ถอดบทเรียนโภชนาการยั่งยืน "โรซ่า พาเเซ่บ"


การขับเคลื่อนต่อไปก็คงต้องให้ชัดในส่วนของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จาก ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และตัวเด็กเอง ในอนาคตการเชื่อมต่อกับ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับสูงขึ้นไป เช่น สพท.,สพฐ,สช ก็คงต้องให้เกิดขึ้นเพื่อความยั่งยืน

ถึงแม้ว่าชนบทไทยจะมีพืชผัก ที่ปลูกไว้รับประทานเองและหาซื้อได้ไม่ยากนัก รวมถึงแหล่งอาหารที่มีอยู่เพียงพอ แต่การไม่ใส่ใจในการจัดการโภชนาการทั้งในระดับครอบครัว และระดับโรงเรียน ส่งผลให้เกิดภาวะโภชนาการที่ไม่สมดุลทั้งๆที่เราไม่ได้ขาดแคลนอาหาร แต่เราขาด เรื่องของ “ความรู้” ในการส่งเสริมโภชนาการที่ถูกต้อง ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาวะโภชนาการไม่สมดุล น้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์  ปัจจัยทางกายที่เกิดจากภาวะโภชนาการไม่สมดุลยังส่งผลต่อยังสติปัญญาของเด็กด้วย

โครงการประกวดแผนส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน  เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระตุ้นและผลักดันให้โรงเรียน เอาใจใส่อย่างจริงจังในเรื่องการรับประทานอาหารของเด็กนักเรียนให้ถูกส่วน ให้ข้อมูลแก่ครูอาจารย์และเด็กนักเรียนให้มีความรู้ ความเองการข้าใจ ในเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการซึ่งแนะนำโดยกรมอนามัย  ภายใต้แนวคิด “เด็กไทยมีโภชนาการดี กินผักอย่างน้อยมื้อละ ๔ ช้อนกินข้าว และกินอาหารถูกสัดส่วนผมและทีมงานเดินทางทางกรุงเทพฯ ตรงไปยังจังหวัดอุดรธานี เพื่อทำกระบวนการถอดบทเรียนความสำเร็จ ของการดำเนินโครงการโภชนาการยั่งยืน ของโรงเรียนในสามจังหวัด (อุดรธานี,ขอนแก่น และ หนองคาย)  โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก บริษัทไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นับว่าเป็นโครงการที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างบริษัทเอกชน ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ แม้ว่าประเด็นการพัฒนาด้านสุขภาพ จะเห็นผลช้า และผลงานเชิงประจักษ์ต้องใช้เวลานาน  แต่ต้องยอมรับว่าบริษัทเอกชนเองก็ให้ใจเต็มที่

โรงเรียนที่เข้าร่วมการถอดบทเรียน มีโรงเรียนมาจาก ๓ จังหวัดได้แก่ จังหวัดขอนแก่น,จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดหนองคาย รวมทั้งหมด ๒๓ โรงเรียนและโรงเรียนทั้งหมดมาจากบริบทที่คล้ายคลึงกัน มีทั้งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนของรัฐ ซึ่งสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันในด้านความพร้อมและศักยภาพ รวมไปถึงความสามารถในการบริหารจัดการ

โรงเรียนของรัฐ อาศัยงบประมาณบางส่วนจากรัฐ และนักเรียนส่วนหนึ่งมีเศรษฐานะที่ปานกลางถึงยากจน มีโครงการอาหารกลางวันบริการคิดรายหัว แต่งบประมาณค่าหัวอาหารกลางวันเด็กไม่เพียงพอ ส่งผลการบริหารจัดการโภชนาการในโรงเรียนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเพียงพอ

โรงเรียนเอกชน เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมส่วนของงบประมาณ และสามารถบริหารจัดการโภชนาการในโรงเรียนได้เบ็ดเสร็จ แต่ยังมีปัญหาความไม่เข้าใจของผู้ปกครองบางส่วนที่ตามใจลูกในการรับประทานอาหาร ทำให้เด็กเกิดสุขนิสัยไม่ถูกต้อง เกิดภาวะทุพโภชนาการตามมา

การเริ่มต้นในการพัฒนาส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียนครั้งนี้มีจุดเริ่มต้น สองจุดแตกต่างกัน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหา หรือมีปัญหาทางโภชนาการไม่มาก กลุ่มนี้เริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ และต่อยอดไปเรื่อยๆ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่มีปัญหาภาวะโภชนาการอยู่เดิมคิดจากปัญหาที่มี การทำโครงการก็เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียนที่เกิดขึ้นจากการเข้าไปสนับสนุนของบริษัทไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาดังกล่าว ถือว่าก้าวสำคัญในการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมประเมินผลความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา หลังจากที่ดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง การถอดบทเรียนจึงเป็นการประเมินผลแบบเสริมพลังโดย ใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒๓ โรงเรียน

กระบวนการที่ทีมงานได้วางแผนเพื่อถอดบทเรียน ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นหลัก โดยแยกกลุ่มเป็นจังหวัด และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่าเรื่องราวสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในโครงการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน  นอกจากทีมงานถอดบทเรียนจะได้บทเรียนจากคำบอกเล่าแล้ว เพื่อนครูต่างโรงเรียนก็ได้เรียนรู้ร่วมกันไปด้วย ในช่วงเย็นก็เป็นการไขว้ประสบการณ์โดยการนำเสนอภาพรวมของจังหวัด โดยครูที่เข้าร่วมกระบวนการเป็นผู้นำเสนอ และ Facilitator ประจำกลุ่มก็สรุปในมุมมองที่ได้เรียนรู้เติมเต็มให้เห็นภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น

 

การทำงานของทีมงานถอดบทเรียน  เราได้กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มๆ ละ ๒ คน (Facilitator, Notetaker) รับผิดชอบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และ สรุปการถอดบทเรียนเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับหน่วยงานที่ดำเนินโครงการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ในวันที่ ๖ ก.พ.๕๓ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งวัน ส่วนวันที่ ๗ เป็นงานนิทรรศการ แสดงผลงาน ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันแรก ก็จะถูกเติมเต็มด้วยผลงานที่โรงเรียนต่างๆนำมาแสดงในวันถัดมา ทั้งสองวันจึงถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ทีมงานถอดบทเรียนต้องเก็บเกี่ยวให้ครบถ้วน

สิ่งที่ผมและทีมงานได้เรียนรู้  ผู้สนใจสามารถอ่านได้จากเอกสาร ที่ทำเป็น Press release ที่เป็นเอกสารสรุปเบื้องต้นสำหรับสื่อมวลชนที่มาร่วมงานและรับฟังผลการถอดบทเรียนพร้อมกันไปด้วย

เอกสารสามารถ Download อ่านได้จาก Press release โภชนาการยั่งยืน

Rz7

ส่วนในวันที่สอง นอกจากพวกเราได้เรียนรู้ผ่านบู้ธการนำเสนอของโรงเรียนต่างๆที่เตรียมการนำเสนอกันอย่างเต็มที่ เห็นทั้งความตั้งใจและความยิ่งใหญ่ของงานที่ทาง บริษัทเลมอน เรย์ ได้ช่วยจัด Event ครั้งนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว  ยังมีเวทีสื่อมวลชนและคุณครูที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ที่ร่วมฟังสรุปการถอดบทเรียน

 

สิ่งหนึ่งที่ผมฝากไว้ในเวทีสื่อมวลชนในวันที่สองก็คือ ความสำเร็จครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการตระหนักถึงความสำคัญของงานโภชนาการ แม้ว่าเป็นเพียงหนึ่งในงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน แต่สำคัญมากต่อเด็กนักเรียน การขับเคลื่อนต่อไปก็คงต้องให้ชัดในส่วนของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จาก ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และตัวเด็กเอง ในอนาคตการเชื่อมต่อกับ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับสูงขึ้นไป เช่น สพท.,สพฐ,สช ก็คงต้องให้เกิดขึ้นเพื่อความยั่งยืน ส่วนข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ทางทีมงานให้ข้อเสนอแนะ คือ เน้นการใช้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้อย่างแท้จริงและเกิดการเรียนรู้จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมกับ ปลูกจิตสำนึกของสังคมให้เกิดขึ้นร่วมกันว่า ภาวะโภชนาการในเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญ และเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่จะต้องขับเคลื่อนการพัฒนาภาวะโภชนาการขึ้นในระดับประเทศ ในด้านการจัดการความรู้ ควรส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ เชิงประเด็น “การส่งเสริมภาวะโภชนาการอย่างยั่งยืน” ในกลุ่มโรงเรียนที่ดำเนินการในประเด็นดังกล่าว ในรูปของตลาดเรียนรู้ หรือเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย

คำว่า “ยั่งยืน” ก็ไม่ใช่เพียงแค่วาทกรรมสวยหรู หากเป็นไปได้จริง

Rz9

ขอบคุณทีมงานถอดบทเรียนที่ใช้พลังศักยภาพและให้ “ใจ” เต็มที่ในการทำงาน จนทำให้งานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างสวยงามและน่าประทับใจ

Img_4231

ขอบคุณบริษัทไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร,กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,บริษัทเลมอนเรย์,โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง ๒๓ โรงเรียน(จาก จ.อุดรธานี,ขอนแก่น,หนองคาย) ที่ช่วยกันรังสรรค์สิ่งดีๆให้กับสังคมไทย

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๘ กพ.๕๓

ศาลายา,มหิดล


 

อ่านบันทึกการถอดบทเรียนที่เกี่ยวข้อง

 

 

หมายเลขบันทึก: 334909เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

สวัสดีคะ

ชื่นชมนะคะ เด็กไทยจะได้กินผัก

พี่ประกายครับ พี่ก็อย่าลืมกินผักด้วยนะครับ :)

เข้าใจว่าเวทีในครั้งหน้าจะจัดที่ จ.ขอนแก่น ครับ เป็นเวที อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณคะ พี่ชอบทานผักคะ แต่น้องแตมไม่ทานผักเลยคะยกเว้นผัดกระเพราและส้มตำ

จะรอร่วมฟังที่ขอนแก่นได้ไหมคะ ต้องเตรียมตัวไว้รอแล้วคะ

ขอบคุณมากครับพี่ ประกายครับ

ในการถอดบทเรียนมีหลายบทหลายตอนนะครับที่ โรงเรียนมีกลวิธีน่ารักๆ ในการให้เด็กกินผัก กระบวนการที่เกิดขึ้น เกิดจากการที่ครูตระหนักถึงความสำคัญของงานโภชนาการ และเด็กเองก็เรียนรู้ถึงความสำคัญของการกินผัก...

บางทีบทเรียนเล็กๆจากโรงเรียน ทำให้พวกเราทึ่งได้

ผมคุยกับ อ.สง่า เห็นบอกว่า น่าจะจัดเวทีโภชนาการสำหรับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,อปท. ที่ จ.ขอนแก่น น่าจะเดือนหรือสองเดือนถัดไปจากนี้ครับ

 

  • สวัสดีครับคุณเอก
  • ผมเชื่อมั่นอย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าโครงการใด ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียน
  • ย่อมมีประโยชน์อย่างยิ่ง
  • แต่....ถ้าขาดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
  • และหวังผลอย่างจริงจัง
  • ก็คงน่าเสียดายครับ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ
  • ไม่ค่อยได้แวะเวียนมาเยี่ยมคุณเอก
  • คงสบายดีนะครับ
  • ขอบคุณครับ

จากการที่ผมทำงานในเเวดวงคุณครูมาช่วงใหญ่ พอจะเข้าใจวัฒนธรรมบางอย่างครับ แต่สิ่งที่เข้าใจมากๆก็คือ ภารกิจที่หนักมากของครูประถมศึกษา ตรงนี้ผมต้องขอให้กำลังใจ

ผมเองก็ไม่ได้เขียนบันทึกมาพักใหญ่เลยทีเดียว มัวนั่งเขียนหนังสือครับ จริงๆผมมีประเด้นที่จะเเลกเปลี่ยนเอยะทีเดียวครับ จะขอทยอยเขียนเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ขอบคุณมากครับผม คุณครูนายก้ามกุ้ง

ขอบพระคุณพี่เอกมากๆกับโอกาสการร่วมงานกันในครั้งนี้ ^^

สำหรับเดย์นั้นมีแต่ได้กับได้ครับพี่ ได้ความรู้ ได้ฝึก skill ใหม่ๆเข้าตัว ได้ทราบซึ้งซึมซาบเลยว่าสิ่งที่ดีดีนั้นควรช่วยกันส่งเสริมให้ยั่งยืนแสนนาน :)

ทราบซึมลึกอีกอย่างว่าการงานของพี่เอกนี้ช่างแสนน่าชื่นชม ได้สัมผัสผู้คนมากมาย มีมิตรที่ดีคอยสนับสนุน ได้สร้างแรงบันดาลใจเกลื่อนเต็มสังคมไปหมด ^^ อารมณ์ของคนที่เพิ่งรู้อย่างเดย์มันจะแรงนิดๆครับพี่เอก 555

พรุ่งนี้ปกหนังสือต้องเสร็จจจจจจจจจจจจ จ๊ากกกกกกกกกก!!!! อิอิ

ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กกินผัก เพราะที่บ้านจะต้องทำอาหารประจำวัน

พี่แก้วชอบทำอาหารประกอบด้วยผักทุกวัน จนเด็กๆที่บ้านชอบทานผักได้

แต่ตอนโต ต้องไปอยู่ตามลำพัง ต้องจัดการเรื่องอาหารเอง

อาจจะไม่เน้นทานผัก แต่เราก็แนะนำว่า..ควรหาอาหารที่มีผักบ้าง เช่น สุกี้ ผัดผัก แหนมเนือง ฯลฯ

การทานผักทุกวันนี้ ต้องแนะนำวิธีกินผักที่สะอาดด้วย เพราะผักส่วนมากมีไข่พยาธิ

ที่ รพ มีหน่วยวิจัย ไปตรวจผักที่ตลาด มีไข่พยาธิแทบจะทุกส่วนค่ะ

มาให้กำลังใจในการทำสิ่งดีดี เพื่อสังคมค่ะ

สวัสดีครับน้องเดย์ครับ

ผมก็ดีใจครับที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับทีมงานที่มีศักยภาพ ที่สำคัญทำงานกันด้วย "ใจ" งานที่ยากจะสำเร็จลงไม่ได้เลยหากเราไม่มีใจและมี passion ที่เเรงพอ

ที่อุดรฯ หากไม่มีงาน ผมก็มีน้องชาย มีพี่สาว ที่น่ารักอยู่เเล้ว และมีโอกาสได้มาร่วมงาน ร่วมคิดกัน ทำให้เราได้ใช้เวลาร่วมกัน มีความสุข และที่สำคัญได้เรียนรู้ร่วมกัน

น้องเดย์กับพี่หมวย ก็เยี่ยมมากๆครับ แอบเห็นกระบวนการของ FA มือใหม่ ทุ่มเทมากมาย

งานนี้ได้รับคำชื่นชมมากครับจากหลายๆหน่วยงาน รวมถึงผู้บริหารระดับสูง ผมถือว่าเป็นผลงานของทีมเราทั้งหมด

ขอบคุณมากครับสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่น ไปอุดรทีไรก็มีความสุข มีโอกาสผมจะไปรบกวนอีกนะครับ :)

 

น้องเอกเยี่ยมมากๆๆ พี่สุเทพ โทรมาเลื่อนนัดวันที่ 12 ใช่ไหมครับ ฝากคารวะพี่นุชด้วยครับ เจอพี่หมวย น้องเดย์ด้วย ดีจังเลย

พี่แก้วครับ...

ครั้งนี้ไปที่อุดร ใกล้กับขอนแก่นนิดเดียวครับ แค่ก็ทำงานเต็มๆสองวัน ก็กลับ กทม.โอกาสหน้าเราคุยกันว่าหากมีการจัดเวทีเรียนรู้แถบนี้อีก ก็จะใช้วิธีการขับรถมากันครับ (เพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเลย)

เรื่อง กินผัก ไม่กินผัก นี่เป็นประเด็นคลาสสิกครับ เรื่องเล็กๆแต่ไม่เล็ก หากพ่อเเม่เข้าใจปลูกฝังเด็กตั้งเเต่เล็ก ก็ทำให้เด็กกินผัก ชอบกินผัก มาที่โรงเรียนครูก็เบาเเรงในการโน้มน้าวให้เด็กกินผัก ถือว่าเป็นการช่วยคุณครูได้อีกทางหนึ่ง

ปัญหาก็คือ พ่อเเม่ตามใจลูก ตรงนี้เองครับ เข้าลักษณะพ่อเเม่รังเเกฉัน

งานของ บ.ไฮคิว ร่วมกรมอนามัย ครั้งนี้ เราได้เห็นความพยายามและนวัตกรรมดีๆที่หลากหลายของโรงเรียน ของครู ซึ่งผมคิดว่า ยอดเยี่ยมมากๆครับ :)

แวะมาเยี่ยมชม โครงการดีดี ขอบคุณมากค่ะ

กผักครึ่งนึง อย่างอื่น ครึ่งนึง

ยังใช้ได้อยู่ไหมครับ

อิอิ

"ฉากผักกับดอกกล้วยไม้"  เป็นไอเดียที่สุดยอดเลยครับ ขอบคุณครับ ท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด

ขอบคุณครับ คุณ ใจใสใส
เป็นโครงการที่ดี และ น่าสนับสนุนครับ ผมเองก็มีโอกาสที่ดีได้เข้าไปเกี่ยวข้อง :)

"ทานผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่น ครึ่งหนึ่ง" ใช้ได้เลยครับ น้องครูโย่ง แต่ตามกำหนดขั้นต่ำ ก็ "ทานผัก ๔ ช้อนกินข้าว ต่อมื้อ"

 ขอบคุณครับ :)

ดร.ขจิต ฝอยทอง
อาจารย์ทำงานหนักมีพลังเหลือเฟือ ให้กำลังใจครับผม :)

ชื่นชม คนทำงานโครงการดีๆ รูปสวยมากค่ะ อ.เอก

โอ้โห เข้ากับสิ่งที่คลุกคลีอยู่เลยคะพี่เอก

ภาวะโภชนาการไม่สมดุล น้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์

ว่าไปแล้ว สอนfood sc. พยายามหา อาหารที่ดีมีประโยชน์ แบบนี้น่ายกย่อง

โครงการดีๆ จริงๆ สนับสนุนเต็มที่คะ เด็กไทยฉลาด ชาติเจริญ

ชื่นชม คนทำงานโครงการดีๆ รูปสวยมากค่ะ อ.เอก

สวัสดีค่ะคุณเอกขอชื่นชมที่หน่วยงานเอกชนมาร่วมส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กค่ะ..การส่งเสริมกินผักอาหารปลอดภัยคงต้องใช้เวลาเพราะปัจจุบันการโฆษณาทางทีวีมีมากเกินไปทำให้เด็กมีทัศนคติกับอาหารพื้นบ้านไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักผักท้องถิ่น ความยั่งยืนของการส่งเสริมควรมาคู่กับนโยบายของ สพฐ. ของ สพท. นะคะ

  • อาหารพื้นถิ่นโดยทั่วไปมีคุณค่าทางอาหารสูงอยู่แล้ว
  • แต่บางทีอาจถูกละเลย ไปส่งเสริมอาหารนอกถิ่น ทำให้การเข้าถึงแหล่งอาหารเหล่านี้ได้ยาก โดยเฉพาะชนบท อาหารพื้นถิ่นเลยถูกลืมไป ที่สำคัญผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ขนมกรุปกรอบ ก็เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เด็กยุคใหม่ไม่ชอบกินผัก ไม่กินอาหารพื้นถิ่น
  • การส่งเสริมปลูกผักก็เช่นกัน มักมุ่งเน้นไปที่ผักนอกถิ่น ผักตลาด ละเลยผักพื้นถิ่นไป
  • ดีใจที่เห็นภาคเอกชนเริ่มมาสนใจเรื่องโภชนาการอย่างจริง มิใช่เพียงเอาอาหารสำเร็จรูปไปแจกจ่ายให้เท่านั้น

 

Dsc07487 Dsc07488Dsc07492 Dsc07491

นำผัก&ผลไม้มาฝากค่ะ...ผักในงานของสาธารณสุขจังหวัด ๘-๑๐ ก.พ ๕๓

อาเอกคะ

เพิ่งอ่านหนังสือ  Health & Cuisine ค่ะ ผักหลากสีดีอย่างไร...ผัก 5 สี เขียว เหลือง ส้ม แดง ม่วง มองเห็นประโยชน์ชัดเจนเลยค่ะ

  • 20 กว่าปีที่แล้ว ผมขลุกอยู่ที่อุดรเกือบๆ 3 ปี ทำงานครั้งแรกที่โนนสังวิทยาคาร อ.โนนสังครับ(ปัจจุบันขึ้นกับจ.หนองบัวลำภู)
  • งานที่คุณเอกทำแต่ละเรื่อง สำคัญ น่าชื่นชมทั้งสิ้น เป็นประโยชน์กับคนอย่างแท้จริง เรื่องกินผัก-ไม่กินผัก เหมือนเล็กแต่เป็นเรื่องใหญ่มาก
  • สองเรื่องใหญ่ที่ตัวเองคิดเสมอว่่ารัฐต้องกล้าทุ่มเงินทำอย่างไม่อั้น ความอยู่ดีมีสุขและความรู้ของผู้คน..งานสาธารณสุขกับงานจัดการศึกษาครับ ยิ่งครั้งนี้เห็นความตั้งใจ-ความมีส่วนร่วมของบริษัทเอกชนด้วยแล้ว..ประทับใจครับ เพราะไม่ค่อยเห็น โดยเฉพาะกับงานที่เห็นผลช้าๆอย่างนี้
  • ฟังจากคุณเอกบ้าง จากหนานเกียรติบ้าง และจากคนอื่นๆหลายรอบแล้ว วิธีการทำงานขณะถอดบทเรียนจนได้องค์ความรู้ เหตุการณ์จริงๆเป็นอย่างไร ถามอย่างไร ซักอย่างไร เล่าอย่างไร ตอบอย่างไร บันทึกอย่างไร สรุปอย่างไร อยากไปนั่งดูการทำงานจริงๆจังเลยครับ คงมีโอกาสบ้างจนได้..
  • ขอบคุณเรื่องราวให้เรียนรู้ดีๆนี้ครับ

เข้ามาอ่านและซึมซับสิ่งดีงาม ชื่นชม ชื่นชอบการทำงานของ ทีมวิทยากรที่เปี่ยมพลัง และคุณภาพเต็มล้น...

คุณอา talaedao
หากผักนั้นเป็นผักที่ปลอดจากสารพิษก็จะดีมากๆครับ ช่วงหลังผักอินทรีย์มีการปลูกและตลาดต้องการมากขึ้น แต่หากเราอยู่ต่างจังหวัด "ผักริมรั้ว" ที่บ้านเราผมคิดว่า มากด้วยประโยชน์ คุ้มค่า และเเสนประหยัดครับ

ขอบคุณครับ คุณอาครับ...นานเเล้วนะครับที่ไม่ได้ทักทายกัน

คุณครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ ครับ

งานที่รับและทำแต่ละงานผมก็เลือกครับ หากงานนั้นเป็นงานที่ดี เป็นงานที่ทำประโยชน์ต่อสังคม ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมยินดี แต่ต้องเป็นงานที่ผมมีความสามารถ รวมไปถึงมีประโยชน์พอกับงานนั้นๆได้นะครับ

ทุกอย่างเป็นเหมือนธรรมะจัดสรรครับ เรื่องราวดีๆเดินทางเข้ามาเป็นเหมือน กฏเเห่งเเรงดึงดูด เหมือนมิตรภาพใน gotoknow นี่ก็เหมือนกันครับ ได้เรียนรู้ และรู้จักกับกัลยาณมิตรที่ดี บางส่วนก็ถูกกันออกไป

เรื่องผัก การกินผัก ยังคงเป็นประเด็นคลาสสิก ไม่ว่าผักบ้านเราจะมากมายเเค่ไหน หากไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของการกินผักเเล้ว เราก็ยังมีปัญหาทุพโภชนาการต่อไป ที่บ้านครอบครัวมีส่วน ที่โรงเรียนคุณครูมีส่วนอย่างยิ่ง จะให้ดี ทำงานนี้เห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ต้องประสานกันหลายๆภาคีครับ

สวัสดีครับคุณครู

 

แว่วๆ มาว่าจะไปเจอสองอนงค์นางใช่ไหมคะคุณเอก

ขอภาพพี่หญิงนุช กับพี่หญิงศิลา มาเป็นของฝากนะคะ

ขอบคุณค่ะ 

-สวสดีครับ แวะมาทักทาย...

-หลังจากที่ "ผม" หาย ไปซะนาน ๆครับ

-สบายดีนะครับ...

พี่แวะมาส่งความรักและคิดถึงในวันแห่งความรักนะคะ ขอให้มีข่าวดีโดยเร็ว

4995905f464b9

ขอบคุณมากครับ สำหรับกำลังใจที่ผมได้รับเสมอๆจาก ป้าเหมียว
ครับ

งานที่ผมทำสำเร็จ เเละได้รับคำชื่นชม ล้วนมาจากทีมงานล้วนๆครับ :)

ขอบคุณครับ คุณpoo 
ผมฝากความระลึกถึงไปต่อ ยัง ดร.ยุวนุช และคุณศิลา เเล้ว

ขอบคุณคุณ เพชรน้ำหนึ่ง
เช่นกันครับผมสบายดี สบายดีมากด้วยครับ :)

ขอบคุณช่อดอกไม้ช่อใหญ่ จากพี่ ประกาย~natachoei ที่~natadee 
  ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท