นอนไม่พอ เสี่ยงความจำเสื่อม


พวกเราอาจจะมีปัญหาจำอะไรไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น หรือเรียนหนักไปหน่อย วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความจำมาฝากครับ

พวกเราอาจจะมีปัญหาจำอะไรไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น หรือเรียนหนักไปหน่อย วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความจำมาฝากครับ

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซทันทำการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สัตว์ที่อดนอน 72 ชั่วโมงติดต่อกันมีระดับฮอร์โมนเครียด (corticosterone) เพิ่มขึ้น

ฮอร์โมนเครียดนี้มีส่วนทำให้เซลล์สมองที่ควรจะเกิดใหม่ในสมองส่วนฮิพโพแคมพัส (hippocampus - ไม่ทราบเป็นอะไรกับฮิปโป) ซึ่งทำหน้าที่สร้างความจำใหม่ๆ หยุดสร้างเซลล์สมองใหม่

ข่าวดีคือ ความเสียหายนี้อาจทุเลา หรือกลับดีดังเดิมได้ ถ้าได้รับการนอนชดเชยให้พอ แต่กว่าสมองจะฟื้นตัวได้อาจกินเวลานานถึง 2 สัปดาห์

อาจารย์ดอกเตอร์นีล สแทนเลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาการนอน แห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนอร์ฟอล์ค แอนด์ นอร์วิชกล่าวว่า

มีความเป็นไปได้ที่ว่า การอดนอนสะสมต่อเนื่องกันนานๆ ทำให้สมองคนเราเสื่อมไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำ

ขอเรียนเชิญพวกเราหันมานอนให้พอทุกวัน เพื่อสมองจะได้ดี และความจำจะได้ดีไปนานๆ ครับ

ข่าวประกาศ...                                                  

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย

ขอแนะนำ...                                                    

    แหล่งที่มา:                                      

  • Thank BBC > No sleep means no new brain cells > [ Click ] > February 10, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 25 กันยายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 131487เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับที่ว่านอนไม่พอมีผลกระทบกับสมองในส่วนความจำแต่สงสัยการวิจัยทดลองกับหนูแต่นำมาสรุปกับคนช่วยชี้แนะด้วยคะ ขอขอบพระคุณ

ขอขอบคุณอาจารย์สุวรรณี...

  • การนำผลการศึกษาในสัตว์ทดลองมาใช้กับคนฟังดูเหมือนไม่น่าเชื่อถือ
  • ทว่า... สัตว์กับคนมีฮอร์โมนความเครียดคล้ายๆ กัน มีสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่ทำหน้าที่สะสมความจำใหม่คล้ายๆ กัน

อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนท่านจึงให้ความเห็นไปในทำนองนั้น

  • การศึกษานี้น่าจะจัดอยู่ในการศึกษาแรกเริ่มก็จริง ทว่า... การศึกษาอื่นๆ ก็มีความสอดคล้องไปทางเดียวกับการศึกษานี้คือ ถ้านอนไม่พอ - ความจำมักจะแย่ลง
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท