นอนให้พอ ทำคนให้เป็นคน


พวกเราคงจะมีประสบการณ์เห็นคนหงุดหงิดจากการอดนอนมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีข้อมูลว่า ภาวะอดนอนก็ทำให้คนเราสูญเสียความเป็นคนได้มาฝากครับ

<p>พวกเราคงจะมีประสบการณ์เห็นคนหงุดหงิดจากการอดนอนมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีข้อมูลว่า ภาวะอดนอนก็ทำให้คนเราสูญเสียความเป็นคนได้มาฝากครับ</p>

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนเรามี "ความเป็นคน" หรือมีเหตุผล มีความยับยั้งชั่งใจ รู้ผิดรู้ถูกได้ เพราะคนเราใช้สมองส่วนหน้า (prefrontal center) เป็นหลัก

...

ท่านอาจารย์แมททิว วอล์คเคอร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คเลย์ และคณะนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนหนุ่มสาว 26 คน

เมื่อให้อดนอน 2-3 คืน และทำการตรวจด้วยเครื่องตรวจสนามแม่เหล็ก-วิทยุชนิดตรวจการทำงานของสมองส่วนต่างๆ (functional magnetic resonance imaging / fMRI) ซึ่งบอกได้ว่า สมองส่วนใดกำลังทำงานมากหรือน้อย

...

ผลการศึกษาพบว่า คนที่อดนอนจะมีการเปลี่ยนศูนย์กลางการทำงานของสมอง (redirect) จากสมองส่วนหน้าที่ใช้เหตุผลไปยังสมองส่วนอะมิกดาลา (amygdala) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ใช้มากในสัตว์ชั้นต่ำแทน

สมองส่วนอะมิกดาลาหรือสมองหลักของสัตว์ชั้นต่ำเป็นสมองที่เน้นการทำงานแบบ "ต่อสู้หรือหนี (fight or flight)" เน้นการเอาตัวรอด ไม่ใช้เหตุผล และมีความก้าวร้าวสูง

...

สรุปคือ ถ้าอดนอน 2-3 คืนขึ้นไปจะทำให้ "ความเป็นคน" ลดลงไปเรื่อยๆ และ "ความเป็นสัตว์" เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่า ทำไมคนที่อดนอนจึงก้าวร้าว หงุดหงิด งุ่นง่านมากกว่าคนทั่วไป

ขอเรียนเสนอให้พวกเราหันมานอนให้พอทุกวัน ถ้าวันไหนนอนไม่พอ... วันถัดไปควรนอนชดเชยให้มากสักหน่อย เพื่อสุขภาพจะได้ดีไปนานๆ ครับ

ขอแนะนำ                                          

  • รวมเรื่องสุขภาพ "นอนเพื่อสุขภาพ" > [ Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ "นอนไม่หลับ" > [ Click ]
  • บล็อก "บ้านสาระ" > [ Click ]

ที่มา                                                 

  • Thank Reuters > Maggie Fox > Brain study: Sleepy, grumpy and ... primitive? > [ Click ] > October 24, 2007. / J Current Biology.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี, เทพรัตน์ บุณยะประภูติ, เทวินทร์ อุปนันท์ > สนับสนุนด้าน IT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 25 ตุลาคม 2550.

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 141709เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีเจ้า คุณหมอ..

อิจฉาคนที่สามารถนอนได้เป็นปกติค่ะ    เพราะปกติเป็นคนที่นอนได้น้อยมาตั้งแต่เด็ก    แล้วทีนี้จะรู้สึกหงุดหงิดมากจนต้องหาวิธีมาทำให้ตัวเองนอนหลับ    ทั้งงดอ่านหนังสือก่อนนอน  ดื่มนมอุ่น ๆ  ไม่ดูทีวี  และอื่น ๆ อีกก็ยังไม่สามารถจะนอนได้   จนต้องหันไปพึ่งพายานอนหลับ    จากปริมาณน้อย ๆ ตั้งแต่ ม.6  จนกระทั่งถึง ปี 1 - ปี 2  มาดูปริมาณที่ตัวเองทานเข้าในเกือบทุกวันแล้วก็ตกใจค่ะ   เพราะจากที่ทานแค่ 1 ก็เพิ่มปริมาณเป็น 5 และมากกว่า 5    แต่พอเรียนปี 2 แล้วยานอนหลับหาซื้อได้ยากเพราะเป็นยาควบคุมก็เลยไม่ค่อยได้ใช้บริการสักเท่าไหร่    แต่ ณ ตอนนั้นที่ใช้  ไม่ได้นึกถึงผลกระทบที่จะเกิดในระยะยาวเลย   ปัจจุบันไม่ใช้ยาดังกล่าวแล้วค่ะ    ตั้งแต่มีความรู้สึกว่าสมองส่วนหน้าที่เป็นคล้ายศูนย์บัญชาการเริ่มจะมีอาการแปร่ง ๆ    รู้ทั้งรู้ว่ามันเป็นวิธีแก้ไขที่ผิดมาก ๆ ตอนนี้ก็ได้แต่นึกเสียใจ

การอดนอนทำให้รู้สึกหงุดหงิดมากจริง ๆ ค่ะ  แต่ดีหน่อยที่ตัวเองไม่ใช่คนที่มีพื้นฐานก้าวร้าว   

ไม่เคยคิดมาก่อนเลยนะคะ ว่า "การนอนหลับ" ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของคนทั่วไป  จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้มากมายกับตัวเอง   

เพราะฉะนั้นเวลาจะอวยพรให้ใครหลับฝันดี  ต้อมมักจะบอกว่า "ขอให้หลับให้สนิทนะคะ"   TT_TT

ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณเนปาลี / ต้อม

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน + ให้กำลังใจ

การอวยพรหรือให้พร "นอนหลับฝันดี" คงจะไม่ดีเท่า "หลับให้สนิทดี" แน่ๆ เลย

  • เพราะช่วงที่คนเรานอนหลับสนิท (deep sleep) ไม่ใช่ช่วงฝัน (REM sleep / dreaming) เป็นช่วงที่ฮอร์โมนเจริญเติบโต / ซ่อมแซมร่างกาย (growth hormone) หลั่งออกมา

ถ้านอนหลับยาก...

  • เรียนเสนอให้ลองออกกำลังแบบไทเกก-ไทชิ(ชี่กง) หรือฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจ เนื่องจากจะช่วยป้องกันโรคความดันเลือดสูง และช่วยให้หลับได้ดีขึ้น...
  • ขอให้หลับสนิทดีทุกคืนครับ

จากประสบการณ์ผมเอง ผมเชื่องานวิจัยชิ้นนี้ครับ เพราะครั้งที่เริ่มต้องนอนดึก ตื่นเช้า ผมจะหงุดหงิดง่าย

แต่เมื่ออดนอนไปเป็นช่วงยาวๆ ผมจะรู้สึกชินกับการนอนน้อย และความหงุดหงิดก็ลดลง ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า อย่างตอนนี้เป็นประจำไปแล้ว ที่ต้องเข้านอนประมาณตีหนึ่งตีสอง และตื่นตีห้า แต่อาการเดิมๆ หายไปแล้ว (เพราะต้องนอนอย่างนี้มาสี่ห้าเดือนแล้วครับ

มาขอบพระคุณสำหรับวิธีที่คุณหมอกรุณาแนะนำมาค่ะ    ^_^

สวัสดึครับ คุณหมอ

บ่อยครั้งที่กระผมหงุดหงิดง่าย คิดอะไรไม่ค่อยออก  นึกย้อนไปพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเวลานอนไม่พอนั่นเองเป็นส่วนใหญ่  ( 6 - 7 ชั่วโมง)  ไม่ถึง 8 ชั่วโมง      สาเหตุ บางครั้งมาจากดื่มกาแฟ  ดื่มน้ำอัดลม เป็นเหตุให้นอนไม่หลับ   

การงีบประมาณ 15- 20 นาที หลังอาหารกลางวัน เป็นวิธีที่กระผมใช้อยู่ประจำ ครับ    พอจะช่วยได้บ้าง 

พรุ่งนี้ผมคงจะต้องงีบอีกหน่อยละครับ วันนี้นอนดึกอีกแล้ว

ไอ้หย๋า พึ่งจะรู้นะคะเนี่ย รู้แต่ว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่คนเรามีระดับความต้องการในการนอนไม่เท่ากันนี่คะ บางคนต้องการนอน 8-10 ชั่วโมง บ้างก็ 6-8 ชั่วโมง แต่หนูนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 ชั่วโมงในวันธรรมดา แล้วก็ไปนอนล้างแค้นในวันหยุดประมาณ 8-9 ชั่วโมง จริงๆ ก็อยากนอนให้เพียงพอ แต่เวลา 24 ชั่วโมงมันแป๊บเดียวจริงๆ ใช้หมดทุกวันเลย 555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท