"โรงเรียนเล็ก ๆ แต่หัวใจไม่เล็ก" (โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก โรงเรียนสอนเด็กทำนา)


"...ชาวนาคือผู้ทำนาปลูกข้าว เลี้ยงเรามาจนเป็นหนุ่มสาว
ยันจนเราเฝ้าแก่ชรา แต่เหตุไฉน ชาวนาไทยอับจนเรื่อยมา
เผชิญดินน้ำลมฟ้า เผชิญปัญหาชะตากรรม..."

เสียงเพลง "หำเฮี้ยน" ขับร้องโดย "คาราบาว" แว่วมาเข้าหูผมด้วยความบังเอิญ

 

เวลาที่คนโบราณสอนลูก เขาจะสอนว่า "เรียนให้สูง ๆ นะลูก โตแล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน" ... แต่จะมีใครสักคนไหมที่สอนลูกว่า "เรียนทำนากับควายน้อยนะลูก โตแล้วจะได้เป็นชาวนาเหมือนพ่อกับแม่ เหมือนบรรพบุรุษของเรา"

ผมคิดว่า คงไม่มีใครอยากสอนลูกให้เป็นชาวนา ให้ทำนา เหมือนบรรพบุรุษอย่างแน่นอน เพราะไม่อยากให้ลูกต้องลำบาก ตากแดดหน้าดำ แถมยังถูกนายทุนกดราคาข้าวอีก

 

แล้วมาวันหนึ่ง เพื่อนผม ซึ่งเป็นอาจารย์และนักวิจัยท้องถิ่น ได้ไปลงพื้นที่โรงเรียนมา แล้วมาเล่าให้ผมว่า "มีโรงเรียนหนึ่งนะ แถวดอยสะเก็ด ชื่อ โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก เขาสอนให้เด็กทำนา" ... ผมได้รับฟังดังนั้น ก็คิดในใจว่า ทำได้ยังไงกัน สอนเด็กทำนา แต่ก็อดชื่นชมไม่ได้ว่า นี่สิเป็นการสอนให้เด็กคิดถึงรากเหง้าศักราชของตัวเอง เรียกว่า ครูสอนให้เด็กไม่ลืมกำพรืดของตัวเอง

ผมบอกเพื่อนผมว่า หากลงพื้นที่แล้วไปดูโรงเรียนสอนเด็กทำนาอีก ขอให้บอก อยากลงไปบันทึกภาพเก็บไว้สอนนักศึกษาต่อ แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริง ๆ แล้ว ผมติดภารกิจสอน จึงไม่สามารถลงพื้นที่ได้ ทำให้เรื่องนี้เงียบหายไป เนื่องจาก เวลาอื่นก็หมดหน้านาแล้ว

จนกระทั่ง มีบันทึกจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง คือ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  เขียนบันทึก กระบวนการค้นหาช้างเผือก - โรงเรียนตามโครงการ Humanized Edu Care เพื่อตามหาโรงเรียนประถมศึกษาที่เด็กเรียนแล้วมีความสุข แต่ต้องอยู่นอกกรอบคิดของกระทรวงศึกษาฯ

ผมแทบไม่ได้คิดอะไรมากมาย แต่ผมจำชื่อโรงเรียนไม่ได้ จึงโทรไปถามเพื่อนอาจารย์ว่า โรงเรียนสอนเด็กทำนา ชื่อโรงเรียนอะไรนะ

เมื่อได้คำตอบ ผมก็โพสลงไปทันที

 

ตะโกนในใจครับว่า ... "โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่" ... โรงเรียนที่สอนเด็กทำนา"

http://www.banrongkheelek.com

:)...

 

ทั้งที่ไม่แน่ใจหรอกว่า โรงเรียนนี้จะได้อยู่กรอบคิดและความสนใจของคุณเอกมากนัก

แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณเอกได้เมล์แจ้งมาว่า สนใจโรงเรียนนี้มาก แต่จองตั๋วเครื่องบินมาที่เชียงใหม่แล้ว ... ผมคิดในใจ อาราย จะใจเร็วขนาดนั้น :)

เรื่องราวตอนนี้เป็นไปตามบันทึก หรรษาที่เชียงใหม่ กับ อาจารย์ Wasawat Deemarn ... ซึ่งมันไม่น่าเกิดขึ้นครับ ... เจอคุณเอกตัวจริง แถมยังหล่อน้อยกว่าผม (ผิดศีลครับ) 555 ... คุณเอกชอบถ่ายรูปจริง ๆ ผมหลบกล้องแทบไม่ทัน (อย่างที่เห็นในรูปแหละครับ) แต่ไปติดรูปเพื่อนผมแทน ซึ่งเจ้าหล่อนชอบเหลือเกิน เรียกว่า เป็นนางแบบตั้งแต่เกิด หุ หุ

 

เมื่อเดินทางมาถึงโรงเรียน (จนได้ เพราะดันไปแวะร้านกาแฟมา ไม่ได้เกรงใจ ผอ. กันเล้ย พวกเรา) ... ผมเคยเดินทางมาที่โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กแล้ว 1 ครั้ง มาลงพื้นที่กับเพื่อนคนเดิมและอาจารย์อีกหลายท่านที่ทำโครงการวิจัยฯ

 

 

สายตาผมเมื่อเห็นโรงเรียนครั้งแรก เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ จำนวนเด็กมีไม่มากนัก ครูก็ไม่มาก แถมเห็นนาข้าวอยู่หน้าโรงเรียน ... ห้อง ผอ. คือ ห้องรับแขกที่รับแขกอยู่เป็นประจำ องค์กรต่างประเทศชอบมาดูงานที่นี่ ... อะไรคือ สิ่งที่ทำให้คนต่างประเทศรู้จักโรงเรียนนี้


 

 

นี่ไงล่ะหลักฐาน ... กรอบใส่ประกาศนียบัตรมากมายขนาดนี้

 

สภาพโรงเรียน ไม่สำคัญไปกว่า ครู นักเรียน ที่อยู่ข้างใน ... สำคัญกว่าสภาพแวดล้อมภายนอกที่พ่อแม่มักจะเลือกให้ลูกเรียนก่อนใคร เพราะมันใหญ่โตดี แต่ที่นี่ ไม่ใช่รูปลักษณ์ภายนอกเลย

 

ผอ. 1 คน ครู 12 คน ไม่มีภารโรง ... ครูและนักเรียนร่วมกันเป็นภารโรงเอง

 

เด็กที่นี่ล้วนแต่มีปัญหาอย่างที่คุณเอกได้เล่าให้ฟังในบันทึก โรงเรียน"ออกแบบความสุข" : โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

เด็กกำพร้า พ่อแม่แยกทางกันร้อยละ 70 ... มีเด็กพิเศษแฝงเข้ามาอีก แต่วิธีการสอนของครูที่ดี ไม่ต่างจากการให้ความรักที่มีต่อลูกของตัวเอง แต่ที่นี่เป็นลูกศิษย์

 

 

ผมไม่ได้ทำหน้าที่พูดคุยกับท่าน ผอ. หรือ คุณครูทั้งหมด ผมช่วยคุณเอกบันทึกภาพจากกล้องของคุณเอกเอง (คุณเอกเอากล้องจับใส่มือผมเอง ผมสารภาพ อิ อิ) ... ผมก็ถ่ายจนแบตเตอรี่หมดเกลี้ยง

ดังนั้น รายละเอียดและเนื้อหา ผมไม่ได้จด บางทีก็ไม่ได้ฟัง

ผมเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" เท่านั้น

การสังเกตการณ์ของผม คือ แรก ๆ ที่ดูไม่คุ้นเคย ครูจะไม่ค่อยพูดเท่าไหร่ ผอ.ก็พูดบ้าง แต่เมื่อสักระยะหนึ่ง ความไว้วางใจเข้ามา ทุกคนได้ปลดปล่อยสิ่งทีตนเองมี สิ่งที่ตนเองทำ สิ่งที่ตนเองคิด ... ผมเห็นแววตาของครูที่มีความสุขที่สุดในการกระทำนั้น ๆ ... ผมก็มีความสุขเช่นกัน

 

 

คุณเอกพยายามถามว่า ครูคิดแบบนี้ สอนแบบนี้ แล้วเด็กมีความสุขจริง ๆ หรือเปล่า ... ได้ผลการยั่วยวนครั้งนี้ กระบวนการสอนอื่น ๆ ตามมาทั้งหมด แม้กระทั่ง การสอนเด็กทำนา

 

ผมเห็นความสุขครับ

ผมเห็นรอยยิ้มของคนเป็นครู

 

ครูหลาย ๆ ท่านต่างเล่า และ นำผลงานมาให้คุณเอกได้ลองชม

 

ผลงานของเขา เด็กทำเองทั้งหมด วาดภาพ แต่งบทกวีประกอบ ครูเล่าให้ฟังอีกว่า ขนาดที่มีพวกครูโรงเรียนอื่นมาจ้างเด็กพวกนี้วาดภาพประกอบผลงานวิชาการให้ก็มี

 

คุณเอกก็ไปแอบจับผลงานของเด็กบ้าง ...

 

 

ครูเล่าให้ฟังอีกว่า อาจารย์ เราสามารถวิเคราะห์เด็กได้จากตัวการ์ตูนที่เด็กวาดเลยนะ ถ้าตาการ์ตูนตัวไหน ดูเศร้า ๆ แสดงว่า เด็กนั้นเป็นเด็กมีปัญหา แต่ถ้าตาการ์ตูนนั้นดูร่าเริงดี แสดงว่า เด็กมีครอบครัวที่อบอุ่น

อืมมม .. ผมก็เชื่อเช่นนั้นครับ

 

 

ผมเองได้ภาพมาเท่านี้แหละ อิ อิ ... เชื่อเหลือเกินว่า ท่านคงได้เห็นภาพบ้างนะครับ เอาเนื้อหาหลัก โยนไปที่คุณเอกดีกว่าครับ

ที่บันทึก โรงเรียน"ออกแบบความสุข" : โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

และ โรงเรียน "สอนทำนา" :ที่โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

 

อย่าลืมครับ ผมน่ะ "ผู้สังเกตการณ์" ธรรมดาเอง

 

ผมเคยไปโรงเรียนที่ใหญ่กว่านี้ แต่ผมกลับไม่เคยได้สัมผัสความรักความอบอุ่นที่ครูมีให้ศิษย์เท่าที่นี่มาก่อน ... 

โรงเรียนนี้มีความสุขจริง ๆ ครับ

 

โรงเรียนเล็ก ๆ แต่หัวใจไม่เล็ก

 

ขอบคุณมากครับ ท่าน ผอ.

ขอบคุณมากครับ คุณครูทุกท่าน

ขอบคุณมากครับ เพื่อน และอาจารย์ที่ผมเคารพ

และขอบคุณมากครับ คุณเอก

 

 

หมายเลขบันทึก: 257742เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

สวัสดีค่ะ

  • เพิ่งเปิดเครื่องก็จังหวะดีอีกแล้วนะคะ
  • กลับมาจากออกกำลังกายค่ะ
  • ฝนตกนิด ๆ ทำให้อยู่นาน ๆได้
  • ถ้าร้อนก็ไม่นาประมาณ ๑ ชั่วโมงก็แทบแย่ค่ะ
  • น่าอิจฉานะคะ..โรงเรียนที่ทำได้แบบนี้ แถมได้รับรางวัลมากมายอีกด้วย
  • ถ้าอยู่ใกล้ ๆจะไปศึกษาเรียนรู้ด้วย
  • ขอขอบคุณค่ะอาจารย์

ตามมาอ่าน อิอิ

บันทึกเล็กๆแต่เนื้อหาไม่เล็ก

ขอบคุณมากครับ คุณ ครูคิม ที่แวะมาเยี่ยมบันทึกโรงเรียนสอนเด็กทำนา :)

ขอบคุณครับ น้องอาจารย์ หัวใจติดปีก :) ... อยากลงพื้นที่ด้วยกันไหมเอ่ย :)

ตามมาอ่านบันทึกก่อนครับ...

เห็นเรื่องราวเห็นบรรยากาศ ต้องขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่ช่วยเพิ่มเติมสีสันของการเก็บข้อมูล

ผมใช้เวลาเขียนสองบันทึก ที่ทิ้งระยะเวลานานพอสมควรที่จะลงบันทึกเหล่านั้น แต่คิดว่าเก็บได้สมบูรณ์ระดับหนึ่งจาก

 โรงเรียน"ออกแบบความสุข" : โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

และ โรงเรียน "สอนทำนา" :ที่โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

แต่ก็ไม่ทราบว่าจะสมบูรณ์ขนาดไหน สิ่งที่ได้จากการอ่านบันทึก ผมคิดว่า การคิดต่อมากกว่าครับ หากสนใจกระบวนการจริงๆ อาจต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทางโรงเรียนหรือคุณครูอีกครั้ง

หากโรงเรียนนี้ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในโครงการ HEC. ก็จะมีรายละเอียดนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่องในอนาคตครับ

-----------------------------------------------------------------------

หากดูเวลาให้ข้อเสนอแนะอย่าได้ตกใจนะครับ ผมกำลังเตรียมตัวเดินทางไปต่างจังหวัด flight เช้าๆครับ ต้องตื่นประมาณนี้เลย- ตอนเย็นหลังจากกลับมาจากต่างจังหวัด ผมจะเข้ามาให้ข้อเสนอแนะอีกครั้งครับ

ต้องขอบคุณอาจารย์มากครับ ในที่สุดก็ออกมาจนได้ บันทึก "ร้องขี้เหล็ก" ผมไม่ลืมที่สัญญาไว้นะครับ กาแฟแก้วใหญ่ๆบรรยากาศดีๆของเวีเชียงใหม่ เอาว่าผมมีร้านในดวงใจอยู่ร้านหนึ่ง เอาไว้เจอกันที่เชียงใหม่ อีกไม่กี่วันนี้ครับ

 

 

สวัสดีค่ะ

ชอบมากเลยที่บอกว่าโรงเรียนนี้สอนให้เด็กรู้กำพรืดตัวเอง

ไอเดียดีๆน่าจะมีคนไปดูงานเยอะๆนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

คนอ่านก็พลอยมีความสุขไปด้วยค่ะ 

มองเห็นรอยยิ้มโดยไม่ต้องใช้สายตาดูเลย  ใจยิ้ม ไงคะ

" โรงเรียนเล็กๆ แต่หัวใจพองโต "

คุณครูค้นหาอัจฉริยะในตัวผู้เรียนจริงๆค่ะ

เพราะเด็กนักเรียนตามชนบทในระดับนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่แตกแยก ขาดความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ ปล่อยทิ้งให้อยู่กับญาติพี่น้อง

ฉะนั้นเด็กๆจะได้จับหนังสือที่โรงเรียนเท่านั้น พอกลับถึงบ้านไม่ได้ทบทวนต่อ ก็จะเล่นไปตามประสา

การที่เราให้เขาทำกิจกรรมที่เขาชอบ จึงเป็นการปลูกฝังให้รู้จักคิดและลงมือทำได้เองค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ทำให้มีความรู้สึกสดชื่นยามเช้า(มืด)

ช่วงนี้ก็ไปอยู่ในไร่ในนาตลอดค่ะ เก็บเกี่ยวบรรายากาศ สูดโอโซนก่อนเปิดภาคเรียนค่ะ

 

  

บันทึกของคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร สมบูรณ์ในระดับการพบปะเบื้องต้นแล้วล่ะครับ ... นั่นแสดงว่า โรงเรียนนี้ยังมีเกร็ดคิดอะไรบางอย่างอยู่อีก ... ไม่ว่าจะเข้าโครงการ HEC. หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหา ... แค่นำมาแสดงที่ Gotoknow.org แห่งนี้แล้ว เชื่อเหลือเกินว่า มีคุณครูหัวก้าวหน้าในประเทศไทยอีกหลายโรงเรียน อยากไปพูดคุยกับคณะครูเหมือนเช่นเราไปกัน ครับ :)

แหม ... ร้านกาแฟในเชียงใหม่มันเยอะเหลือเกิน ... กาแฟอร่อยไหม ขนมล่ะ บรรยากาศเป็นอย่างไร เป็นคำถามของการหาเรื่องหลบลี้จากสังคมที่วุ่นวายได้ชะงักทีเดียว

เดินทางปลอดภัย ครับ :)

ขอบคุณมากครับ คุณพยาบาล แดง :) ... บันทึกนี้เจ้าของบันทึกตัวจริง คือ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  จ้างไว้ด้วยกาแฟแสนอร่อยครับ อิ อิ

เพิ่มความสมบูรณ์ด้วยบันทึก ...

 โรงเรียน"ออกแบบความสุข" : โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

และ โรงเรียน "สอนทำนา" :ที่โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

;)

สวัสดีครับ คุณครูจุฑารัตน์ NU 11 :)

โรงเรียนนี้ถึงเล็ก ก็พบความสุขที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันด้วยความสุข ไม่ว่าจะในสถานะใด ๆ ครับ ...

กิจกรรมที่คุณครูคิดขึ้น ก็มาจากความต้องการของพวกเด็ก ๆ เอง

วาดรูป  ประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้ (ได้รางวัลมาด้วยครับ) ... ไปจนถึงกิจกรรมใหญ่ ๆ คือ ทำนา

Learning by Doing ของแท้แน่จริง

ไปทุ่งนา อย่าลืมทาครีมกันแดดนะครับ :)

ขอบคุณครับ

มาชื่นชมกับรร.เล็กๆ แต่หัวใจโต๊ โตค่ะ

และแล้ว ก็ได้เห็นภาพท่านอ. หนอนเสือ :)

ใช่หนุ่มเสื้อน้ำเงิน ? " ต้องขอบคุณเอกจริงๆ

ขอบคุณครับ คุณ poo :)

เออ .. คิดว่า ผมหนุ่มกว่านี้แน่นอนครับ 555

ไม่ใช่ครับ คุณ poo ... ไม่มีรูปผมเลย :)

คุณปู ครับ ในภาพทั้งหมดไม่มีภาพ อ.Was เลยครับ

คนเสื้อสีน้ำเงินเป็น ท่าน ผอ. น่าจะรุ่นคุณพ่อของ อ.Was ครับ :)

ตัวจริง หล่อน้อยกว่าผมนิดหนึ่งครับ

-ขอบคุณเรื่องดีๆที่เล่าให้อ่านครับ

-อยากมี มหาวิทยาลัย "อนุชนเผ่าไทย"ในโลกของความเป็นจริงครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

มายิ้ม ^_^ แต่กลับไปแบบ ^______^

ดั้งเดิมวิถชีวิตชาวนานั้นมีความสำคัญมาก เราไม่กับไปแบบเดิมทั้งหมดแต่สามารถประยุกต์ใช้ได้ ขอชื่นชม คณะครูทุกท่าน

อิอิ ชอบมากๆค่ะ 

เคยเอาเด็กลงปลูกนาข้างโรงเรียน ( โรงเรียนที่ย้ายมาค่ะ )

 เด็กชอบ สนุกและที่สำคัญเรียนรู้จากการประสบการณ์ตรง

ทำให้จดจำจากความประทับใจ

ครูเอว่า  สิ่งรอบตัวเราสามารถเป็นครูที่ดี และไม่ดีได้

เพียง .....แต่เรา...จะรู้จักหยิบมาหรือเปล่าว

*ครูเอชื่นชมผลงานศิลปะโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กมาก

ก็คิดว่าใกล้เปิดเทอมจะไปเยี่ยมที่โรงเรียนค่ะ

  ขอบคุณที่อาจารย์นำผลงาน เรื่องราวดีด้านการศึกษาๆมาแบ่งปันค่ะ

ขออภัย ๆ ตกหล่น อิอิ

ขอบคุณอาจารย์หนอนที่นำเรื่อราวดีๆ ด้านการศึกษามาแบ่งปันค่ะ

ขอบใจมาก ๆ เลยนะ เจ้าหนูจำไม สี่ซี่ ยิ้มไป ยิ้มกลับ :)

ใช่เลยครับ คุณ ครูเอ ... สิ่งรอบตัวทุก ๆ อย่าง คือ "ครู" และความรู้สำหรับนักเรียน ... เพียงแต่ครูจะเลือกใช้ให้เหมาะสมได้อย่างไรเท่านั้นเอง :)

อุตส่าห์ลืมคำว่า "หนอน" เนี่ยนะครับ 555 :)

กลับมาจากหาดใหญ่เมื่อสักครู่นี่เองครับ...มาทักทายกัลยาณมิตร พร้อมตอบ e-mail แล้วนะครับ..

เรื่องราวดีๆที่หาดใหญ่ ๒ โรงเรียน

  • โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด อ.จะนะ
  • โรงเรียนบ้านทับโกบ อ.สะเดา

สองโรงเรียน เด่นคล้ายกัน แต่ก็ต่างกัน มีแง่มุมที่น่าสนใจไม่น้อยครับ

------------------------------------------------------------

ทบทวน..ทบทวน ตัวเองนะครับ

คืนนี้เลยฝาก คำคม นี้ ให้ อ.Was นะครับ

-------------------------------------------------------------

"ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่น ที่ไม่เข้าใจเรา

แต่ต้องเป็นห่วงที่เราไม่เข้าใจคนอื่น"

 

                                  ขงจื้อ

(จาก "ปรากฏการณ์ตาสว่าง" คมสัน วิเศษธร)

 

เด็ดจริงๆใช่ไหมครับ???

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :)

คม บาด ลึก ผมเปิดหนังสือแทบไม่ทัน 555

ขอบคุณมากครับ ... :)

รีบกัดกร่อนความรู้มาเล่าสู่กันฟังครับ

ศิษย์จะดีอยู่ที่ครูคอยสอน

โรงเรียนนี้เเหละสอนให้ศิษย์ดี

ไปมีอนาคตข้างหน้าที่ดีในวันข้างหน้า

สอนให้ศิษย์ไม้ลืมเบื้องหลังของตนเอง

ชีวิตนี้เท่าชีวิตคงหาโรงเรียนแบบนี้ไมได้

(ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆเหล่านี้)

ศิษย์เก่าของโรงเรียน50

ความสุขของครูโรงเรียนนี้ที่มีให้ศิษย์มันช่างรู้สึกว่าเป็นดังแม่กับลูก

เป็นแม่ที่ค่อยอบรมสั่งสอนให้ลูกๆเป็นคนที่ดีมีจริยธรรม

และสามารถจำเบื้องหลังของตนเองได้

ครูโรงเรียนนี้ชั่งเข้าใจศิษย์และช่วยศิษย์แก้ปัญหา

ครูมองแววตาของศิษย์ครูก็รู้

เสมอกับการส่งกระแสจิตเพื่อให้รู้ปัญหานั้น

ผมมองเห็นความงดงามครับ คุณ รักโรงเรียนในฝัน และ คุณ ศิษย์เก่าของโรงเรียน50 ;)

ขอบคุณมากครับ

โรงเรียนนี้คงจะเก่งหลายด้านจริงคะ

มีรางวัลสะสมมากมาย

คุณครูทุกคนก็หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส

คงมีความเป็นมิตรอย่างแท้

สอนเด็กให้ได้ดีต้องเริ่มจากก้าวเเรกเสมอ

เริ่มจากพ่อแม่และครู

ครูโรงเรียนนี้คงสอนศิษย์ให้ได้ดีจริงอนาคตของชาติคงอยู่ไม่ไกลนะคะ

ขอบคุณมากครับ คุณ นงการณ์ สามิสพัก ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท