งานขุดค้น ขุดแต่งของกรมศิลปากรในจังหวัดพิษณุโลก ????


นี่หรือคืองานขุดค้น ขุดแต่ง ที่ใช้งบประมาณเกือบสองล้านห้าแสนบาท ???

วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2553)  อากาศไม่ค่อยร้อน  เพราะเมื่อวานกรมอุตุ ฯ พยากรณ์ว่า ภาคเหนือจะมีฟ้าหลัว  ซึ่งวันนี้ (ช้าไป 1 วัน) ที่พิษณุโลกจึงพบกับสภาพบรรยากาศดังกล่าว  โดยช่วงกลางคืนประมาณ 24.00 น. เป็นต้นไป  ค่อนข้างจะมีลมเย็นพัดมาจากทิศตะวันออก  ต่อเนื่องถึงช่วงเช้าครับ  และ ณ เวลานี้อากาศกลับร้อนอบอ้าวอีกแล้ว (เวลาประมาณ 14.20 น) 

กับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นวันนี้  พุทธศาสนิกชนในหลายพื้นที่คงได้ไปร่วมทำบุญวันมาฆะบูชา ณ วัดใกล้บ้าน และช่วงตอนเย็นต่อเนื่องถึงกลางคืนคงได้ไปร่วมพิธีเวียนเทียนอีกครั้งนะครับ  และด้วยเป็นวันหยุดจึงทำให้มีเวลาพาตัวเองไปยังบริเวณสถานที่ต่าง ๆ รอบเมืองพิษณุโลกอีกครั้ง  และนี่เป็นภาพไวนิลข้อความรณรงค์เพื่อให้เกิดความสามัคคึ ซึ่งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมือง พิษณุโลก  ติดบริเวณหน้าค่ายฯ  (ด้านที่ติดกับโรงเรียนจ่านกร้อง)  ในขณะที่ข่าวโทรทัศน์ช่วงเช้ารายงานว่า เมื่อกลางคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553  มีการขว้าง + วางระเบิด ในบางสถานที่ของกรุงเทพและปริมณฑล  ประมาณ 4 จุด  บางทีมาตรการป้อง ปรามของรัฐที่ดำเนินการอยู่อาจจะหย่อนยานหรือทำได้เต็มที่แล้ว  แต่มีช่องว่างให้ผู้ไม่หวังดียังคงดำเนินการก่อกวนต่าง ๆ ได้  ต้องรอว่าหลังจากนี้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะจัดการปัญหานี้อย่างไร เร็วแค่ไหน

วกกลับมาถึงหัวข้อของบล๊อกนี้ครับ  มีงานขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดี ในเขต อ.เมือง พิษณุโลก  เกิดขึ้นอีก 1 แห่งแล้ว  ที่ วัดศรีสุคต (วัดร้าง)  ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553  ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังจันทน์ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,995,000 บาท  (หนึ่งล้านเก้าแสนเก้าหมื่นห้าพันบาท) 

ป้ายไวนิลนี้ติดบริเวณหน้าวัดพระศรีสุคต (ดังภาพ)  ระบุรายละเอียดโครงการที่ค่อนข้างเล็ก จิ๋ว แทบจะอ่านไม่ออก

เมื่อขยายภาพเป็นบางส่วน จะมีข้อมูลว่า สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย เป็นผู้ว่าจ้างอีกแล้ว  โดยมีผู้รับจ้างคือ บริษัท นอร์ทเทิรน์ซัน (1935) จำกัด 

มีใครเป็นผู้ควบคุมงานฝ่ายผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง  ทั้งนี้มีคณะกรรมการตรวจการจ้าง ประกอบด้วย

การขุดค้น ขุดแต่งวัดศรีสุคตนี้  กำลังเริ่มต้น  จึงไม่เห็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไรในวันสุดท้ายของโครงการ  แต่กับผลงานของสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย  ที่ทำไว้กับโครงการลักษณะเดียวกันที่ กำแพงเมืองพิษณุโลก บริเวณวัดโพธิญาณ ซึ่งใช้งบประมาณ 2,470,000 บาท  ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 เมษายน - 3 ธันวาคม 2552 มีสภาพปัจจุบันหลังการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นภาพที่บันทึกไว้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553  ดังนี้ครับ

นี่หรือคืองานขุดค้น ขุดแต่ง ที่ใช้งบประมาณเกือบสองล้านห้าแสนบาท ???

ท่านที่ต้องการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  ลองไปดูจาก link ต่อไปนี้ครับ

บล๊อกอันเกี่ยวเนื่องกับ  กำแพงเมืองวัดโพธิญาณ
1.การขุดค้น ขุดแต่งกำแพงเมืองพิษณุโลก บริเวณวัดโพธิญาณ
  http://gotoknow.org/blog/middle-man/308152  วันที่ 24 ตุลาคม 2552

2.วันเปลี่ยนฤดู (อีกครั้ง) ที่พิษณุโลก
  http://gotoknow.org/blog/middle-man/313666   วันที่ 15 พฤศจิกายน 2552

3. เช้าวันที่ 1 มกราคม 2553
   http://gotoknow.org/blog/middle-man/324441  แก้ไข 15 มกราคม 2553

บล๊อกอันเกี่ยวเนื่องกับ วัดพระศรีสุคต
1. พระราชวังจันทน์พิษณุโลก ณ เดือนพฤศจิกายน 2552
   http://gotoknow.org/blog/middle-man/313474  วันที่ 14 พฤศจิกายน 2552

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 340662เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2010 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

กำลังติดตามข้อมูลพระตำหนักจันทน์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกค่ะ กำลังรอข้อมูลเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการเขียนแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

ผมได้นำข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์ จากศูนย์ข้อมูล (ชั่วคราว) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาลงในบล๊อกต่อไปนี้แล้วครับ  กรุณาติดตามได้ทันที

ประวัติพระราชวังจันทน์...พิษณุโลก ตอนที่ 1 http://gotoknow.org/blog/middle-man/341293

ประวัติพระราชวังจันทน์...พิษณุโลก ตอนที่ 2 http://gotoknow.org/blog/middle-man/341340

ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับฐานข้อมูลใหม่ ๆ

ผมเข้ามาโดยบังเอิญ ผมอยู่พิษณุโลกครับ ...ช่วยติดต่อผมหน่อยถ้าช่วยเรื่องนี้ได้

คือ เรื่องด่วนที่สุดตอนนี้คือ กำแพงเมืองพิษณุโลกด้านวัดโพธิญานที่กำลังบูรณะโดยบริษัทสามเพชร

กำลังทำลายหลักฐานของชาติ เนื่องจากผู้รับเหมากำลังบูรณะโดยขาดความรู้ความเข้าใจ

หลักการบูรณะคือ

1.อิฐที่ดีซึ่งเป็นของเดิมไม่จำเป็นต้องรื้อออก

2.อิฐใหม่ที่ก่อเสริมจะเสริมในจุดที่อิฐเก่าได้รับความเสียหาย เท่านั้น

3.ปูนที่ใช้ต้องเป็นปูนหมัก ( ปูนตำแบบโบราณ ) เพราะไม่มีกรดเกลือ ห้ามใช้ซีเมต หรือซีเมนต์ขาวในการบูรณะ

แต่ในปัจจุบันผู้รับเหมาได้กระเทาะอิฐดีๆซึ่งเป็นของเดิมด้านนอกออก แล้วก่ออิฐใหม่ปิดทับ

งานที่ออกมาจึงคล้ายกำแพงสร้างใหม่ แต่ก็เหมือนสิ่งก่อสร้างอะไรสักอย่างที่สร้างไม่เสร็จ

ถ้าทำอย่างงี้ต่อไปสู้สร้างกำแพงใหม่ฉาบปูนสวยๆไปเลย ไม่ต้องบูรณะ

ผมนึกว่าบ้านเราไม่มีกลุ่มคนรักวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เข็มแข็งคล้ายเมืองใหญ่ๆแล้วเสียอีก

หลวงพ่อวัดใหญ่คงดลให้ผมมาเจอพวกท่านครับ

เราทำบัตรสนเท่ ไปที่กรมศิลปากรกันเถอะครับ ผมคนธรรมดาไม่มีไร ท่านมียศสักอาจช่วยได้ แต่ผมขอร่วมลงชื่อคนแรกครับ

ผมมีข้อมูลผู้รับเหมาในทางไม่ดี ติดต่อผมครับ 084-2286637

ขออภัยท่าน TT

   ที่แสดงความเห็นแล้วผมเข้ามาดำเนินการล่าช้าครับ  ณ วันนี้ (2 กย.53)  ผมได้ประมวลข้อมูลสอบถามไปยังสำนักโบราณคดี ที่ [email protected]  เพื่อให้เข้ามาอ่านรายละเอียดและให้คำตอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องนี้แล้ว ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท