ำชาอบรม  มีอะไรเป็นเอกลักษณ์ของการอบรม  และมีวัตถุประสงค์อะไร ?
                  - จะรู้ได้อย่างไร  ว่าผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในอารมณ์ไหนในขณะนั้น ?
                  - การอบรมต้องทำไปตามขั้นตอนที่วางไว้หรือไม่ ?

    ฯลฯ

    ลูกศิษย์ที่เคารพอาจารย์เค้ารออ่านกันอยู่น่ะครับ  อิอิ

     

     

    เรียนเพื่อนที่เคารพ

    • ร้อนๆ ยังไงพิกล..คล้ายๆ มีใครพาดพิง..อิ..อิ
    • มาสนับสนุนความคิดเห็นที่ 16 ด้วยค่ะ
    • เพิ่มเติม..เรื่องขำๆ ระหว่างเดินทางก็ยังไม่ได้เล่านา
    • ผู้อ่านแนวกิ๊กกั๊ก..ก็รออยู่ด้วยความเคารพจ้า..^_^

    สวัสดีค่ะ น้องหนิงP

    • ไปมารวดเร็วดังลมกรดนะคะ
    • ยัง "กอด" ไม่ได้ที่เลย...555
    • ขอชมน้องชาย "น้องเอก" นะคะ...น่ารักมีน้ำใจกับ สว. อย่างพี่ด้วย...น่ารักเหมือนพี่หนิงเลย
    • ส่วนที่สัญญาว่าจะมาอ่านอย่างละเอียดนั้น....ถือว่ากระทำต่อหน้าฟ้าดินนะ...ไม่มาอ่านละก้อ...ถูกจับเต็นนกแน่นอน อิอิ

    สวัสดีค่ะ น้องกะปุ๋ม P

    • เปลี่ยนรูปใหม่??
    • มาเชียร์อย่างนี้ ต้องขอชักชวนให้มาบ่อยๆ 555

    สวัสดีครับ อาจารย์

    แวะมาชวนไปฟังเพลงครับ @184493

    สวัสดีค่ะ อ.พี่สร้อย

    เห็นบันทึกนี้ ต้องรีบวางมือจากงานด่วน มาอ่านก่อน เผื่อจะได้มีแรงกระตุ้นให้ทำงานยิ่งขึ้น อิอิ

    ขอบอกว่า สรุปได้โดนใจมากเลยค่ะ สำหรับตัวน้องแป๊ดเองแล้ว การไปครั้งนี้ ไม่ได้คาดหวังที่จะเข้าอบรม เลยไม่ได้รับความรู้สักเท่าไหร่ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เกินคุ้มคือ ได้มีโอกาสกอดและพูดคุยกับ อ.พี่สร้อยค่ะ

    คิดถึงนะคะ

    ขอบคุณค่ะ คุณดอกแก้วP

    • เสียดายมากค่ะที่ไปคราวนี้ไมได้แวะเยี่ยมคุณดอกแก้ว...
    • เรา (ครูอึ่ง ครูอาราม น้าอึ่งอ๊อบ) คุยกันว่า วันหนึ่งเราจะไปแวะชมผลงานของเด็ก และสนทนากับคุณดอกแก้วด้วยค่ะ
    • ถนนสายเชียงใหม่ ลำพูน สวนป่า ดูเหมือนจะเริ่มคุ้นเคยกันแล้วค่ะ คราวหน้าเราอาจจะไม่ต้องใช้แผนที่แล้วด้วย...^^

    คารวะ สามจอกค่ะ ซือแป๋Pที่เคารพ รัก นับถือ ชื่นชม ฯลฯ

    • แอบเขียนเพราะอยากเก่งเหมือนซือแป๋ และทีมวิทยากรที่ไปร่วมด้วยช่วยกัน นั่นแหล่ะค่ะ
    • กรุณาแวะมาเคาะกระโหลก ฉุด ลาก สอน ตรวจงาน ฯลฯ บ่อยๆนะคะ
    • ...
    • ยังจำได้เลยที่ซือแป๋สอนว่า เมื่อไหร่เขายังเขียนว่า อาจารย์สร้อยที่เคารพ แสดงว่า อาจารย์สร้อยยังไม่ได้เป็นเซียน ยังอยู่ระยะที่ 1 ของการฝึก ฝึกผิดๆ ถูกๆ
    • ยังพบกระบี่ ก๋า เหน็บมีดสั้นไว้สองข้างเอวอีกต่างหาก
    • จะเป็นเซียนได้ต้องระดับ ยอดคนงำประกาย ...หรือที่อาจารย์วิศิษฐพูดว่า เมื่อไหร่ไปเดินตลาดเขาเรียกว่า อาแป๊ะ แสดงว่า เป็นเซียนได้
    • ...
    • คารวะซือแป๋ คนชอบวิ่งอีก สามจอกค่ะ
    • อุ้ยก็ลองเขียน ลองฝันไป เผื่อทาง Gotoknow ปิ๊งเห็นประโยชน์ให้ทุนจัดอบรมบ้าง จะได้ไปขอเข้าร่วมอบรม อ่าน เขียน แปล ด้วยคน แล้วจะได้ช่วยกันสร้างทีมไปช่วยซือแป๋จัดอบรมด้วยไงคะ
    • อิอิ...แอบอ้อนขอเป็นลูกศิษย์ถาวร

     

    ^^ สวัสดีค่ะ น้องหมอเบิร์ดที่น่ารักP

    • เสน่ห์ของกลุ่มนี้คือ ใจที่อ่อนน้อมถ่อมตน และความตั้งใจจริงที่จะเรียนรู้แบบที่พี่สร้อยกล่าวมานั่นแหละค่ะ ทำให้ฟันฝ่ามาได้จนถึงผลลัพธ์ที่แม้นแต่วิทยากรก็คาดไม่ถึงเช่นเดียวกัน อิ อิ......ค่ะพี่ก็เห็นด้วย และก็อยากชวนคิดต่ออีกว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความตั้งใจพัฒนาตัวเองของผู้ที่มาร่วมอบรม อาจจะมองเป็น core value หนึ่งของคน Gotoknow ด้วยหรือไม่

    • อาทิตย์หน้าจะเข้ามาคุยด้วยแบบจริงจังนะคะ ....รอค่ะ..รอได้ซำเหมอ

    • วันก่อนที่ไปเรียนถึงถิ่นอาจารย์วิศิษฐนั้น อาจารย์ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์มากๆ เลย...ไม่ว่าการทำงานบนญาณทัศนะ...ที่อาจารย์เน้นๆยิ้มๆ คือ การฝึกหัดตัวเองที่จะก้าวขึ้นสู่ระดับเซียน นั้นต้องอาศัย "ประสบการณ์"... สังเกตและปฏิบัติ...สงสัยก็กลับไปหาครูบาอาจารย์...พี่ก็ว่านั่นแหล่ะคือธรรมชาติของการเรียนรู้...เมื่อฝึกฝนขึ้นไปอาจจะเจอปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิด...ถ้าได้กัลยาณมิตรช่วยคิดช่วยมอง ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทั้งผู้เป็นวิทยากรและผู้อื่น

    • การมองสิ่งที่เป็นไปและเขียนทบทวน ใคร่ครวญ จึงเกิดขึ้นบนความตั้งใจจริงแห่งการเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกันอย่างไงละคะ...^^

    สวัสดีค่ะน้องออต P

    • ขอบคุณค่ะ...ดีใจที่บันทึกเป็นประโยชน์
    • พี่มีแต่ภาษาง่ายๆละค่ะน้องออต...ก็ตามที่บอกเล่าคือไม่มีทฤษฏีอ้างอิง...ทุกอย่างอยู่บนฐานใจที่ชื่นชมวิทยากรและมองเห็น "ความอ่อนน้อมและใจเปิด" ของผู้เข้ารับการอบรม..รวมทั้ง ความตั้งใจจริงที่จะช่วยกัน "ช่วยเหลือเพื่อนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน" นั้นเองค่ะ....
    • พี่มักจะคิดว่า ความละเมียดของนักเขียนให้ดูที่รสนิยมอาหาร...นักเขียนบางคนฝีมือจัดจ้านชวนลุ่มหลง...นักเขียนบางคนดูลึกลับน่าค้นหา...สำหรับพี่กลับนิยมเมนูที่เรียบง่ายและบริโภคแค่จำเป็น....
    • ความง่ายที่สุดบางครั้งก็เขียนให้เข้าใจได้ยากที่สุด??

     

    สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิตP

    • เพิ่งรู้ว่า ที่สวนของอาจารย์ขจิตมีปลาพี่สร้อยด้วย..อิอิ
    • พี่น่ะ..แหมไม่อยากคุย...เป็นศิษย์มีครูนะเออ
    • ครูของพี่ก็อยู่แถวๆ ในบล็อกนี่แหล่ะ 555
    • ครูพักก็ลักกอด...เอ๊ย..ลักจำ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์กวินP

    • ขอบคุณค่ะ....จะตามไปค่ะ...ขอบคุณที่มาเยือนและบอกเล่าด้วยค่ะ เพราะระยะนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาติดตามบันทึกอาจารย์เท่าไหร่ (รวมทั้งติดตามบันทึกของตัวเองด้วย)....ด้วยเหตุของการปฐมนิเทศนักศึกษาและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลายหลักสูตรค่ะ

    ระยะต่อไปอาจจะดีขึ้น...หวังๆๆ ค่ะ

    แอบทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ที่คุณครูอึ่ง P ทวงงาน...555

    • มีเรื่องเล่าจากเชียงรายนิดหน่อย...
    • เรื่องก็มีว่า วันหนึ่งท่านผู้บริหารรายหนึ่งก็ต้องงดการประชุมด่วน เพราะมีจอมป่วนมาฉุดไปต่างจังหวัด
    • ตลอดระยะการเดินทาง ท่านผู้บริหารก็จัดสรรที่นั่งให้ลงตัว โดยไปนั่งอยู่ข้างหลังรถตรงตำแหน่งที่ตรงกับจอมป่วน
    • ด้วยเหตุผลว่า ...จอมป่วนต้องหันหลังมาคุยด้วยแน่ๆ แอบนั่งหลังซะงั้นจะได้มองไม่เห็นและแอบงีบได้
    • ...
    • ถึงเวลาต้องลาจาก เพราะจอมป่วนต้องนั่งรถไปร่วมขบวนม๊อบข้าว...เอ๊ย...ไปดูลาดเลาม๊อบ
    • ท่านผู้บริหารก็กระโดดลงจากรถ อย่างรวดเร็ว...เตรียมตั้งท่า ลา แบบชาวเฮฮาศาสตร์....แบบไหนก็น่าจะรู้กันดี 555
    • อ้าว...จอมป่วนกลับกระโดดลงจากรถได้ก็จ้ำอ้าวๆ เดินห่างไกลสองวา แล้วรีบขึ้นรถทันที
    • เพื่อนท่านผู้บริหารที่ไปด้วยก็อดไม่ได้...เลยถามเบาๆว่า เฮอะ..เปิ้นบ่ากอดกั๋นกา....
    • อิอิ

     

     

    สวัสดีค่ะ คุณแป๊ด

    • ดีใจ ประทับใจ และทึ่งกับพลังใจของคุณแป๊ด ที่เดินทางไกล แถมยังเหมาแท๊กซี่จากกรุงเทพ ไปสวนป่านะคะ...
    • สุดยอดเคล็ดวิชา ว่าด้วยเรื่อง "ใจ" เลยค่ะ
    • ตอนที่นั่งคุยกับอาจารย์แสวงข้างนอกห้องก็สนุกนะคะ...
    • พี่ขำ ขำ ที่อาจารย์บอกว่า เรียนมาตลอดหลักสูตร ได้แต่ คำจำกัดความ...อิอิ
    • ยินดีนักหนาที่ได้เจอตัวค่ะ
    • เหนือ ใต้ อิสาน ตะวันออก ตะวันตก ไม่ไกลกันเลย ถึงไกลก็เหมือนใกล้เพราะเครือญาตินี่เอง...นะคะ

    สวัสดีครับ

    • แวะมาทักทายครับ
    • มาดูบรรยากาศ
    • มหาชีวาลัยอีสานครับ
    • บรรยากาศดีมากครับ
    • อยากไป ๆๆๆ

    สวัสดีค่ะคุณครูโย่ง

    • มหาชีวาลัยอิสานนั้น "ไปง่าย แต่ออกมายาก" ค่ะ
    • จริงๆนะคะ ไม่ได้เล่นคำ...ที่ว่าไปง่ายคือ ติดรถใครไป ก็ได้ มอไซด์รับจ้างก็ได้ เหมาแท๊กซี่ก็ได้
    • แต่ตอนจะกลับออกมา...หากไม่มีรถไปเองละก้อ...ต้องคอยดูให้ดีว่าจะมีใครคนไหนออกมาหรือเปล่า...และที่แน่ๆ ต้องไม่พาหลงอยู่ข้างในด้วย..^^
    • ยินดีมากค่ะที่แวะมาเยือน..หวังว่าโอกาสหน้าคงได้เจอกันแถวๆ สวนป่านะคะ

    "ส่วนมากจะลึกซึ้งกับการเข้าใจตัวเองและซึมซับวัฒนธรรมของการ "ให้" มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น และมีความอ่อนน้อมอ่อนโยนต่อผู้อื่น"

    ความอ่อนน้อมอ่อนโยนต่อใจตัวเองด้วยค่ะ

    Pขอบคุณค่ะ

    อ่อนโยนกับใจตัวเอง...จริงๆด้วยค่ะ ...อ่อนโยน สงบ สบายใจ

    ขอโทษนะคะที่ข้ามบันทึกนี้ไปๆมาไม่ได้มาทักทายน้องนักการพี่หนิง

    หวังว่าคงได้เจอกันแถวๆสวนป่าอีกนะคะ...

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท