ชีวิตที่พอเพียง : ๘๒๙a. วางแผนขับเคลื่อน “ครูเพื่อศิษย์” เต็มทั้งแผ่นดิน (๔) วางโครงสร้างให้มีความต่อเนื่องยั่งยืน


 
ตอนที่ ๑ 

ตอนที่ ๒     

ตอนที่ ๓ 

          ความเห็นเหล่านี้ยังเป็นแค่ความฝัน   งานนี้จะได้ทำหรือเปล่าก็ยังไม่รู้    และถ้าได้ทำจริงๆ ก็ต้องเอามาปรึกษาหารือกันในกลุ่มภาคีสนับสนุนเครือข่าย

          เราจะวางโครงสร้างของเครือข่ายให้มี ๒ เครือข่ายทำงานประสานพลัง (synergy) กัน   คือ

•   เครือข่ายครูเพื่อศิษย์ ที่ครูเพื่อศิษย์รวมตัวกันเอง เชื่อมโยงกันเอง ช่วยเหลือกันเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง   และสื่อสารพลังของครูเพื่อศิษย์ออกไปภายนอก   ให้สังคมรับรู้พลังจิตอาสา พลังความดี พลังปัญญา ของครู    เครือข่ายนี้เกิดขึ้นบ้างแล้ว  มีตัวอย่างดีๆ อยู่แล้ว   และขอชักชวนให้ก่อตัวกันขึ้นทั่วแผ่นดินไทย    โดยไม่ต้องรอขอความช่วยเหลือจากใคร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน  

 
•   เครือข่ายผู้สนับสนุนครูเพื่อศิษย์   เป็นการรวมตัวกันขององค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ในพื้นที่ต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างมีพลังยิ่งขึ้น   ในลักษณะของการให้ empowerment   และให้การสนับสนุนในหลากหลายรูปแบบ   โดยเฉพาะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับความรู้ครูเพื่อศิษย์    และสนับสนุนให้มีการสื่อสารวงกว้างแก่สังคม   เพื่อขับเคลื่อนสังคมทั้งสังคม ให้เข้ามาร่วมกันฟื้นพลังการศึกษาไทยผ่านขบวนการครูเพื่อศิษย์    lส่วนนี้คือส่วนที่ สคส. จะทำหน้าที่


          ทั้ง ๒ เครือข่ายนี้จะเป็นเครือข่ายเปิด (inclusive network)    และเป็นเครือข่ายที่เรียนรู้และปรับตัว (Learning Network)    มีความสัมพันธ์กันแบบเครือข่าย เป็นพันธมิตรกัน    ไม่ใช่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ   ไม่เป็นความสัมพันธ์แบบผู้ให้-ผู้รับ 

          เป้าหมายสำคัญคือ การฟื้นเกียรติภูมิของครู   เน้นที่ครูเพื่อศิษย์   เปลี่ยนการให้เกียรติ ให้ผลประโยชน์แก่ครูเพื่อศิษย์   ไม่ใช่แก่ครูเพื่อกู หรือเพื่อนายของกู   ให้เกียรติและผลประโยชน์แก่ครูที่มีความรู้ในการช่วยเหลือศิษย์ ในการทำให้ศิษย์เรียนรู้และประสบความสำเร็จ   คือเน้นให้เกียรติและผลประโยชน์แก่การทำประโยชน์ให้แก่ศิษย์   ไม่ใช่ให้เกียรติและผลประโยชน์แก่ปริญญาหรือการเอาใจนาย   

 

วิจารณ์ พานิช
๑ ก.ย. ๕๒

      
             

หมายเลขบันทึก: 294201เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท