วิชาการสายรับใช้สังคมไทย : ๕. การตีพิมพ์ผลงานวิชาการแบบที่ตรวจสอบคุณค่าของผลงานได้ไม่ยาก


 

ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔


          ขอกลับไปเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการสายรับใช้สังคมไทย   ที่เราจะต้องช่วยกันสร้างขึ้น   โดยมี PLoS เป็นตัวอย่าง ดังกล่าวแล้วในตอนที่ ๑ 

          ผลงานวิชาการในยุคก่อน เน้นเขียนออกเผยแพร่ในรูปแบบของการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่เป็นกระดาษ (printed)   เป้าหมายจริงๆ เพื่อให้เกิดการสื่อสารโต้แย้งถกเถียงแลกเปลี่ยนกันทางวิชาการ    แล้วต่อมาเมื่อกว่า ๓๐ ปีมาแล้วจึงเกิดระบบ citation index   ทำให้มีมาตรวัดคุณค่าทางวิชาการของผลงานตีพิมพ์   ซึ่งเวลานี้มีการใช้พลังของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทั้งระบบ ISI, Scopus, และ Google Scholar   ให้สามารถค้นหาข้อมูลการนำผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ไปอ้างอิงได้โดยง่าย

          วิชาการรับใช้สังคมไทย   ควรนำผลงานออกตีพิมพ์ในลักษณะของผลงานวิชาการ ที่มีการตรวจสอบคุณภาพ (peer review) อย่างเข้มงวด   และเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยการตีพิมพ์แบบ open access ใน internet   และมีกลไกให้สามารถตรวจสอบคุณประโยชน์ทางวิชาการของการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น   โปรดสังเกตที่ เว็บไซต์ ของ PLoS เป็นตัวอย่าง ที่นี่    แล้วเราจะลองเข้าไปดูรายงานผลงานวิชาการใน PLoSBiology ที่นี่   และเข้าไปอ่านเรื่อง Recent Origin and Cultural Reversion of a Hunter–Gatherer Group ที่นี่  

          จะเห็นว่าในหน้าแรกของบทความจะมี Tabs อยู่ ๔ อัน ในชื่อ Article, Metrics, Related Contents และ Comments ตามลำดับ   เมื่อ คลิ้ก Tab ชื่อ Metrics จะเห็นว่าตั้งแต่ตีพิมพ์จนถึงปัจจุบัน (๑๗ ก.ค. ๕๓ ที่เป็นวันเขียนบันทึกนี้) มีคนคลิกเข้าบทความนี้ ๑๐,๕๒๐ ครั้ง   มีกราฟให้ดูว่าใน ๒ – ๓ เดือนแรกมีคนคลิกเข้าไปมาก แล้วลดลง แต่ก็ยังมีคนเข้าอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา   และมีคน ดาวน์โหลดบทความถึง ๙๕๒ ครั้ง    นี่คือตัวอย่างของการใช้พลัง ICT ในการตรวจจับคุณประโยชน์ของบทความทางอ้อมวิธีหนึ่ง   ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้ข้อมูลนี้อย่างระมัดระวังการโกงด้วย 

          ในหน้า Metrics ส่วนล่าง มีรายการของ Citation และลิ้งค์ไปยังบทความตีพิมพ์เหล่านั้น   ซึ่งจะเป็นข้อมูลช่วยการพิจารณาคุณค่าของผลงานตีพิมพ์เรื่อง Recent Origin and Cultural Reversion of a Hunter–Gatherer Group  

          ตัวอย่างใน PLoSMedicine จะชัดเจนกว่า ในแง่ที่ระบบการตีพิมพ์ช่วยให้ประชาชนคนธรรมดาอ่านเข้าใจได้ด้วย   ดังตัวอย่างนี้   จะเห็นว่า บทความมี ๓ ตอน คือ Abstract, Editor’s Summary และ Full Paper   ส่วนที่ช่วยให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจคือส่วน Editor’s Summary   ซึ่งคณะผู้จัดทำ PLoT สามารถพัฒนารูปแบบวิธีเขียนให้เหมาะสมต่อสาธารณชนไทยได้    นอกจากนั้นในบทความนี้ของ PLoSMedicine มี Additional Information เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความที่เกี่ยวข้องใน เว็บไซต์อื่นด้วย   

          หากต้องการรู้ข้อมูลการนำรายงานการตีพิมพ์นี้ไปใช้ประโยชน์ ก็คลิกที่ Tab ชื่อ Metrics หน้าจอจะขึ้นดังนี้   โดยจะได้จำนวนผู้เข้ามาอ่าน  จำนวนการดาวน์โหลด  จำนวน citation และอื่นๆ  

          จะเห็นว่า วิธีการตีพิมพ์วารสารวิชาการแบบ eJournal ที่เป็น open access แนวของ PLoS ช่วยให้ตรวจสอบการนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย   แต่ก็ต้องระมัดระวังการโกงโดยตนเองหรือวานคนอื่นช่วยทำเป็นเข้าไปอ่านหรือดาวโหลด   ซึ่งน่าจะมีวิธีตรวจสอบได้ 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๘ ก.ค. ๕๓
           
        

หมายเลขบันทึก: 383914เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท