เมื่อเราก้าวออกจากความหวาดกลัว เราจะพบว่าเรานั้นกล้าหาญมากยิ่งขึ้น


หนูได้เรียนรู้ว่า ตอนที่เรามัวหลงคร่ำครวญนั้น มันทำให้เราเสียเวลามาก ๆ ค่ะ ความคิดดี ๆ หรือ แนวทางแก้ปัญหา ไม่เคยเกิดขึ้นตอนที่ใจคร่ำครวญ แต่พอเราเดินออกมาจากการคร่ำครวญ มีอะไรให้ทำ ก็ทำไป อย่างที่ครูเคยสอน พอใจเริ่มสบาย หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย เราก็จะมีปัญญาคิดได้เองว่า เราจะจัดการอยางไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นดี

จากการปั่นเกลี่ยวความรู้กับคุณ กานต์

ในบันทึก พฤติกรรมของศิษย์ คือ ประชาสัมพันธ์ของครู

 

ติ๋วมองย้อนกลับมาที่ตนเอง เพราะโดยปกติเป็น

"ไอ้ติ๋วจอมคร่ำครวญ จมอยู่แต่กับทุกข์"

***********************************************************


เป็นคนหนึ่งค่ะ ที่เมื่อก่อนชอบจมอยู่แต่กับความทุกข์ของตนเอง ความกลัว ความไม่มั่นใจ จนไม่มีหูมีตาไปสนใจผู้อื่น ติ๋วจมทุกข์ อย่างเห็นแก่ตัวมาก ๆ เลย

แต่พอมารู้จักครู ท่านพาหนูไปในที่ต่าง ๆ ฝึกฝนให้หนูเจริญสติ แล้วพาหนูไปทำประโยชน์ เพื่อละความเห็นแก่ตัว ยิ่งทำไปเรื่อย ๆ ก็ยิ่งเห็นว่า

"ทุกคนเป็นคนที่มีความทุกข์เหมือนกันเป็นเรื่องธรรมดาคนบางคนทุกข์มากกว่าเรา แต่เขาสามารถยืนหยัดอย่างเข้มแข็งต่อสู้กับความทุกข์บีบคั้นในใจ"

 

ครูสอนว่า

"เลิกเห็นแก่ตัวซะทีเถอะติ๋ว แล้วออกมาช่วยกันทำงาน"

 

คำ ๆ นี้ของครู สร้างความมั่นใจให้หนูว่า หนูสามารถทำประโยชน์ได้ ไม่จำเป็นต้องมานั่งเสียเวลาคร่ำครวญ เพราะมันไม่ใช่ทางแก้ปัญหา แต่ครูก็ไม่ได้สอนให้หนีปัญหา ครูสอนให้เผชิญทุกสิ่งทุกอย่างอย่างที่มันเป็น อย่างมีสติ

ครูสอนว่า

"ไม่ต้องไปสู้อะไรทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความอยาก ความเหงาไม่ต้องไปต่อต้านมัน แค่ให้ดู อย่างมีสติ"

 

แต่อย่างที่บอกติ๋วเองก็เป็นนักเดินทาง ที่ก็ยังล้มลุกคุกคลาน เดินพลาดบาดเจ็บกลับมาก็มี ตอนที่ทำพลาดก็เหมือนเดินเดินร้องไห้กลับมาหาแม่ ตอนที่เรียกหาครู ท่านก็เมตตาหนูเสมอ แล้วก็ให้ถอดบทเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ผิดพลาด

ครูย้ำและสอนหนูมาตลอดว่า

 

"เราต้องเรียนรู้ตอนที่มันมีทุกข์นี่แหละ ไม่เรียนรู้ตอนนี้เเล้วที่ฝึกฝนมาจะเอาไปใช้ตอนไหน"

 

หนูได้เรียนรู้ว่า ตอนที่เรามัวหลงคร่ำครวญนั้น มันทำให้เราเสียเวลามาก ๆ ค่ะ ความคิดดี ๆ หรือ แนวทางแก้ปัญหา ไม่เคยเกิดขึ้นตอนที่ใจคร่ำครวญ แต่พอเราเดินออกมาจากการคร่ำครวญ มีอะไรให้ทำ ก็ทำไป อย่างที่ครูเคยสอน พอใจเริ่มสบาย หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย เราก็จะมีปัญญาคิดได้เองว่า เราจะจัดการอยางไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นดี

พอหนูไม่มีความคิด ก็ ไม่มีความกลัว ทำทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเป็นธรรมชาติ เต็มที่เต็มกำลัง พอได้ทำอะไร เต็มที่แล้ว เราจะไม่รู้สึกเสียใจค่ะ

ครูเคยให้คำ ๆ หนึ่งแล้วหนูประทับใจมาก ๆค่ะ ท่านบอกว่า

เมื่อเราก้าวออกจากความหวาดกลัว...

เราจะพบว่า..เรานั้นกล้าหาญมากยิ่งขึ้น...

 

พราะครูทราบว่าหนูเป็นเด็กขี้กลัว ความกลัวทำให้หนู คร่ำครวญประโยคนี้ของครูช่วยเตือนสติให้มีพลังแก้ไขปัญหา และเครื่องมือหล่อเลี้ยงที่ครูให้ไว้อีกอย่างก็คือ ลมหายใจค่ะ ครูบอกว่า

 

หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย

ถ้าติ๋วหายใจเป็น จะไม่เครียด

จิตใจจะเบิกบานผ่องแผ้ว

 

  

สู้ ๆนะคะ เป็นกำลังใจ ให้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 323449เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

  • แต่ก่อนผมเป็นคนขี้กลัวเหมือนกัน แต่มาคิดได้ว่า "ความกลัวเกิดจากจิตใจของตัวเราเอง ถ้ามันมากระทบจิต แต่จิตเราเข้มแข็งพอที่จะไม่สนใจกับมัน เราก็จะไม่เกิดความกลัว เมื่อมันไม่กลัวมันก็ต้องรู้สึกกล้ามากขึ้น"
  • ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับบทความดีๆ ครับ

ขอบพระคุณค่ะคุณณัฐวรรธน์

ว่าด้วยเรื่องของความกลัวนี่ ทำให้หนูเสียโอกาสดี ๆ หลายครั้ง อย่างที่เคยเขียนไว้ในบันทึกนี้ค่ะ สุนทรียโสเหร่....เรามาที่นี่เพราะเป็นความประสงค์ของพี่นก Giant bird... 

ตอนนั้นหนูมัวแต่กลัว มีความคิดปรากฏขึ้นมามากมาย ว่า

พูดไปกลัวภาพลักษณ์ออกมาไม่ดี

กลัวว่าคำพูดตนเองจะไปทำร้ายตนอื่น ๆ

ใจเรายังเป็นแข็ง ๆ อยู่ พูดออกไปตอนนี้ มันต้องไม่นุ่มนวลแน่เลย

สารพัดความคิด ที่สะท้อนถึงความกลัว

แต่พอนั่งนาน ๆ ไป ใจหนูเบาขึ้น ว่าจะเอ่ยปาก แต่เวลาก็หมดลงเสียแล้วทำให้หนูเสียโอกาส ซึ่งก็ไม่รู้ว่า โอกาสแบบนี้ จะมาถึงอีกหรือไม่ ซึ่งก็ไดคำตอบชัด ๆ เลยว่า ไม่มีโอกาสแบบนั้นแน่นอน เพราะว่ามันผ่านไปแล้ว หนูจึงเลือกสร้างโอกาสให้ตนเองโดยการเขียนลงในบันทึก

บางทีหนูเป็นคนที่ ชอบทำอะไร ๆ คนเดียว เวลาที่จะไปไหนแล้วมีคนมาขอไปด้วยหรือร่วมทาง หนูจะรู้สึกเครียดขึ้นมา แบบว่า "ไม่รู้จะทำยังไงดี"

 

ครั้งหนึ่งครูท่านเมตตาให้โอกาสหนู ดูแลป้าคนหนึ่ง แค่ครูเอ่ยปาก หนูหน้าสลดลงเลยค่ะ จนท่านเรียกหนูมาสอนว่า

"เมตตาหน่ะ เป็นไหม เขามาให้โอกาสเราฝึกฝนความเมตตา ปฏิบัติต่อขอให้ดีที่สุด ทำอย่างเต็มที่ ทำให้เหมือนกับที่พี่ทำ"

ตอนนั้นใจหนูร้องขึ้นมา

"โห ครูทำได้ดีทุกอย่าง แบบน่ายกย่อง สำหรับหนู ครูท่านเป็นสุดยอดของการดูแลเอาใจใส่ แล้วหนูจะทำได้เหรอ"

หนูคร่ำครวญภายในใจ

แล้วครูก็เอ่ยอีกว่า

"ตอนที่เราเข้ามาหาพี่ เราก็ไม่ต่างจากป้าคนนั้นหรอก เขาเป็นคนทุกข์ ถ้าเราช่วยเหลืออะไรเขาได้ก็ให้ช่วย ช่วยอย่างเต็มที่ อย่างที่พี่ก็ไม่เคยละทิ้งเรา"

 

หนูรับปากครูว่า "ค่ะ" แต่ในใจตอนนั้นก็ยังหวั่น ๆ แต่ก็พร้อมเผชิญ ครูย้ำอีกว่า

"ถ้ามันเครียด หรือ รู้สึกกังวล ก็ให้กลับมาที่ลมหายใจ หายใจสบาย ไปเรื่อย ๆ"

 

ไปต่อยอดกันที่บันทึกนี้เลยนะคะ

ความกลัวทำให้เสียโอกาส

 

ลมหายใจของเรา คือ กัลยาณมิตร ที่แท้ของเรา

 

อ่านมาจากพระอาจารย์มิตสุดโอะ เคว็ตสโก ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท