วิเคราะห์ “ครูสร้างค่าย..เด็กสร้างครู...”


ผมรู้จักครูน้องอึ่งผ่าน Blog มานาน แต่ได้พบหน้ากันจริงๆก็ที่สวนป่าที่ผ่านมา ดูเธอเป็นคุณครูที่ลุ่มลึกอยู่ และเมื่อได้ติดตามงานของครูอึ่งแล้วก็บอกได้ว่าประทับใจยิ่งนักครับ ผมเคยวิเคราะห์เล็กๆในบันทึกของครูน้องอึ่งไปครั้งหนึ่งแล้ว

 

งานของครูน้องอื่งและเพื่อนคุณครูที่โรงเรียนคงมีมากมาย ผมยังไม่มีโอกาสเข้าไปศึกษาอย่างละเอียด แต่ที่ครูน้องอึ่งบันทึกไว้ที่ 1.ที่นี่ 2.ที่นี่ 3.ที่นี่ และ 4.ที่นี่. นั้น ผมก็หาเวลาศึกษามากกว่าการอ่านผ่านๆ ผมพบว่า นี่เป็นงานที่ผมฝันจะเห็นทีเดียวละครับ

 

เธอและเพื่อนครูในโรงเรียนจัดงานค่ายเด็กขึ้นช่วงปิดเทอม โดยใช้เวลากินอยู่ร่วมกันนานถึง 5 สัปดาห์ นานมากพอที่จะเกิดอะไรมากมายทีเดียว

 

เธอบันทึกไว้ค่อนข้างละเอียด เชิญทุกท่านติดตามได้นะครับ แต่ผมใคร่ขอวิเคราะห์สาระที่เธอได้สร้างไว้เป็นฉบับสังเขปดังนี้ครับ

 

๑. ขั้นเตรียมการ: เธอและเพื่อนครู มีหลักการเชิงวิชาการอยู่เพียบแล้ว ก็เอาออกมาสร้างแผนงานไปตามลำดับ  จุดเด่นที่เธอย้ำไว้คือ การเรียนรู้ในค่ายนี้ไม่ใช่ค่ายวิชาการจ๋า แต่จะเป็นการเรียนรู้เรื่องใกล้ตัวในวิถีชีวิตของชุมชนแถบนั้น และเรื่องชีวิตประจำวัน นอกจากเรียนรู้ความหมาย ความเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์แล้ว สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและการกระตุ้นแนวทางการอนุรักษ์สร้างสรรค์ก็ถูกกระตุ้นให้เด็กได้คิดมากกว่าการเห็นผ่านๆไป  สิ่งเหล่านี้คือเรื่อง ดิน น้ำ ป่า และความเกี่ยวข้องกับชีวิตนั่นเอง

 

 

 

๒. การจัดการในค่าย: เธอและเพื่อนครูได้จัดการเรื่องเหล่านี้ได้อย่างครูที่มีสำนึกในการสร้างเด็ก นั่นคือ จัดให้เด็กอยู่กันแบบบ้าน ให้พี่ดูแลน้อง แล้วให้รับผิดชอบกันเองโดยคุณครูแนะนำอยู่ห่างๆ ผมเชื่อว่า เด็กหลายคนอยู่บ้านตัวเองอาจจะไม่เคยต้องรับผิดชอบเท่านี้ สิ่งสำคัญที่เป็น Climax ส่วนนี้คือให้เด็กได้ทำ การบันทึกเรื่องราวที่เรียนรู้ระหว่างกันในบ้าน ในค่าย สุดยอดเชียวครับ

 

เพราะการบันทึกนั้นคือการที่เขาจะต้องทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆถึงสาระต่างๆที่ผ่านมาทั้งวัน การที่ได้มีโอกาสทำเช่นนี้ คือขั้นตอนที่สำคัญของการเรียนรู้ของคน เพราะการกระทำ การเรียนรู้ทั้งวัน ถูกสมองจัดระบบใหม่ แล้วได้เขียนเป็นอักษรลงในบันทึกอีก เป็นการย้ำถึงสาระที่ผ่านการเรียนรู้มาทั้งวัน  สาระสำคัญทั้งหมดเขาจะจดจำไปอีกนานแสนนาน

 

 

 

๓. สายใยสัมพันธ์:  ปรกติครูกับศิษย์นั้นมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอยู่แล้ว แต่เมื่อครูกับศิษย์มาทำกิจกรรมแบบนอกกรอบ เช่นนี้ ผมเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์จะทวีความแนบแน่นสูงขึ้นมากมายหลายเท่ายิ่งนัก ความสัมพันธ์ครูกับศิษย์ในลักษณะของพี่เลี้ยงในกระบวนการเรียนรู้นั้น มันเป็นความอบอุ่น มันเป็นความสายใยของการเรียนรู้ และพัฒนาให้กระบวนการเรียนรู้นั้นไม่อยู่ในเฉพาะห้องเรียนเท่านั้น อยู่ในสังคมกว้าง เด็กที่อยู่ในเงื่อนไขดีดีเช่นนี้จะสั่งสมคุณค่าซึ่งเป็นฐานของความเป็นคนดีที่พึงประสงค์ เด็กมีแบบอย่างที่ดี  เด็กมีผนังแห่งชีวิตที่นุ่ม และซึมซับเอาคุณความดีนั้นไปขยายต่อไปเป็นลูกโซ่อีกด้วย

 

 

ครูที่ผมไม่มีวันลืมได้เลยในชีวิตคือครูองุ่น มาลิค ท่านผู้สอนวิชาจิตวิทยาที่ มช.เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา  เพราะเราทำกิจกรรมต่างๆด้วยกัน ท่านรักศิษย์เหมือนลูกหลาน ท่านพร้อมรับฟังและสนับสนุนศิษย์ที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และพร่ำสอนให้รับใช้สังคม

 

แม้ท่านจะสิ้นไปนานแล้วแต่คุณค่าของครูนั้นอยู่ในใจศิษย์คนนี้และเพื่อนร่วมสำนักอีกมากมายเสมอ ลูกศิษย์ครูองุ่นจำนวนมากมีบทบาทที่สำคัญในสังคมนี้ทั้งอดีตและปัจจุบัน

 

๔.          Outcome และ Impact: จำนวนเด็ก 40 คนจะได้ผ่านกิจกรรมค่ายที่ประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดี นั่นคือ ผลที่ได้เกิดขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบของงานค่ายนี้ยังส่งคุณค่าอีกหลายประการ ดั่งละลอกคลื่นที่เกิดขึ้นและไหวไปทุกทิศทางอย่างไม่รู้จบ

 

ผลสัมฤทธิ์ ผมอ่านบันทึกของครูน้องอึ่งแล้วก็ ขนลุกเลยทีเดียวที่ครูเป็นผู้กล่าวว่า นอกจากเด็กจะเรียนรู้เรื่องราวต่างๆแล้ว ครูก็เรียนรู้จากเด็กอีกด้วย นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า ผลสัมฤทธิ์ที่ไม่คาดหวังไว้ก่อน สาระที่สำคัญคือ ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะความรู้สึกของเด็ก ธรรมชาติ และความแตกต่าง มีบทเรียนในเรื่องการเรียนรู้แบบผ่อนคลาย ผมเชื่อว่า ครูมีความสุขมากทีเดียวแม้จะเหนื่อยอ่อนก็ตาม 

 

ส่วนของเด็กน่ะหรือ สรุปว่า เห็นชัดเจนว่าเด็กมีความกล้าหาญมากขึ้น  เด็กแสดงออกในทักษะที่ตัวเองถนัดอย่างเต็มที่  เด็กที่ก้าวร้าวกลับอ่อนโยน....

ที่วิเศษสุดน่าจะเป็น ผลกระทบที่เกิดขึ้น ครูได้นำบทเรียนมาพัฒนาการเรียนการสอน เด็กๆมีความรู้สึกดีดีกับครู กับโรงเรียน กับสิ่งแวดล้อม กับสังคม.....

 

บทสรุป:  ผมลองใช้หลักการบริหารจัดการโครงการมาพิจารณา ก็จะได้ข้อสรุปโดยสังเขปดังไดอะแกรมข้างบน ครูน้องอึ่งกับเพื่อนครูที่โรงเรียนมงคลวิทยาแห่งจังหวัดลำพูน ได้สร้างแบบอย่างของกระบวนการเรียนการสอนที่วิเศษขึ้นแล้ว  เป็น ตัวต้นแบบ ที่พร้อมจะให้เรียนรู้และพัฒนาต่อไป นี่คือความสำเร็จที่เกิดขึ้น

 

ผมขอปรบมือให้กับครูน้องอึ่งและเพื่อนครูของโรงเรียนมงคลวิทยา อ.เมือง จ.ลำพูน

 

ผลตั้งโจทย์เพื่อเป็นการบ้านต่อไป โดยคิดกลับกันคือ  “เราจะทำโรงเรียนให้เป็นแบบค่ายได้ไหม?...

หมายเลขบันทึก: 187555เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ท่านบางทรายจับประเด็นและวิเคราะห์บันทึกครูอึ่งได้สวยงามมาก 

สุดยอดๆๆๆๆ

 

ขอปรบมือให้พี่อึ่ง "ได้สร้างแบบอย่างของกระบวนการเรียนการสอนที่วิเศษขึ้นแล้ว  เป็น “ตัวต้นแบบ ที่พร้อมจะให้เรียนรู้และพัฒนาต่อไป"

 ขอปรบมือให้พี่บางทราย ที่สรุปวิเคราะห์ในสิ่งที่พี่อึ่งทำเป็นไดอะแกรม ทำให้เห็นภาพการบริหารจัดการและผลที่เกิดขึ้น...เยี่ยมมากๆ ... เป็นต้นแบบให้เราได้เรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในการทำงานค่ะ...ขอบคุณค่ะ

หายไปนานจนหมดความคิดถึงไปหลายกระสอบ

ที่แท้ไปเยี่ยมค่ายครูอึ่งนี่เอง

ผมเห็นด้วยทุกอย่าง

แต่เขียนอธิบายไม่ได้อย่างท่าน

รู้แต่ว่า ..

ครูอึ่งทำการบ้ายได้ สุดยอด

ท่านบางทราย ตรวจการบ้านได้ สุดยอด

แค่นี้ก็สุดปลิ้มแล้วหนอ คนแซ่เฮ

เอาภาพมาฝาก

น้ำเต้า ที่ครูอึ่งและพวกเราช่วยกันปลูกต้นไม้ กำลังงอกงาม

แข่งกันในป่าต้อยติ่ง

 

คุณหมอ P 1. คนชอบวิ่ง

ท่านบางทรายจับประเด็นและวิเคราะห์บันทึกครูอึ่งได้สวยงามมาก 

------

ขอบคุณครับคุณหมอ นึกว่ากินกิมจิ เสียเพลินไปแล้ว ยังห่วงเมืองไทยอยู่นะเนี่ย

กลับมาคงได้อะไรดีดีมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ P 2. ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ขอบพระคุณมากครับที่ทำการวิเคราะห์และนำมาแบ่งปัน
  • ทั้งได้ตามไปอ่านบันทึกของครูอึ่งแล้ว เยี่ยมมากเลยครับ

สวัสดีครับ อ.แป๋ว

  • การทำไดอะแกรมเป็นความถนัด และชิน เพราะผมใช้กับการเขียนรายงานบ่อยครับ
  • โดยเฉพาะรายงานการประเมินแบบ PRA น่ะครับ
  • ผมเห็นน้องอึ่งบันทึกไว้เป็นแบบบรรยายสรุป ได้ประเด็นดีอยู่แล้ว เพียงแต่หยิบมาจัดหมวดหมู่ เข้าระบบ ก็จะชัดมากขึ้น
  • คนจำนวนหนึ่งชอบแบบ ไดอะแกรม เขาว่าเข้าใจง่าย  แต่คนอีกจำนวนหนึ่งบอกว่า ดูยาก ชอบแบบบรรยายมากกว่าครับ
  • มันต่างกันจริงๆ คนเรานี่นะ...อิอิ..
  • ขอบคุณครับ อ.แป๋ว

ท่านครูบาครับ P 4. ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

หายไปนานจนหมดความคิดถึงไปหลายกระสอบ

ที่แท้ไปเยี่ยมค่ายครูอึ่งนี่เอง

ผมเห็นด้วยทุกอย่าง

แต่เขียนอธิบายไม่ได้อย่างท่าน

รู้แต่ว่า ..

ครูอึ่งทำการบ้ายได้ สุดยอด

ท่านบางทราย ตรวจการบ้านได้ สุดยอด

แค่นี้ก็สุดปลิ้มแล้วหนอ คนแซ่เฮ

-------

ผมไม่ได้หายไปไหนครับ ประชุมและวุ่นกับการทำ แผนโครงการ(Log Frame) คนอื่นๆทำไม่เป็นก็โยนมาให้เราช่วยทำ กระโดดไปรับเข้า เลยวุ่นเลยครับ

ผมเห็นงานของครูน้องอึ่งและเพื่อนๆครูที่นั่นแล้ว ชอบจริงๆ ครับ เคยตามบันทึกที่ครูบาและเพื่อนๆไปเยี่ยมโรงเรียนนี้มาแล้ว แต่คราวนี้ ครูน้องอึ่งเขียนบันทึกงานค่ายละเอียด เลยไปเสริมให้น่ะครับ ชอบงานสร้างคนครับ

นี่ผมว่าจะตามไปวิเคราะห์งานน้องหมอเบิร์ดอีกนะเนี่ยะ อิอิ..เจ้าตัวยังไม่รู้หรอก..

เอาดอกมะเขือต้นที่ดงหลวงมาฝากครับ

สวัสดีค่ะ

* ยอดเยี่ยมเลยค่ะทั้งครูอึ่งและคุณบางทราย...เห็นภาพชัดเจนมาก

* ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับน้องสิงห์ P 7. สิงห์ป่าสัก

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ขอบพระคุณมากครับที่ทำการวิเคราะห์และนำมาแบ่งปัน
  • ทั้งได้ตามไปอ่านบันทึกของครูอึ่งแล้ว เยี่ยมมากเลยครับ

คนสร้างคน(เด็ก)เพื่ออนาคตอย่างคุณครูน้องอึ่ง เพื่อนๆครู และครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ต้องคาระวะท่านผู้สร้างคน สร้างสังคมเหล่านี้

สำหรับเรานั้นสร้างชาวบ้านนะน้องสิงห์ เอ้าช่วยกันไป ให้ใจกัน คนทำดีต้องสนับสนุน

พี่เองที่ดงหลวงก็สนับสนุนค่ายเด็ก แต่ NGO ที่มาร่วมงานเป็นผู้รับผิดชอบครับ ชอบมากๆ ที่เอา

  • ผู้เฒ่า ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของหมู่บ้านมาเล่าเรื่องหมู่บ้านในอดีตให้เด้กๆฟัง
  • เอาหมอยามาพาเด็กเดินป่าศึกษาเรื่องต้นไม้เป็นยาในป่าติดบ้าน
  • เอาแม่บ้านที่เก่งเรื่องการสานสิ่งของเครื่องใช้มาสอนเด็กให้ทำ มันงามจริงๆทางคุณค่าทางใจ
  • ฯลฯ
  • นี่คือการส่งต่อทางวัฒนธรรมอย่างที่เราคุยกัน
  • นี่คือการสร้าง ส่งต่อทุนทางสังคมให้เด็ก สะสมให้กับเด็ก และอนาคตของหมู่บ้าน สังคม
  • นี่คือการเรียนการสอนแบบนอกกรอบ ที่สวยงามมากๆ
  • ฯลฯ

เมื่อมาเห็นงานของน้องอึ่ง ก็ชอบมากครับ

สวัสดีครับคุณครู P 10. นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)

* ยอดเยี่ยมเลยค่ะทั้งครูอึ่งและคุณบางทราย...เห็นภาพชัดเจนมาก

* ขอบคุณค่ะ

ขอคาระวะคุณครูพรรณาผู้สร้างคนที่สำคัญแห่งสุพรรณครับ คุณครูมีผลงานมากมายแอบไปศึกษามาเหมือนกันครับ

การที่เด็กทำงานเคียงคู่กับผู้ใหญ่นั้น  คือโรงเรียนธรรมชาติในชีวิตจริง  ในวังคมชนบทเด็กๆเรียนรู้ชีวิตจากสิ่งเหล่านี้  แต่ในสังคมเมืองเด็กๆจำเป็นต้องมีค่ายแบบที่ครูน้องอึ่งและเพื่อนๆครูทำนี่แหละครับ

http://gotoknow.org/blog/kawao/187723

สรุปของพี่อึ่งอ็อบได้ยอดเยี่ยมแล้ว

ช่วยกรุณาไปโปรดสัตว์ตัวเล็กๆ (ทั้งน้องเหว่า และนักศึกษา) ด้วยนะคะ

ต้องการการขยายามความแบบมืออาชีพ นะคะ

pleasesssssssssss

ได้เลยน้องกาเหว่า

เดี๋ยวไปเยี่ยมครับ

  • ธุ คุณบางทรายค่ะ..

ต้อมก็เลยชักชวนลูกสาวเจ้านายเข้าไปอ่านบันทึก กระบวนกร..ลูกทุ่ง ของพี่อึ่งเสียเลย   จะได้นำไปปรับใช้กับที่โรงเรียนดูบ้าง   และได้ผลค่ะ..เธอสนใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆ

ธุ น้อง 16. เนปาลี ครับ

 

สุดยอดครับ นี่คือ G2K ที่เป็นตลาดความรู้ครับ  สนับสนุนครับ หากให้ช่วยอะไรก็บอกกล่าวไปนะครับ

ด้วยความยินดีครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงบางทรายจ๋า

ไม่ได้แวะเข้ามาหาตั้งนาน คิดถึงลุงที่สู๊ดดด รักลุงนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้ลุงค่ะ --->น้องจิ ^_^

  • สรุปได้ยอดเยี่ยมค่ะพี่
  • เห็นภาพชัด ได้หลักการ นำไปใช่ได้ต่อ
  • คารวะฝีมือจริงๆทั้งเจ้าของเรื่องและผู้สรุปเรื่อง
  • ................
  • บทความนี้ทำให้เห็นความเป็นมาของงานที่คิดว่าง่ายแต่ก็ไม่ง่าย....เห็นความง่ายที่ถ้าเลือกมาทำก็จะให้ผลลัพธ์ที่สวยงามซะด้วยซิ
  • ชื่นชมคนพัฒนาคนทั้งคู่เลยค่ะ
  • ชื่นชมคุณครูทั้งทีมเลยค่ะ

 

หลานจิที่คิดถึง P 18. โก๊ะจิจัง แซ่เฮ ^๐^! 

ไม่ได้แวะเข้ามาหาตั้งนาน คิดถึงลุงที่สู๊ดดด รักลุงนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้ลุงค่ะ --->น้องจิ ^_^

 

ลุงเองก็เวียนไปหาหลานอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ได้โผล่หน้าไปทัก อิอิ..  เรื่องการเรียนนั้นยังเป็นแค่เริ่ม เบื้องต้นเท่านั้น ต้องการใช้เวลาปรับตัวอีกสักหน่อยจ่ะ...  ช่วงแรกก็วุ่นวายทั้งใจทั้งกายแหละ  เดี่ยวก็ลงตัวมากขึ้นครับ

ลุงเอาใจช่วยนะครับหลานจิคนเก่ง

สวัสดีครับน้องหมอเจ๊ครับ  P  19. หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ

  • สรุปได้ยอดเยี่ยมค่ะพี่
  • เห็นภาพชัด ได้หลักการ นำไปใช่ได้ต่อ
  • คารวะฝีมือจริงๆทั้งเจ้าของเรื่องและผู้สรุปเรื่อง
  • ................
  • บทความนี้ทำให้เห็นความเป็นมาของงานที่คิดว่าง่ายแต่ก็ไม่ง่าย....เห็นความง่ายที่ถ้าเลือกมาทำก็จะให้ผลลัพธ์ที่สวยงามซะด้วยซิ
  • ชื่นชมคนพัฒนาคนทั้งคู่เลยค่ะ
  • ชื่นชมคุณครูทั้งทีมเลยค่ะ

 ขอบคุณครับน้องหมอเจ๊

น้องหมอเจ๊จะขึ้นมาสวนป่า อยากแวะไปเยี่ยมทุกคนเหมือนกัน แต่ภาระกำลังเพิ่มมากขึ้นครับ จะติดตามทาง blog นะครับ

และให้กำลังใจในการทำงานอย่างเต็มที่เลยครับ

พี่บางทรายคะ

  • ขอบพระคุณสำหรับบทวิเคราะห์นี้ค่ะ
  • ได้นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกับคุณครู
  • บางคนบอกว่า..การที่ได้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น
  • มีแนวทางจะคิดต่อได้อีกหลายเรื่องค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะพี่

สวัสดีครับน้องสาว

 

ดีใจที่ได้ประโยชน์นะครับ

ลองขยายความ และทำแต่ละส่วนให้ละเอียดและสมบูรณ์มากขึ้นนะครับ เพราะน้องมีข้อมูล ใส่ข้อมูลให้ละเอียดนะครับ

 

นำไปใช้ได้ครับ ด้วยความยินดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท