๕.UKM18 : เพิ่มโอกาสเข้าถึงและบ่มสร้างการมองโลกด้วยศิลปะ


ในห้องพักของโรงแรมตักศิลาซึ่งเป็นที่พักผู้เข้าร่วมประชุมเวที UKM-18 ในครั้งนี้ มีการตบแต่งด้วยงานศิลปะซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสนใจต่อการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เข้าพักได้อยู่ใกล้ชิดกับงานศิลปะ ได้ความบันดาลใจ และได้พัฒนาการมองโลกด้วยศิลปะ ติดตั้งตามมุมต่างๆภายในห้องพักถึง ๔ รูป

ภาพจิตรกรรมไทยแนวเทววิทยา ให้การเรียนรู้ได้หลายมิติ เช่น การเปลี่ยนแปลงและเกิดพื้นที่อย่างใหม่ทางศิลปะ จากผนังศาสนสถานสู่การเขียนภาพเนื้อหาเดียวกันบนเฟรม และการนำเอาเรื่องราวซึ่งมักสร้างพื้นที่เฉพาะทางศาสนธรรมโดยศิลปะมาสู่พื้นที่อีกบริบทหนึ่งของโรงแรม ทำให้เกิดพื้นที่พิเศษและความหมายที่ต่างออกไปของงานศิลปะแนวจิตรกรรมไทยประเพณี ในด้านเนื้อหาก็เป็นการบอกเล่าและถ่ายทอดวิธีคิดเกี่ยวกับจักรวาลและเทววิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบความเชื่อที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย

ภาพแสดงความรื่นรมย์ในชีวิตและวิถีชุมชนของผู้คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผสมผสานกันเหมือนการทำคอลลาจเรื่องราว ทั้งงานบุญบั้งไฟและการละเล่นของเด็กๆ รูปแบบการเขียนจิตรกรรมไทยประเพณีในลักษณะนี้ เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลการเขียนวัฒนธรรมประเพณี เทศกาลรื่นเริง การละเล่นและวิถีชุมชนท้องถิ่นในชนบท ของอาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ อดีตครูศิลปะและผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งเป็นชาวอุบลราชธานี และเป็นจิตรกรที่มีผลงานโดดเด่นแพร่หลายที่สุดคนหนึ่งในวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย

ในตู้และช่องแขวนเสื้อผ้าก็ติดตั้งงานศิลปะในแนวเดียวกันอีก ๑ ชิ้น และในห้องน้ำก็มีอีก ๑ ชิ้น

การตบแต่งภายในด้วยผลงานศิลปะ โดยเฉพาะเป็นภาพเขียนต้นฉบับนั้น จะพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากการเป็นสิ่งตบแต่งที่มีราคาแพง และการตบแต่งด้วยงานศิลปะนั้นจำเป็นต้องเลือกสรรด้วยผู้ที่มีรสนิยมต่อการดูงานศิลปะ สนใจการหาความรื่นรมย์และสร้างสุนทรียภาพจากวิธีมองและวิธีซาบซึ้งจากการได้เห็นงานศิลปะ ซึ่งเป็นวิธีอยู่กับภาวะภายในของตนเองที่มีความละเอียดประณีตต่างจากการบริโภคทางวัตถุของคนทั่วไป ไปอีกแง่มุมหนึ่ง.

............................................................................................................................................................................

บันทึก UKM-18 มีทั้งหมด ๑๐ ตอน ตอนที่ท่านอ่านและชมนี้ เป็นตอนที่
ตอนที่ ๑  คุณภาพการศึกษาสู่การเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน
ตอนที่ ๒  มิติจัดการความรู้ที่ให้ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางสังคมแก่เด็กๆ
ตอนที่ ๓  จัดการความรู้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเสริมพลังภูมิปัญญาปฏิบัติ
ตอนที่ ๔  โอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง : Life-Long Learning Space ในที่พักผู้ร่วมเวที
ตอนที่ ๕  เพิ่มโอกาสเข้าถึงและบ่มสร้างการมองโลกด้วยศิลปะ
ตอนที่ ๖  จัดการความรู้สร้างแหล่งเรียนรู้ปูมเมืองและมุมสร้างประสบการณ์ภายใน
ตอนที่ ๗  ถ่ายรูป Documentation ยุค Digital/Computer-Based ต้องพัฒนาแนวคิด ปฏิรูปความรู้และวิถีปฏิบัติ
ตอนที่ ๘  เครือข่ายจัดการความรู้กับทางรอดและโอกาสพัฒนาของสถานศึกษาขนาดเล็กในชุมชน
ตอนที่ ๙  ทำหน่วยประสบการณ์ชุมชนให้เป็นฐานการเรียนรู้บูรณาการอย่างเบ็ดเสร็จ
ตอนที่ ๑๐ สรุปบทเรียนและการสะท้อนความคิด พลังเครือข่ายจัดการความรู้มหาวิทยาลัยไทย

หมายเลขบันทึก: 382443เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 02:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

มีโอกาสได้ชมงานชั้นครูตามอาจารย์ไปด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณณัฐรดาครับ

  • เมื่อวาน มีน้องที่ได้อ่านงานของคุณณัฐรดา มาชมคุณณัฐรดาว่าเขียนหนังสือดีนะครับ ผมเลย Propaganda เสริมเข้าไปอีกหลายเรื่อง
  • รูปเขียนโดยเฉพาะชิ้นข้างบน ภาพแรกนั้น ดูแล้วเป็นงานของคนฝีมือจัดเลยละครับ
  • ผูกเรื่องราว ผูกลายเอง และจัดองค์ประกอบต่างๆเอง มีทั้งตรีมูรติ พระพิฆเนศ และพระอาทิตย์ 

สวัสดีครับคุณวิรัตน์ ผมชื่อ พิทักษ์ นาวา ครับ++

เป็นช่างวาดภาพจิตกรรมไทย ถ้าคุณ วิรัตน์ สนใจชมผลงาน เรายิดีส่งภาพผลให้ชมได้นะครับ++

ขอบคุณครับ++

ขอบคุณคุณพิทักษ์ นาวา นะครับ ที่ชวนดูผลงาน 
ถ่ายรูปและนำมาโพสต์แบ่งกันดูในนี้ก็ได้ครับ ชอบดูอยู่แล้วครับ
ทุกแนวเลย ทั้งงานของชาวไทยและต่างประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท